ผมขออนุญาตเข้ามาทิ้งคำถามเกี่ยวกับนกยูงที่ยังคาใจครับ
๑. เสียงร้องของนกยูงนั้น เท่าที่ปรากฏในเพลงเขมรไทรโยคก็ดี หรือวรรณกรรมบางเรื่อง (เท่าที่ผมเคยฟัง) ก็ดี มักเป็น “กระโต้งฮง” ขอเรียนถามคุณตั้งครับ ว่าจริงๆแล้วดังอย่างนั้นหรือเปล่า
เท่าที่เคยได้ยินทั้งในป่า สวนสัตว์และที่เพาะเลี้ยง ผมไ่ม่เคยได้ยินเสียงใกล้เคียงกับ "กระโตงฮง" เลยครับ ได้ยินแต่เสีงคล้าย ๆ "แกก...", "กแวก..." , "กเว้า..." หรือ "กโฮ้ง.." เสียงเหล่านี้บางครั้งก็เหมือนกังวาลอยู่ในลำคอ
การส่งเสียงร้องของนกยูงนั้น จะมีขึ้นตลอดทั้งวันและดังก้องทั่วผืนป่า โดยมันจะเริ่มส่งเสียงร้องตั้งแต่เช้ามืด ประมาณตี ๕ และร้องถี่ขึ้นในช่วงเวลา ๐๖.๓๐ - ๐๗.๓๐ น. ก่อนที่จะบินลงจากคอนหากิน ในเวลากลางวันและบ่าย จะได้ยินเสียงร้องของนกยูงอยู่บ้าง แต่จะร้องถี่มากขึ้นอีกครั้ง ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ ๑๘.๐ - ๑๙.๐๐ ส่วนเวลากลางคืน นกยูงจะไม่ส่งเสียงร้อง นอกจากเมื่อตกใจ จะร้อง " โต้ง โฮ้ง " เพียงครั้งเดียว
เสียงร้องของนกยูงมีหลายเสียง ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะพฤติกรรมในช่วงนั้น ๆ คือ
เสียง " โต้ง โฮ้ง โตังโฮ้ง .... " เป็นเสียงร้องทั่วไปของนกยูงตัวผู้ ที่ใช้ร้องทั้งวัน อันเป็นการร้อง เพื่อประกาศเขตแดนทั่ว ๆ ไป แต่ในระยะผสมพันธุ์ เสียงร้องดังกล่าว จะเพี้ยนต่างไปเล็กน้อย โดยลากเสียงยาวมากขึ้น และลงท้ายคล้ายเสียงแมวร้อง ทำให้ได้ยินเป็นเสียง " โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว "
เสียง " ตั๊ก ..ตั๊ก "สั้น ๆ ดังขึ้นเป็นช่วง ๆ เป็นเสียงร้องเตือนภัย เมื่อเห็นศัตรู หรือ เกิดความสงสัย
เสียง "กอก กอก กอก ... " ติดต่อกันเป็นเวลานานเมื่อตกใจ หรือ บางครั้งอาจร้อง " โต้งโฮ้ง " เพียงครั้งเดียว
เสียง " อ้าว อ้าว .." หรือ " อ่า ฮาก... " เป็นเสียงนกยูงตัวผู้ขณะรำแพนหาง หรือขณะลงกินโป่ง เพื่อเรียกหาตัวเมีย หรือเชิญชวนให้นกตัวเมียเข้ามาใกล้ จะได้รำแพนหางออก หรือบางครั้งอาจใช้ในเวลาตื่นตกใจหนีไปคนละทิศละทาง
เสียง " ก -รอก...ก ก-รอก...ก " รัวเบา ๆ เป็นการเรียกหากันให้กลับมารวมฝูง หลังจากตื่นตกใจหนีไปคนละทิศละทาง
ข้อมูลจาก
เว็บปัญญาไทย 