เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 15748 ขออนุญาตเรียนเชิญทุกท่านร่วมเปิดบันทึกน้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๒๖ ครับ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 11:16

ผมยังคงจบไม่ได้ ถ้าไม่ได้เล่าตอนนี้

วันรุ่งขึ้นหลังจากที่ปู่เทียมโชว์เดี่ยวไมค์โครโฟนแล้ว หนังสือพิมพ์ก็รุมทึ้งปู่แบบสิ้นสงสาร ไม่กี่วันต่อมาก็เห็นทหารขนกระสอบทราย พร้อมนำกำลังพลหลายกองร้อย มาระดมช่วยกันเรียงเป็นพนังกั้นน้ำบนถนนรามคำแหงทั้งสองข้าง แล้วสูบน้ำออก วันสองวันเอง ถนนรามคำแหงรถเล็กก็วิ่งช้าๆผ่านได้
 
เช้าๆ ผมก็ขับรถกระบะ มีพ่อแม่ลูกวัยประถมชายหญิงอีกสอง ออกจากบ้านมายังปากซอยที่โรงงานตั้งอยู่ ให้แม่เขาขับรถของเราที่ฝากไว้แถวนั้น พาลูกไปโรงเรียน ตอนเย็นทุกคนจะมารวมกันที่เดิม แล้วถ่ายขึ้นรถกระบะลุยน้ำกลับบ้าน เด็กๆสนุกมากตรงข้ามกันกับผู้ใหญ่
ถนนรามคำแหงกลับมาใช้งานได้รวดเร็วคราวนั้น มีข่าวลือว่ามีประชาชนที่นอนดึก เห็นขบวนรถของพระเจ้าอยู่หัวสี่ห้าคัน วิ่งลุยน้ำช้าๆผ่านหน้ารามไปสักพักใหญ่ๆ แล้วย้อนกลับทางเดิม

ถึงจะไม่มีการยืนยันแต่ทุกคนก็พร้อมจะเชื่อ เพราะเห็นประจักษ์อยู่เสมอมาว่าพระเจ้าอยู่หัวช่วงที่ทรงแข็งแรงดีอยู่นั้น จะเสด็จไปทุกหนทุกแห่งแห่งที่ราษฎรมีทุกข์ด้วยพระองค์เอง  เพื่อทรงหาทางดับทุกข์นั้น


บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 13:45

ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ

   ผมอ่านข้อความของท่าน NAVARAT.C แล้วขนลุกด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่ยิ่ง ขออนุญาตเรียนถามความคิดเห็น, ข้อคาดคะเนของท่าน NAVARAT.C รวมถึงทุกๆท่านครับ

   ผมอ่านข่าวน้ำท่วมอยุธยา รู้สึกเหมือนอุทกภัยครั้งนี้ราวคงคามหานทีพลิกคว่ำ สอบถามจากคุณลุงท่านหนึ่งซึ่งท่านตาบอด ท่านว่า ปี ๒๕๒๖ อยุธยายังไม่สาหัสขนาดนี้ ท่านคิดว่า กทม. พ.ศ. ๒๕๕๔ อาจพอๆหรือหนักกว่า ๒๕๒๖ ครับ ผมเองไม่มีความรู้เรื่องน้ำหรือเรื่องถนนหนทางเส้นสัญจรใดๆทั้งสิ้น เลยขอหยั่งเสียงทุกท่านครับ ท่านว่าน้ำท่วม ๒๕๕๔ สำหรับกรุงเทพมหานครควรจะเป็นอย่างไร หนักเบาปานใดขอรับ
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:02

เอาข้อมูลมาฝากครับคุณชูพงศ์

ระดับน้ำปี ๒๖ ระดับน้ำสูงสุด +๒.๑๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง

ระดับน้ำปี ๓๘ ระดับน้ำสูงสุด +๒.๒๗ เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง

จะเห็นว่าปี ๓๘ นั้นปริมาณน้ำนั้นมีมากกว่าปี ๒๖ แต่ระบบป้องกันน้ำท่วมปี ๓๘ ก็เริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มาต่อที่ระดับความสูงของถนน วัดกับระดับน้ำทะเลกันว่าถนนใดสูงต่ำเพียงไร

ลักษณะของพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา เสมือนมีกะทะวางอยู่ ๒ ใบด้านซ้ายและขวา ตรงกลางที่ว่างเสมือนแม่น้ำเจ้าพระยา ริมขอบกะทะฝั่งตะวันออกเสมือนถนนมหาราช สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑.๕๐ เมตร ส่วนอีกฝั่งหนึ่งถนนอรุณอัมรินทร์สูง ๑.๖๐ ม. ส่วนพื้นที่แอ่งกะทะก็ตกอยู่ที่บริเวณถนนเพชรบุรีและรามคำแหง รวมทั้งสุขุมวิท

เช่น ถนนเพชรบุรีมีความสูง ๐.๐๘ เมตร คือพื้นที่สูงเพียง ๘ เซนติเมตรจากระดับน้ำทะเล

ถนนรามคำแหงความสูง ๐.๓๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล

ถนนสุขุมวิทความสูง ๐.๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล คือระดับเดียวกันกับน้ำทะเลเลย

และในปัจจุบันนี้ทางกรุงเทพมหานครได้ทำการก่อสร้างอุโมงค์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ เมครใต้ดินสำหรับผันน้ำออกไปแม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วขึ้น ซึ่งกทม. ได้เลือกบริเวณท้องกะทะนี่แหละครับ ทำก่อนเพื่อนเลย คือบริเวณย่านถนนพระราม ๙ ซึ่งติดกับคลองแสนแสบตั้งสถานีปากอุโมงค์ครับ ย่านรามแหง หัวหมาก น่ำจะไหลลงมาคลองแสนแสบและปล่อยเข้าไปยังอุโมงค์นี้ลงใต้ดิน น้ำจะวิ่งใต้ดินไปยังปากคลองพระโขนงซึ่งมีสถานีสูบน้ำจากใต้อุโมงค์ขึ้นมารีบนำไปปล่อยปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงคลองเตยครับ ช่วยลดระยะเวลาการขังตัวของน้ำในพื้นที่เขตดังกล่าว

ภาพประกอบความสูงจากพันทิป ซึ่งได้แปลอธิบายเป็นตัวอักษรให้คุณชูพงศ์ด้านบนแล้ว



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:13

แว่วๆเสียงจากข่าวโทรทัศน์  ว่ามีผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องออกมายอมรับว่า อุโมงค์ยักษ์ที่สร้าง ทำงานไม่ได้ผล      ใครพอจะขยายความเรื่องนี้ให้เข้าใจหน่อยได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:22

แว่วๆเสียงจากข่าวโทรทัศน์  ว่ามีผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องออกมายอมรับว่า อุโมงค์ยักษ์ที่สร้าง ทำงานไม่ได้ผล      ใครพอจะขยายความเรื่องนี้ให้เข้าใจหน่อยได้ไหมคะ

ไม่ได้ผลอย่างไรเดี๋ยวคงรู้กัน  ยิงฟันยิ้ม

9 ต.ค. - กทม.เชื่ออุโมงค์ยักษ์ช่วยระบายน้ำออกจากด้านฝั่งตะวันออกได้ พร้อมให้ทุกเขตเตรียมสถานที่อพยพประชาชน ยืนยันไม่ได้มีการปิดประตูระบายน้ำแต่หากหน่วยงานใดขอให้เปิดเพิ่มขอให้แจ้งล่วงหน้า

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการทำงานอุโมงค์ยักษ์พระราม 9-รามคำแหง ภายในสถานีสูบน้ำพระโขนง และให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า อุโมงค์ยักษ์แห่งนี้ ทำหน้าที่สูบระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำในคลองพระโขนง ซึ่งเชื่อมต่อกับคลองประเวศ คลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว รับระบายน้ำฝน น้ำทิ้งจากชุมชนในเขตพระโขนง บึงกุ่ม วัฒนา คลองเตย มีนบุรี หนองจอก ประเวศ ลาดกระบัง ห้วยขวาง และลาดพร้าว รวมพื้นที่รับผิดชอบ 360 กิโลเมตร ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อุโมงค์ดังกล่าวได้เปิดทำงานเต็มอัตราตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง ทำให้สามารถมีกำลังในการระบาย 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมกับสถานีสูบน้ำพระโขนงอีก 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้สถานีสูบน้ำแห่งนี้มีกำลังการสูบน้ำทั้งสิ้น 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือคิดเป็นประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถ้าหากรวมกับสถานีสูบน้ำแห่งอื่นๆทั่วกรุงเทพมหานครจะมีกำลังการระบายน้ำประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในปริมาณการระบายน้ำดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เพียงพอที่สามารถระบายน้ำและป้องกันการท่วมภายในพื้นที่กทม. และสามารถเพิ่มได้หากมีการประสานงานมา

"ผมขอยืนยันว่า สถานีสูบน้ำของกทม.ไม่ได้ปิดประตูตามที่เป็นข่าว ทั้งนี้การเปิดประตูระบายน้ำขึ้นอยู่กับศักยภาพและขนาดของสถานีระบายน้ำแต่ละแห่ง รวมถึงชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ หากหน่วยงานใดต้องการให้ประตูระบายน้ำเพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำให้มากขึ้นก็สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่ต้องประสานล่วงหน้า เพื่อจะได้ประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ เตรียมพร้อมกับปริมาณน้ำทีเพิ่มขึ้นจากการระบายน้ำของสถานีที่จะเปิดเพิ่มขึ้น" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว

นอกจากนี้ยังเป็นห่วงในช่วง 13-16 ตุลาคม เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนเข้ามาเพิ่ม ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า เป็นห่วงในพื้นที่กทม.ด้านตะวันออก และพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำใน 13 เขตที่อาจได้รับผลกระทบ พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้สำนักงานเขตในพื้นที่เสี่ยงเตรียมความพร้อมในการอพยพประชาชน หากกรณีน้ำท่วมสูงเข้าในพื้นที่ โดยใช้พื้นที่โรงเรียนในสังกัดเป็นสถานที่พักสำหรับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนด้วยพร้อมกับ เตรียมกระสอบทราย โดยสั่งเพิ่มอีกกว่า 1 ล้านใบ แต่ขณะนี้ติดปัญหาทรายขาดตลาดที่ไม่เฉพาะในกทม. แต่เป็นทั่วประเทศ - สำนักข่าวไทย

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:29

ด้วยงบประมาณกว่า ๒,๔๐๐ ล้านบาทนะครับที่ก่อสร้างโครงการนี้ไม่ใช่เฉพาะอุโมงค์ใต้ดินกว้าง ๕ เมตรเท่านั้น หากแต่ยังก่อสร้างสถานีสูบน้ำ เขื่อนคอนกรีตกันตลิ่งพัง ส่วนเรื่องที่จะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้นคงขึ้นกับกระบวนการของเครื่องสูบน้ำมากกว่าซึ่งต้องใช้ไฟฟ้าในการเดินระบบ

ระบบท่อส่งน้ำใต้ดินเป็นระบบเดียวกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งใหญ่เล็กกว่ากันไม่เท่าไรนัก ข้อมูลเชิงตัวเลขวัดความกว้างอุโมงค์รถไฟใต้ดินที่ ๕.๖๐ เมตร ส่วนอุโมงค์ผันน้ำนี้กว้าง ๕ เมตรครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:40

ลักษณะของโครงการมีแนวคิดคือการดึงน้ำในคลองแสนแสบที่เอ่อท่วมรีบระบายออกแม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วที่สุด การก่อสร้างก็ตั้งสถานีรับน้ำไว้ที่ริมคลองแสนแสบให้น้ำไหลเข้าและลงอุโมงค์ น้ำจะไหลไปยังปากคลองพระโขนงด้วยระบบใต้ดินความยาว ๒๕ กิโลเมตรและจะไปเจอกับเครื่องสูบน้ำจากใต้อุโมงค์ปล่อยออกแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยอัตรา ๖๐ ลูกบาศ์กเมตร/วินาที (๓๖๐๐ ลูกบาศ์กเมตร/นาที)

ข้อกังวลว่าประสิทธิภาพที่ไม่ร้อยเปอร์เซนต์อยู่ตรงไหน อยากจะทราบเช่นกันว่าเกิดจากอะไร เครื่องสูบน้ำมี ๔ ตัว อาจจะเดินเครื่องไม่เต็มที่ หรือการจัดระดับน้ำ หรืออัตราการไหลของน้ำในคลองแสนแสบที่ยังมีปริมาณมากเกินไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:50

^
^
คุณหนุ่มมีแผนผังไหมครับ อุโมงค์ที่ว่านี้ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่จุดใด ผมทราบแต่ว่าอุโมงค์เป็นวิธีแก้เคล็ด คือ เมื่อก่อนมีการเสนอให้ขุด “เจ้าพระยา๒”ขึ้นเพื่อผันน้ำลงทะเล  ก็มีผู้ฉลาดคัดค้านกันตะเบ็งเซ็งแซ่ ตั้งแต่ว่าจะทำลายระบบนิเวศน์ ไปถึงทำลายภาพพจน์อันศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำสายประวัติศาสตร์ของไทย จนต้องพับโครงการ ตอนหลังพอเป็นโครงการณ์อุโมงค์ระบายน้ำ กลุ่มคัดค้านเลยไม่ค่อยมีประเด็นจะเล่น

ปี๒๕๒๖ น้ำท่วมอยุธยาและภาคกลางมากกว่าปีอื่นๆก็จริง แต่ไม่หนักหนาสาหัสเหมือนกับพวกอยู่ชานเมืองหลวง เพราะกทม.เล่นสร้างเขื่อนอุดคลองทุกสายที่เมื่อก่อนจะระบายน้ำผ่านกรุงเทพไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา บันทึกหลายแห่งบอกว่าน้ำท่วมคราวนั้น๔เดือน แต่ผมขอยืนยันว่าบริเวณหัวหมาก หรือย่านรามคำแหงของคุณชูพงษ์นั้น น้ำท่วมอยู่๖เดือนครับ

ที่เป็นอย่างนี้เพราะคลองต่างๆที่ตัดเชื่อมคลองแสนแสบไปออกคลองประเวศ และตรงไปออกทะเลแถบสมุทรปราการ เช่นคลองชวดลากข้าว คลองพระองค์เจ้าไชยนุชิต ฯลฯ ที่เคยระบายน้ำฝน ก็น้ำตื้นเขินเพราะมิได้ทำนุบำรุง ผักตบชวาอยู่เต็ม นอกจากนั้นแล้วถนนบางนาตราด ถนนบางปูคลองด่าน ล้วนเป็นกำแพงกันน้ำ คือตอนสร้างถนนเหล่านี้เขาต้องการกันน้ำเค็มไม่ให้เอ่อขึ้นมาทำลายนาข้าว แต่ในทำนองกลับกัน มันก็ป้องกันน้ำหลากไม่ให้ลงทะเลด้วย

หลังน้ำลด พระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกผู้รับผิดชอบทั้งหมดทุกกรมกองไปถวายงานที่พระตำหนักอยู่นานนับปี หนึ่งในหลายๆโครงการที่ออกมาแก้ไขปัญหาสำหรับอนาคต มีการขุดลอกคลองและสร้างประตูน้ำในคลองชื่อต่างๆที่ผมกล่าวมา รู้สึกว่าแก้มลิงก็ทรงแนะนำให้ทำในช่วงนั้นด้วย น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี๒๕๓๘ หัวหมากน้ำท่วมไม่มากและไม่นานก็ลด ปีนั้นพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ทหารเรือนำเรือยกพลขึ้นบกไปจอดเรียงเป็นตับในคลองที่ผมเอ่ยชื่อไปแล้วเพื่อใช้ใบพัดดันน้ำลงทะเลช่วงน้ำลง
ทำมั้ย ข้าราชการรุ่นนั้นที่อยู่มาถึงสมัยนี้จึงลืมเสียแล้ว ปล่อยให้คลองอยู่ในสภาพเดิมๆ นี่มาสั่งผู้ว่าสมุทรปราการให้ไปขุดลอกคลองเหล่านั้นให้เสร็จภายใน๑๐วัน มันจะเล่นแบบเผาเครื่องมากไปหน่อย

การสร้างสนามบินหนองงูเห่า ก็ไปถมที่ลุ่มผืนหมึมายักษาอันเคยเป็นพื้นที่รับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ คลองและลำรางเดิมต่างๆถูกถมหมด พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงทักและนักวิชาการหลายคนก็เตือนดังๆ แต่พณฯท่านทั้งหลายก็ตอบผู้สื่อข่าวว่า เค้าได้สร้างทางระบายน้ำแก้ปัญหาไว้หมดแล้ว
เอาละ แล้วท่านก็คอยดูกันต่อไป อีกไม่นานก็รู้กัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 15:00

แผนผังครับ อ.NAVARAT.C เห็นปากคลองพระโขนงไหมครับ ที่ตั้งสถานีสูบน้ำไม่ได้ตั้งอยู่ติดแม่น้ำเท่าไรนัก อาจจะด้วยปัญหาพื้นที่ของท่าเรือคลองเตย ทำให้น้ำต้องใช้เวลาอีกนิดเพื่อจะออกแม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับอาคารน้ำเข้า Inlet นั้นก่อสร้างไว้ริมตลิ่ง ไม่ได้ตั้งขวางทางคลองแสนแสบ ลองนึกถึงสภาพน้ำไหลซ้ายไปขวา อาคารรับน้ำล้นเข้าทางข้าง ๆ คือแบบว่าน้ำมันไหลพรวดแต่ค่อย ๆ รินเข้าตลิ่งข้าง ๆ ลงสู่อุโมงค์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 15:06

อึมม์....มันไม่ใช่เจ้าพระยา ๒

คงได้ผลบ้าง

แค่ส่วนหนึ่ง ซึ่ง ถึงไม่น้อย ก็ไม่มากพอ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 15:07

ภาพกำลังก่อสร้างปากทางน้ำล้นถนนพระราม ๙ ริมคลองแสนแสบ ด้านข้างเป็นคลองแสนแสบ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 15:08

อึมม์....มันไม่ใช่เจ้าพระยา ๒

ไปบ่อยหรอครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 15:11

^
เคยไป แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเหมือนกัน อายจัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 15:23

น้ำท่วมปี ๒๕๒๖ ประชาชนชาว กทม. ต่างร่วมชะตากรรมน้ำท่วมด้วยกันสูงบ้าง น้อยบ้าง แต่วิถีชีวิตก็อาจจะปรับเปลี่ยนกันไป มอเตอร์ไซด์รับจ้างเริ่มเข้ามามีบทบาทในการขนส่งผู้คนหลังน้ำลด เรือโดยสารต่างออกตัวกันเป็นล่ำเป็นสัน

ช่วงนั้นได้ยินข่าวที่น่ากลัวอย่างหนึ่งว่า เวลาเดินในน้ำท่วมให้ระวังไม้เสียบลูกชิ้นให้ดี เวลาเดินลุยน้ำไม้จะพุ่งเข้าเสียบขาเลย เรื่องงูก็น่ากลัวไม่น้อย ยกเหตุการณ์การกั้นกระสอบทราบที่หน้าบ้านข้าพเจ้า ตลอดระยะภาวะน้ำท่วมก็แปลกใจว่าทำไมน้ำซึมผ่านกระสอบทรายได้ทุก ๆ วัน หลังกระสอบทรายเป็นพื้นที่แห้งจะยาด้วยดินเหนียวตามรูไม่ให้น้ำไหล อุดรูต่าง ๆ ไว้

หลังน้ำลดก็ค่อย ๆ เอาดินเหนียวออกเจอรูอยู่ ๑ รูไม่ได้คิดอะไรมาก ก็นึกว่ารูนี้ไงที่ทำให้น้ำไหลซึมตลอดเวลา ที่ไหนได้ พอยกกระสอบทรายขึ้นมา เผ่นกันแทบไม่ทัน งูดินยาวมากมาอาศัยซ่อนตัวอยู่นี่เอง น่ากลัวมากครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 16:00

อุโมงค์ของกทม.ปล่อยออกแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยอัตรา ๖๐ ลูกบาศ์กเมตร/วินาที (๓๖๐๐ ลูกบาศ์กเมตร/นาที) หรือ ๕,๑๘๔,๐๐๐ลูกบาศ์กเมตร/วัน

เขื่อนภูมิพล ณ วันนี้ (เขื่อนเดียว) ระบายน้ำหนีน้ำล้นเขื่อนวันละ ๑๐๐ล้าน ลูกบาศ์กเมตร/วัน มากกว่ากันเกือบ๒๐เท่า ไม่นับน้ำที่มีอยู่แล้ว และน้ำที่จะมาจากท้องฟ้า


อ้างถึง
ข้อความโดย: เทาชมพู


แว่วๆเสียงจากข่าวโทรทัศน์  ว่ามีผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องออกมายอมรับว่า อุโมงค์ยักษ์ที่สร้าง ทำงานไม่ได้ผล      ใครพอจะขยายความเรื่องนี้ให้เข้าใจหน่อยได้ไหมคะ

ผมขยายความให้แล้วนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง