เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 15169 ว่าด้วยหลังคาจีน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:12

๒.๔ ธาตุไฟ ทรงหยักแหลมสูง คล้ายเปลวไฟ บ้างจัดว่าหลังคาหน้าจั่วรูปหางนกนางแอ่นจัดอยู่ในประเภทนี้


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:13

 ๒.๕ ธาตุดิน ทรงหน้าปลายหน้าจั่วที่ยกขึ้นจั่วแบบราบ อาจมีการตัดหัวมุมเล็กน้อยให้ดูคล้ายรูปครึ่งหนึ่งของรูปทรงแปดเหลี่ยม


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:15

ทั้งนี้ ธาตุทองและไฟจะพบมากที่สุด ทรงธาตุดินและธาตุน้ำพบรองลงมา และธาตุไม้พบน้อยที่สุด ทั้งนี้การวางทรงหน้าจั่วของแต่ละอาคารจะทำให้เข้าคู่กันตามแนวความคิดภูมิพยากรณ์ของจีน อาทิ หากอาคารหลักของบ้านเป็นทรงธาตุทอง อาคารบริวารจะเป็นทรงธาตุน้ำ  หรือธาตุดิน หากอาคารประธานเป็นธาตุน้ำ อาคารรองเป็นธาตุดิน หรือทั้งอาคารหลักและอาคารรองเป็นธาตุดินเหมือนกัน เป็นต้น

อันนี้เอามาจากหนังสือ “故乡中国 金门”

และจากเว็ปไซด์ http://blog.yam.com/sunny0905/article/14470592

http://blog.udn.com/a11476/787962
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:19

นอกจากการตบแต่งหน้าจั่วของหลังคาแล้ว โครงสร้างหลังคาของภาคใต้มีแบบพิเศษแยกออกไปอีก คือหลังคาแบบ “ซานฉวนจี่” (三川脊:san chuan ji ) แปลตรงๆว่าหลังคาแบบสายน้ำสามสาย

หลังคาประเภทดังกล่าว เป็นการนำหลังคาแบบ “อิ้งซันติ่ง” หรือ “เสวียนซันติ่ง” มาแบ่งเป็นสามส่วน และยกส่วนตรงกลางขึ้น คล้ายกับการยกชั้นหลังคาของไทย ทั้งนี้ถ้ายกหลังคาขึ้นแล้วมีโครงสร้างหรือรูปทรงต่างกันจะมีชื่อเรียกต่างกันด้วย

๑. ยกส่วนตรงกลางขึ้นเฉยๆ แต่ชายคายังเรียบเสมอกัน เรียกว่า “ซานฉวนเตี้ยน” (三川殿:san chuan
dian) นิยมใช้กับอาคารที่พักอาศัย ประตูใหญ่ของวัด หรืออาคารในศาสนาสถานทั้งปวง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:21

๒. ยกส่วนตรงกลางขึ้นมา แล้วชายคาขาดไม่เสมอกัน โดยตรงกลางที่ยกสูงขึ้นมาจะสูงกว่าส่วนอื่นๆ เรียกว่า
“ต้วนหยานเซิงเหยียนโคว่” (断檐升箭口:duan yan sheng jian kou)

เมื่อก่อนนิยมใช้เป็นอาคารบริวารของอาคารประธานที่สำคัญๆ แต่ภายหลังในยุคสาธารณรัฐของจีนเริ่มแพร่หลายใช้กันทั่วไปไม่จำกัด


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:22

๓. ยกส่วนตรงกลางขึ้นมา ชายคาเรียบเสมอกันตลอดแนว หากแต่ส่วนที่ยกขึ้นมาทำเป็นเป็นหลังคาแบบ “เซี้ย
ซันติ่ง” ครอบไว้เหนือหลังคาแบบ“อิ้งซันติ่ง” หรือ “เสวียนซันติ่ง”  เรียกว่า “เจี่ยซือฉุย” (假四垂:jia si chui)

หลังคาแบบนี้จะนิยมใช้สำหรับวิหารหน้า หรืออาคารประธานของศาสนสถาน


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 01:32

อันนี้เอามาจากหนังสือเรื่อง “闽南传统建筑”

http://guoxue.zynews.com/XianFeng/2008/3544.html

http://cyberpunk.myweb.hinet.net/trad/am28.htm

http://www.sketchupbar.com/forum.php?mod=viewthread&tid=21783&page=1

จริงๆหลังคาจีนยังมีอีกมากมายหลายแบบ ข้าพเจ้ายกเอาแบบมาตรฐานของจีน และของแถบหมินหนานมาให้ชมกัน

หากใครสงสัยว่าแถบหมินหนานคืออะไร คำตอบคือ แถบวัฒนธรรมหนึ่งที่ครอบคลุมพื้นที่ ฮกเกี้ยน บางส่วนของกวางตุ้ง และไต้หวั่น นั้นเอง

ชาวแต้จิ๋วเราก็ถือเป็นหน่วยหนึ่งของวัฒนธรรมหมินหนาน

ดังนั้นหาจะมาวิเคราะห์ว่าภาพวัดพิชัยญาตินี้ไซร้เป็นหลังคาจีนแบบใด คำตอบคือ หลังคาแบบหลังคาจั่วหน้าทึบ เรียก “อิ้งซันติ่ง” (硬山顶:ying shan ding) และถามว่าเป็นรูปทรงธาตุอะไรคงเป็นธาตุไฟ ถ้ามองจากรูปภาพไม่ผิด

แต่การซ้อนตัวเช่นนี้ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ใช่แบบของจีนเป็นแน่ น่าจะเอาการซ้อนตัวของอาคารแบบไทยมาใช้มากกว่า

อนึ่ง จากภาพวัดไชยทิศข้าพเจ้าคิดว่าเป็นอิทธิพลจีนปนฝรั่ง แต่ทรงหลังคาแปดเหลี่ยมเช่นนั้นจีนมีแน่ อยู่ในประเภท เรียกว่า “ช่วนเจียนติ่ง” (攒尖顶:cuan jian ding) คือมียอดแหลมอยู่ยอดเดียว

สวัสดี
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 09:20

คิดไป นำเรื่อง "สัตว์...บนหลังคาจีน" มาอ่านประกอบจะดีขึ้นมาก

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3365.0
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 10:45

๕. หลังคามียอดแหลมเพียงยอดเดียว ซึ่งอาจมีรูปทรงเป็นทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงสี่เหลี่ยม กระทั่งแปดเหลี่ยมก็นับอยู่ในรูปทรงนี้ เรียกว่า “ช่วนเจียนติ่ง” (攒尖顶:cuan jian ding) นิยมใช้สร้างเป็นหลังคาของเจดีย์ หอคอย หรือศาลาต่างๆ

งดงามด้วยสถาปัตยกรรมจีนครับ แบบนี้คงเป็นหลังคาแบบเหลี่ยม ทรง ช่วนเจียนติ่ง ใช่ไหมครับ ภาพนี้ผมถ่ายจากวัดม้าขาว (วัดที่มีเจ้าแม่กวนอิมไม้จันทน์องค์ใหญ่) ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 10:49

ภาพนี้ควรเรียกว่าอะไรครับผม เป็นสิ่งก่อสร้างโลหะปิดทอง บริเวณลานพระราชวังกู้กง ทรงอาคารเป็นสี่เหลี่ยมหลังคาสองชั้น เป็นแบบผสม สวยงามทีเดียวครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 10:55

หลังคาแบบนี้สวยดีครับ เป็นสะพานลอยทางเดินข้ามถนนในกรุงปักกิ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 11:05

หลังคาวัดระฆังยักษ์ หลังคาด้านบนเป็นทรงกรวย แต่เดินเส้นลงมาเพื่อให้เกิดเป็นเหลี่ยม แต่ไม่เหลี่ยม สวยงามดีครับ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 13:42

หลังคาที่ว่านะ เป็นแบบหลังคามียอดแหลมเพียงยอดเดียว ซึ่งอาจมีรูปทรงเป็นทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงสี่เหลี่ยม กระทั่งแปดเหลี่ยมก็นับอยู่ในรูปทรงนี้ เรียกว่า “ช่วนเจียนติ่ง” (攒尖顶:cuan jian ding) นิยมใช้สร้างเป็นหลังคาของเจดีย์ หอคอย หรือศาลาต่างๆ

ทั้งนี้หากท่านไปเจอด้านบนหลังคามันแบนๆ จริงๆมีชื่อเรียก จัดอยู่ในประเภทย่อย ไว้คราวหน้าจะมาเขียนต่อไปในกระทู้นี้

สวัสดี
บันทึกการเข้า
choo88
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 พ.ย. 21, 11:34

ได้ความรู้มากมาย   ยิ้ม   รอตอนต่อไปอยู่ครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง