เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 96615 ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:08

นอกจาก จารุกลัส ยังมี

๔๗๘๒ จารุเกษม
๒๖๕๖ จารุคะรุฑ
๒๐๙๔ จารุจรณ
๑๖๔๔ จารุจันทร
๑๔๘๒ จารุจารีตร์
๐๓๗๘ จารุจินดา

เอาแค่ ๖ จารุก่อน

คุณหลวงกรุณาอธิบายที่มาและความหมายของนามสกุลข้างต้น

ป.ล. ใครที่ไม่ได้ชื่อคุณหลวงก็เข้ามาตอบได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:08


นอกจากนี้  จารุ ยังหมายถึง  หญ้าฝรั่น  ด้วย
ส่วนว่าทำไมจารุถึงหมายถึงว่า หญ้าฝรั่น นั้น  ไม่บอก



เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:16

คุณเพ็ญฯ  ผมใช้อักขราภิธานสันสกฤตของ วรฺมนฺ ศิวฺรมฺ อปฺเต
ว่าไว้เช่นนั้น  แต่ยังไม่ได้ดูในมหาอักษราภิธานของ ม.ม.วิลเลียม
แต่คาดว่าคงเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:25

นอกจาก จารุกลัส ยังมี

๔๗๘๒ จารุเกษม
๒๖๕๖ จารุคะรุฑ
๒๐๙๔ จารุจรณ
๑๖๔๔ จารุจันทร
๑๔๘๒ จารุจารีตร์
๐๓๗๘ จารุจินดา

เอาแค่ ๖ จารุก่อน

คุณหลวงกรุณาอธิบายที่มาและความหมายของนามสกุลข้างต้น

ป.ล. ใครที่ไม่ได้ชื่อคุณหลวงก็เข้ามาตอบได้

 ยิงฟันยิ้ม

ขออภัย  ช่วงนี้ไม่สะดวกที่จะรับการลองภูมิจากผู้ใดครับ
ทำไมคุณเพ็ญฯ ไม่ลองทำดูบ้างล่ะครับ 
คุณเพ็ญฯ ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าผมไม่ใช่หรือ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:42

จารุที่ตรงไปตรงมา

๒๗๔๙ จารุวณิช Cha^ ruvanija ขุนวิเศษดรุณกิจ (บ้วนเฮง) อาจารย์โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ทวดชื่อทอง ค้าขาย

๒๖๐๔ จารุวรรณ Cha^ruvaina นายเรือโทอรุณ นายเวรหนังสือ กรมยุทธโยธา ปู่ชื่อทอง

๐๙๒๘ จารุวิจิตร Cha^ruvichitra หลวงวรรณวาดวิจิตร (ทอง) ช่างเขียน กรมรองงาน กระทรวงวัง

๐๗๗๔ จารุศิลา Cha^rusila^ นายร้อยตรีหมอ ประจำกองร้อยที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมืองกรุงเก่า (บุตร) กับนายเนตร (บิดา) ทวดคือพระยาสุรบดินทร (ทองอิน) ปู่คือพระยาประชาชีพบริบาล (ศิลา)

๓๗๓๕ จารุเศวต Cha^rusvrta พลเสือป่าเกลื่อน กรมเสือป่ารักษาดินแดนตวันตก ทวดชื่อพระอินทอักษร (ทอง) ปู่ชื่อขุนประจักษ์ (เผือก)

๐๘๘๙ จารุเสถียร Charusthi^ra พระบุรีสราธิการ (เป้า) ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี ปู่ชื่อเอี่ยม บิดาชื่ออยู่

นามสกุลสุดท้ายนี่ถือว่าแปลเอาความ

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:45


เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:53


เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ




เกสรสีเหลืองก็จริงอยู่ แต่นำมาผสมน้ำแล้วให้สีเหลืองทองกว่ามาก และย้อมข้าวสาร หุงได้สีสวยมาก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 16:00

จารุ चारु cAru มีความหมายมากมาย



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 16:05

จารุที่ตรงไปตรงมา

๒๗๔๙ จารุวณิช Cha^ ruvanija ขุนวิเศษดรุณกิจ (บ้วนเฮง) อาจารย์โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ทวดชื่อทอง ค้าขาย

๒๖๐๔ จารุวรรณ Cha^ruvaina นายเรือโทอรุณ นายเวรหนังสือ กรมยุทธโยธา ปู่ชื่อทอง

๐๙๒๘ จารุวิจิตร Cha^ruvichitra หลวงวรรณวาดวิจิตร (ทอง) ช่างเขียน กรมรองงาน กระทรวงวัง

๐๗๗๔ จารุศิลา Cha^rusila^ นายร้อยตรีหมอ ประจำกองร้อยที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมืองกรุงเก่า (บุตร) กับนายเนตร (บิดา) ทวดคือพระยาสุรบดินทร (ทองอิน) ปู่คือพระยาประชาชีพบริบาล (ศิลา)

๓๗๓๕ จารุเศวต Cha^rusvrta พลเสือป่าเกลื่อน กรมเสือป่ารักษาดินแดนตวันตก ทวดชื่อพระอินทอักษร (ทอง) ปู่ชื่อขุนประจักษ์ (เผือก)

๐๘๘๙ จารุเสถียร Charusthi^ra พระบุรีสราธิการ (เป้า) ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี ปู่ชื่อเอี่ยม บิดาชื่ออยู่

นามสกุลสุดท้ายนี่ถือว่าแปลเอาความ

 ยิงฟันยิ้ม



เห็นไหม  คุณเพ็ญฯ ก็ทำได้เหมือนกัน
นามสกุลจารุเสถียรนั้น ผมสันนิษฐานไปทางเดียวกันกับคุณเพ็ญฯ
นี่แสดงว่า  รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้คำว่า  จารุ  ตั้งนามสกุลพระราชทาน
ไปหลายนัย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 16:10


เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ


เกสรสีเหลืองก็จริงอยู่ แต่นำมาผสมน้ำแล้วให้สีเหลืองทองกว่ามาก และย้อมข้าวสาร หุงได้สีสวยมาก

ขอข้าวหุงย้อมสีหญ้าฝรั่นมาให้ดูสักจานหนึ่งซิ ออกขุน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 16:18


เดาอีกว่า หญ้าฝรั่น มีเกสรสีเหลืองทอง

อาจจะใช่กระมัง  แต่ผมคิดว่า  อาจจะเป็นสีที่ได้จากหญ้าฝรั่นก็ได้นะ


เกสรสีเหลืองก็จริงอยู่ แต่นำมาผสมน้ำแล้วให้สีเหลืองทองกว่ามาก และย้อมข้าวสาร หุงได้สีสวยมาก

ขอข้าวหุงย้อมสีหญ้าฝรั่นมาให้ดูสักจานหนึ่งซิ ออกขุน

คุณหลวงคงหิว  ตกใจ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 16:52

๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

ตอบ  พระราชทานไม่ต้องมี ทรง นำ  การที่รัชกาลที่พระราชทานนามสกุลแก่ข้าราชบริพาร
ก็เพื่อเป็นเกียรติเป็นศรีแก่วงศ์ตระกูลข้าราชการผู้นั้น  
(ในรายละเอียดควรให้ผู้รู้รอบอย่าง คุณวีมี แถลงไขให้ทราบดีกว่า)


๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก
โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

ตอบ  พระราชให้  เป็นราชาศัพท์แบบไหน ไม่เคยใช้  
ผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุลเป็นคนแรก  คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)
เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชดำริพระราชทานเอง
เจ้าคุณปั้นยังไม่ได้หนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทาน
ทั้งนี้ นามสกุลพระราชทานในลำดับต้นๆ เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖
มีพระราชดำริพระราชทานแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  โดยระบุไว้ในหมายเหตุ
ของสมุดทะเบียฬว่า  "เขียนให้เอง"



๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

ตอบ  ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อสกุลไปยื่นที่สำนักราชเลขาธิการ
ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า   ท่านเป็นผู้ขอพระราชทานชื่อสกุลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
รายละเอียดการขอฯ นั้น  ไปหาอ่านเอาเอง


๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นาม
สกุล
และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

ตอบ  ๖๔๓๒  ชื่อสกุล   ส่วนที่ถามว่า "มีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล"
คุณวีมี  หรือ คุณเพ็ญฯ น่าจะตอบได้  ถ้าให้ผมตอบ  ขอเวลาไปค้นก่อน


๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

ตอบ  อ้าว  ไม่ไปแจ้งจดทะเบียนที่ที่ว่าการอำเภอก่อนหรือ
ถ้าไม่ไปจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อน   จะใช้ก็ได้   แต่ไม่ถูกกฎหมายนะ
ไม่น่าถาม


๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศ
ต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร
และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่

ตอบ  คำถามนี้ ประหนึ่งข้อสอบปลายภาคของนักศึกษาปริญญาตรี-โท
แต่ผมจะตอบพอเข้าใจง่ายๆ ว่า  การใช้นามสกุลนั้นออกเป็นกฎหมาย
มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ แต่ไม่ได้บังคับใช้อย่างเข้มงวดฉับพลันทันที
กฎหมายนี้เริ่มประกาศบังคับใช้ใน ปี ๒๔๕๖  (แต่กว่าจะบังคับใช้จริงได้
ก็เลื่อนกันหลายครั้ง)  ในช่วงแรกคงตื่นตัวกันมากในหมู่ข้าราชการ
พ่อค้า และประชาชนในพระนคร   แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่หัวเมืองต่างๆ
เท่าที่เคยสังเกต  ขึ้นรัชกาลที่ ๘ แล้ว  บางสกุลยังไม่มีนามสกุลใช้
ก็มีอยู่เหมือนกัน  โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดไกล


ส่วนเขาจะเคอะเขินตื่นตัวที่จะใช้นามสกุล ต่อท้ายชื่อกันหรือไม่ อย่างไร
คุณวันดี  ซึ่งเชี่ยวชาญเอกสารเก่า   คุณวีมี  เชี่ยวชาญเรื่องสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ ๖
หรือคุณเพ็ญฯ ผู้มีความสามารถยิ่งในเรือนไทย  หรือ คุณคนอื่นๆ ที่เข้ามาในเรือนไทย
ก็คงมีความคิดเห็นสามารถตอบได้เหมือน  ฉะนั้นคำนี้  ผมจะไม่ตอบเอง
แต่เห็นควรให้ผู้อื่นแสดงความสามารถในการตอบกันบ้าง  จะได้ครึกครื้น


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 17:05

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 18:15



       ไม่ได้เชี่ยวชาญเอกสารเก่าค่ะ    ชอบอ่านมากเท่านั้นเอง

ในงานหนังสือก็ร่าเริง  เพราะได้หนังสือมาบ้างในราคามิตรภาพอันซึ้งบ้าง   ราคาที่ต้องต่อสู้บ้าง

คงต้องอ่านสมบัติที่ได้มาไปอีกสองถึงสามวันค่ะ 
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 18:56

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

เช่น  ๖๑๘๓ วรคุตตานนท์
๓๙๘๖  ปีตะระตานันทน์
เป็นต้น


เคยได้ยินว่า มาจากคำว่า "อานนท์" แปลว่า ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ

เช่น
"วรคุตตานนท์" พระราชทาน รองหุ้มแพร หลวงสิทธิสุรชัย (เติม)
มาจากคำว่า วร (นายพร ปู่) + คุปต์ (นายคุ้ม ทวด) + อานนท์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง