เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9490 เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 03 ต.ค. 11, 11:19

พระพุทธรูปองค์สำคัญแห่งแผ่นดิน "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" หรือเรียกกันลำลองว่า "พระแก้วมรกต" เป็นพระพุทธรูปที่มีความงามและมีประวัติอันยาวนาน และตามประวัติที่มีการบันทึกไว้ มีการอัญเชิญองค์พระไว้ในหลายแห่งด้วยกัน

แต่ที่ผมเกิดความสงสัยคือ "เครื่องทรงสำหรับองค์พระแก้วมรกต" ถือคติธรรมเนียมการปฏิบัติสร้างเครื่องประดับสำหรับองค์พระให้งดงามและเปลี่ยนเครื่องทรงครบ ๓ ฤดู (ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างไว้ ๒ ฤดูคือ ร้อน - ฝน จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างผ้าคลุมถวายสำหรับฤดูหนาว ซึ่งถือธรรมเนียมหรือคติจากที่ใด และพระพุทธรูปองค์สำคัญต่าง ๆ มีธรรมเนียมนี้อีกหรือไม่  ใคร่สนทนากันครับ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 11:25

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตจากฤดูหนาว เป็น ฤดูร้อน

แต่พิเศษกว่าครั้งใดทั้งปวงเนื่องจากเป็นปีมหามงคล พ.ศ. ๒๕๓๙ มีการจัดสร้างเครื่องทรงองค์พระแก้วมรกตใหม่ทั้ง ๓ สำรับทดแทนของเดิมที่ผุชำรุดไป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 11:40

และแม้กระทั่งในรัชกาลต่อ ๆ มา ทุกพระองค์จะต้องมีพระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินแก้วผลึกอยู่เกือบทุกรัชกาล และจะต้องทำการตกแต่งให้กับองค์พระเสมอมา

องค์พระพุทธรูปในรัชกาลที่ ๒ ที่ถือว่าล้ำค่าและงดงามคือ "พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย" อันได้มาจากนครจำปาศักดิ์ และเมื่อได้แห่ขบวนเข้ากรุงเทพ ฯ แล้ว พระองค์โปรดให้ช่างหาทางสร้างพระเศียรถวายและตกแต่งด้วยเครื่องประดับถวาย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 12:54

 ^ โปรดให้ช่างหาทางสร้างพระเศียรถวาย

ที่เคยอ่านมา  พระพุทธบุษยรัตน์  พระกรรณลิไป
ดังที่เห็นในภาพ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 13:17

^ โปรดให้ช่างหาทางสร้างพระเศียรถวาย

ที่เคยอ่านมา  พระพุทธบุษยรัตน์  พระกรรณลิไป
ดังที่เห็นในภาพ

ถูกต้องครับผม รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯให้ช่างหาทางคิดค้นวิธีสร้างส่วนที่ครอบพระเศียรถวาย อันได้แก่พระศกก้นหอย พระอุณีย์และพระเกศเปลวเพลิง ซึ่งทำด้วยทองคำหล่อนึ้นมา เมื่อครอบลงบนพระเศรียรแล้ว ปรากฎว่าพระพัตกร์หมองคล้ำลง (คือแสงเข้าไม่ถึง) จึงต้องหาวิธีแก้ด้วยเอาเงินทาไว้ด้านใน ทำให้พระพักตร์ใสงดงาม

สำหรับพระกรรณที่ลิออกไปนั้น มีพระราชดำริให้หาทางแก้ไขซึ่ง พระกรรณที่ลิ (หัก) ออกไปอ่านได้จากพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ ได้ความว่า "....เข้าใจว่าเป็นรูปมนุษย์น้อย นายพรานนำเชือกคล้องพระสอให้บุตรลากเล่นจึงได้ลิไป...."
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 20:41

การดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกตสำรับใหม่ จัดทำขึ้น ๓ ฤดูใหม่ทั้งหมดครับ โดยนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยกรมธนารักษ์ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงรับเป็นองค์ประธานดำเนินการจัดสร้าง

หน่วยงานที่เข้าร่วมโดยการพระราชกุศลครั้งนี้ได้แก่ กรมธนารักษ์ ธนาคารออมสิน กรมราชเลขาธิการ มูลนิธิอัญมณีไทยและเครื่องประดับ สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ บริษัทบิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัดและพี่น้องประชาชนที่ได้ร่วมกันบริจาคทองคำเพื่อสมทบการสร้างในครั้งนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 21:05

การจัดสร้างเครื่องทรงสำรับแรกสุดเป็น "ชุดฤดูหนาว" เนื่องจากของเดิมชำรุดมากที่สุด (สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓) อันได้แก่

๑. พระศกทองคำ
๒. ผ้าห่มทองคำประดับอัญมณี

ของเดิมจะมีการลงยาระหว่างลวดลายที่ผ้าห่มทองคำ แต่ของใหม่จะใช้โกเมนประดับลงไปแทนที่ถึง ๑,๗๓๑ เม็ด รวมน้ำหนัก ๑,๘๙๓.๖๖ กะรัต

ทับทิมประดับเป็นลายแก้วชิงดวง จำนวน ๑,๐๓๗ เม็ด รวมน้ำหนัก ๒๒๕.๙๔ กะรัต

เพชรทุกชิ้นเปลี่ยนใหม่จากเพชรซีก เป็นแบบ April Cut คือ เริ่มเจียระไนเดือนเมษายน มีคุณสมบัติเฉพาะคือ ด้านหน้าไม่เรียบเหมือนเพชรทั่วไปแต่จะเป็นเหลี่ยมนูน ๔๐ เหลี่ยม ด้านล่าง ๑๗ เหลี่ยม สำหรับติดประดับทแทนพระศก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 19:11

สำรับฤดูฝน

สำรับฤดูฝนเป็นการจัดสร้างตามอย่างแบบแผนโบราณ ลักษณะของงานเป็นการดุนนูนทองคำทั้งหมด โดยประกอบด้วย

๑. พระศกทองคำ

๒. ผ้าห่มดองทองคำ

๓. สบงทองคำ

๔. ผ้าสังฆาฏิทองคำ

ลักษณะของชิ้นงานทองคำมีลักษณะห่อหุ้มที่องค์พระอย่างสวยงาม ใช้เวลาสร้างประมาณ ๔ เดือนแล้วเสร็จ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 19:26

เครื่องทรงฤดูฝน ครบ ๔ ชิ้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 19:38

รายละเอียดพระเกศเปลวเพลิง(ฤดูหนาว) ประดับทับทิม ไพลิน และเพชรประจำ ๔ ทิศ และเม็ดพระศก เจียแบบเพชรซีก ที่เรียกว่า เจียเหลี่ยมแบบ April cut


บันทึกการเข้า
wat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 20:58

 ยิงฟันยิ้ม แล้วตัวองค์พระเป็นหินหยก หรือมรกตจริงๆน่ะคับ...   ฮืม ถ้ามรกตก้อนขนาดนี้...หูยยยยยย...เคยเห็นที่เค้าว่าเม็ดงามนักหนาเท่าเล็บก้อย ยังเป็นแสนๆก็มี... 

 อายจัง เอ่อ...แล้วพระแก้วดอนเต้าที่วัดพระธาตุลำปางหลวงล่ะคับ  มีรูปชัดๆ กับเรื่องราวมั่งมั้ยคับ  มีวาสนาได้ไปสักการะมาหนนึง  แต่เห็นไม่ชัดเลย ห้องหลายชั้นมาก...  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง