เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 30883 สัมผัสกับป่าในอดีต
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 19:28

กล่าวถึงช้างตกมัน ก็มีเรื่องเล่าครับ

ที่เคยได้ฟังจากการเล่าโดยทั่วๆไป ช้างตกมันเป็นช้างตัวผู้ที่ต้องการผสมพันธุ์ แต่เคยอ่านพบว่ามันอาจจะไม่เกี่ยวกันเลย ช้างตัวเมียก็ตกมันได้เหมือนกัน อาการหลักของการตกมันก็คือ ความฉุนเฉียวก้าวร้าว เห็นอะไรก็ขวางหูขวางตาไปหมด เห็นช้างตัวเท่ามด (ไม่ทราบว่าจะมีคำพังเพยอะไรที่ดีกว่านี้ครับ) ชนดะ เหยียบดะ ผมเคยเห็นอยู่สองสามครั้ง คุยกับเจ้าของและควาญช้าง เขาก็บอกว่า การตกมันนั้นใม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และแม้จะไม่ตกมัน มันก็มีการผสมพันธุ์กันตามปกติ

ครั้งหนึ่งกำลังนั่งรถเข้าไปทำงาน ทราบมาล่วงหน้าแล้วว่ามีช้างที่เขาใช้ทำงานลากไม้ตัวหนึ่งกำลังตกมัน เขาให้ระวังด้วย ตามปกติเจ้าของหรือควาญช้างเขาจะล่ามโซ่ไว้อย่างแน่นหนา และตีปลอกด้วย (ผูกข้อเท้าทั้งคู่หน้าและคู่หลังเพื่อไม่ให้สามารถเดินไปได้เร็วหรือวิ่งได้ ในกรณีที่หลุดจากการล่าม) วันนั้น รถของผมกำลังหยอดหลุมข้ามห้วยเล็กๆ รถช้าจนเกือบจะหยุด พลันก็หันไปเห็นหัวช้างโผล่มาจากพุ่มไม้ทางด้านคนขับรถ อาการตกใจที่เรียกว่า หัวใจตกไปอยู่หัวแม่ตีน (ขอประทานโทษที่เป็นคำไม่สุภาพ ใช้เพียงเพื่อให้ได้อรรถรส) ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสัญชาติญาณของการหนีเอาตัวรอด ก็ร้องสั่งคนขับรถในทันที่ว่า เหยียบ คือ สั่งให้เหยียบคันเร่งเพื่อเร่งความเร็วรถ ฝ่ายคนขับก็ไม่ทราบและไม่เห็นช้าง มัวแต่พะวงในการขับรถไปข้างหน้า แทนที่จะเร่งเครื่องก็หันมามองหน้าผม และโดยที่ทำงานเป็นคู่หูด้วยกันมานานก็ทราบว่าคงมีอะไร หันไปทางขวา เห็นช้างเข้าก็ตกใจเหมือนกัน แต่ก็ไม่สามารถเร่งเครื่องรถให้เคลื่อนที่ไปได้เร็ว เนื่องจากว่าล้อหน้ากำลังหยอดลงหลุมพอดี นึกเอาเองนะครับว่าอาการของการตกใจจะเป็นอย่างไร โชคดีครับ ที่ช้างก็คงตกใจเหมือนกัน เลยยืนหยุดนิ่งมองดู พอรถพ้นหลุมก็โกยเลยครับ แต่ไม่ได้เร็วสักเท่าไรหรอก เพราะทางรถในป่าไม่อำนวยให้ เรียกว่าหากช้างคิดจะลุยละก็ คงไม่ต้องวิ่งไล่มากมายอะไรเลย

ขับเลยเข้าไปอีกไม่นานก็พบรถลากซุงที่เรียกกันว่ารถจี๊บใหญ่ (รถ Chevrolet หน้าตัดสูงโย่ง สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เหลือแต่หน้าตาว่าเป็นของเดิม เครื่องในทั้งหมดเป็นของใหม่ลูกผสมไปทั้งหมดแล้ว) เห็นหน้าหม้อรถพังยับเยิน ก็หยุดคุยกันเผื่อจะช่วยเหลือกันได้บ้างตามธรรมเนียมของคนเข้าป่า ได้ทราบว่า เมื่อตอนบ่ายวันวานที่ผ่านมานี้เอง ขณะที่กำลังผูกรัดซุงเพื่อชักลาก ก็มีเจ้าช้างตกมันตัวนี้ เกิดมาพบเข้า ไม่ฟังอีร้าค่าอีรมเลย วิ่งชนหน้าหม้อรถเลย คนก็แตกระเจิง กลับมาก็พบว่าหน้าหม้อรถยุบ หม้อน้ำแตก ต้องรอซ่อมก่อนจึงจะออกไปได้ ก็โชคดีที่ช้างมันพิศวาศหน้ารถ หากชนด้านข้าง รถก็คงต้องพลิก ซุงก็ต้องหล่นระเนระนาด ผมโชคดีที่รอดมา ปรากฎเรื่องราวว่า ตอนที่ช้างตัวนี้เริ่มจะตกมัน เจ้าของไม่ได้สังเกต จึงผูกล่ามไว้ตามปกติ ด้วยแรงมหาศาลช้างก็สามารถกระชากโซ่ขาดและเป็นอิสระได้ ช่วงนั้นทุกคนที่ทำงานอยู่ในพื้นที่นั้นอยู่อย่างไม่ค่อยจะปกติสุขเท่าใดนัก จนกว่าเขาจะจับช้างได้และล่ามมันไว้

ผมก็ได้ความรู้จากพวกควาญช้างว่า การจับช้างตกมันนั้น เขาจะต้องใช้หมอช้างและใช้คาถาอาคม วิธีการก็คือ เขาจะไปหาไม้ชนิดหนึ่ง นำมาทำเป็นลูกดอก ยิงเข้าไปที่โคนขาหลัง ไม้นี้จะขยายตัว ทำให้เกิดอาการเจ็บมาก ช้างเดินไม่ได้สะดวกและไม่ว่องไว จึงสามารถจะเข้าไปล่ามโซ่และตีปลอกได้ แผลนั้นจะหายเอง และก็จะล่ามช้างใว้จนหายอาการตกมัน ไม่มีการทรมานด้วยการให้อดอาหารและน้ำนะครับ   
       

 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 18:00

เหตุเกิดที่ทุ่งใหญ่นเรศวร

พ.ศ. ๒๕๑๖  ฆ่ากระทิง
กระทิงที่ทุ่งใหญ่นเรศวรนี่แหละเป็นปฐมบทแห่งเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

บันทึกลับจากทุ่งใหญ่

พ.ศ. ๒๕๖๑ ฆ่าเสือดำ เจ้าหน้าที่จับนายเปรมชัย กรรณสูต ซีอีโอบริษัทอิตาเลียนไทย เข้าป่าแอบล่าเสือดำ ถลกหนัง แหล่งข่าวระบุเข้าในจุดห้ามเข้า แต่เป็นแขกของกรมอุทยานฯ

https://news.thaipbs.or.th/content/269968

ฤๅประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 18:07

ซ้ำรอยไหนครับ ถ้าซ้ำรอยว่าเป็นชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองผมว่าคงไม่ แต่ถ้าซ้ำรอยแบบลูกกระทิงแดง ว่าวิถีมหาเศรษฐีย่อมอยู่เหนือระบบกฎหมายไทย อันนี้ผมว่าเป็นไปได้ เพราะข่าวออกมาชักจะเป็นยังงั้นแล้ว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 18:57

Just wait and see.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 19:19

 เศร้า


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 20:47

วันนี้กลายเป็นข่าวดังทุกสื่อไปแล้ว ว่าแต่ประเทศไทยมีเสือดาวไหมครับ หรือมีแต่ดำมักกะสัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 06 ก.พ. 18, 21:37

คุณ superboy คงจะหมายความว่า ประเทศไทย เหลือ เสือดาวบ้างไหม ใช่ไหมคะ
รอคุณตั้งมาตอบค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 07 ก.พ. 18, 18:26

เกือบจะลืมกระทู้นี้ไปเลยครับ แถมยังเป็นแบบเล่าความไม่สุดอีกด้วย ก็ต้องขออภัยจริงๆครับ สาเหตุก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ต้องมีความกังวล
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 07 ก.พ. 18, 20:13

ผมไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ป่าผืนนี้มานานมากแล้ว ป่าคงจะเปลี่ยนไปเยอะมาก ซึ่งเป็นได้ทั้งในแบบเป็นป่าโปร่งขึ้น หรือแบบเป็นป่าทึบมากขึ้น (ทั้งในรูปของผลจากเรือนยอดของไม้ใหญ่หรือจากความหนาแน่นของไม้ชั้นล่าง) 

มาตามอ่านในตอนหลังจึงได้รู้ว่า เสือดาวกับเสือดำนั้นเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน เพียงแต่เม็ดสีที่ผิวหนังเพี้ยนไปจึงทำให้เสือดาวกลายเป็นเสือดำ

เมื่อครั้งยังทำงานอยู่ในพื้นที่นั้น เมื่อเรา(ชาวบ้านในพื้นที่)พูดถึงเสือกัน เราจะหมายถึงเสือโคร่งหรือเสือลายพาดกลอนซึ่งเป็นเสือตัวเดียวกัน    จะใช้คำว่าเสือโคร่งในลักษณะของการจำแนกชนิดของเสือ (เสือปลา เสือไฟ เสือดาว เสือดำ) และจะใช้คำว่าลายพาดกลอนในลักษณะของเสือที่เป็นอันตรายต่อชีวิต   เสือปลาและเสือไฟนั้นเป็นเสือที่ชาวบ้านพบบ่อยมากกว่าเสืออื่นๆ  ส่วนเสือดาวและเสือดำนั้นมีการพูดถึงชื่อของมัน แต่เกือบไม่เคยได้ยินว่ามีใครได้พบเห็นตัวมันที่ใหนและในช่วงเวลาใด
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 07 ก.พ. 18, 22:29

ย้อนกลับไปอ่านเรื่องราวที่ทุ่งใหญ่อีกครั้ง สงสัยเหลือเกินว่านายพรานใหญ่คือใครกันหนอ คิดไม่ออกจริง ๆ


ผมอ่านล่องไพรโดยข้ามตอนเทวรูปชาวอินคาไป เพราะคิดว่าอยู่ต่างแดนคงไม่สนุกล่ะมั้ง ต้องหาเวลาอ่านตอนนี้อย่างเร่งด่วน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 09:54

วันนี้กลายเป็นข่าวดังทุกสื่อไปแล้ว ว่าแต่ประเทศไทยมีเสือดาวไหมครับ หรือมีแต่ดำมักกะสัน

เสือดำที่เพิ่งถูกล่า ถลกหนัง ชำแหละเนื้อในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นชนิดเดียวกับเสือดาวอินโดจีน หรือ Indo-chinese leopard (Panthera pardus delacouri) ซึ่งเป็นชนิดย่อยหนึ่งของเสือดาว เสือดาวอินโดจีนเคยกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปเฉพาะในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ระดับโลก ทั้งโลกเหลือแค่ราว ๒,๐๐๐ ตัว ส่วนในประเทศไทยคาดว่าเหลืออยู่ไม่กี่ร้อยตัว

เสือดาวชนิดนี้สูญพันธุ์ไปแล้วจากสิงคโปร์ และคาดว่าน่าจะหมดไปแล้วจากลาวและเวียดนาม ส่วนในจีน และกัมพูชา ก็ถูกล่าจนแทบจะสูญพันธุ์แล้วเช่นกัน เหลือแค่ประเทศไทย มาเลเซียและพม่าที่น่าจะยังมีประชากรเสือดาวชนิดนี้อยู่เพียงพอในการขยายพันธ์ุ

ผืนป่าที่ยังเป็นความหวังสำคัญที่สุดในการอนุรักษ์เสือดาวชนิดนี้ คือผืนป่าตะวันตกโดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และกลุ่มป่าแก่งกระจานในประเทศไทย และป่าอนุรักษ์ในคาบสมุทรมาเลเซีย

ภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดคือขบวนการล่าเพื่อการค้าสัตว์ป่าผิดกฏหมาย ส่วนปัจจัยคุกคามอื่น ๆ ได้แก่ การลดลงของเหยื่อเนื่องจากปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ การทำลายและรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัย และโรคระบาด

นักวิจัยได้แนะนำให้มีการประเมินสถานภาพเสือโคร่งอินโดจีนอย่างเป็นทางการในฐานข้อมูลชนิดพันธ์ุที่ถูกคุกคามของ IUCN Red List of Threatened Species และควรจัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง มีเนื้อที่กว่า ๔ ล้านไร่ ครอบคลุมจังหวัดอุทัยธานี  กาญจนบุรี และตาก ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันตก ตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ถือเป็นป่าอนุรักษ์ในกลุ่มป่าตะวันตก ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด ทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทยในปี ๒๕๓๔

สัตว์ป่าที่พบในเขตรักษาป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ประกอบไปด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อย ๑๒๐ ชนิด นก ๔๐๐ ชนิด สัตว์เลี้อยคลาน ๙๖ ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ๔๓ ชนิด และปลาน้ำจืด ๑๑๓ ชนิด อาจมีสัตว์หลายชนิดมากกว่านี้ที่ยังรอการสำรวจและยืนยันอย่างเป็นทางการ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ฯ นับว่าเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกหลายชนิด  เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือโคร่งประมาณ ๑๐๐ ตัว เสือดำ เสือดาว ประมาณ ๑๐๐-๑๓๐ ตัว เสือลายเมฆ สมเสร็จ  เป็นต้น

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/sunshine.sketcher/posts/1530249530357926

ภาพเสือดำถ่ายบริเวณเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยคุณปริญญา ผดุงถิ่น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 10:31

    ตอนเด็กๆ รู้ว่ากระโหลกเสือเลี่ยมด้วยโลหะมีค่า เช่น ทอง เงิน และนาก  ถูกตั้งเอาไว้ในห้องรับแขกเศรษฐี ไว้เป็นที่เขี่ยบุหรี่อย่างโก้    พรมหนังเสือโคร่งปูที่พื้นเอาไว้เป็นพรมหรูพอๆกับของแบรนด์เนม     เขากวางตอกประดับผนังเอาไว้แขวนหมวก 
    เคยไปดูพิพิธภัณฑ์บ้านของมอลลี่ บราวน์ที่เดนเวอร์     ห้องรับแขกมีพรมถลกมาจากหนังสัตว์ใหญ่ทั้งตัว นอนแผ่อยู่เกือบเต็มพื้นหน้าชุดรับแขก    เป็นหมีขาวหรือสิงโตจำไม่ได้แล้วค่ะ  ผืนเบ้อเริ่มเลย
    ดาราฮอลลีวู้ดสาวๆ อย่างลิซ เทเลอร์  สวมเสื้อเฟอร์ขนมิ้งค์ทั้งตัว  เวลาเดินทาง
    แต่นั่นเป็นรสนิยมเศรษฐีเมื่อต้นศตวรรษที่ 20      เมื่อโลกพบว่าสัตว์ป่าร่อยหรอลงไปจนเกือบสูญพันธุ์เพราะมือมนุษย์   แฟชั่นแบบนี้ก็หายไปจากสังคม   นักนิยมไพรที่เมื่อก่อนถือไรเฟิลเข้าป่าก็เปลี่ยนเป็นถือกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดีโอ   รักษาสัตว์ป่าไว้ให้อยู่อย่างสงบและปลอดภัย   มีความรู้สึกนึกถึงใจเขาใจเรา   สัตว์ป่ามันอยู่ตามประสามันแท้ๆ เราต่างหากบุกรุกเข้าไปในถิ่นของมัน   ก็ควรจะอยู่กันอย่างสันติที่สุดเท่าที่จะทำได้
    พอมีข่าวนี้ ความรู้สึกแรกคือตกตะลึง ไม่นึกว่าคนระดับที่ควรจะรู้คิดยิ่งกว่าชาวบ้านหาของป่ามาขาย กลับทำเหมือนไม่รู้อะไร นอกจากความพอใจส่วนตัว     แถมยังมีข่าวกระเซ็นกระสายมาว่า ได้รับความร่วมมือในระดับสูงที่จะเข้าไปทำให้อุทยานแห่งชาติกลายเป็นซาฟารีส่วนตัวเสียด้วย
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 10:35

 ร้องไห้


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 20:26

จากข้อมูลตามข่าวปรากฎชื่อสถานที่อยู่ 4 ชื่อ คือ ทินวย ทิคอง มหาราช และต่อมาก็มีชื่อ ปะชิ   ชื่อทั้งหมดนี้คือบริเวณพื้นที่ๆตามเส้นทางถนนเข้าสู่ทุ่งใหญ่ฯ ที่เริ่มจากหมู่บ้านคลิตี้ (หรือหมู่บ้านทุ่งเสือโทน)   

ผมเคยขับรถแลนด์กลับจากทำงานลงจากพื้นที่ทุ่งใหญ่ฯแบบไม่มีเบรคลงมาจนถึงห้วยปะชิ แล้วจอดทำการซ่อมชั่วคราวอยู่กลางห้วยนั้นแหละ  โดยสภาพป่าแล้ว แถวปะชิน่าจะมีสัตว์ป่าค่อนข้างมาก เพราะมีแอ่งน้ำขังอยู่ในห้วยสำหรับสัตว์มาดื่มกิน แล้วก็เคยได้ฟังว่าเป็นพื้นที่ๆชาวบ้านต้องระวังเสือเมื่อเดินผ่านพื้นที่นี้  เมื่อมีเสือก็ต้องมีเก้ง เก้งที่เคยเห็นแถวนี้เป็นชนิดที่ชาวบ้านเรียกว่าเก้งหม้อ มันมีสีเข้มกว่าเก้งที่เห็นกันตามปกติในพื้นที่ป่าโปร่ง   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 08 ก.พ. 18, 20:31

เก้งหม้อ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.109 วินาที กับ 19 คำสั่ง