เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 96619 ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 11:49

ที่มาของนามสกุลพระราชทานมีหลายวิธี

คุณวิกกี้ ได้รวบรวมไว้ดังนี้

นามสกุลที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ

เศียนเสวี พระราชทาน พระอักษรสมบูรณ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี) เสมียนตรากระทรวงวัง และนายพันตรีในกองทัพบก บิดาเป็นชาวเยอรมัน นามสกุลเดิมว่า “Falck” คือมุ่งว่า “falk” แปลว่าเหยี่ยว แปลกลับเป็นสังสกฤตว่า “เศ์ยน” แผลงเป็นไทยว่า “เศียน”

เศวตศิลา พระราชทาน พระวันพฤกษ์พิจารณ (ทองคำ) ปลัดกรมป่าไม้ กับพระกรุงศรีบริรักษ์ (ทองย้อย) ปลัดมณฑลกรุงเก่ากระทรวงมหาดไทย เป็นบุตรนายเฮนรี อาลบาสเตอร์ (แปลนามสกุลเป็น “หินขาว”)

สุมิตร พระราชทาน นายอี สเปนช์ สมิต ผู้ช่วยอธิบดีกรมศึกษาธิการ ขอพระราชทานให้บุตรชายหญิงซึ่งมารดาเป็นไทย

เวลานนท์ พระราชทาน รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ (ต่อมาถูกถอนสัญชาติและเรียกคืนนามสกุล เมื่อคราวประเทศสยามประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ ๑)

อันตรนิยุกต์ พระราชทาน ขุนทิพรศโอชา (ปีเตอร์) พนักงานครัวเฃ้าต้น กรมมหาดเล็ก นามสกุลเดิม “อันโตนิโอ”

สีมันตร พระราชทาน ขุนเลขการวิจิตร (แสวง) นายเวรกรมที่ปฤกษา กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บิดาเป็นชาวโปรตุเกส นามสกุลเดิมว่า “ซีโมเอนส์”

เตชะวณิช พระราชทาน พระอนุวัตร์ราชนิยม (ฮง) สังกัดกรมมหาดเล็ก แส้แต้

อับดุลพันธุ์ พระราชทาน นายหมู่ตรีปุ๋ย ประจำแพนกเกียกกาย กองเสนารักษาดินแดนกรุงเทพฯ ปู่ทวดชื่อเฮเดอรใบ ปู่ชื่อเมียโบ บิดาชื่ออับดุลโคยุม

อับดุลละบุตร พระราชทาน พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโอ๊ะ) พระยาเมืองยะหริ่ง ปู่ทวดชื่ออับดุลเลาะ

คุณะดิลก พระราชทาน พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด ตีเลกี, William Alfred Tilleke) อธิบดีกรมอัยการ กระทรวงยุติธรรม เขาชื่อเช่นนี้มาแต่เดิมแล้วแต่ต้องการได้รับอนุมัติ จึ่งตกลงให้เขียนว่า“คุณะดิลก”เช่นนี้ เพื่อให้เป็นไทย เดิมเขียนว่า“คุณะติละกะ” (ตัวโรมัน“Guna Tilleke”)

สิงหลกะ พระราชทาน พระดรุณรักษา (เสงี่ยม) ปลัดบาญชีกรมมหาดเล็ก หลานพระอุดรพิศดาร (สิญญ) ซึ่งเป็นชาวสิงหล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 11:51

นามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล

สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือวานิช และ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวนิช

สกุลชาวสวน มีคำว่า ผล และ ผลิน ประกอบในนามสกุล เช่น ผลพันธิน, ผลาชีวะ, มณฑลผลิน

สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต

สกุลทหารบก มีคำว่า โยธิน ประกอบในนามสกุล เช่น พหลโยธิน, พินทุโยธิน, อุตตมะโยธิน

สกุลทหารเรือ มีคำว่า นาวิน และกลิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลนาวิน, กนกนาวิน, วิเศษนาวิน, โรหิตนาวิน, ไอศะนาวิน, กฤษณกลิน, สุนทรกลิน, บุญยรัตกลิน

สกุลทหารอากาศ มีคำว่า อากาศ หรือ นภา ประกอบในนามสกุล เช่น รณนภากาศ

สกุลช่างสิบหมู่ มีคำว่า ศิลปิน ประกอบในนามสกุล เช่น เกียรติศิลปิน, เตมียศิลปิน

ศิลปินโขน มีคำว่า นัฏ ประกอบในนามสกุล เช่น กานตะนัฎ, จารุนัฎ, สมรรคนัฎ

นักดนตรี มีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาทิน, วรวาทิน, สุนทรวาทิน

กรมพระอัศวราช มีคำว่า อัศวิน ประกอบในนามสกุล เช่น ศวิน โกมลาศวิน, ชยาศวิน, มณฑาศวิน

สกุลแพทย์ มีคำว่า เวช, ไวทยะ, แพทย์ ประกอบในนามสกุล เช่น โกมลเวช, สุนทรเวช, ถาวรเวช, วีระไวทยะ, ไวทยะชีวิน, ตีรแพทย์, มิลินทแพทย์,เวชชาชีวะ

โหรหลวง มีคำว่า โชติ ประกอบในนามสกุล เช่น โชติวิท, เศษโชติ, สุนทรโชติ

พรามหมณ์ มีคำว่า พราหมณ ประกอบในนามสกุล เช่น จุลละพราหมณ์, พราหมณายน, วินทุพราหมณกุล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 11:54

ประเดิมถามคุณหลวงเล็กดังนี้

๑. ขอทราบสาเหตุถึงการพระราชทานนามสกุลครับ ด้วยเหตุอันใดมีที่มาอย่างไร

๒. การพระราชทานนามสกุล ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก เป็นการพระราชให้หรือเป็นการขอพระราชทาน

๓. ข้าราชการลำดับที่ ๒ และต่อมาอีกเป็นพันตำแหน่งที่เข้าขอรับพระราชทาน มีวิธีดำเนินการขอกับล้นเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวอย่างไร

๔. มิทรงโปรดไม่ให้นามสกุลพระราชทานหรือไม่

๕. เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว (เคยเห็นเป็นลายพระหัตถ์ด้วยหมึก) เขาเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่ หรือเป็นแฟชั่นที่จะต้องมีมาใช้กัน

๖. ประชาชนทั่วไปลูกจีน ลูกมอญ ลูกแขก มีนามสกุลใช้กันได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
benjawan
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 13:45

ขอเรียนถามคุณเพ็ญชมพูว่า นามสกุล "จารุกลัส" มีที่มาอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 13:51

ขอเรียนถามคุณเพ็ญชมพูว่า นามสกุล "จารุกลัส" มีที่มาอย่างไรคะ

ลำดับที่ ๑๔๔๒ จารุกลัส Cha^rukalasa พระราชทาน พระศรสำแดง (แฉ่ง)  ปลัดกรมคลังแสง  กระทรวงกระลาโหม  ปู่ชื่อหลวงจ่าเมือง (เรือง)  บิดาชื่อกลัด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:03

แต่ยังไม่ได้อธิบายว่า รงค กับ ถม เกี่ยวข้องกันอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๖ ทรงนำคำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทานเหล่านี้ ยิ้ม

ถม ๑ น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสาน  ทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้ว
 ขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน

รงค–, รงค์ [รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม

ควรเกี่ยวเนื่องในเรื่องศิลปะการถม ซึ่งเป็นศิลปะหัตถกรรมไทยชั้นสูง


มีคนมาช่วยตอบแทนผมแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
ผมกำลังจะเดาอย่างมีหลักเกณฑ์อยู่เลยว่า เป็นอะไรที่เกีียวกับ สี  ยิ้มเท่ห์

ออกขุนหนุ่มสยามมาช่วยคุณหมอ CVT ไว้ทันท่วงที
ผมจะอธิบายเพิ่มเติมจากที่ออกขุนได้อธิบายไว้ดังนี้

รงฺค หรือ รํค เป็นภาษาบาลีสันสกฤต มาจากรากศัพท์กริยาว่า  รชฺ
ในความว่า  ย้อม

คำว่า รงฺค / รํค  ในภาษาบาลีสันสกฤต  ยังมีความหมายอย่างอื่นอีก
อย่าง รํค ในภาษาสันสกฤต นอกจากแปลว่า  สี  แล้ว  ยังมีความหมาย
อย่างอื่นอีก  ๘  ความหมาย  เช่น  ที่ประชุม  สนามรบ  เวทีการแสดง
ลานสาธารณะ  การเต้นร้องรำ  การแสดงละคร  และสารบอแรกซ์
เป็นต้น

ในภาษาไทย  ใช้คำว่า  รงค์  ที่แปลว่า  สี  ประกอบท้ายศัพท์หลายคำ
เช่น  เอกรงค์  ไตรรงค์  เบญจรงค์  และยารงค์

รัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกใช้ คำว่า รงค มาประกอบเป็นนามสกุลพระราชทาน
แก่สกุลผู้ขอที่มีบรรพบุรุษชื่อ ถม ถมยา  เพราะการถมหรือถมยา
หมายถึงการลงสี  โดยใช้หลักการเทียบความหมายคำ
ระหว่างคำไทยกับคำบาลี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:16

^
สารบอแรกซ์ มาเกี่ยวเนื่องได้อย่างไร  ฮืม ให้ความกรอบแก่ผลไม้หรือ หรือน้ำประสานทอง  ฮืม
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:18

^
สารบอแรกซ์ มาเกี่ยวเนื่องได้อย่างไร  ฮืม ให้ความกรอบแก่ผลไม้หรือ หรือน้ำประสานทอง  ฮืม

สารบอแรกซ์คือน้ำประสานทองในภาคภาษาไทยครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:27

ส่วนที่ผมตั้งคำถามว่า

๕๑๐๕  กณามระ
๙๐๑  กฤษณามระ
๔๘๕๕  กันตามระ
๒๘๔๙  จันทรามระ

เป็นนามสกุลที่มีที่มาและความหมายอย่างไร
ซึ่งคุณเพ็ญฯ ได้ตอบผมมาว่า

นามสกุลลงท้ายด้วย มระ
คำที่สัมพันธ์กับชื่อผู้ขอ, ชื่อพ่อ, ชื่อปู่ + อมระ
อมร, อมร [อะมอน, อะมอนระ, อะมะระ] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).
 ยิงฟันยิ้ม

เป็นการตอบถูกบางส่วน  
เพราะนามสกุลกณามระ  และกันตามระ  
บรรพบุรุษของผู้ขอพระราชทานนามสกุล ชื่อ รอด
จึงทรงแปลคำว่า  รอด  ว่าไม่ตาย  ตรงกับคำ  อมร
(อ-ไม่  มร-ตาย) ที่แปลตามรูปศัพท์ว่า ไม่ตาย เหมือนกัน

แต่...ใช่ว่า  นามสกุลพระราชทานทุกนามสกุลที่ลงท้ายว่า -ามระ
จะมีที่มาจากคำว่า  อมระ  อันหมายถึง  ไม่ตาย  
ซึ่งตรงกับคำว่า "รอด" ชื่อบรรพบุรุษผู้ขอพระราชทานนามสกุลเสมอไป

เพราะอย่างนามสกุล กฤษณามระ
(๐๙๐๑, กฤษณามระ, Krishna^mara,
พระยาพิทักษ์ทวยหาญ (ทองดำ) ผู้ว่าราชการเมืองประทุมธานี
ปู่เป็นเมืองอุไทยราชธานี (ม่วง))

มาจากคำว่า  กฤษฺณ + อามฺร  
กฤษฺณ  (สันสกฤต) แปลว่า  ดำ  ตรงกับบางส่วนของชื่อตัวของผู้ขอ
อามฺร  (สันสกฤต) แปลว่า มะม่วง  ตรงกับชื่อ ม่วง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษ
ของผู้ขอ


ส่วนนามสกุล จันทรามระ
(๒๘๔๙ จันทรามระ Chandra^mara
พลเสือป่าชุม กองร้อยที่ ๒ เมืองลพบุรี มณฑลกรุงเก่า
ทวดชื่อจันทร์ ปู่ชื่ออ่ำ)

มาจาก  จนฺทฺร  (ชื่อทวด)  +  อมร  (แปลงชื่อ อ่ำ ของปู่เป็นคำบาลี
ที่ออกเสียงคล้ายหรือใกล้เคียง  รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้หลักนี้เพื่อทรงพระราชนิพนธ์
ชื่อสกุลหลายสกุล)

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า  นามสกุลพระราชทานที่ลงท้ายเหมือนกัน
แต่มีที่มาแตกต่างกัน   ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป  จะไปตั้งเกณฑ์
แปลเหมารวมทั้งหมดไม่ได้


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:31

ประเดิมถามคุณหลวงเล็กดังนี้

๑. ขอทราบสาเหตุถึงการพระราชทานนามสกุลครับ ด้วยเหตุอันใดมีที่มาอย่างไร

๒. การพระราชทานนามสกุล ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก เป็นการพระราชให้หรือเป็นการขอพระราชทาน

๓. ข้าราชการลำดับที่ ๒ และต่อมาอีกเป็นพันตำแหน่งที่เข้าขอรับพระราชทาน มีวิธีดำเนินการขอกับล้นเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวอย่างไร

๔. มิทรงโปรดไม่ให้นามสกุลพระราชทานหรือไม่

๕. เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว (เคยเห็นเป็นลายพระหัตถ์ด้วยหมึก) เขาเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่ หรือเป็นแฟชั่นที่จะต้องมีมาใช้กัน

๖. ประชาชนทั่วไปลูกจีน ลูกมอญ ลูกแขก มีนามสกุลใช้กันได้อย่างไร

ให้เวลาผู้ถามแก้ไขคำถามให้สะกดถูกต้องและใช้คำให้ถูกหลักภาษา  ไม่เช่นนั้นไม่ตอบ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:45

ประเดิมถามคุณหลวงเล็กดังนี้

๑. ขอทราบสาเหตุถึงการพระราชทานนามสกุลครับ ด้วยเหตุอันใดมีที่มาอย่างไร

๒. การพระราชทานนามสกุล ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก เป็นการพระราชให้หรือเป็นการขอพระราชทาน

๓. ข้าราชการลำดับที่ ๒ และต่อมาอีกเป็นพันตำแหน่งที่เข้าขอรับพระราชทาน มีวิธีดำเนินการขอกับล้นเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวอย่างไร

๔. มิทรงโปรดไม่ให้นามสกุลพระราชทานหรือไม่

๕. เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว (เคยเห็นเป็นลายพระหัตถ์ด้วยหมึก) เขาเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่ หรือเป็นแฟชั่นที่จะต้องมีมาใช้กัน

๖. ประชาชนทั่วไปลูกจีน ลูกมอญ ลูกแขก มีนามสกุลใช้กันได้อย่างไร

ให้เวลาผู้ถามแก้ไขคำถามให้สะกดถูกต้องและใช้คำให้ถูกหลักภาษา  ไม่เช่นนั้นไม่ตอบ

๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นามสกุล และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:48

รงฺค หรือ รํค เป็นภาษาบาลีสันสกฤต มาจากรากศัพท์กริยาว่า  รชฺ
ในความว่า  ย้อม

คำว่า รงฺค / รํค  ในภาษาบาลีสันสกฤต  ยังมีความหมายอย่างอื่นอีก
อย่าง รํค ในภาษาสันสกฤต นอกจากแปลว่า  สี  แล้ว  ยังมีความหมาย
อย่างอื่นอีก  ๘  ความหมาย  เช่น  ที่ประชุม  สนามรบ  เวทีการแสดง
ลานสาธารณะ  การเต้นร้องรำ  การแสดงละคร  และสารบอแรกซ์
เป็นต้น

จาก พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ ให้ความหมายของ रङ्ग raGga ไว้ว่า paint, colour, dye, arena, amphitheatre, stage, theater ส่วน borax เขียนอีกอย่างหนึ่งคือ  रङ्गद raGgada

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:55

borax หรือ น้ำประสานทอง สันสกฤต นอกจากจะใช้ว่า रङ्गद raGgada ยังมีอีกหลายคำ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 14:59

ขอเรียนถามคุณเพ็ญชมพูว่า นามสกุล "จารุกลัส" มีที่มาอย่างไรคะ

ลำดับที่ ๑๔๔๒ จารุกลัส Cha^rukalasa พระราชทาน พระศรสำแดง (แฉ่ง) 
ปลัดกรมคลังแสง  กระทรวงกระลาโหม  ปู่ชื่อหลวงจ่าเมือง (เรือง)  บิดาชื่อกลัด

ไม่ได้ชื่อ เพ็ญชมพู  ขออภัยที่ยกมือตอบ

จารุกลัส  มาจาก  จารุ  + กลัส

จารุ  เป็นคำบาลีสันสกฤต  แปลว่า  ทองคำ  
ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า  งาม  สวย  เป็นที่น่าพึงพอใจ
นอกจากนี้  จารุ ยังหมายถึง  หญ้าฝรั่น  ด้วย
ส่วนว่าทำไมจารุถึงหมายถึงว่า หญ้าฝรั่น นั้น  ไม่บอก

จารุ  ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกมาประกอบเป็นนามสกุลนี้
น่าจะทรงนำมาจากชื่อหลวงจ่าเมือง (เรือง)
โดยอาศัยเหตุว่า  เรือง  หรือเรืองรอง เป็นคุณลักษณะของทองคำ (จารุ)

ส่วน  กลัส มาจากคำว่า  กลส (บาลีสันสกฤต) หรือ กลศ (สันสกฤต)
ที่แปลว่า หม้อน้ำ   ในภาษาไทยใช้ว่า  หม้อกลศ  และแปลว่า ตุ่ม  จาน  ได้ด้วย
จะแปลว่าอะไรก็ตามก็คงไม่เกี่ยวกับนามสกุลนี้
เพราะรัชกาลที่ ๖ ทรงเลือกใช้คำ กลัส นี้  เพราะออกเสียงใกล้เคียงคำว่า  กลัด
ที่เป็นชื่อปู่ของผู้ขอพระราชทานนามสกุล

ถ้าจะแปลว่า  จารุกลัส  ตามตรงตัวคำ  ก็แปลได้ว่า  หม้อน้ำที่สวยงาม
หรือใครจะแปลว่า  ตุ่มน้ำทำด้วยทอง  ก็ไม่ว่ากัน  แปลได้เหมือนกัน
แต่รัชกาลที่ ๖ คงมิได้มีพระราชดำริให้แปลความหมายเช่นนั้น
และผู้เป็นเชื้อสายสกุลนี้  ก็คงไม่ต้องการความหมายที่แปลไว้ข้างต้น เป็นแน่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:07


จารุ  เป็นคำบาลีสันสกฤต  แปลว่า  ทองคำ  
ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า  งาม  สวย  เป็นที่น่าพึงพอใจ
นอกจากนี้  จารุ ยังหมายถึง  หญ้าฝรั่น  ด้วย
ส่วนว่าทำไมจารุถึงหมายถึงว่า หญ้าฝรั่น นั้น  ไม่บอก



แหม....กันได้สุดยอด  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง