เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 30888 สัมผัสกับป่าในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 20:34

เอาภาพไก่ฟ้าหลังเทามาให้ดูค่ะ
สัตว์แสนสวยประเภทนี้ ไม่น่าจะต้องมาสังเวยเนื้อของมันให้คนที่มีเงินพอจะซื้อไก่เนื้อกินได้ทั้งโลกเลย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 21:02

คนหากิน  สัตว์หากิน
เราไม่เบียดเบียนกันและกัน
ต้นไม้งาม  คนงดงาม
งามน้ำใจไหลเป็นสายธาร
ชุบชีวิตทุกฝ่ายเบิกบาน
มีคน  มีต้นไม้  มีสัตว์ป่า


ชีวิตสัมพันธ์ - คาราบาว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 10:39

จากไทยโพสต์ออนไลน์


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 18:02

เอาภาพไก่ฟ้าหลังเทามาให้ดูค่ะ
สัตว์แสนสวยประเภทนี้ ไม่น่าจะต้องมาสังเวยเนื้อของมันให้คนที่มีเงินพอจะซื้อไก่เนื้อกินได้ทั้งโลกเลย

เวรกรรมไม่ต้องรอชาติหน้า  ต่อจากนี้ไป แม้จะมีเงินล้นฟ้าแต่ไม่รู้จะบากหน้าอยู่ในสังคมได้ยังไง เป็นศัตรูกับคนทั้งสังคมได้ขนาดนี้ ไปไหนก็มีแต่อับอายขายหน้า สมน้ำหน้าจริงๆ ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 09 ก.พ. 18, 19:39

ประมวลภาพสัตว์ป่าที่คุณเพ็ญชมพูนำมาลงนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกสัมผัสแต่เก่าก่อนย้อนกลับไปเมื่อครั้งยังเดินทำงานอยู่ในพื้นที่ป่าทางด้านตะวันตกของไทย    

จากภาพก็ดูจะยังเป็นป่าที่สมบูรณ์เหมือนเดิม   พื้นที่ป่าทางตะวันตกของเราส่วนมากจะเป็นป่าที่ดูแห้งๆโปร่งๆแต่อุดมไปด้วยต้นไม้ต้นเล็กต้นน้อย    ในบางบริเวณก็เป็นป่าที่ดูชื้นมีสภาพคล้ายดงดิบ มีต้นหวาย เถาวัลย์ มีต้นไม้ใบหนา และไม้มีหนาม ซึ่งในป่าลักษณะนี้มักจะมีต้นอบเชย และก็อาจจะพบต้นแม่ช้อยนางรำที่บริเวณชายป่าที่เป็นที่เปิดและมีแดดส่องถึง    ในบางบริเวณก็เป็นพื้นที่ของต้นไผ่ เป็นป่าไผ่ที่เรียกกันว่าชัฎป่าไผ่ ซึ่งก็พอจะจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ป่าไผ่หนาม ป่าไผ่รวก และป่าไผ่ผาก   ซึ่งหากเป็นพื้นที่บนตะพักลำห้วย (stream terrace) หรือพื้นที่น้ำเอ่อท่วมถึงตามลำห้วย ก็จะมีพวกไผ่บง ไผ่หก และพวกทีี่เราเรียกว่าว่าน เช่น ค้างคาวดำ    ในพื้นที่ป่าผืนใหญ่ก็ยังมีพื้นที่ๆเปิดโปร่งในลักษณะของทุ่งโล่งเป็นหย่อมๆ ซึ่งก็มีทั้งแบบที่เป็นป่าไม้เหียงไม้พลวง เป็นทุ่งหญ้า หรือเป็นละเมาะ    สภาพป่าผืนใหญ่ที่มีความหลากหลายเช่นนี้ก็จึงย่อมจะมีความสมบูรณ์ทาง ecosystem  มีความหลากหลายทางชีวภาพและในเชิงของ ecology
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 11 ก.พ. 18, 10:20

เห็นเสือดาวชัดเจนมาก ขอบคุณครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 11 ก.พ. 18, 19:51

จะขอขยายความเล็กน้อยกับคำว่า ecosystem กับ ecology ตามความรู้ความเข้าใจน้อยๆของผม   

ecosystem นั้นว่าด้วยเรื่องของสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อม และความสัมพันธ์ทั้งมวลระหว่างกันเองของสิ่งมีชีวิตในโลกของ Biosphere และกับโลกของธรรมชาติไม่มีชีวิต (Geosphere)     สำหรับ ecology นั้นว่าเกือบจะจำกัดวงเฉพาะเรื่องในหมู่ Biosphere ด้วยกันในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 16 ก.พ. 18, 20:51

ภาพของป่าผืนใหญ่โดยทั่วๆไปที่เราเห็นกันนั้น มักจะเป็นภาพที่ถ่ายจากมุมสูง หรือเป็นภาพที่ถ่ายจากเครื่องบิน เป็นลักษณะของการถ่ายภาพในมุมเอียง (Oblique photography) เพื่อจะให้ได้ภาพที่สื่อได้ถึงความกว้างใหญ่/กว้างไกลโดยใช้ทิวขอบฟ้าหรือทิวเขาเป็นส่วนอ้างอิง ภาพในลักษณะนี้ทำให้เราเห็นป่าเป็นพรืดเดียวกันหมด   

ในวิถีการทำงานทางวิชาชีพของผม พวกผมใช้ภาพถ่ายทางอากาศควบคู่ไปกับแผนที่ภูมิประเทศเป็นพื้นฐานแรกเริ่มของข้อมูลในกระบวนการการทำงานต่อๆไป  แต่เป็นการใช้ภาพถ่ายทางอากาศในระบบถ่ายตั้งตรงกับผืนดิน (Vertical aerial photograph) เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายบันทึกสภาพจริงของพื้นผิวดินในขนาดมาตราส่วน 1:50,000 และใช้ควบคู่กับแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) มาตราส่วนเดียวกัน   ภาพถ่ายทางอากาศในลักษณะนี้สามารถบ่งบอกถึงข้อมูลหลายอย่างเกี่ยวกับชนิดของหิน โครงสร้างการวางตัว ความสัมพันธ์ระหว่างหินกับหิน หินกับกระบวนการทางธรรมชาติ รวมทั้งกับพืชพันธุ์ต่างๆ และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย    เป็นการใช้ความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งต่างๆในธรรมชาติเพื่อนำพาไปสู่การให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ประสงค์จะแสวงหา     ภาพป่าของผมจึงมีความแตกต่างออกไปเพราะมันจะมีเนื้อหาในทาง correlative เข้ามาร่วมด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 17 ก.พ. 18, 20:40

ภาพถ่ายทางอากาศที่ใช้นั้นเป็นภาพขาวดำ ซึ่งถ่ายในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ส่วนมากจะในช่วงปี ค.ศ.1953) แล้วนำภาพที่ถ่ายเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการทาง Photogrammetry  ทำออกมาเป็นแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้งประมวลข้อมูลทำเป็นแผนที่มาตราส่วน 1: 250,000 ที่ใช้เป็นแผนที่สำหรับการบินของอากาศยานต่างๆในปัจจุบัน     

ในการใช้งานของผมก็จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Stereoscope (ชนิด Mirror หรือชนิด Pocket) เพื่อให้เห็นภาพ 3 มิติ แล้วก็แปลความหมายเป็นข้อมูลทางธรณีวิทยาเบื้องต้นก่อนที่จะออกไปเดินในพื้นที่ป่าเขาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงและความเป็นจริงต่างๆ   ภาพในมาตราส่วนขนาดนี้ ไม่ละเอียดถึงระดับที่จะบอกถึงชนิดของป่าและพืชพันธุ์ไม้ได้ (ต้องใช้ภาพในมาตราส่วนประมาณ 15,000 +/- จึงจะเริ่มพอบอกได้)   แต่ด้วยที่กลุ่มหรือชนิดของพืชพันธุ์ไม้นั้นมีความผูกพันธุ์กับภูมิประเทศ (Topography) ธรณีสัณฐาน (Geomorphology) และในเชิงธรณีเคมีของพื้นที่ (Geochemistry) ซึ่งยังผลให้พืชพันธุ์ในพื้นที่นั้นๆพอจะสะท้อนความไม่เหมือนกัน/แตกต่างกันออกไปเป็นหย่อมๆ

เอาละครับ ลอยไปเรื่อยจนจะหาสนามบินลงไม่เจอแล้ว     เอาเป็นว่าเรามีช่องทางที่จะรู้จักป่าลึกลงไปในรายละเอียดได้มากกว่าเพียงคำกล่าวแต่เพียงว่า เป็นป่าที่มีไม้สมบูรณ์หลากหลาย เป็นป่าที่มีสัตว์ป่าอยู่มากมาย
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 18 ก.พ. 18, 19:18

ผมเคยเดินทำงานในป่าในหลายพื้นที่ ได้เห็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ไม้และสัตว์ต่างๆ  ต่อมาในภายหลังได้มีโอกาสเดินทางผ่านบางผืนป่าเหล่านั้น ก็ได้เห็นป่าที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ที่จริงแล้วได้เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเกือบจะสิ้นเชิงในช่วงระยะเวลาเพียงสองสามเดือนก็มี      ป่าใหญ่ที่เปลี่ยนไปเกือบทั้งหมดจะเริ่มมาจากการสัมปทานทำไม้ จากสภาพป่าที่ทึบแสงหรือแสงส่องถึงพื้นรำไร ก็จะเกิดสภาพคล้ายเกิดชันนะตุที่ศีรษะแล้วก็ลุกลามไปจนผมบาง   ที่เริ่มจากชาวบ้านนั้นก็จะคล้ายกับเรื่องของสิว เดี๋ยวก็ผุดเดี๋ยวก็หาย ซ้ำที่บ้างเปลี่ยนที่บ้าง และก็จะเป็นในพื้นที่ป่าไผ่เสียเป็นส่วนมากหรือตามตีนพื้นที่ลาดเชิงเขาเพื่อการปลูกข้าวไร่   ก็จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปรัชญาการค้าแบบ monopoly นั่นแหละ ยังกับใช้ปัตตาเลี่ยนไถจนหัวโล้น เตียนสนิทไปหมด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง