เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 30935 สัมผัสกับป่าในอดีต
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 11:55

ผมขออนุญาตเข้ามาทิ้งคำถามเกี่ยวกับนกยูงที่ยังคาใจครับ

๑.   เสียงร้องของนกยูงนั้น เท่าที่ปรากฏในเพลงเขมรไทรโยคก็ดี หรือวรรณกรรมบางเรื่อง (เท่าที่ผมเคยฟัง) ก็ดี มักเป็น “กระโต้งฮง” ขอเรียนถามคุณตั้งครับ ว่าจริงๆแล้วดังอย่างนั้นหรือเปล่า
๒.   จากนวนิยายเพชรพระอุมา (อีกแล้ว) มีการกล่าวถึงเมนูอาหารชื่อ “นกยูงอบ” รู้สึกดารินจะเคยสั่งมากินด้วย เรียนถามท่านนักชิมและท่านผู้รู้ทุกๆท่านขอรับ นกยูงอบนี่สมัยนั้นมีให้ชาวนาครกินกันจริงๆหรือไร? และต้องเป็นภัตตาคารระดับแพงลิบเท่านั้นหรือเปล่า กระผมถามมิใช่อยากลิ้มลองหรอกนะครับ ตรงข้าม รู้สึกเสร้าสังเวชมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:34

อยากให้นายตั้งเล่าเรื่องที่ไปเห็นวิธีที่หมูป่าเอากล้วยทั้งเครือลงมากิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 13:59

ตอบคุณชูพงศ์ เรื่องนกยูงอบ
เคยได้ยินว่าชาวยุโรปสมัยก่อนสักสี่ห้าร้อยปีมาแล้ว เขากินนกยูงอบ     เป็นอาหารหรูหราในราชสำนักหรือปราสาทขุนนางใหญ่โต  ไม่ใช่อาหารตามบ้านเรือนหรือภัตตาคาร
ใช้อินทรเนตรส่องหาก็เจอวิธีทำ แสดงว่ายังกินกันอยู่ แต่เป็นอาหารจานพิเศษ ไม่มีกินกันทั่วๆไปค่ะ
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 14:29

อ่านความรู้จากท่านอาจารย์เทาชมพูแล้ว ต้องอุทาน “คุณพระช่วย!”  ครับ นี่แสดงว่า นกยูงยังถูกล่าอีกหรือ มนุษย์หนอมนุษย์ เขาอนุรักษ์สัตว์กันทั่วโลก ก็ยังมีมารจ้องทำลายมิวายเว้น น่าอเนจอนาถจริงๆครับอาจารย์
 
บันทึกการเข้า
rin51
อสุรผัด
*
ตอบ: 19



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 11:44

ขอเข้ามารับฟังและเล่าประสพการณ์ ด้วยคนครับ
ชีวิตเมื่อก่อนของผมเข้าป่าครั้งแรกประมาณปี 2525 ด้านจังหวัดกาญจนบุรี เขตอำเภอไทรโยค   ตอนนั้นมาเที่ยวข้ามเข้าไปเที่ยวที่ บ้องตี้ แล้วลัดเลาะไปที่เหมืองเต่าดำ  ด้วยรถ jeep เก่าๆ  สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก สัตว์ป่ายังมีอยู่มาก    ประมาณปี 2532  กลับมาสร้างสนามกอล์ฟที่นี่อีก ป่าที่เคยเห็นเปลี่ยนไป  แต่อาชีพที่นี่ยังคงไม่เปลี่ยน คือหาของป่ามาขาย  ตัดไม้   ไม้มะค่านี่ผมเห็นมากที่สุด  มาขายเป็น"ยก" (เป็นอีกหน่วยวัดที่ชาวบ้านใช้กัน)

ประสพการณ์ของกระผมเอง คงจะไม่ค่อยมีเท่าไหร่  ได้แต่ฟังจากผู้ที่มีอาชีพพรานที่นั่นเล่าให้ฟัง ตอนที่ไปนอนห้างกับเขา ถึงเรื่องของอำนาจของป่า   ถึงครั้งหนึ่ง ที่พวกเขา 2 คนเข้าไปดักรอยิงสัตว์ที่โป่งแห่งหนึ่งในเขตใกล้ชายแดน  ว่าในขณะรอดักยิงสัตว์ป่าที่มากินโป่ง ในความรู้สึกตรงนั้น เขาบอกว่าได้ยินเสียงฝีเท้า ของฝูงช้างป่า วิ่งใกล้เข้ามาประมาณว่าจะวิ่งดาหน้าเข้ามาตรงจุดที่เขาซุ่มรออยู่  ราวกับว่าจะเข้าบดขยี้เขาให้จมดิน  พรานหนุ่มอีกคนหนึ่ง เข้าใจว่าตั้งสติไม่ได้ ได้วิ่งหนีหายไปอีกทางหนึ่ง  จนเสียงดังกล่าวเงียบไป  ทุกอย่างเงียบสงัด จึงออกตามหาพรานหนุ่มคนนั้น ปรากฏว่าไปพบว่าได้ปีนหนีขึ้นไปบนต้นอะไรผมจำไม่ได้ สูงมากและมีหนาม กว่าจะลงมาได้เนื้อตัวมีแต่บาดแผลเต็มไปหมด      พรานใหญ่บอกผมว่าในป่าถ้าจิตใจไม่มั่นคง หรือควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจถึงขั้นประสาทเสียได้   

      ทุ่งใหญ่ นเรศวร ที่คุณ naitang กล่าวมาคือผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดที่ผมเคยเข้ามา  เป็นผืนป่าที่มีเรื่องเล่ามากมายครับ



       

บันทึกการเข้า

คำว่า"เพื่อน"ไม่เคยจางหาย ไม่ว่าจะเนิ่นนานเพียงใด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 21:03

ขอบคุณคุณ rin51 ที่ให้ภาพเส้นทางและที่ตั้งของหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขตทุ่งใหญ่ครับ
แสดงว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปมาก อย่างน้อยเขตก็ขยายต่ำลงมาถึงทินวย ย่านต่ำลงมากว่าซงไท้นั้น ในสมัยที่ผมทำงานเป็นพื้นที่สัมปทานตัดไม้ ออกจากทินวยก็มีทางลากไม้ไปแยกไปทางขวาจนถึงแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งแต่จะแก พุจือทางรถแทบจะไม่เป็นทางรถ ต้องเข้าไปทางสะเนพ่อง ซึ่งอย่างมากไปไกลสุดก็ถึงทิไล่ป้า
หากป่าไม่เปลี่ยนไปมากนะครับ เราก็น่าจะยังคงมีโอกาสเห็นกระทิงตามถนนในร่องเขาห้วยช่วงซงไท้-ซงซ่ง โดยเฉพาะในบริเวณโป่งยิบซั่ม และก็น่าจะมีโอกาสได้เห็นเก้งหม้อและเสือในช่วงห้วยดงวี่ด้วย

 



 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 21:43

อยากให้นายตั้งเล่าเรื่องที่ไปเห็นวิธีที่หมูป่าเอากล้วยทั้งเครือลงมากิน

เรื่องนี้ผมได้รับฟังมาจากคนชาวเย้าคนหนึ่ง สมัยเด็กๆประมาณ พ.ศ.2500 (สมัยนั้นอยู่เชียงราย) ว่าหมูป่าใช้วิธีกระโดดชนต้นกล้วยให้ล้มลง แล้วจึงกินกล้วยทั้งเครือ พอมาเดินป่าเข้าจริงๆ ก็พบว่าหมูป่านั้น ใช้วิธีขุดคุ้ยกินรากไม้ตามปกติของหมูและดันต้นกล้วยป่าให้ล้มลงเพื่อจะกินผลกล้วย ผมไม่เห็นตอนที่มันทำ เห็นแต่ร่องรอยที่มันทำ เรื่องนี้เห็นในป่าบริเวณใกล้ปากห้วยองค์ทั่ง ริมแม่น้ำแควใหญ่ครับ (น้ำเขื่อนท่วมไปแล้ว)

หมูป่าของไทย เท่าที่เคยเห็นในประสบการณ์ ไม่ค่อยเห็นเป็นฝูง ส่วนมากจะพบร่องรอย (รอยเท้า) หากินเพียงหนึ่งหรือสองตัว ไม่เหมือนในอัฟริกาที่เดินตามชูหางกันเป็นทิว ที่เห็นเป็นฝูงหน่อยก็ช่วงบ้านตีนตกไปหาบ้านนาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ และช่วงเลยจากบ้านบ้องตี้ตามเส้นทางไปเหมืองห้วยเต่าดำ จ.กาญจนบุรี มีฝูงอยู่ประมาณ 5-6 ตัว อันนี้เห็นอยู่ในที่ๆเขาพักนอนกัน เป็นที่แฉะๆใต้พงเถาวัลย์ จะว่าไปหมูป่าของเราก็เห็นได้ยากนะครับ ส่วนมากจะออกหากินในช่วงเย็นหรือกลางคืน ใกล้ๆโป่งที่มีน้ำ หรือบริเวณที่มีซับน้ำ เช่นซับน้ำด้านตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านเกริงกราเวีย กาญจนบุรี
ด้วยความที่มัน Charge สวนลูกปืนได้ ดังนั้นในการจะยิงแต่ละครั้งจึงต้องอยู่ด้านข้าง เพื่อยิงเข้ารักแร้แดง (จุดเข้าขั้วหัวใจ) หากยิงตรงหน้าจะอันตรายมาก ผมไม่เคยยิงมันหรอกครับ แต่เคยพบชาวบ้านที่ถูกมัน Charge จนเป็นแผลเหวอะหวะ เห็นแผลเป็นของเขายังน่ากลัวเลย ทั้งขา แขนและลำตัวส่วนบน การยิงหมูป่านั้นชาวบ้านจึงมักใช้ปืนลูกโดด (ลูกซองเม็ดเดียวขนาดลูกปืนใกล้กับหัวแม่มือ) หรือใช้กับดักโดยใช้ปืนแก็บที่ไกปืนผูกกับเชือกที่ขึงกั้นทางเดินของหมูป่า ระดับยิงประมาณน่องของเรา การเดินป่าในบางพื้นที่จึงต้องระวังมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับภาคตะวันตกนั้นไม่ค่อยนิยมทำวิธีการนี้มากนัก
ผมนึกชื่อวิธีการนี้ไม่ออกครับ มันมีชื่อเฉพาะของมัน         
บันทึกการเข้า
rin51
อสุรผัด
*
ตอบ: 19



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 16:17

....  เอามาฝากอีกนิด  ซึ่งจะเห็นได้ว่าพื้นที่ของทุ่งใหญ่นเรศวร คือผืนป่าที่ใหญ่และครอบคุมพื้นที่หลายจังหวัด


  ผมเองเคยเข้าแต่ทางด้านทินวย  สำหรับทางด้านสเนพ่อง ยังไม่เคยเข้า คาดว่าถ้าปีหน้าสุขภาพดีจะเข้าทุ่งใหญ่นเรศวรอีกสักครั้งให้ได้   
  ..จากช่วง ทิคอง ไปยัง ซ่งไท้  จะผ่านป่า "ปรง" ซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ยุคดึกดำบรรพ์ ขึ้นอยู่เต็มไปหมด ขับรถผ่านกว่าจะหมดใช้ระยะเวลาพอสมควร  เดี๋ยวผมหารูปเจอจะเอามาให้ดู นะครับ

    การเข้าทุ่งใหญ่นเรศวร จะต้องขออนุญาติก่อนล่วงหน้า เพราะเขาจะจำกัดจำนวนรถที่จะเข้าต่อวัน และอนุญาติให้พักตั้ง กางเต๊นท์ได้เฉพาะ ภายในหน่วยเท่านั้น    เวลาขับรถ ไม่ควรออกนอกเส้นทาง เพราะมีสัตว์ที่ทำอันตรายเราอยู่



     

        เห็นระยะทางไม่เท่าไหร่  แต่กว่าจะไปถึงแต่ละจุด ปวดเมื่อยไปทั้งตัวล่ะครับ
         ปีที่แล้วมีพรรคพวกเข้าหน้าฝน ระยะทาง 70 km  ใช้เวลาร่วม 15 ชั่วโมง
         
 
   
บันทึกการเข้า

คำว่า"เพื่อน"ไม่เคยจางหาย ไม่ว่าจะเนิ่นนานเพียงใด
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 18:39

คุณ rin51 ครับ

จะรอดูรูปต้น "ปรง" ครับ มันนานเต็มทีแล้วผมจำไม่ได้แม่น จำได้ว่ามันเป็นต้น "เป้ง" ครับ

สำหรับเรื่องของระยะทางกับเวลาที่ใช้ในการเดินทางนั้น พวกผมสื่อสารกันด้วยระยะเวลามากกว่าระยะทาง เพราะแต่ละฤดูกาลใช้เวลาไม่เท่ากัน ผมเลือกทำงานในระหว่างกลางหรือปลายเดือนตุลาคม (ได้รับงบประมาณ) ก็คือปลายๆฝน ไปถึงช่วงประมาณเดือนมิถุนายน หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือนกรกฎาคม ก็เข้าช่วงฤดูฝน  เส้นทางต่างกันมาก ช่วงแล้งในบางพื้นที่มีฝุ่นหนาขนาดต้องใส่เกียร์สโลว์ก็เคย ช่วงฝนไม่ต้องถาม วินช์ตลอดทาง ผูกผ้าขาวม้ารอบเอว เอาตะขอวินช์เกี่ยวหลังเดินหาต้นไม้เพื่อวินช์ เดินนำรถเป็น กม.ๆ ก็เคย ทั้งลำบากและเหนื่อยครับ
เข้าใจเลยครับว่า ระยะ 70 กม.ใช้เวลา 15 ชม.  สมัยก่อนช่วงลาดหญ้าไปบ้านท่าเสา (น้ำตกเขาพัง,ไทรโยคน้อย) ระยะทางประมาณ 60 กม. ก็ใช้เวลาร่วมๆ 18 ชม.เหมือนกัน จากลาดหญ้าไปห้วยบ้านเก่าบนเส้นทางไปสองท่อและลำเขางู ก็ทั้งวันเหมือนกัน จากแก่งระเบิดไปห้วยเต่าดำ ระยะประมาณ 40 กม.ก็ทั้งวัน หรือบางทีข้ามคืนเลยครับ

มันก็มีกลเม็ดในการเดินทางเหมือนกันนะครับ ตามปกติคนเราจะมีความรู้สึกว่าไม่ควรขับรถ (ในป่า) ขณะฝนตก หรือรอให้ฝนหยุดถึงค่อยเดินทางต่อ แท้จริงแล้วรอให้ฝนตกหนักๆแล้วค่อยออกเดินทางในระหว่างนั้นจะสะบายมากกว่า เนื่องจากถนนจะไม่เป็นโคลน แต่จะเป็นเลนเละมากๆจนดินไม่ติดล้อรถ ซึ่งน้ำฝนจะช่วยชะดินออกไปจากล้อรถได้ง่ายมาก ทำให้ล้อไม่ติดโคลนหนาเปอะและลื่น และล้อรถก็สามารถกดลึกลงไปถึงพื้นที่เป็นดานไม่หมุนฟรี ปลอดภัยมากกว่าด้วยครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 18:57

ผมขออนุญาตเข้ามาทิ้งคำถามเกี่ยวกับนกยูงที่ยังคาใจครับ
๑.   เสียงร้องของนกยูงนั้น เท่าที่ปรากฏในเพลงเขมรไทรโยคก็ดี หรือวรรณกรรมบางเรื่อง (เท่าที่ผมเคยฟัง) ก็ดี มักเป็น “กระโต้งฮง” ขอเรียนถามคุณตั้งครับ ว่าจริงๆแล้วดังอย่างนั้นหรือเปล่า

เท่าที่เคยได้ยินทั้งในป่า สวนสัตว์และที่เพาะเลี้ยง ผมไ่ม่เคยได้ยินเสียงใกล้เคียงกับ "กระโตงฮง" เลยครับ ได้ยินแต่เสีงคล้ายๆ "แกก...",  "กแวก..." , "กเว้า..." หรือ "กโฮ้ง.." เสียงเหล่านี้บางครั้งก็เหมือนกังวาลอยู่ในลำคอ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 19:18

ตอบคุณชูพงศ์ เรื่องนกยูงอบ
เคยได้ยินว่าชาวยุโรปสมัยก่อนสักสี่ห้าร้อยปีมาแล้ว เขากินนกยูงอบ     เป็นอาหารหรูหราในราชสำนักหรือปราสาทขุนนางใหญ่โต  ไม่ใช่อาหารตามบ้านเรือนหรือภัตตาคาร
ใช้อินทรเนตรส่องหาก็เจอวิธีทำ แสดงว่ายังกินกันอยู่ แต่เป็นอาหารจานพิเศษ ไม่มีกินกันทั่วๆไปค่ะ

ผมเคยกินครับ ที่เวียนนา ร้านในย่านกลางเมือง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเนื้อนกยูงหรือไม่ ไม่ได้คิดอยากจะเสาะแสวงหากินหรอกครับ งานนี้เขาเลี้ยง รมต. ผมเพียงเข้าร่วมโต๊ะ ก็มีเมนู Peafowl ก็เลยลอง มาในจานชิ้นประมาณครึ่งฝ่ามือ เป็นลักษณะการทำแบบทอดอกเป็ด ไม่มีสิ่งใดประทับใจเลยครับ เนื้อหยาบกว่าไก่งวง ไม่ขาวเหมือนไก่งวง ก็งั้นๆแหละครับ
ผมเคยทราบว่ามีการเพาะนกยูงในหลายแห่ง ในสหรัฐก็เป็นแห่งหนึ่งที่มีฟาร์มนกยูง แต่ไม่ทราบว่าเพื่อวัตถุประสงค์อันใดเป็นหลัก เพื่อกินหรือเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งถ้ามีการเพาะเลี้ยงในระดับเป็นฟาร์ม ก็คงต้องมีการขายเพื่อกินเนื้อเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจแน่นอน ผมไม่เคยได้สังเกตว่าในซุบเปอร์มาเก็ตว่ามี Peafowl แช่แข็งขายกันบ้างหรือไม่   

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 21:50

ผมเคยทราบว่ามีการเพาะนกยูงในหลายแห่ง ในสหรัฐก็เป็นแห่งหนึ่งที่มีฟาร์มนกยูง แต่ไม่ทราบว่าเพื่อวัตถุประสงค์อันใดเป็นหลัก เพื่อกินหรือเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง

วัตถุประสงค์หนึ่งคงเพื่อรวบรวมขนแพนหางสำหรับทำเครื่องประดับ

ภาพนี้เป็นผลผลิตจาก ฟาร์มนกยูงที่จีน

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 22:00

^
โอ้ยโหย โอ้โห  อื้อหือ ไอ้หยา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 ต.ค. 11, 07:13

ผมขออนุญาตเข้ามาทิ้งคำถามเกี่ยวกับนกยูงที่ยังคาใจครับ
๑.   เสียงร้องของนกยูงนั้น เท่าที่ปรากฏในเพลงเขมรไทรโยคก็ดี หรือวรรณกรรมบางเรื่อง (เท่าที่ผมเคยฟัง) ก็ดี มักเป็น “กระโต้งฮง” ขอเรียนถามคุณตั้งครับ ว่าจริงๆแล้วดังอย่างนั้นหรือเปล่า

เท่าที่เคยได้ยินทั้งในป่า สวนสัตว์และที่เพาะเลี้ยง ผมไ่ม่เคยได้ยินเสียงใกล้เคียงกับ "กระโตงฮง" เลยครับ ได้ยินแต่เสีงคล้าย ๆ "แกก...",  "กแวก..." , "กเว้า..." หรือ "กโฮ้ง.." เสียงเหล่านี้บางครั้งก็เหมือนกังวาลอยู่ในลำคอ


การส่งเสียงร้องของนกยูงนั้น จะมีขึ้นตลอดทั้งวันและดังก้องทั่วผืนป่า โดยมันจะเริ่มส่งเสียงร้องตั้งแต่เช้ามืด ประมาณตี ๕ และร้องถี่ขึ้นในช่วงเวลา ๐๖.๓๐ - ๐๗.๓๐ น. ก่อนที่จะบินลงจากคอนหากิน ในเวลากลางวันและบ่าย จะได้ยินเสียงร้องของนกยูงอยู่บ้าง แต่จะร้องถี่มากขึ้นอีกครั้ง ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ ๑๘.๐ - ๑๙.๐๐ ส่วนเวลากลางคืน นกยูงจะไม่ส่งเสียงร้อง นอกจากเมื่อตกใจ จะร้อง " โต้ง โฮ้ง " เพียงครั้งเดียว

เสียงร้องของนกยูงมีหลายเสียง ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะพฤติกรรมในช่วงนั้น ๆ คือ

เสียง " โต้ง โฮ้ง โตังโฮ้ง .... "  เป็นเสียงร้องทั่วไปของนกยูงตัวผู้ ที่ใช้ร้องทั้งวัน อันเป็นการร้อง เพื่อประกาศเขตแดนทั่ว ๆ ไป แต่ในระยะผสมพันธุ์ เสียงร้องดังกล่าว จะเพี้ยนต่างไปเล็กน้อย โดยลากเสียงยาวมากขึ้น และลงท้ายคล้ายเสียงแมวร้อง ทำให้ได้ยินเป็นเสียง " โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว "

เสียง " ตั๊ก ..ตั๊ก "สั้น ๆ ดังขึ้นเป็นช่วง ๆ เป็นเสียงร้องเตือนภัย เมื่อเห็นศัตรู หรือ เกิดความสงสัย

เสียง "กอก กอก กอก ... " ติดต่อกันเป็นเวลานานเมื่อตกใจ หรือ บางครั้งอาจร้อง " โต้งโฮ้ง " เพียงครั้งเดียว

เสียง " อ้าว อ้าว .." หรือ " อ่า ฮาก... " เป็นเสียงนกยูงตัวผู้ขณะรำแพนหาง หรือขณะลงกินโป่ง เพื่อเรียกหาตัวเมีย หรือเชิญชวนให้นกตัวเมียเข้ามาใกล้ จะได้รำแพนหางออก หรือบางครั้งอาจใช้ในเวลาตื่นตกใจหนีไปคนละทิศละทาง

เสียง " ก -รอก...ก ก-รอก...ก " รัวเบา ๆ เป็นการเรียกหากันให้กลับมารวมฝูง หลังจากตื่นตกใจหนีไปคนละทิศละทาง

ข้อมูลจาก เว็บปัญญาไทย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
rin51
อสุรผัด
*
ตอบ: 19



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 ต.ค. 11, 12:56

....ไปค้นหารูปต้นปรงมาฝาก ครับ


               




   ที่เห็นเป็นเขตป่าปรง ต้นไม้ยุคโลกล้านปีเป็นช่วงระหว่างเส้นทางก่อนถึง ซ่งไท้ ครับ 
บันทึกการเข้า

คำว่า"เพื่อน"ไม่เคยจางหาย ไม่ว่าจะเนิ่นนานเพียงใด
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง