เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15166 ว่าด้วยหลังคาจีน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 02 ต.ค. 11, 00:44

เมื่อไม่นานมานี้มีคนส่งรูปของศาลาแห่งหนึ่งในวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร (วัดพิชัยญาติ) มาให้ข้าพเจ้าดูพร้อมถามเรื่องหลังคาของศาลาด้านหน้าพระอุโบสถว่าเป็นหลังคาจีนลักษณะใด

ด้วยความรักและนับถือในตัวผู้ถาม ข้าพเจ้าเลยไปนั่งค้นมา เลยนำมาเล่าสู่กันฟังต่อสมาชิกเรือนไทยที่ข้าพเจ้ารักและนับถือเช่นกัน แม้โดยมากจะไม่ได้เห็นหน้ากันก็ตาม

นี้คือตัวอย่างภาพจากวัดพิชัยญาติ



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 00:46

หลังคาของจีนนั้นมีหลายรูปทรง แต่แบบพื้นฐานอาจถือได้ว่ามีห้ารูปทรง ตามลำดับต่อไปนี้ โดยไล่ตามฐานะของหลังคาแบบต่างๆตั้งแต่สูงสุดลงไป

๑.หลังคาแบบปั้นหยา ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า “อู้เตี้ยนติ่ง” (庑殿顶:wu dian ding ) ใช้สำหรับพระราชวัง
หรือศาสนาสถานที่สำคัญ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 00:56

๒. หลังคาปั้นหยาหักมุข มีหน้าจั่ว เรียกว่า “เซี้ยซันติ่ง” (歇山顶:xie shan ding) ใช้สำหรับสถานที่ราชการหรือศาสนสถานสำคัญ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 00:57

๓. หลังคาจั่วยื่นชายคาเลยหน้าจั่ว เรียก “เสวียนซันติ่ง” (悬山顶:xuan shan ding) เป็นอาคารที่ใช้ทั่วไปในหมู่ประชาชน หากเป็นพระราชวังอาคารดังกล่าวศักดิ์ออกจะต่ำพอดู


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 00:58

๔. หลังคาจั่วหน้าทึบ เรียก “อิ้งซันติ่ง” (硬山顶:ying shan ding) อาคารสำคัญจะไม่ใช้หลังคาแบบนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ปรากฏ แต่ทั่วไปแล้วใช้สำหรับบ้านประชาชนหรือร้านค้าทั่วไป กล่าวคือ ขุนนางที่ระดับต่ำกว่าหกขั้นลงมา (สูงสุดคือเก้า) เรื่อยไปจนถึงประชาชนสามารถใช้แบบนี้ได้หมด และเป็นแบบที่นิยมมากทั้งทางเหนือและทางใต้




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 00:59

๕. หลังคามียอดแหลมเพียงยอดเดียว ซึ่งอาจมีรูปทรงเป็นทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงสี่เหลี่ยม กระทั่งแปดเหลี่ยมก็นับอยู่ในรูปทรงนี้ เรียกว่า “ช่วนเจียนติ่ง” (攒尖顶:cuan jian ding) นิยมใช้สร้างเป็นหลังคาของเจดีย์ หอคอย หรือศาลาต่างๆ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:00

๖. หลังคาจั่วสันโค้ง  เรียก “เจวียนเผิงติ่ง” (卷棚顶:juan peng ding) หรือจะถือว่าไม่มีสันหลังคาก็ได้ ถือกันว่าดูแล้วสบายตา นิยมทำเป็นศาลากลางอุทยาน หรือถ้ารู้สึกว่าไร้อันดับ จะนำไปทำต้องเก็บของ ตลอดจนเรือนบ่าวก็ได้


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:02

ทั้งนี้หลังคาแบบ “อู้เตี้ยนติ่ง”และ “เซี้ยซันติ่ง”อาจมีการทำชายคาซ้อนกันสองชั้นได้ เรียกว่า “ชงเหยียนอู้เตี้ยนติ่ง” (重檐庑殿顶:chong yan wu dian ding)และ “ชงเหยียนเซี้ยซันติ่ง” (重檐歇山顶: chong yan xie shan ding)ตามลำดับ
นี้คือหลังคาแบบ “ชงเหยียนอู้เตี้ยนติ่ง”


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:03

และนี้คือหลังคาแบบ “ชงเหยียนเซี้ยซันติ่ง”


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:04

หากเรียงตามลำดับฐานานุศักดิ์ของหลังคาตามกฎครั้งราชวงศ์ชิงแล้ว โดยประกอบหลังคาแบบชายคาสองชั้นเข้าไป สามารถเรียงได้โดย “ชงเหยียนอู้เตี้ยนติ่ง” มีลำดับสูงสุด อาคารที่สำคัญยิ่งเท่านั้นจึงจะใช้ได้ ดังพระที่นั่งสำคัญๆและ “ชงเหยียนเซี้ยซันติ่ง” อยู่ในลำดับต่อมา ใช้สำหรับสถานที่ราชการอันสำคัญยิ่ง หรืออาคารในวังที่สำคัญรองลงมาหน่อยจะใช้ได้ หลังจากนั้น จะเป็นไปตามลำดับข้างต้นที่ได้แสดงไว้ หากแต่ไม่มีหลังคาจั่วสันโค้งอยู่ในลำดับ เนื่องจากมันต่ำเสียจนคนในสมัยราชวงศ์ชิงไม่จัดอยู่ในอันดับใดๆ

ข้อมูลนำมาหนังสือเรื่อง “识别中国古建筑”

และจากเว็ปไซด์ http://www.tianya.cn/publicforum/content/no04/693227/1/0/1.shtml
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:05

ฝากดูอันนี้ด้วยครับ แบบจีนหรือไม่ ดูจะมีแบบฝรั่งปน จากวัดไชยทิศ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:05

ทางใต้ของประเทศจีน กล่าวคือแถบวัฒนธรรมหมินหนาน (闽南:min nan) จะนิยมใช้หลังคาแบบ“อิ้งซันติ่ง” และ “เสวียนซันติ่ง” แต่ที่นิยมมากที่สุดคือหลังคาแบบ “อิงซันติ่ง” ซึ่งแถบดังกล่าวจะประดับประดาหลังคาแบบ “อิ้งซันติ่ง” มากเป็นพิเศษ ดังนี้

๑. ปลายหน้าจั่วของหลังคางอนโค้งขึ้นมาเหมือนหางนกนางแอ่น เรียกว่า “เหยี่ยนเว่ย” (燕尾: yan wei)
หน้าจั่วแบบดังกล่าวนิยมใช้กับศาสนสถาน หรือบ้านของข้าราชการการ ไม่ก็ผู้ที่สอบวัดระดับข้าราชการของจีนเป็นบัณฑิตขั้น“จู่เหริน” (举人:ju ren ) ขึ้นไป อันหมายความว่าสอบผ่านในระดับท้องที่

อย่างไรก็ตามในหลายพื้นที่ตั้งแต่โบราณแล้วไม่ค่อยสนใจกับคตินี้ มีเงินสร้างได้ก็จะสร้าง ใครจะทำไม



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:09

๒. ปลายหน้าจั่วเลยสันหลังคาและโค้งรูปคล้ายหลังม้า เรียกว่า ”หม่าเป้ย” (马背: ma bei) หรืออาจใช้ชื่อ
อื่นๆก็มี ทั้งนี้บางตำราจะแบ่งว่ารูปทรงของหน้าจั่วต่างกันก็จะแยกเป็นอีกประเภทไปเลย แต่บางตำราจะถือว่าเป็นแบบอานม้า แต่ต่างรูปทรง

เหตุที่ต่างรูปทรงคือจะทำต่างไปตามธาตุดังนี้
   
๒.๑ ธาตุทอง ทรงโค้งต่ำ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:10

๒.๒ ธาตุไม้ ทรงโค้งสูง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:11

๒.๓ ธาตุน้ำ ทรงโค้งสามลอน (อาจมีมากกว่าสามลอนขึ้นไปก็ได้หากช่างประสงค์) คล้ายคลื่นน้ำ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง