เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 96618 ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 20:41

นึกอยู่เหมือนกันว่าไม่ใช่คำที่มาจากสันสกฤตแน่ เพราะเขียนว่า -sen (กนิษฐะเสน - Kanishthasen, มกรเสน - Makarasen)  แทนที่จะเป็น -sena सेना

ตัวอย่างหาไม่่ยาก คุณวิกกี้ มีอยู่เยอะแยะ

แต่่ยังนึกไม่ออกว่าเกี่ยวข้องกับนามสกุลของพวกสแกนดิเนเวียนอย่างไร

 ฮืม
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 03:22

เสนะวีณิน  ต้นตระกูลเป็นทหารเรือ  เล่นฮาร์พ หรือพิณฝรั่ง  เสนะ =  เสนา    ว๊ณิน  =  พิณ   เรือโท  มานิต  เสนะวีณิน   เจ้าของเพลง   ใจพี่หายวาบเมื่อเห็นกุหลาบกลีบกระจาย  ค่ะ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 06:33

๔๑๙๖ เสนะวีณิน Senavi^nin นายสิบโทมานิต ผู้ช่วยครูเครื่องสายฝรั่ง กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. ปู่ชื่อตาง บิดาชื่อหมื่นอำนาจไพรีย์ (เบี้ยว)

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 12:05

^
โดยส่วนมาก -เสน เป็นข้าราชการชาวต่างประเทศที่ได้รับพระราชทานนามสกุล พวกตำรวจที่ต้องสอบเข้ามาเพื่อรับราชการ คุณเพ็ญฯลองหาละกัน (ช่วงนี้ผมระวังน้ำหลาก สมองไม่แล่น ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 22 ต.ค. 11, 12:47

๐๘๑๑  กนิษฐะเสน Kanishthasen ขุนธราทรพิทักษ์ (อั้น) นายทะเบียนที่ดินเมืองกรุงเก่า ปู่ชื่อน้อย

๐๘๙๙ ประทีปเสน Pradi^pasena พระยาวิสูตรสาครดิฐ (เทียน) อธิบดีกรมเจ้าท่า (ราชกิจจานุเบกษาลงว่า ประทีปะเสน รจ. ๓๐ / พ.ศ. ๒๔๕๖ / หน้า ๒๗๓๙)

๐๕๐๒ ประพันธเสน Prabandhasen ขุนศิริธัชสังกาศ (กรุ่น) กรมวัง กระทรวงวัง เป็นบุตรหมอผูก   

๐๑๐๒   มกรเสน Makarasen มหาดเล็กวิเศษเหล็ง กรมชาวที่

๐๙๐๔ ลางคุลเสน La^ngulasena นายนาวาตรี พระมหาอรรคนิกร (เติม) กองหนุน กระทรวงทหารเรือ กับพระมนตรีนิกรโกษา (จิ๋ว) เลขานุการสถานอรรคราชทูตสยาม ณ กรุงปารีส ปู่ชื่อแกละ

๐๓๖๓ อินทรเสน Indrasen ขุนขจิตรสารกรรม (ฉัตร) กรมราชเลขานุการ กระทรวงมุรธาธร หลวงอินทรอาวุธ (กล่อม) เป็นปู่ หลวงอินทรฤทธิ (เอี่ยม) เป็นบิดา

ข้างหน้า -เสน มีทั้งชื่อตัวเอง, ชื่อพ่อ และชื่อปู่ น่าจะเป็นคนไทย หรือไม่อย่างน้อยก็เชื้อสายจีน

ยังหาฝรั่งไม่พบ

ป.ล. ยังสงสัยว่า ประทีปเสน และ ลางคุลเสน ทำไม เสน จึง -sena ไม่เหมือนเพื่อน -sen

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 07:13

จากตัวอย่างนามสกุลพระราชทานที่ลงท้ายด้วย -เสน ที่คุณเพ็ญฯ นำมาแสดงนั้น
วิเคราะห์ได้ ดังนี้


๐๘๑๑  กนิษฐะเสน Kanishthasen ขุนธราทรพิทักษ์ (อั้น) นายทะเบียนที่ดินเมืองกรุงเก่า ปู่ชื่อน้อย
 กนิษฐะ มาจาก น้อย ซึ่งเป็นชื่อปู่ และไม่อาจจะทราบได้ว่า ปู่ได้รับข้าราชการหรือไม่
การที่ทรงนำคำว่า -เสน มาต่อท้ายคำที่แปลจากชื่อเป็นภาษาสันสกฤตนั้น
ส่อว่า รัชกาลที่ ๖ มิได้ทรงใช้คำว่า -เสน ในความหมายว่า ข้าราชการ หรือ เสนา

๐๘๙๙ ประทีปเสน Pradi^pasena พระยาวิสูตรสาครดิฐ (เทียน) อธิบดีกรมเจ้าท่า
(ราชกิจจานุเบกษาลงว่า ประทีปะเสน รจ. ๓๐ / พ.ศ. ๒๔๕๖ / หน้า ๒๗๓๙)
 ประทีปเสน/ประทีปะเสน  ประทีป มาจาก  เทียน ชื่อตัวผู้ขอพระราชทานนามสกุล
แต่สังเกตว่า ตัวอักษรโรมันที่ใช้  เขียนว่า  sena  ไม่ใช่  sen  
อาจจะอธิบายได้ว่า  ตัวผู้ขอเป็นข้าราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาตำแหน่งอธิบดี
ก็เหมาะที่ใช้คำว่า sena ที่จะให้แปลว่า ข้าราชการ ได้เหมือนกัน
หรือไม่เช่นนั้น  ก็อาจจะเกิดแต่ความผิดพลาดก็เป้นได้  
(คือ เผลอเติม a เข้ามา เพราะเห็นว่า รูปคำเป็นภาษบาลีสันสกฤต)

๐๕๐๒ ประพันธเสน Prabandhasen ขุนศิริธัชสังกาศ (กรุ่น) กรมวัง กระทรวงวัง เป็นบุตรหมอผูก
 ประพันธ มาจาก ผูก  ชื่อบิดาผู้ขอพระราชทานนามสกุล
ไม่ทราบว่าเป็นหมอผูกเป็นข้าราชการหรือไม่  
แต่คิดว่าไม่น่าจะใช่ข้าราชการ   -เสน ในที่นี้ จึงแปลว่า ลูกชาย ตามภาษาฝรั่ง  

๐๑๐๒   มกรเสน Makarasen มหาดเล็กวิเศษเหล็ง กรมชาวที่
 มกร มาจาก เหล็ง (ภาษาจีน แปลว่า มังกร (มกร))
-เสน ในที่นี้ พออนุโลมว่า แปลว่า ข้าราชการ ได้
เพราะเจ้าตัวอยู่ขอ รับราชการเป็นมหาดเล็ก แต่อักษรดรมันที่กำกับ
แสดงว่าต้องการให้แปล -เสน ว่า ลูกชาย ตามภาษาฝรั่ง  

๐๙๐๔ ลางคุลเสน La^ngulasena นายนาวาตรี พระมหาอรรคนิกร (เติม) กองหนุน
กระทรวงทหารเรือ กับพระมนตรีนิกรโกษา (จิ๋ว) เลขานุการสถานอรรคราชทูตสยาม
ณ กรุงปารีส ปู่ชื่อแกละ
 ลางคุล มาจาก แกละ ชื่อปู่  ลางคุล เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หาง
ในที่นี้ ทรงอนุโลมใช้แปลว่า ผมแกละ ผมเปีย ซึ่งมีลักษณะเหมือนหาง
แต่สังเกตว่า  นายแกละ  ไม่ได้ระบุว่า รับราชการ  แต่ตัวอักษรโรมัน
กลับเขียนว่า sena  อย่างภาษาบาลีสันสกฤต แทนที่จะเป็น sen
เข้าใจว่า  น่าจะเป็นความผิดพลาด

๐๓๖๓ อินทรเสน Indrasen ขุนขจิตรสารกรรม (ฉัตร)
กรมราชเลขานุการ กระทรวงมุรธาธร หลวงอินทรอาวุธ (กล่อม) เป็นปู่
หลวงอินทรฤทธิ (เอี่ยม) เป็นบิดา
 อินทร มาจาก บรรดาศักดิ์หลวงอินทรฤทธิ (เอี่ยม) บิดา
และบรรดาศักดิ์หลวงอินทรอาวุธ (กล่อม) ปู่ของผู้ขอพระราชทานนามสกุล
ส่วน -เสน แปลว่า ลูกชาย ตามภาษาฝรั่ง

ส่วนชาวต่างประเทศที่ใช้นามสกุล(ภาษาฝรั่ง) ลงท้ายด้วย -sen
เท่าที่ทราบ ไม่มีใครขอพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ ๖
ต่อมา  ได้คิดแปลงนามสกุลภาษาฝรั่งเป็นภาษาไทยขึ้นใช้เอง
อาจจะมีที่เป็นนามสกุลพระราชทานบ้างก็ได้  แต่ผมยังหาไม่พบ
บันทึกการเข้า
nol
อสุรผัด
*
ตอบ: 39


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 02:17

ขออนุญาต "ขุด" กระทู้นี้ขึ้นมาถามเพิ่มเติมได้ไหมครับ

สำหรับนามสกุล "โปษยานนท์" ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ ๖๘๖ พอจะเข้าใจได้ว่ามาจากผู้ที่ได้รับพระราชทานมีพ่อชื่อว่า "โป๊" แต่ที่สงสัยคือแล้วตรงส่วนที่ว่า "ษย" นั้นมีความหมายเช่นใดครับ เพราะเห็นว่าในามสกุลพระราชทานในหน้าเดียวกันก็จะมี โปษย โปษยะ หรือ โปษยา อยู่หลายนามสกุลเช่นกัน

ขอขอบคุณล่วงหน้าในทุกคำตอบครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 11:29

คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต สามารถแผลงสระอุ เป็น สระโอ ได้  ปุษยะ  --> โปษยะ  มีรูปคำอื่น ๆ อีกหลายคำ  รอยอินท่านให้ความหมายไว้ดังนี้

บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ [บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Paramet
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 14:59

https://www.dropbox.com/s/wgfdei8vfibmtby/Photo%201-5-2555%2C%2019%2057%2002.jpg

https://www.dropbox.com/s/pqe5qs07ifi9bwo/Photo%201-5-2555%2C%2019%2056%2016.jpg

ของผมครับ แบบถ่ายเอกสาร
บันทึกการเข้า
ichibang
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 13:20

เอ ผมสงสัยครับ
นามสกุล ยมจินดา ของคุณจักรพันธ์นี่ปัจจุบันเราอ่าน (ยม จิน ดา)
แต่ตามรัชกาลที่หก ต้องอ่านเป็น Yamachinta
สรุปว่าปัจจุบันเราอ่านผิดกันเหรอครับ

แล้วสกุลนี้มีความหมายว่าอะไรเหรอครับ เท่าที่อ่านนามสกุลที่รัชกาลที่หก
ท่านพระราชทานไว้ มี ยม เยอะพอสมควร

หมายถึง เพชรของพระยายมบาลรึเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 20:49

เอ ผมสงสัยครับ
นามสกุล ยมจินดา ของคุณจักรพันธ์นี่ปัจจุบันเราอ่าน (ยม จิน ดา)
แต่ตามรัชกาลที่หก ต้องอ่านเป็น Yamachinta
สรุปว่าปัจจุบันเราอ่านผิดกันเหรอครับ

Yamachinta ไม่ใช่คำอ่าน แต่เป็นตัวเขียนด้วยอักษรโรมันเท่านั้น  

ลองดูนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า กนก   กนกนาค Kanakanaga, กนกนาวิน Kanakanavin,  กนกมณี Kanakamani, กนกศิริ Kanakasiri  คำว่า กนก อ่านว่า กะ-หนก ไม่ใช่ กะ-นะ-กะ

แล้วสกุลนี้มีความหมายว่าอะไรเหรอครับ เท่าที่อ่านนามสกุลที่รัชกาลที่หก
ท่านพระราชทานไว้ มี ยม เยอะพอสมควร

หมายถึง เพชรของพระยายมบาลรึเปล่าครับ

ยมจินดา Yamachinta  พระราชทานให้ พระศรีสมุทโภค (อิ่ม) นอกราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ทวดชื่อยม ปู่ชื่อพระราชภักดีศรีสงคราม (ทองจีน)

คำว่า ยม ในนามสกุลพระราชทานอื่น ๆ ไม่มาจากชื่อ ก็มาจากราชทินนามว่า (เจ้าพระยา) "ยมราช"

ยมจินดา น่าจะมาจากชื่อทวด (ยม) + ชื่อปู่ (ทองจีน)  

บันทึกการเข้า
ichibang
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 21:06

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Tarte Tatin
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 29 ก.ค. 13, 23:26

สวัสดีค่ะ

ดิฉันมาพบกับเว็บไซต์และกระทู้นี้โดยบังเอิญ ดีใจจริงที่ได้ทราบชื่อบรรพบุรุษเพิ่มอีกหนึ่งท่านคือชื่อคุณปู่ของพระยามนตรีนิกรโกษา (จิ๋ว ลางคุลเสน) ซึ่งเป็นคุณตาของคุณย่าดิฉันเองค่ะ ต้องขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะสำหรับข้อมูลดังกล่าว

คุณทวดจิ๋วท่านไม่ได้มีเชื้อสายจีนค่ะ แต่มีเชื้อสายมอญ บ้านเดิมอยู่สามโคก ปทุมธานี เรียนหนังสือที่วัดสำแล (ตามที่คุณย่าของดิฉันซึ่งปัจจุบันอายุย่าง ๙๙ ปีแล้วได้เล่าให้ฟัง คุณย่ายังความจำดีมาก) ส่วนนามสกุลลางคุลเสนเป็นนามสกุลพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เนื่องจากครั้งที่คุณทวดดำรงตำแหน่งเลขาทูต ณ สถานทูตไทยในกรุงปารีสนั้นได้เคยรับหน้าที่ดูแลพระองค์ท่านและล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ ขณะเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งภรรยาและธิดาของท่าน (คุณยายและคุณแม่ของคุณย่าดิฉัน) ยังเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอีกด้วย ครอบครัวเราจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมากทั้งจากสมเด็จฯ และจากพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

คุณทวดประจำอยู่ที่สถานทูตไทยในกรุงปารีสยาวนานถึง ๑๔ ปี เมื่อแรกไปท่านเป็นพระมนตรีนิกรโกษา แต่เมื่อกลับมาประเทศไทยท่านเป็นพระยามนตรีนิกรโกษาแล้วค่ะ

ยินดีที่ได้มีส่วนคืนชีวิตให้กระทู้ที่น่าสนใจนี้และหวังว่าจะยังมีผู้มาให้ข้อมูลที่น่าสนใจกับความรู้ดีๆ เพิ่มเติมอีกนะคะ

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 30 ก.ค. 13, 08:28

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ


บันทึกการเข้า
Tarte Tatin
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 30 ก.ค. 13, 10:07

ด้วยความยินดีค่ะคุณเทาชมพู ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง