เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 30945 สัมผัสกับป่าในอดีต
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 04 ต.ค. 11, 10:11

๕. รอยเท้าเก้ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 04 ต.ค. 11, 10:20

๖. รอยเท้ากระจง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 04 ต.ค. 11, 11:30

ตามรูปรอยเท้าสัตว์ที่คุณเพ็ญชมพูได้กรุณาค้น นำมาลงนั้น

ตกลงว่าเมื่อเทียบกับภาพแล้ว ดูน่าจะเป็นของกระทิงมากกว่า ที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นกวางก็เพราะกีบทางด้านขวามันเล็ก เป็นรอยลึกคม มีผนังดินชัน ชัดเจนมากกว่ารอยกีบด้านซ้ายซึ่งผนังดินเหมือนกับปลิ้นออกไป
ตามปกติแล้ว เมื่อพิจารณารอยเท้าสัตว์ในป่า จะดูอีก 2-3 รอยประกอบกันเพื่อเป็นการยืนยันครับ

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งระหว่างของจริงที่พบในธรรมชาติกับของที่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ ในความเป็นจริงแล้วพรานและชาวบ้านป่ามักจะไม่ได้พิจารณารอยเท้าอย่างละเอียด แต่ได้ใช้องค์ประกอบอื่นๆมาพิจารณาบอกว่าเป็นรอยอะไร ซึ่งได้แก่ลักษณะของป่าว่าควรจะมีสัตว์อะไรอาศัยอยู่หรือเดินผ่านในพื้นที่นั้นๆ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะถกกันเสมอเมื่อพบรอยเท้า รอยเท้าที่พบในโป่งยิ่งสนุกครับเพราะมีคละกันไปหมด 
บันทึกการเข้า
rin51
อสุรผัด
*
ตอบ: 19



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 04 ต.ค. 11, 14:03

ขอบพระคุณรูปรอยเท้าสัตว์ต่างๆ จากคุณ เพ็ญขมพู มากครับ
ทำให้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่ม   ถ้ารอยเท้าที่เห็นเป็นกระทิง จริงๆ โชคดีที่ผมไม่ไได้เดินตามเข้าไปดู (มีหวังโดนขวิด ไส้ไหลแน่ๆ)  และโชคดีที่ป่าผืนนี้ได้เป็นที่อาศัยของสัตว์อนุรักษ์ประเภทนี้ 

ครั้งที่ยังอยู่ในเขตไทรโยค  ได้พบเห็นการซื้อขายสัตว์ป่า อยู่บ่อยมาก เขากระทิงก็เป็นหนึ่งในของหายากและมีราคาแพง  เคยมีคนมาขายให้ราคา 7000 เป็นเขากระทิงจริงๆ ไม่ใช่เขาไฟเบอร์ที่หลอกนักท่องเที่ยว แต่ผมไม่นิยมสะสมสิ่งเหล่านี้ พลางคิดในใจอยู่ว่าสักวันสัตว์เหล่านี้คงจะสูญพันธ์อย่างแน่นอน

เคยเข้าไปดู โป่งจริงตามธรรมชาติมาเหมือนกัน รอยเท้าสัตว์สับสนมากจริงๆ
พักหลังไม่มีโอกาศ ไปดูของจริงอีก แต่ก็ยังได้ทำ โป่งเทียมร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้   รู้สึกเป็นสุขทุกครั้งที่คืนสู่ป่า ครับ

  หมายเหตุ...ต้นขานางที่เห็นเป็นต้นขาวๆ เวลาอยู่ในป่า ที่คุณ naitang กล่าวไว้เวลาส่องไฟโดนต้นไม้ทีไร ทำเอาตกใจเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

คำว่า"เพื่อน"ไม่เคยจางหาย ไม่ว่าจะเนิ่นนานเพียงใด
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 04 ต.ค. 11, 16:21

ขอบพระคุณรูปรอยเท้าสัตว์ต่างๆ จากคุณ เพ็ญขมพู มากครับ
ทำให้ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่ม   ถ้ารอยเท้าที่เห็นเป็นกระทิง จริงๆ โชคดีที่ผมไม่ไได้เดินตามเข้าไปดู (มีหวังโดนขวิด ไส้ไหลแน่ๆ)  และโชคดีที่ป่าผืนนี้ได้เป็นที่อาศัยของสัตว์อนุรักษ์ประเภทนี้ 


กระทิงที่ทุ่งใหญ่นเรศวรนี่แหละเป็นปฐมบทแห่งเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

บันทึกลับจากทุ่งใหญ่

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
rin51
อสุรผัด
*
ตอบ: 19



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 08:38

...ใช่แล้วครับ  ปฐมเหตุ 14 ตุลาคม 2516  ก็เพราะซากกระทิง ในเฮลิคอปเตอร์ ที่ตกที่ นครปฐม นั่นเอง

    กระทิงสัตว์ป่าอนุรักษ์..ยังคงมีให้เห็นอีกหลายๆที่ในเขตป่าอนุรักษ์  แต่ที่ๆเห็นได้อย่างชัดเจน น่าจะเป็นที่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติตาพระยา นะครับ


บันทึกการเข้า

คำว่า"เพื่อน"ไม่เคยจางหาย ไม่ว่าจะเนิ่นนานเพียงใด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 13:06

ผมอยู่ในพื้นที่ทำงานแถบนั้นพอดีในช่วงเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตก กำลังทำงานสำรวจอยู่แถวๆห้วยบ้านเก่า บ้านพุเตย สองท่อ และลำเขางู สำหรับบ้านพุเตยนี้ ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านภูเตย บริเวณบ้านนี้มีพุน้ำซับ แล้วก็มีเขาหินปูนลูกเล็กๆโดดๆอยู่ลูกหนึ่งที่มีต้นเตยผาเกิดอยู่ จะเรียกชื่ออย่างไรก็คงไม่ผิด แต่ไปเปลี่ยนชื่อจากที่เขารู้จักกันแต่เดิมนั้น ผมคิดว่าไม่ค่อยจะสมควร ที่เขาเรียกพุเตยนั้นก็เพราะชาวบ้านเขาให้ความสำคัญกับความเป็นแอ่ง เป็นที่ราบเล็กๆ เป็นแหล่งน้ำซับสำหรับการเดินทาง ไปใช้ชื่อภูเตยเลยไปแสดงถึงความเป็นพื้นที่ภูเขา มีความแห้ง และเดินทางลำบาก ให้ภาพที่แตกต่างกันมาก

เพื่อให้ได้รับทราบรายละเอียดเล็กๆน้อยๆประกอบเรื่อง จะขอเล่าเสริมเรื่องดังนี้ครับ

ก่อนที่จะเกิดเรื่อง ในขณะที่กำลังเตรียมสะเบียงอาหารอยู่ในเมืองกาญจนบุรี และไปบรรทุกของเตรียมตัวเดินทางที่บ้านลาดหญ้า ก็ได้เห็นรถทหารขนถังน้ำมันขนาดสองร้อยลิตร วิ่งอยู่แถวถนนหน้าค่ายกองพล 9  ดูไม่ใช่เรื่องปกติเท่าใดนักเพราะไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่ได้แปลกใจอะไร พอเข้าไปทำงานในพื้นที่ก็ได้ทราบว่ามีรถเข้าไปทุ่งใหญ่หลายคัน ก็รู้สึกแปลกใจ คิดว่าคงจะเป็นขบวนล่าสัตว์ของคนกรุงเทพฯ และคงจะต้องเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจพอสมควร เพราะเหมืองแร่เขาห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไปใช้ทางของเหมืองและยังมีการตั้งด่านไว้ที่บริเวณที่ชาวเหมืองเรียกว่าช่องแคบศรีสวัสดิ์และที่คลิตี้ต้นเส้นทางเข้าสู่ทุ่งใหญ่อีกด้วย พอได้ฟังวิทยุว่าเครื่องเฮลิคอปเตอร์ตกพร้อมรายงานต่างๆ ก็นึกออกในทันทีและสามารถต่อภาพได้อย่างชัดเจน

ขอเว้นวักไปทำธุระสักหน่อยก่อนครับ 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 17:23

ต่อครับ
ผมรู้สึกในขณะนั้นว่าเหตุการณ์จะไม่ค่อยดี เพราะเราเป็นส่วนราชการใช้รถราชการ อาจจะถูกลากเข้าไปเกี่ยวพันได้ ก็เลยรีบออกจากป่า วิ่งออกมายังไม่ทันจะถึงช่องแคบศรีสวัสดิ์เลย ก็สวนกับรถบรรทุกของทหาร 2 คัน มีคนนั่งอยู่เต็ม สักพักก็ตามมาด้วยรถของกรมป่าไม้ มีนักเขียนของหนังสือพิมพ์สยามรัฐนั่งมาด้วย ช่วงนั้นผมกำลังจอดรถหาชิ้นส่วนของเพลากว้าน (Winch) ที่หลุดตกหายไป
คำถามแรกของนักหนังสือพิมพ์ท่านนั้นก็คือ เข้ามาทำอะไร เข้ามาล่าสัตว์หรือเปล่า ผมก็อธิบายไปว่ามาทำอะไร แต่ดูท่าทางแล้วเหมือนจะไม่ค่อยเชื่อ ซักใหญ่เลยว่า มาทำงานแล้วทำไมถึงมีปืนด้วย ผมก็ตอบไปว่ามีไว้ป้องกันสัตว์ร้าย เป็นปืนของหลวงอีกด้วย ยิงไปแล้วก็ต้องเก็บปลอกกระสุนคืนและทำรายงานด้วย ไม่ใช่เรื่องสนุกเลยที่จะไปเที่ยวล่าสัตว์ ในตอนนั้นผมนึกอย่างไรไม่ทราบก็เลยกลับรถย้อนกลับเพื่อไปหาชิ้นส่วนที่หลุดอยู่ตามทาง
ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ฝนเริ่มตกแล้วและทางบางส่วนก็แย่มากๆ แต่ในที่สุดก็ไปทันรถทหารทั้งสองคันเิพิ่งจะรอดจากการติดหล่มแถวๆบ้านพุเตย ส่วนรถของกรมป่าไม้นั้นแซงล่วงหน้าไปแล้ว พลขับของรถทหารไม่เคยมาในเส้นทางนี้ก็ถามผมถึงสภาพของเส้นทางข้างหน้า เพื่อประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า แล้วก็ทำให้ผมทราบว่าบนรถทหารนั้นมีนักศึกษา และมีนายพรานใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนั่งอยู่ด้านหน้ารถด้วย
รถทหารก็ติดหล่ม รถผมก็ติดหล่ม ช่วยกันดึงช่วยกันกระชากลากกันไป จนเริ่มมืด ท่านพรานใหญ่ผู้นั้นดูจะไม่ค่อยพอใจ หาว่ารถผมมาถ่วงการเดินทาง ทั้งๆทีผมช่วยแก้ไขปัญหาให้กับรถทหารหลายครั้ง ทหารก็ไม่ฟังเพราะต้องการเพื่อนเดินทางที่รู้จักพื้นที่ ในที่สุดก็ถึงเหมืองคลิตี้ตอนประมาณสัก 3 ทุ่ม ก็หุงหาอาหารกินกัน ผมได้มีโอกาสร่วมวงสนทนากับนายพรานใหญ่ด้วย แล้วก็ต้องทึ่งมากเพราะข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสัตว์หลายอย่างที่พรานใหญ่เล่าให้ฟังในวงนั้น ขัดกับของจริงที่ผมประสบมาและของชาวบ้านด้วย ผมแย้งไปสองสามเรื่องแล้วก็หลบฉากไปนอนดีกว่า
รุ่งขึ้นก็เข้าสู่ทุ่งใหญ่ ถึงตอนบ่ายต้นๆ จากนั้นก็โกลาหลเลยครับ ไม่ทราบเป็นความคิดของใคร บรรดาผู้ใหญ่และนักศึกษาบางคนก็ได้ใช้บริการรถของป่าไม้วิ่งปุเลงไปดูสัตว์ที่โป่ง วิ่งไปโป่งนั้นที โป่งนี้ที แดดขนาดนั้นจะมีสัตว์อะไรไปลงโป่งครับ แล้วก็นัดกันอีกว่าพอประมาณ 2-3 ทุ่มก็จะออกไปส่องสัตว์กัน ช่วงนั้นเดือนหงาย พระจันทร์สว่างโร่เลย สัตว์มันคงไม่ออกมาเดินหรอกครับ ต้องรอให้พระจันทร์ตก มืดแสงเสียก่อนถึงค่อยไปส่อง ผมติดตามด้วยความรู้สึกประหลาด แล้วก็ตัดสินใจว่าผมคงจะไม่ได้ทำงาน กลับดีกว่า เพราะด้วยคำพูด ด้วยคำถาม เหมือนถูกเฝ้าดูและแคลงใจอยู่ว่าผมก็คงแอบเอาสมบัติหลวงไปหาความสุขกับการเที่ยวป่าล่าสัตว์ นอนอยู่คืนเดียวก็กลับเลยครับ ก็ยังนึกขุ่นเคืองอยู่ในใจว่า เที่ยวมาว่าแต่เราไม่ย้อนนึกดูตัวเองที่ก็ใช้ของหลวง เขาก็กลับมาออกมาในวันเดียวกับผม พบกันที่ห้วยปะชิ เพราะรถของผมกำลังติดหล่มขึ้นห้วยไม่ได้ กำลังหาทางแก้ไข รถทหารจึงช่วยดึงขึ้นแล้วก็ลาจากกันไป ผมก็เลยทำงานตามเส้นทางต่อไป แล้วน้ำมันก็ไปหมดก่อนจะเข้าบริเวณหมู่บ้านคลิตี้ นอนอยู่คืนหนึ่ง อาหารก็ไม่มีแล้ว แล้วค่อยเล่าประสบการณ์นี้เมื่อโอกาสมาถึงนะครับ

หลังจากเหตุการณ์ทุ่งใหญ่นี้ ก็เกิดด่านของกรมป่าไม้ที่เข้มงวดห้ามทุกคนเข้าออกผ่านทุ่งใหญ่ ก็เกิดการกินแหนงแคลงใจกันกับคนเหมืองซึ่งเป็นผู้ทำเส้นทางนี้และใช้เส้นทางนี้มานานมากแล้ว อีกทั้งยังมีกฎเข้มห้ามยิงสัตว์ตลอดเส้นทางอีกด้วย หากเหมืองเขาไม่ห้ามและเข้มงวดกับเส้นทางนี้มาก่อน สัตว์ก็คงจะไม่เหลือให้เห็นอย่างมากมาย
ผลที่ตามมาของความเข้มงวดนี้ ก็คือป๋าถูกตัดจากโลกภายนอก ผกค.จากเดิมที่ไม่มี ก็เข้ามาอยู่อย่างสบายแฮ ขยายลงมาจากทางอุ้มผาง ลงมาปะละทะ ม่องควะ แม่จันทะ เลตองคุ แถมมีคนเฝ้าปากทางด้านใต้ให้ด้วย ทราบว่านักศึกษาหลายคนที่เข้าป่าก็มาอยู่ในพื้นที่นี้ ผมเคยเห็นบ้านพัก หลุมขวาก กับดัก และความสะบายที่พึงมีค่อนข้างจะดี           

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 19:12

เห็นรูปหน้าปกหนังสือบันทึกลับจากทุ่งใหญ่เป็นรูปของช้างตายทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด ก็เลยของเข้าเรื่องช้างนะครับ

ช้างเป็นสัตว์น่ารักมาก ในขณะเดียวกันก็น่ากลัวมากเช่นกัน

ผมใช้ช้างในการทำงานในป่า ไม่ใช่ใช้ขี่หรือนั่งนะครับ แต่ใช้บรรทุกสัมภาระในระหว่างเดินทำงาน คนในคณะมาจากเมืองก็มี 3 คน (ผม ผู้ช่วย และคนขับรถ) จ้างช้าง 2 ตัว จ้างชาวบ้านระหว่าง 2-4 คน 
งานของผมคือการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยา ข้อมูลที่สำคัญ ก็คือ ตัวหิน ลักษณะการวางตัวและความสัมพันธ์ระหว่างหินต่างชนิด ดังนั้น สถานที่ๆพบหินโผล่มากที่สุดก็คือในห้วย งานส่วนมากจึงเป็นการเดินอยู่ในห้วย จะเดินขึ้นเขาพิชิตยอดดอยก็เฉพาะเมื่อมีความจำเป็น ลักษณะงานทำให้เกือบจะไม่มีการตั้ง Base camp ดังนั้นจึงเป็นการเดินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ค่ำใหนนอนนั่น จะพยายามไม่เดินย้อนกลับทางเดิม และจะพยายามเดินตัดแนวการวางตัวของหินให้ได้มากที่สุด ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาประมวลแล้วจัดทำเป็นแผนที่
ผมพบว่าระยะเวลาที่ทำงานอยู่ในป่าลักษณะนี้ ครั้งละประมาณ 20 วันกำลังดี ด้วยองค์ประกอบหลายประการ ที่สำคัญ คือ เครื่องอาหารแห้งหมดพอดี (กะปิ หอม กระเทียม พริก เกลือ น้ำปลา ฯลฯ) ข้าวสารประมาณ 5-7 วันต่อถัง (ที่เหลือหาซื้อจากชาวบ้านป่า ซึ่งจะพบประปราย) น้ำมันตะเกียงหมดพอดี เหนื่อยล้าพอดี เดินเป็นวงรอบได้ข้อมูลมากกำลังพอดีที่จะใช้ในการวางแผนเดินในพื้นที่อื่นครั้งต่อไป และได้ตัวอย่างหินที่หนักกำลังพอดี

ผมใช้ช้าง 2 ตัว ตัวหนึ่งบรรทุกพวกเครื่องครัว (ของแห้ง กะทะ จาน ฯลฯ) อีกตัวหนึ่งบรรทุกเรื่องเครื่องนอน (Sleeping bag เสื้อผ้า ฯลฯ) ได้เล่ามาแล้วนะครับว่าผมไม่ใช้เต๊นท์ แต่ใช้ผ้าเต็นท์สามผืน (ทำหลังคา ปูนอน ปูนั่ง) นอนรวมกัน นั่งรวมกัน

ช้างเป็นสัตว์ที่มีน้ำหนักมาก สามารถดึง ลากน้ำหนักได้หลายตัน แต่บรรทุกของได้ไม่มาก อาจจะได้ถึง 200 กก.ในระยะเวลาสั้นๆ แต่หากใช้บรรทุกเดินทุกวันๆละหลายชั่วโมง น้ำหนักบรรทุกที่ไม่มากเกินไปก็คือประมาณ 100 กก. (ข้าวสารกระสอบเดียว) มิฉะนั้นหลังจะเสีย ผมให้ช้างเดินตั้งแต่ประมาณ 8 โมงเช้าถึงประมาณบ่าย 3 โมงเย็น ไม่เกินนั้น ซึ่งหมายความว่าช้างจะไม่ได้กินอาหารอย่างเป็นเรื่องเป็นราวประมาณ 7-8 ชม. พอเอาของลงเสร็จ ควาญช้างก็จะรีบเอาช้างไปปล่อยในป่า เืพื่อให้กินอาหาร ตำแหน่งที่ผมเลือกพักนอนจึงต้องมีความสัมพันธุ์กับบริเวณที่มีอาหารของช้างด้วย เมื่อหลายวันเข้าและมีโอกาสพบดงกล้วยป่า ก็จะพักในบริเวณใกล้ๆนั้นทันที ตำแหน่งที่พักแรมที่เรานอนก็จะต้องมีแอ่งน้ำ เพื่ออาบน้ำช้างในตอนเช้าก่อนจะใส่แหย่ง มิฉะนั้นดินทรายก็จะกัดผิวหนังช้าง ตัวช้างก็จะสกปรกอีกด้วย

ที่เล่ามานี้เป็นอารัมภบทนะครับ เืพื่อที่จะได้เล่าถึงความน่ารักและน่ากลัวของช้างบ้านและช้างป่าต่อไป   
       
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 19:56

ขออนุญาตต่อเรื่องพรานล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเศวรก่อน

บทกวีจากหนังสือ บันทึกลับจากทุ่งใหญ่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 06 ต.ค. 11, 20:06

ต่อด้วยเรื่อง ช้าง

กำเนิดช้างแต่ดั้งเดิมเริ่มที่ป่า
ถูกจับมาฝึกหัดดัดนิสัย
จนเก่งกล้าสามารถอาจเกรียงไกร
สันดานไพรยังมีเหลือเมื่อ "ตกมัน"

เขียนไว้ประมาณมัธยมปลาย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
rin51
อสุรผัด
*
ตอบ: 19



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 08:21

ไปค้นเจอมมา.เลยนำภาพมาฝาก ครับ

                   


   ยังรอฟังเรื่องราวในป่าอยู่ตลอด ครับ   
บันทึกการเข้า

คำว่า"เพื่อน"ไม่เคยจางหาย ไม่ว่าจะเนิ่นนานเพียงใด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 19:55

ขอเริ่มด้วยด้านความน่ารักของช้างก่อนนะครับ แล้วค่อยสลับเรื่อง

ตามที่เล่าว่า ผมได้ว่าจ้างใช้ช้างสองตัวในการทำงาน ได้ตัวหนึ่งเป็นตัวเมีย อีกตัวหนึ่งเป็นตัวผู้ ตัวเมียมีอายุมากว่าตัวผู้

 (((เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เมื่อใดเราจะนับช้างเป็น "เชือก" เมื่อใดจะนับเป็น "ตัว" หรือใช้ได้แต่ เชือก หรือเมื่อได้ฝึกและใช้งานได้แล้วจึงนับเป็น..เชือก ฮืม และนับช้างป่าว่าเป็น..ตัว ฮืม พรานยิงช้างป่าตายนับเป็นจำนวน..ตัว แต่ช้างที่ตายในระว่างการจับเพื่อมาฝึกนับเป็นจำนวน..เชือกหรือนับเป็นตัว ฮืม แถมยังมีศัพท์เรียกช้างเพศผู้ว่า "พลาย" และเรียกช้างเพศเมียว่า "พัง")))
   
ผมขอใช้การนับจำนวนเป็น ตัว และใช้คำว่า ตัวผู้และตัวเมีย ในการเล่าเรื่องต่อๆไปนะครับ

เมื่อบรรทุกของเสร็จ ออกเดิน เอาช้างตัวผู้เดินนำ ไม่ไปใหนไกลเลยครับ ช้างตัวผู้จะคอยเหลียวหลังกลับมาดูช้างตัวเมีย เดินช้าอิดออด ในที่สุดควาญช้างก็พบว่าต้องเอาช้างตัวเมียเดินนำ คราวนี้ก็เป็นเรื่องสุนทรีย์ละซิครับ ช้างตัวผู้จะพยายามเดินตามอย่างชิดใกล้ ตามติดต้อยๆ คอยใช้งวงดมก้น ใช้งวงล้วงลอดใต้ขา บางที่พอมีจังหวะให้เดินเคียง ก็ใช้งวงล้วงไปจับนมช้างตัวเมียเล่น ช้างตัวเมียก็ต้องคอยพะวง เมื่อรู้สึกทนไม่ได้ก็หันมามองหรือฝึดฝัดเพื่อปราม พอถึงจุดที่ต้องหยุดเพื่อควาญต้องตัดกิ่งไม้ที่ระกับแหย่ง ตังผู้ก็จะได้ที แหย่มากขึ้น เป็นภาพที่น่ารักน่าเอ็นดูมากใช่ใหมครับ

ผมมีวิทยุธานินท์ ควาญช้างขอเปิดฟังระหว่างเดิน นั่งอยู่บนคอช้าง มันเป็นอะไรที่ทุกคนมีความสุขมากๆ ผมมิได้โฆษณาให้นะครับ แต่วิทยุธานินท์ดังทุกแห่งหน นี่แหละฝีมือคนไทยแท้ๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 22:31

(((เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เมื่อใดเราจะนับช้างเป็น "เชือก" เมื่อใดจะนับเป็น "ตัว" หรือใช้ได้แต่ เชือก หรือเมื่อได้ฝึกและใช้งานได้แล้วจึงนับเป็น..เชือก ฮืม และนับช้างป่าว่าเป็น..ตัว ฮืม พรานยิงช้างป่าตายนับเป็นจำนวน..ตัว แต่ช้างที่ตายในระว่างการจับเพื่อมาฝึกนับเป็นจำนวน..เชือกหรือนับเป็นตัว ฮืม แถมยังมีศัพท์เรียกช้างเพศผู้ว่า "พลาย" และเรียกช้างเพศเมียว่า "พัง")))

รอยอิน ท่านว่าไว้เรื่องลักษณนามของช้าง

ช้างป่า         -   ตัว

ช้างบ้าน        -  เชือก

ช้างขึ้นระวาง   -  ช้าง

ขึ้นระวาง รอยอินท่านอธิบายเพิ่มเติมว่าหมายถึงเข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).

ต่อด้วยเรื่อง ช้าง

กำเนิดช้างแต่ดั้งเดิมเริ่มที่ป่า
ถูกจับมาฝึกหัดดัดนิสัย
จนเก่งกล้าสามารถอาจเกรียงไกร
สันดานไพรยังมีเหลือเมื่อ "ตกมัน"

เขียนไว้ประมาณมัธยมปลาย

กลอนนี้เขียนบรรยายภาพช้างศึก

กำเนิดช้างแต่ดั้งเดิมเริ่มที่ป่า  ตอนนี้เรียกช้างว่า "ตัว"   ถูกจับมาฝึกหัดดัดนิสัย เรียกว่า "เชือก" (เรียกตามอุปกรณ์การจับช้าง) จนเก่งกล้าสามารถอาจเกรียงไกร เป็นช้างศึกก็ต้องขึ้นระวางแล้ว เรียกว่า "ช้าง"  สันดานไพรยังมีเหลือเมื่อ "ตกมัน" ไม่ว่าจะเป็น ตัว, เชือก หรือช้าง ก็ยังคงเป็นคงเป็นช้างอยู่นั่นเอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 22:43

ครับผม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง