เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 96617 ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:21

เห็นแต่ละท่านงัดเอาหลักบาลีสันสกฤตมาว่ากันแล้วเลยรู้ตัวว่าข้าพเจ้านี้ยังรู้น้อยกว่าหลายๆ ท่าน  แตโดนคุณหลวงท่านอาราธนาไว้  จะเฉยเสียก็จะเสียศรัทธา  เลยขอตอบเท่าที่พอจะตอบได้ ดังนี้ครับ

๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

ตอบ พระราชประสงค์ให้มีนามสกุลนั้นนอกจากเพื่อสะดวกในการจัดทำทะเบียนสำมโนครัวหรือปัจจุบันเรียกว่าทะเบียนราษฎร์แล้ว  ยังทรงมุ่งหมายให้นามสกุลเป็นเครืองรำลึกถึงเกียรติประวัติของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นสกุล  ซึ่งนอกจากลูกหลานจะภาคภูมิใจแล้วยังต้องมีหน้าที่รักษาเกียรติวงศ์สกุลไว้ด้วย  กล่าวง่ายๆ ก็คือ ให้คนนึกสังวรณ์ถึงเกียรติประวัติของวงศ์สกุลซึ่งจะช่วยลดการกระทำผิดคิดร้าย


๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก
โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

ตอบ  พระราชทานให้ทั้งหมด ๕ สกุล คือ
๑) สุขุม  พระราชทานเจ้าพระยายมราช (ปั้น)  เสนาบดีกระทรวงนครบาล  ท่านผู้นี้เคยถวายพระอักษรเมื่อทรงพระเยาว์และเมื่อแรกเสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  มีบันทึกว่า มีรับสั่งกับเจ้าพระยายมราชว่า ถ้าครูตายฉันจะแต่งขาวไปเผาศพครู  

๒) มาลากุล  พระราชทานเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ  และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง  เจ้าพระยาพระเสด็จฯ นั้นเป็นพระอภิบาลและเป็นครูถวายพระอักษรภาษาไทยเมื่อเสด็จไปทรงศึกษาที่อังกฤษ  แต่ถูกเรียกตัวกลับมาจัดแผนการศึกษาชาติก่อน  เมื่อเจ้าพระเสด็จฯ ถึงอสัญกรรมล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระภูษาขาวเสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิง  เจ้าพระยาธรรมาฯ นั้น  ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในฐานะเป็นข้าราชสำนักผู้ใหญ่ที่รอบรู้ขนบประเพณีในพระราชสำนักเป็นอย่างดีโดยสืบทอดหน้าที่ต่อกันมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์    

๓) พึ่งบุญ  พระราชทานเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ) และพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น)  เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวานั้นเป็นบุตรของพระนมทัด  พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จไปทรงศึกษาที่อังกฤษ  ท่านทั้งสองนี้ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชสำนักสมเด็จพระพันปีหลวง  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากอังกฤษได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระองค์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ประจำรับใช้ใกล้ชิดพระยุคลบาทมาโดยตลอด

๔) ณ มหาชัย  พระราชทานพระยาเทพทวาราวดี (สาย) จางวางมหาดเล็ก  พระยาเทพฯ นี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาประจำรับราชการในพระองค์ตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเทพทวาราวดี ตำแหน่งเจ้ากรมขอเฝ้าในสมเด็จพระบรมโอสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  เพราะก่อนที่จะทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เคยทรงกรมเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดีมาก่อน  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระเทพฯ เป็นพระยาเทพทวาราวดี  ตำหน่งขางวางมหาดเล็ก  แตภายหลังรับพระราชทานนามสกุลไม่นานก็เกิดเหตุทุจริตในแบงก์สยามกัมมาจลเพราะนายฉลองไนยนารถที่พระยาเทพฯ เป็นผู้แนะนำมาเป็นผู้จัดการฝ่ายไทยในแบงก์ดังกล่าวกระทำการทุจริตจนพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รับความเสียหายนับล้านบาท  พระยาเทพฯ เลยต้องหางเลขถูกปลดเป็นกองหนุนและเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาบำเรอบริรักษ์

๕) ไกรฤกษ์  พระราชทานพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) จางวางมหาดเล็ก  และพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ - ต่อมาเป็นเจ้าพระยามหิธร) ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม  พระยาบุรุษฯ นั้นเป็นจางวางมหาดเล็กมาแต่รัชกาลที่ ๕  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงรับราชการในตำแหน่งขางวางมหาดเล็กต่อมา  ส่วนเจ้าพระยามหิธรนั้นทรงคุ้นเคยมาแต่ครั้งเสด็จไปทรงกำกับราชการกระทรวงยุติธรรมเมื่อคราวเกิด "คดีพญาระกา" ในตอนปลายรัชกาลที่ ๕  ทรงจระหนักว่าเป็นผู้ที่รอบรู้กฎหมายและมีความชื่อตรงจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นอธิบดีศาลฎีกา  และเมื่อพระเจ้าพี่ยาเธอ หรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการสิ้นพระชนม์  ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปรับราชการเป็นราชเลขาธิการซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเม่าเสนาบดี  ท่านได้รับราชการในตำแหน่งราชเลขาธิการมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

นามสกุลทั้ง ๕ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อวันที่  ๓๐  พฤษ๓าคม  พ.ศ. ๒๔๕๖  โดยทรงเขียนเป็นพระราชหัตถเลขาพระราชทานไปยังบุคคลที่เป็นผู้รับพระราชทานนามสกุลทั้ง ๕ สกุลนั้น  พร้อมทรงอธิบายถึงเหตุที่ทรงผูกนามสกุลนั้นๆ
ทั้งนี้ นามสกุลพระราชทานในลำดับต้นๆ เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖


๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

ตอบ  วิธีปฏิบัติคือ ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยตรงโดยส่งผ่านกรมราชเลขาธิการ  พร้อมกับแนบบัญชีเครือญาติตั้งแต่ทวด  ปู่  พ่อ จนถึงผู้ขอพระราชทาน  หรือหัวหน้าส่วนราชการรวบรวมรายชื่อพร้อมบัญชีเครือญาตของผู้ที่ประสงต์จะขอพระราชทานนามสกุล  แล้วทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานไปพร้อมกัน  จะมีที่พิเศษเห็นจะได้แก่รายเด็กชายบีว อายุ ๖ ขวบ มหาดเล็กรุ่นจิ๋ว  ซึ่งคุณบัวท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่า  วันหนึ่งตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งมหาจักรี  แล้วจู่ๆ ก็มีรับสั่งถามว่า บัวมีนามสกุลแล้วหรือยัง  เด็กชายบัวได้กราบบังคมทูลว่า "ยัง"  ก็เลยได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ศจิเสวี"  ซึ่งคำว่า "ศจิ" นั้น คือพระนาม "ศจี" ชายาพระอินทร์ซึ่งทรงหมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี  ซึ่งทรงรับอุปกการะ "ลูกบัว" มาตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ (บิดามารดาเสียชีวิตไปก่อนแล้ว)  ส่วน "เสวี" มาจากคำว่า "เสวก"


๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นาม
สกุล
และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

ตอบ  ตามเลขทะเบียนที่บันทึกไว้ใน "สมุดทะเบียฬนามสกุลที่เราให้ไป"  เลขทะเบียนลำดับสุดท้ายคือ ๖๔๓๒  แต่ในสมุดทะเบียฬนามสกุลนั้นมีนามสกุลที่พระราชทานไปแล้วและโปรดให้ถอนออกจากทะเบียฬอีกหลายสกุล เช่น สกุล "สิวะโกเศศ" ที่พระราชทานนายฉลองไนยนารถ (ยู่เส็ง)  เมื่อนายฉลองฯ ต้องพระราชอาญาในคดีแบงก์สยามกัมมาจลฯ ก็โปรดให้ถอนนามสกุลนี้ออกจากทะเบียน  นามสกุล เวลานนท์  พระราชทานวิศวกรชาวเยอรมันที่มาอำนวยการขุดเจาะอุโมงค์ขุุนตาล  เมื่อสยามประกาศสงครามกับเยอรมัน  มีพระบรมราชโองการให้ถอดสัญชาติชาวเยอรมันที่โอนชาติเป็นไทย  นายเวลเลอร์ วิศวกรเยอรมันจึงโดนถอนสัญชาติกลับเป็นเยอรมันและถูกถูกถอนนามสกุลในคราวนั้น  นายเวลเลอร์ถูกส่งตัวไปคุมขังที่อินเดียในฐานะชนชาติศัตรู  แต่ไปเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง  นอกจากนั้นยังมีสกุล "ณ พิศณุโลก" ที่พระราชทานแก่หม่อมคัทรินในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  ซึ่งมีบันทึกในสมุดทะเบียฬนามสกุลแต่่ไม่ลงเลขทะเบียนไว้  กับมีอีกหลายนามสกุลที่เครือญาติต่างคนต่างขอพระราชทานนามสกุลโดยไม่ได้นัดแนะกันเมื่อความทราบฝ่าละอองธึลีพระบาทก็มีพระบรมราชวินิจฉัยให้ใช้นามสกุลหนึ่งและถอนอีกนามสกุลไป  กรณีขอนามสกุลซ้ำกันนี้มีตัวอย่างคือ สกุลอมาตยกุล และเอมะศิริ  ซึ่งต่างก็สืบสกุลลงมาจากพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม)  แต่พระยามหาเทพกษัตรสมุห (เกษียร) ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลนั้นเป็นทายาทชั้นที่ ๖  เมื่อพระยามนูสารสาตรบัญชา (ศิริ) กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล  จึงทรงทราบว่า พระยามนูฯ นั้นเป็นผู้สืบเชื่อสายมาจากพระยามหาอำมาตยาธิบดี ชั้นที่ ๔  จึงมีศักดิ์เป็นปู่ของพระยามหาเทพฯ  หากจะให้ปู่ไปขอใช้นามสกุลน่วมกับหลานก็จะไม่ควร  จึงได้พระราชทานนามสกุลให้ใหม่ว่า เอะศิริ  โดยเอาชื่อหลวงพิพิธสมบัติบุตรพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม) รวมกับชื่อ ศิริ ของพระยามนูฯ

นอกจากนั้นยังมีนามสกุลที่พระราชทานแก่พระราชวงศ์ที่สืบสายราชสกุลลงมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีก ๒๔ สกุลที่มิได้ลงไว้ในทะเบียฬ  รวมแล้วนามสกุลที่ทรงคิพระราชทานทั้งหมดมี ๖๔๖๐ นามสกุล


๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

ตอบ  เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลได้เลย  แต่ต้องไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องถิ่นคืออำเภอที่มีภูมิลำเนาลงทะเบียนไว้

 
๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศ
ต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร
และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่

ตอบ  คุณหลวงท่านตอบไว้ชัดเจนแล้วครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:27

ขอขอบคุณ อ. V_Mee และคุณหลวงเล็กครับ ทั้งนี้ที่ตั้งข้อสงสัยนั้นก่อนหน้านี้ได้อ่านในประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖ จัดให้อ่านดังนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:28

(ต่อ ๒)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:29

(ต่อ ๓)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:30

(ต่อ ๔)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:31

(ต่อ ๕)


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:31

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์

คำว่า นนท์ หรือ นันทน์  ในภาษาบาลี  แปลว่า ความสนุก  ความยินดี  ความรื่นเริง

แต่นนท์ที่ทรงใช้ประกอบเป็นนามสกุล  ทรงใช้ในความหมายว่า "มีชื่อ"   เช่นสกุล "จุลานนท์" ที่พระราชทานนายพันโท พระนเรนทรรักษา (ยิ่ง - ต่อมาเป็น นายพันเอก พระยาวิเศษสิงนาถ) นั้น  มีที่มาจากนามนายร้อยเอก หลวงรัดรณยุทธ (เล็ก) ครูฝึกทหารหน้า  เล็ก = จุล + นนท์ทร่แปลง่ามีชื่อ  สกุลนี้จึงมีความหมายว่า ต้นสกุลชื่อเล็ก  หรือสกุล "ไชยนันทน์" ที่พระราชทานพระยาบริหารราชมานพ* (เชย)  อาจารย์วิชามหาดเล็ก  โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  กับพระสมรรคบริพาร (ชม)  มหาดเล็กกองพระราชพิธี  กรมมหาดเล็ก   สกุลพระยาไชยนาท (โนรี)  ไชยนันทน์ในที่นี้จึงมีที่มาจากต้นสกุลเป็นพระยาไชยนาทซึ่งเป็นเจ้าเมืองชัยนาท


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:32

(ต่อ ๖)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:55

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ ๒ ตัวอย่างนี้ จากราชกิจจานุเบกษา

๑. รายนามสกุลที่ทรงประกาศห้ามไว้ คือ การเอาชื่อนามเมือง พระนคร มาตั้งเป็นสกุล

๒. รายนามผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนาม ห้ามใช้ "ณ" นำหน้าสกุล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 00:07

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น

นนท์ नान्द หรือ นันทน์ नन्दन นอกจากจะมีความหมายว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง อย่างที่คุณวีมีว่าแล้ว ยังมีความหมายว่า "ลูกชาย" อีกด้วย ดูรายละเอียดใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ

๖๑๘๓ วรคุตตานนท์ Varagutta^nanda รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) นายเวร กรมบัญชาการพระอัศวราช ทวดชื่อคุ้ม ปู่ชื่อพร วรคุตตานนท์-ปู่่พรลูกของทวดคุ้ม

 ยิงฟันยิ้ม

  
บันทึกการเข้า
benjawan
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 07:09

กราบขอบพระคุณคุณ luanglek  ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลนามสกุล "จารุกลัส" ค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 19:04


       ไม่ได้เชี่ยวชาญเอกสารเก่าค่ะ    ชอบอ่านมากเท่านั้นเอง

ในงานหนังสือก็ร่าเริง  เพราะได้หนังสือมาบ้างในราคามิตรภาพอันซึ้งบ้าง   ราคาที่ต้องต่อสู้บ้าง

คงต้องอ่านสมบัติที่ได้มาไปอีกสองถึงสามวันค่ะ 

แหม  คุณวันดีก็มักถ่อมตนอย่างนี้เรื่อยเลย
แต่ก็ขอบคุณที่กรุณามาแสดงความเห็น
(แม้จะไม่ตอบคำถามก็ตาม) ยิ้มกว้างๆ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 19:07


เคยได้ยินว่า มาจากคำว่า "อานนท์" แปลว่า ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ

เช่น
"วรคุตตานนท์" พระราชทาน รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม)
มาจากคำว่า วร (นายพร ปู่) + คุปต์ (นายคุ้ม ทวด) + อานนท์

คุณอาร์ทตอบมา  ดีครับ  แต่ยังไม่ถูกทั้งหมด
คราวนี้พลาดไปไม่เป็นไรครับ  คราวหน้ายังมีให้แก้มืออีก
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 19:56

ขอบคุณคุณวีมี ที่กรุณามาฉลองศรัทธารับกิจนิมนต์จากผม
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนามสกุลพระราชทาน
ตามที่คุณหนุ่มสยามได้ทอดฎีกาไว้ ได้อย่างละเอียดชัดเจน ยิ้ม
ทั้งนี้ที่คุณวีมีกล่าวว่า
เห็นแต่ละท่านงัดเอาหลักบาลีสันสกฤตมาว่ากันแล้ว
เลยรู้ตัวว่าข้าพเจ้านี้ยังรู้น้อยกว่าหลายๆ ท่าน
 
แต่โดนคุณหลวงท่านอาราธนาไว้  จะเฉยเสียก็จะเสียศรัทธา 
เลยขอตอบเท่าที่พอจะตอบได้ ดังนี้ครับ

ผมขอชี้แจงว่า  ความตั้งใจของผมที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา
ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นพระปรีชาสามารถด้านภาษาบาลีสันสกฤต
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนที่ยกเอานามสกุลพระราชทานเป็นกรณีศึกษา
ก็เพราะว่า  มีคนจำนวนมากที่อยู่สกุลที่ได้รับนามสกุลพระราชทาน
ไม่ทราบที่มาและความหมายของนามสกุลของตนเอง
ด้วยเหตุนี้  ผมจึงมาตั้งกระทู้นี้ในกลุ่มกระทู้ประเภทภาษาวรรณคดี
เพื่อเน้นเรื่องภาษาโดยเฉพาะครับ

และแน่นอนว่า ที่จะเว้นไม่กล่าวมิได้  คือ คุณหนุ่มสยาม
ที่มีแก่ใจเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขานำเอา
ประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖
จากราชกิจจานุเบกษามาลงไว้อ่านกันอย่างครบถ้วนและทั่วถึงกัน
ขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 20:25

ตามที่ผมได้ตั้งคำถามไว้ว่า

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น

และคุณเพ็ญฯ กรุณาตอบมาดังนี้


นนท์ नन्द หรือ นันทน์ नन्दन นอกจากจะมีความหมายว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง อย่างที่คุณวีมีว่าแล้ว ยังมีความหมายว่า "ลูกชาย" อีกด้วย ดูรายละเอียดใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ

๖๑๘๓ วรคุตตานนท์ Varagutta^nanda รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม) นายเวร กรมบัญชาการพระอัศวราช ทวดชื่อคุ้ม ปู่ชื่อพร วรคุตตานนท์-ปู่่พรลูกของทวดคุ้ม

 ยิงฟันยิ้ม 

ถูกต้องครับ   คำว่า  นนท์ ก็ดี  คำว่า นันทน์ ก็ดี
ที่ประกอบอยู่ท้ายนามสกุลพระราชทานรัชกาลที่ ๖
มีความหมายว่า  ลูกชาย  ครับ  ไม่ได้มีความหมายว่า
ความรื่นเริงบันเทิง ความสนุกสนาน ความยินดีปรีดา
ตามที่เข้าใจกันและมีบางท่านตอบมา

จะขออธิบายเพิ่มเติมว่า

คำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานนี้
ไม่ใช่คำว่า  อานนท์ และ อานันทน์ มาสมาสสนธิ  ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิด
และคำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลนี้
เป็นคำภาษาสันสกฤต ไม่ใช่คำภาษาบาลี
เพราะในภาษาบาลี คำว่า นนท์ และ นันทน์ ไม่มีความหมายว่า ลูกชาย

อย่างไรก็ดี  คำว่า นนฺท  ที่แปลว่า ลูกชาย ในภาษาสันสกฤต
ดูจะมีที่ใช้น้อยนัก  จึงไม่เคยเห็นตัวอย่างที่ใช้ในวรรณคดีสันสกฤต
ผิดกับ นนฺทน ดูจะมีตัวอย่างการใช้ในวรรคดีมากแห่งกว่า
(มีในมหาภารตะ และงานของยัชญวัลกยะ อยากรู้ว่าอยู่ตรงไหน
เชิญค้นคว้าได้ด้วยตนเองครับ)

มีคำถามต่อไปว่า  การที่รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้คำว่า นนท์
และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานนี้
น่าจะมีที่มาเป็นแน่  จึงอยากถามท่านที่ผ่านไปมาในเรือนไทย
ช่วยกันหาคำตอบหน่อย (อย่าให้ต้องเอ่ยนามกันเลย
เดี๋ยวจะกลายเป็นห้องเรียนไป)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง