เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 96627 ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
MANANYA
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 03 ส.ค. 13, 19:26

สวัสดีครับ ผมขอรบกวนท่านผู้รู้ช่วย แปลนามสกุลของผม
ซึ่งคุณพ่อได้รับพระราชทานจาก รัชกาลที่ 6 นามสกุลว่า
" สุสายัณห์ " ครับ... ผมแปลตรง ๆ เหมือนกับหมายความว่า
สุ =  ดี, งาม
สายัณห์ = ช่วงเวลาใกล้ค่ำ (โพล้เพล้)
รวมเข้าด้วยกันแล้ว จะแปลให้มีความหมายไม่ค่อยสละสลวย

เช่น ดีตอนโพล้เพล้, ดีงามใกล้ค่ำ,  ... เลยขอรบกวนท่านช่วย
พิจารณาความหมายที่ดูน่าจะเป็นไปได้กว่านี้เพิ่มด้วยนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 03 ส.ค. 13, 19:49

คนที่จะตอบได้ชัดเจนที่สุดคือคุณ V_Mee ค่ะ รอท่านนะคะ

ไปค้นมาให้ ได้ความว่า
นามสกุลที่ ๕๘๗๕      สุสายัณห์ Susa^yanha    พระราชทานให้พลเสือป่าเย็น กองพันเสือป่าเดินข่าวหลวงรักษาพระองค์ ปู่ชื่ออ่อง

สายัณห์ เป็นความหมายของชื่อ "เย็น"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 04 ส.ค. 13, 06:39

นามสกุล สุสายัณห์ ที่คุณ MANANYA ถามความหมายมานั้น 
ดังที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาให้คำตอบไว้แล้วว่า สายัณห์ เป็นความหมายของชื่อ "เย็น"
ส่วนคำว่า สุ นั้น พจานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๔๙๓ ได้ให้ความหมายไว้ว่า "เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ดี, งาม, ง่าย  สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์"
และคำว่า อ่อง ซึ่งเป็นนามของปู่ของพลเสือป่าเย็น กองพันเสือป่าเดินข่าวหลวงรักษาพระองค์นั้น แปลว่า ผุดผาด, เปล่งปลั่ง  ซึ่งก็ตรงกับคำว่า สุ
รวมความแล้วนามสกุลสุสายัณห์นั้น จึงมีที่มาจากนาม อ่อง + เย็น ของผู้เป็นต้สกุลนี้ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 04 ส.ค. 13, 08:54

สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระราชทานนามสกุลนี้ไว้อย่างมีความหมายและความเป็นมงคลแก่ผู้สืบตระกูลยิ่งแล้ว
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 04 ส.ค. 13, 13:29

สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระราชทานนามสกุลนี้ไว้อย่างมีความหมายและความเป็นมงคลแก่ผู้สืบตระกูลยิ่งแล้ว

เห็นด้วยครับ ว่าพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการตั้งชื่อจริงๆ

แต่คุณ V_Mee ก็สุดยอดที่สามารถตีความได้ครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
MANANYA
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 04 ส.ค. 13, 14:56

ผมขอบพระคุณท่าน เทาชมพู ท่าน V_Mee  และเพื่อนสมาชิกมากเลยครับ
ผมได้รับทราบความหมายที่แท้จรีิงแล้ว .. ทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นเต็มที่
สมัยน้นคุณพ่อผมท่าน เป็นพลเสือป่า ในรัชกาลที่ 6 ครับ ..
ขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งหนึ่งครับ .. ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
unmaan
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 05:53

๑๒๑๘    ภวภูตานนท์     Bhavabhutananda    
พระราชทานให้ พระเจริญราชเดช (อุ่น)  กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม  มณฑลร้อยเอ็จ
สืบเชื้อสาย ทวดชื่อราชวงษ์ (หล้า)  ปู่ชื่ออุปฮาด (ภู)    พระราชทาน 30/3/13 (ครั้งที่ ๑๕)    

โปรดเกล้าฯ ให้เติม "ณ มหาสารคาม" กับ "na Mahasaragama"  เมื่อ  ๑๘  เมษายน  ๒๔๖๒

ภวภูตานนท์ มีความหมาย ว่าอะไรเหรอค่ะ
อันนี้เป็นนามสกุลของย่า ค่ะ (คุณย่าเสียแล้ว ไม่รู้จะถามใครดีเหมือนกันค่ะ)
พยายามหาข้อมูลแล้ว ก็ไม่มี รู้แต่ว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน
รบกวนด้วยนะค่ะ  ขอบคุณค่ะ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 07:34

นามสกุล ภวภูตานนท์ นี้แยกได้เป็น "ภว" แปลว่า ความเกิด  ความมี  ความเป็น  "ภูตา" มาจากชื่อ อุปฮาด (ภู) ผู้เป็นต้สกุล  คำว่า "นนท์" หมายว่ามีชื่อ
รวมแล้วน่าจะถอดความได้ว่า ผู้เป็นต้นสกุลนี้มีชื่อว่าภู  และเมื่อเติม ณ มหาสารคามลงไป  ก็จะได้ความว่า ต้นสกุลนี้มีชื่อชื่อว่า ภู เป็นเจ้าเมืองมหาสารคาม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 18:02

คำว่า "นนท์" หมายว่ามีชื่อ

นนท์ในที่นี้แปลว่า "ลูกชาย" ดังคำอธิบายข้างล่าง

ผมจะฝากให้ช่วยกันไขหน่อยว่า

นามสกุลพระราชทานที่ลงท้าย ด้วย  นนท์
หรือ นันทน์  มีที่มาและความหมายอย่างไร

และคุณเพ็ญฯ กรุณาตอบมาดังนี้


นนท์ नन्द หรือ นันทน์ नन्दन นอกจากจะมีความหมายว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง อย่างที่คุณวีมีว่าแล้ว ยังมีความหมายว่า "ลูกชาย" อีกด้วย ดูรายละเอียดใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ

ถูกต้องครับ   คำว่า  นนท์ ก็ดี  คำว่า นันทน์ ก็ดี
ที่ประกอบอยู่ท้ายนามสกุลพระราชทานรัชกาลที่ ๖
มีความหมายว่า  ลูกชาย  ครับ  ไม่ได้มีความหมายว่า
ความรื่นเริงบันเทิง ความสนุกสนาน ความยินดีปรีดา
ตามที่เข้าใจกันและมีบางท่านตอบมา

จะขออธิบายเพิ่มเติมว่า

คำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลพระราชทานนี้
ไม่ใช่คำว่า  อานนท์ และ อานันทน์ มาสมาสสนธิ  ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิด
และคำว่า นนท์ และ นันทน์ ที่ประกอบท้ายนามสกุลนี้
เป็นคำภาษาสันสกฤต ไม่ใช่คำภาษาบาลี
เพราะในภาษาบาลี คำว่า นนท์ และ นันทน์ ไม่มีความหมายว่า ลูกชาย

อย่างไรก็ดี  คำว่า นนฺท  ที่แปลว่า ลูกชาย ในภาษาสันสกฤต
ดูจะมีที่ใช้น้อยนัก  จึงไม่เคยเห็นตัวอย่างที่ใช้ในวรรณคดีสันสกฤต
ผิดกับ นนฺทน ดูจะมีตัวอย่างการใช้ในวรรคดีมากแห่งกว่า
(มีในมหาภารตะ และงานของยัชญวัลกยะ อยากรู้ว่าอยู่ตรงไหน
เชิญค้นคว้าได้ด้วยตนเองครับ)

บันทึกการเข้า
sathanupan
อสุรผัด
*
ตอบ: 7



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 13:26

ขอทราบความหมายของนามสกุล "สถาณุวัต" ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 11:15

สถาณุวัต Stha^nuvat  เป็นนามสกุลพระราชทาน ให้แก่ พระประสิทธิ์วรรณลักษณ์ (นาค) ปลัดกรมกองบัญชาการ กรมราชเลขานุการ พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงคราม (ยัง) เป็นบิดา

มีคำว่าสถา  ซึ่งในพจนานุกรมของราชบัณฑิตสถานไม่ได้ให้ความหมายไว้ แต่สถาปนิกเชื่อว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯพระราชทานคำแปล architecture ว่าสถาปัตยกรรมนั้น คำว่าสถา มีความหมายเดียวกับเสถียร ซึ่งแปลว่าความมั่นคงยั่งยืน
ส่วนคำว่าณุวัตที่มาต่อท้าย น่าจะเป็นคำสนธิของสถา+อนุวัต (สะกดอย่างเมื่อก่อนใช้ ณ (?)) อนุวัตนั้นราชบัณฑิตให้ความหมายว่า ทำตาม ประพฤติตาม ปฏิบัติตาม
สถาณุวัต จึงน่าจะมีความหมายประมาณว่า ตระกูลที่สืบต่อกันมาอย่างยั่งยืน

ป.ล. ผมไม่ได้ชำนาญทางอักษรศาสตร์นะครับ แต่ถ้าผิดความหมายไปจริงๆ เดี๋ยวผู้รู้จริงท่านทนไม่ได้คงเข้ามาแก้ไขให้คุณเอง
เรื่องอย่างนี้ผมไม่กลัวผิดเท่าไหร่ เพราะราชบัณทิตเองก็ยังผิดได้ ค้นหาคราวผมนี้ไปเจอเข้า ท่านให้ความหมายคำว่า สถาปัตยเรขา ว่า แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง. ซึ่งผิด สถาปัตยเรขา มาจากภาษาของเจ้าของวิชาว่า Descriptive Architecture Drawing คือวิชาว่าด้วยการเขียนแบบด้วยมือให้สวย เหมือนการเขียนหนังสือแบบคัดลายมือกันเลยทีเดียว วิชานี้สมัยผมต้องเรียนเมื่อแรกเข้าปี ๑ แต่ยุคนี้ใช้คอมพิวเตอร์ เขาคงเลิกเรียนไปแล้ว

ส่วนที่เรียกว่า แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง ที่ราชบัณฑิตกล่าวถึงนั้น สถาปนิกนำมาใช้จากคำว่า Preliminary Design ครับ
จากแบบร่าง ร่างแล้วร่างอีกจนลงตัว จึงนำไปเขียนแบบก่อสร้าง ( Working Drawing) ได้ แล้วแบบก่อสร้างที่ว่า ใครจะใช้ความเก่งทางสถาปัตยเรขาเขียนก็ได้ แต่เสียเวลามาก ส่วนใหญ่ตรงไหนทุ่นแรงได้ก็ทำวิธีนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 13:11

เดาผิดว่าคุณเพ็ญชมพูคงจะเข้ามาตอบ   ปรากฏว่ากลายเป็นท่านออกญาศรีนวรัตน์   ก็เลยเข้ามาทักว่าหายหน้าหายตาไปนานนะคะ

นามสกุลนี้ ไม่แน่ใจว่าแยกศัพท์ออกมาอย่างไร  สถา+อณุวัต   สถาณ + อุวัต  ฮืม
ถ้าเป็น สถานานุวัต  ละก็แปลออก ว่า สถาน+อนุวัต
รอยอินอธิบายว่า  อนุวัต   ก. ทําตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์     อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
ทีนี้ สะกด ณ แทน น   เลยงง
น่ากลัวจะเดือดร้อนถึงท่านอาจารย์ทองย้อยอีกแล้ว

รู้แต่ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ามักทรงนำชื่อตัวของบรรพบุรุษของผู้ขอ มาบวชเป็นบาลีสันสกฤต ให้ฟังเพราะพริ้งก่อนจะทรงตั้งเป็นนามสกุล   เช่นบรรพบุรุษชื่อเดิมว่าทอง   นามสกุลก็จะออกมาเป็น สุวรรณ... หรือ กาญจน...
พระยาวิชิตชลธี ท่านมีชื่อตัวว่า "ยัง" ดังนั้น สถาณุวัต ก็น่าจะมีคำแปลที่เกี่ยวอะไรกับ ยัง หรือยั่งยืน หรือ ยังอยู่  อะไรพวกนี้

สรุปว่ายังไม่ได้เรื่องเท่าไหร่ค่ะ    อย่าถือเป็นคำตอบเลยนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 13:36

ยัง คือเสถียร หรือ สถา
(เข้าข้างตัวเองว่า)ยิ่งเข้าเค้าเข้าไปใหญ่

คือทรงได้สถามาเป็นตัวนำสำหรับนามสกุลนี้ แล้วทรงหาคำว่าอนุวัต(อณุวัต)มาเสริมให้มีความหมายดียิ่งขึ้น

ป.ล.ลืมตอบคำถาม คือผมยุ่งมากกับการเตรียมต้นฉบับหนังสือเล่มใหม่อยู่ครับ เพิ่งจะขยับตัวทำเรื่องอื่นได้ในระยะนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 13:55

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ามักทรงนำชื่อตัวของบรรพบุรุษของผู้ขอ มาบวชเป็นบาลีสันสกฤต ให้ฟังเพราะพริ้งก่อนจะทรงตั้งเป็นนามสกุล

คำสำคัญของนามสกุล สถาณุวัต คือ สถา ซึ่งได้มาจากชื่อของ พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงคราม (ยัง) เช่นเดียวกับนามสกุลซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า สถา ต่อไปนี้

สถานานนท์ พลเสือป่าแผ้ว ประจำหมู่ ๒ หมวด ๑ กองร้อยที่ ๖ กองเสนารักษาดินแดนตวันตก กับนายเหว่า (บิดา) ทวดชื่อตั้ง

สถานุทัต พลเสือป่าตึก กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ และประจำกรมมหรศพ บิดาชื่ออยู่

สถาวรวณิช นักเรียนนายเรือภูหิน ปู่ชื่อมั่นเป็นพ่อค้า

สถาวระ นายร้อยตำรวจตรีสมาน แพทย์ประจำมณฑลพายัพ กับนายแอ๋น (บิดา) ปู่ชื่อคง

สถา จึงหมายถึง ยัง, ตั้ง, อยู่, มั่น, คง  ยิงฟันยิ้ม

ความหมายของคำว่า "สถา" จาก พจนานุกรมสันสกฤต - อังกฤษ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 09:51

ถ้าจะเอาความหมายของนามสกุลนี้ ก็ต้องลองแยกศัพท์แต่ละตัวดู

สถาณุวัต = สถา + อณุ + วัต

คำว่า สถาได้กล่าวไว้แล้วในความคิดเห็นข้างบน อณุ เป็นคำเดียวกับ อณู ท่านรอยอินให้ความหมาย ๓ ประการ คือ มาตราวัดโบราณ, เล็ก หรือ น้อย, ละเอียด ส่วน วัต แปลว่า ข้อปฏิบัติ, ความประพฤติ

สถาณุวัต = ตั้งอยู่ในการทำงานที่ละเอียดรอบคอบ น่าจะพอใช้ได้ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง