เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 15749 ขออนุญาตเรียนเชิญทุกท่านร่วมเปิดบันทึกน้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๒๖ ครับ
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 09:17

ผมขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาของทุกๆท่านครับ ไม่ว่าจะเป็นคุณดีดี คุณหนุ่มสยาม คุณวันดี

   ผมไม่คิดหรอกครับว่าหนังสือทุกเล่มจะพ้นภัย เพราะคะเนจากข่าวแล้วว่า ปริมาณน้ำครานี้มากมายราวทะเลเทคว่ำ มิใช่กระต่ายตื่นตูมหรอกครับ แต่หยั่งเอาด้วยการพินิจข่าวสารแล้ว มันมหาศาลพันลึกจริงๆ เมื่อวันอาทิตย์ ผมทำรายชื่อบัญชี “หนังสือหนีน้ำ” เอาไว้แล้วครับ  แต่ก็ยังมิได้ปลิ๊นท์จากไฟล์ออกมาให้ทางบ้านดู หนังสือทั้งตู้ ผมคัดเหลือไม่เกินหนึ่งร้อยเล่ม เอาจำเพาะสุดยอดของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกวีนิพนธ์บางเล่ม ส่วนนวนิยายนั้นตายยาก จะเก่าแค่ไหนเขาก็ยังขายกันดาษดื่น ถ้าจะลอยตุ๊บป่องๆผมก็สามารถยืนดูได้ไม่ทุกข์ร้อนกระไรนัก แต่สำหรับวรรณคดี/กวีนิพนธ์ ถ้าสูญไปก็ดั่งสูญขวัญ เพราะเดี๋ยวนี้คนอ่านกันน้อยมาก สำนักพิมพ์จะพิมพ์ใหม่หรือก็ขาดทุนยับเยิน น่าเห็นใจเขาครับ สรุป ถ้าผู้ใหญ่ท่านยังนอนใจก็ปล่อยให้ท่านนอนไปก่อน ในเมื่อท่านสัญญาไว้แล้วว่าจะคุ้มครองหนังสือให้ ผมก็ต้องไว้ใจท่าน ทว่าโดยส่วนตัว คิดว่าชั้นที่หนึ่งของบ้าน น้ำซึมถึงตาตุ่มแน่ครับ
 


ผมเปิดแผนที่ใน google ที่หมู่บ้านที่คุณชูพงศ์อยู่ บอกไม่ได้ว่าจะท่วมสูงแค่ไหน แต่ก็พอคาดได้ว่าน้ำจะเอ่อมาจากทางคลองหลังหมู่บ้านแน่นอน ถ้าคุณคะเนว่าน้ำไม่น่าจะท่วมสูงมาก ไม่เกินหัวเข่า ก็แนะนำว่าให้ที่บ้านซื้อถังส้วมปูนสักสองใบอย่างใหญ่ มันจะสูงประมาณ 70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูน์กลาง 1 เมตร จัดการหาที่ว่างในบ้าน วางถังกับพื้น เอาแผ่นไม้กระดานอย่างหนาประมาณ 10 มิลลิเมตร ซื้อที่ร้านวัสุก่อสร้าง มันจะมีขนาดยาว 2.40 เมตร กว้าง 1.20 เมตร วางบนถังส้วม เอาหนังสือใส่ถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุง แล้วกองไว้บนแผ่นกระดานนี้ไว้ชั่วคราวก็ได้ครับ

ถ้าคิดว่าท่วมถึงเอว ก็ต้องใช้ 4 ถัง วางซ้อนกันสองชั้น ก็สูงประมาณแค่หน้าอกหละครับ น้ำลดแล้วก็ยังเอาถังปูน เอาไม้กระดานไปใช้อย่างอื่นได้

หากพื้นที่ยังเหลือ ก็เก็บพวกอุปกรณืไฟฟ้าทั้งหลายขึ้นมาวางไว้ด้วย ไม่ต้องกลัวพังครับ มันรับน้ำหนักได้มากกว่า 1 ตัน ถังปูนสองใบไม่กี่ร้อยบาท แต่แผ่นไม้กระดานแพงหน่อย รวมแล้วก็พันกว่าบาท แต่เทียบกับคุณค่าของหนังสือ มันสุดแสนจะคุ้มครับ

จัดของให้ดีๆ ยังมีพื้นที่เหลือให้อนเฝ้ายังได้เลยครับ

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 12:05

สภาพน้ำท่วมมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เมื่อปี 2526







บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 13:16

^
^
ลุงไก่ ?

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 14:28

กราบขอบพระคุณความการุณย์ ข้อแนะนำจากคุณลุงไก่ครับ เมื่อคืนฝนถล่ม ผมนี้ใจตึกๆตักๆ รุ่งเช้ามาน้ำยังไม่เอ่อ เฮ่อ... ค่อยโล่งอก ช่วงนี้ลุ้นน้ำเสียยิ่งกว่าลุ้นภาพยนตร์หรือลุ้นนวนิยายหลายเท่าครับ
 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 23:00

จำได้เลา ๆ ว่า ตอนนั้นปิดเทอม น้ำเริ่ม ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ พี่ชายผมก็เริ่มเอาดินน้ำมันไปอุดตามท่อน้ำต่าง ๆ แต่น้ำก็ยังซึมเข้ามาตลอด ผมกำลังสนุกสนาน ได้วิดน้ำกับเขาเป็นครั้งแรก สนุกมากจริง ๆ แต่วิดไปวิดมา น้ำมันมามากเกินไป แม่เลยให้ไปอยู่ชั้นสอง แต่พ่อก็ยังไปทำงานไม่ได้หยุด แต่แม่หยุดมาดูผมที่บ้านแล้ว พี่ชายกับพี่สาวไปเรียนตามปกติ และรู้สึกว่า พ่อจะฝากไว้บ้านญาติแถว ๆ สุรวงศ์ ที่น้ำท่วมไม่ถึง เพราะ กทม. เขากันไว้ไม่ให้ท่วม

ไป ๆ มา ๆ ทหารก็ต้องเอา GMC มาขนคนออกไป ตอนแรกไปนอนโรงแรมโก้ ๆ หลายคืน แต่มันอึดอัดมาก ก็เลยย้ายไปนอนบ้านน้าเขยแถว ๆ บางเขน ได้เห็นเขาลอยกระทงกันหน้าบ้านที่น้ำท่วมด้วย กลับมา น้ำเห็นคราบน้ำท่วมสูงมิดหัวเลย ยังมีคราบบอกอย่างชัดเจน


รู้สึกหลังจากนั้น มีเพลงมาล้อ ปู่เทียม ด้วยเหมือนกัน จำได้เลา ๆ  แต่ไม่ชัด ท่อนฮุคร้องประมาณว่า ข้อยสงสาร ปู่เทียมเหลือใจ ( ถ้าจำไม่ผิดนะครับ อาจจะผิดก็ได้เพราะจำตอนเด็กอยู่ ตอนนี้แก่แล้ว ๕๕๕๕ )
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 08:05

วันนี้ไทยรัฐเอาภาพประว้ติศาสตร์ชุดน้ำท่วมปี๒๕๒๖มาลงครับ

http://www.thairath.co.th/content/region/210756

เชิญไปดู

ใครอยากรู้ ย่านที่ตนอยู่ทุกวันนี้ ถ้าน้ำทะลักเข้ามาแบบเลวร้ายที่สุด จะระดับไหน ก็เชิญไปเลือกดู
หรือแก็งค์ลูกน้ำจะบอกให้ รูปไหนเป็นย่านไหนก็คงจะดี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 08:34

เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ๓ พ.ศ.  ๒๔๘๕ - ๒๕๒๖ - ๒๕๓๘

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 16:58

พอดีไปได้รูปที่ลูกสาวเอาไปเก็บไว้ เป็นรูปน้ำท่วมเมื่อปี๒๕๒๖ จึงเอามาฝากไว้ให้กระทู้นี้

บ้านผมอยู่ถนนกรุงเทพกรีฑา ซอย๘ แยก๑๐ (ถนนหมู่บ้านนักกิฬาแหลมทอง หัวหมาก) รูปชุดนี้ถ่ายที่ถนนหน้าประตูบ้าน

ระดับน้ำก็ตามที่เห็นนั่นแหละครับ แต่แหน เกิดจากน้ำท่วมขังนานมาก ประมาณ ๔เดือนมั้ง  ในหมู่บ้านนักกิฬาน้ำลึกกว่านี้ สักประมาณหัวเข่าโดยเฉลี่ย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 17:00

ลูกสองคนของผม ตอนนี้อายุเข้าไปสามสิบกลางๆแล้ว ผมถามเขาว่าจำน้ำท่วมคราวนั้นได้ไหม เขาบอกว่าจำได้ มันสนุกมาก

ผมเป็นตัวพ่อ ไม่ค่อยจะมีรูปกับเขาเพราะเป็นคนถ่าย แม่ลูกน่ะเขามีความสุขกันดี แต่ตัวพ่อไม่เป็นสุขเท่าไหร่เพราะทำหน้าที่เบ๊  แต่ก็ไม่ถึงกับทนทุกข์นะครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 17:08

หลังน้ำท่วม ถนนกรุงเทพกรีฑาได้รับการถมเพิ่มระดับขึ้นมาสูงกว่าที่เคยน้ำท่วม  หากปีนี้ น้ำหลากเข้ามา ก็ไม่น่าจะเลวร้ายกว่าครั้งนั้น

ใครที่อยู่แถวนี้ดูรูปแล้ว ผมหวังว่าจะสบายใจได้ในระดับหนึ่ง

แต่อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิดนะครับ
ขอให้นึกไว้อย่างงั้นก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 17:39

^
เรื่องการถมถนนให้สูงขึ้นนี้ ผมก็มีแนวคิดอีกประการว่า อย่าลืมเรื่องดินทรุดในพื้นที่กรุงเทพ (Soil Settlement) ด้วยนะครับ การทรุดจะทรุดทั้งพื้นที่วงกว้าง ดังนั้นถมถนนใหม่หรือไม่ถม คงต้องอ้างอิงจากพื้นที่ความสูงอ้างอิงจากระดับน้ำทะเลว่ามีผลต่างกันในรอบ 30 ปีเท่าไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 18:09

จริงของคุณ ทุกวันนี้เราไม่มีจุดอ้างอิงเลยว่า ถนนหน้าบ้านของเราเป็นระดับ+หรือ-เท่าไรจากระดับ+/-0 หรือระดับน้ำทะเลปานกลาง

สมมติเวลาเขาบอกว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพ 50 เซนติเมตร เราไม่มีทางทราบเลยว่า ณ ตำแหน่งหน้าบ้านของเรา น้ำจะท่วมกี่เซนติเมตร
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 21:50

มาช้ายังดีกว่าไม่มา มัวแต่ไปปั่นกระทู้สู้กับน้ำอยู่ที่พันทิป คิดถึงคุณชูพงษ์มาหลายวันแล้วว่าเก็บหนังสือเสร็จหรือยัง

แวะมาบอกคุณชูพงษ์ถึงวิธีง่ายๆ ในการเก็บหนังสือหนีน้ำ ดังนี้ หาซื้อถุงพาสติกอย่างหนาใบใหญ่ๆ แบบที่พวกผู้ค้าส่งที่ตลาดไทเขาใส่พวกผักผลไม้มาจากแหล่งผลิต เอาเบอร์ 24 นิ้วเลยถ้าหาได้

ราคาไม่แพงหรอกครับ ขายเป็นน้ำหนัก กิโลละไม่เกินแปดสิบบาท ก็ได้สิบกว่าใบแล้ว

ได้มาแล้วก็บรรจงเรียงหนังสือลงในถุงให้เรียบร้อย อย่าให้ไปเกี่ยวเอาถุงขาดล่ะ ตอนปิดถุงพยายามทำให้ถุงโป่งๆ เข้าไว้จะไ้ด้มีอากาศเก็บไว้มากๆ จัดการรวบปากถุงแล้วมัดด้วยเทปกาวพลาสติกอย่างเหนียว ถ้าได้เทปกาวแบบที่ใช้ผลึกกล่องสินค้ายิ่งดีใหญ่ เทปแบบใสนะครับไม่ใช่เทปแบบสีน้ำตาล มันบางเกินไปจะขาดซะก่อน

แล้วพับปากถุงลง พันด้วยเทปกาวอีกครั้งให้แน่น วางทิ้งไว้กับพื้นบ้านชั้นล่างนั่นแหละครับ ไม่ต้องยกหนีขึ้นข้างบน แรงดันของอากาศในถุงจะช่วยดันไม่ให้น้ำเข้ามาในถุงได้ด้วยอีกส่วนหนึ่ง แต่ต้องมัดปากถุงให้แน่นจริงๆ นะครับ

ผมก็เลียนแบบมาจากการเอารถเก๋งใส่ถุงพลาสติกนั่นแหละครับ

จะได้ไม่ต้องนั่งร้องไห้ แล้วต้องแคะกระปุกไปหาหนังสือมาสะสมใหม่
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 ต.ค. 11, 08:57

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู เรียนคุณลุงไก่ และท่านสมาชิกเรือนไทยทุกท่านครับ

   ณ เวลานี้ หนังสือวรรณคดี รวมถึงกวีนิพนธ์บางส่วนที่ผมเห็นว่าจำเป็นจริงๆ (หมายถึงถือเสมือนหัวใจหลัก หรือแม่แบบในการศึกษา) ได้รับการขนย้ายทยอยขึ้นชั้นสองไปแล้วครับ ผมพลอยโล่งอกไปเปลาะหนึ่งหละครับ กะไว้แล้วว่า อย่างต่ำๆ ระดับน้ำปีนี้ แถวบ้านคงประมาณ ๑ เมตร ถึงเมตรครึ่ง แต่ถ้าสูงเกินกว่าที่คะเน ก็สุดแต่บุญแต่กรรมครับ

   ระหว่างรอลุ้นว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่ ผมก็เขียนอะไรเล่นๆ ปลอบใจตัวเองไปพลางๆเพื่อมิให้เครียดมากนัก ระบายความวิตกออกมาเสียบ้าง ขออนุญาตนำความรู้สึกของผมซึ่งบันทึกไว้ในรูปของงานตามขนบฉันทลักษณ์มาลงไว้ที่เว็ปไซต์เรือนไทยสักชิ้นนะครับ เผื่ออาจจะตรงกับความรู้สึกของอีกหลายๆท่านครับผม

คุยกับน้ำ

      ยิ้มเยื้อนเอื้อนถาม...น้ำจ๋า
หลั่งมาล้าเมื่อยเหนื่อยไหม
กรรชากกรากเชี่ยวเกรี้ยวไกร
ท่วมไทย ท่วมฟ้าธาตรี

   หลายเมืองเนืองนับรับน้ำ
ยังร่ำไล่รุกทุกที่
จวนถึงเทวาธานี
ถิ่นนี้เคยล้นชลนอง

   เชิญเยือนเรือนย่านบ้านเก่า
พวกเราคับคั่งทั้งผอง
แม้แย่ แม้กลัว หัวพอง
เราต้องรับท่าน...ทานทน

   คงเห็นเช่นตอนก่อนบ้าง
เรือจ้างลอยล่องท้องถนน
คนกรำทำงาน/ทำงน
ดั้นด้นลุยน้ำฉ่ำแด

   ป้องกันท่านไว้ไม่หยุด
เราอุด ท่านพลั่งพังแน่
คนฤาดื้อรั้นผันแปร
ธรรมชาติคือแม่แท้เทียว

   เอื้อนเผยเอ่ยพร่ำ...น้ำจ๋า
แม้นล้า เชิญพักสักเดี๋ยว
ถ้าดีมีแรงแกร่งเกลียว
อย่าเหนี่ยวหน่วงเนิ่นเกินนาน

   เครียดขึงตึงที่ศีรษะ
อยากดูวาระอวสาน
อั้นอ้นทนรอทรมาน
เชิญท่านเข้า กทม.

(เขียนเพื่อคลายความเครียดของตัวเอง เมื่อคืนวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ครับผม)








   


บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 22:36

ปี 2526 ยังจำติดตาครับ ในหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทองเมื่อต้องไปทำงานต้องเดินลุยน้ำไปปากซอยเพื่อรอรถทหารซึ่งจะไปส่งที่บางกะปิ ถ้าไปรถไฟต้องลงเรือที่ปากซอยแล้วเรือจะไปส่งที่สถานีรถไฟทับช้าง ถ้าพลาดรถไฟเป็นอันว่าต้องนั่งเรือกลับบ้าน แถวนั้นไม่ต้องห่วงครับถ้าฝนตกตอนดึก จะนอนภาวนาขอไม่ให้น้ำท่วมเพราะออกไปทำงานไม่ได้ ลำบากจริงๆครับ หลังจากสร้างถนนวงแหวนและเปลี่ยนท่อระบายน้ำใหม่ดูเหมือนว่าน้ำจะไม่ท่วมแล้วยกเว้นน้ำในคลองบ้านม้าหรือคลองทับช้างขึ้นจริงๆก็ไม่แน่เหมือนกัน ผมโบกมือลาหมู่บ้านนักกีฬามาเกือบสิบปีแล้วเพราะหนีปัญหาน้ำท่วมมาอยู่แถวคลองสามวาช่วงนี้เลยต้องวิ่งดูน้ำตามคลองต่างๆทั้งเช้าและเย็น   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง