เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
อ่าน: 92920 วีรเวร-วีรกรรมของร.ล.ธนบุรีในยุทธนาวีที่เกาะช้าง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 21 ม.ค. 12, 10:03

เอกสารฝ่ายฝรั่งเศสยอมรับว่ามีทหารบนเรือลาม็อตปิเกต์บาดเจ็บจำนวนหนึ่งโดยไม่ยอมระบุจำนวน แต่บอกว่าไม่มีผู้ใดเสียชีวิต คงเป็นไปได้ว่า นัดที่คนในป้อมปืนท้ายเห็นว่ายิงโดนแล้วเฮกันนั้น กระสุนเป็นหัวเจาะเกราะทะลุผ่านกราบเรือข้าศึกเข้าไปดิ้นอยู่ในเรือจริง แต่ไม่โดนคนถึงจุดตาย  ก็คล้ายนัดที่เขายิงทะลุห้องกระสุนใต้ป้อมปืนท้ายแล้วตัดแขนพลฯชุน แซ่ฉั่วนั่นเอง หลังจากที่"เมื่อธนบุรีรบ"ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือนาวิกศาสตร์ ก็มีผู้เขียนวิจารณ์ว่าทหารเรือของเราชอบใช้กระสุนเจาะเกราะยิง แทนที่จะใช้กระสุนกระทบแตกหรือกระสุนเพลิง มิฉะนั้นฝรั่งเศสจะเสียหายมากกว่านี้
 
พลเรือเอกจิตต์ สังขดุลย์ท่านไม่มีบุตร ผมจำเป็นต้องทำหน้าที่แทน  ท่านไม่เคยแก้ตัว  แต่ผมขอแก้ต่างแทนคุณลุงผมหน่อย
ในนาทีแห่งความเป็นความตายนั้นถ้าใครเข้าไปอยู่ในป้อมปืนที่เต็มไปด้วยควันและกลิ่นฉุนของดินปืนจนแสบจมูก หูก็อื้ออึงไปด้วยเสียงระเบิดของลูกปืนที่ยิงออกไปจากลำกล้องปืนของฝ่ายเรา และลูกปืนของฝ่ายเขาที่มากระทบเรือตูมๆ สมองของมนุษย์คงตีบตันไปหมดแล้ว แค่ทำหน้าที่ไปตามสันชาติญาณ ไม่มีความคิดว่านัดนี้ควรจะยิงด้วยกระสุนนั่นโน่นนี่ ตาก็มองไม่ค่อยจะเห็น อะไรใกล้มือพลกระสุนคว้าได้ก็รีบส่งต่อกันไปยัดเข้ารังเพลิง ไม่ต้องมีใครสั่งหรือคอยรับคำสั่ง พลยิงพอปืนพร้อมก็รีบยิงให้เร็วที่สุด ขอเพียงให้โดนเขาก่อนที่เขาจะยิงมาโดนเราเท่านั้น  ตูมออกไปแล้วก็ฝากไว้นัดนั้นไว้กับโชคชะตา

โชคเป็นของเขา ซวยเป็นของเรา ก็อย่างที่ท่านอาจารย์ใหญ่ว่าแหละครับ  รบกันครั้งนี้ ส้มหล่นทับฝ่ายฝรั่งเศสลูกแล้วลูกเล่า รับกันไม่หวาดไม่ไหว

รูที่โดนหัวกระสุนเจาะเกราะผ่านเข้าไป คงซ่อมไม่กี่ชั่วโมงก็แล้วเสร็จ  แต่ถ้าจะทาสีเฉพาะตรงนั้นก็จะทิ้งรอยด่างให้สังเกตุได้ ฝรั่งเศสจึงลงทุนทาสีทั้งลำใหม่เอี่ยม  แล้วจัดให้ผู้แทนคณะเจรจาสงบศึกฝ่ายไทยผ่านไปเห็น โดยลืมไปว่าการทำเช่นนั้นก็เป็นข้อพิรุธแล้ว  ถ้าไม่เสียหายอะไรเลยตามคำโฆษณาจริงจะต้องทาสีเรือเสียใหม่ทั้งลำไปทำไม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 21 ม.ค. 12, 10:15

หลังรบกับเราไม่นาน สงครามโลกครั้งที่๒เต็มรูปแบบก็มาถึง รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสจำเป็นต้องเข้ากับฝ่ายอักษะตามคำสั่งของรัฐบาลวีซี่ในเมืองแม่  คุณวนัสนันท์ กนกพัฒนางกูร อดีตนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่ช่วยผมเข้าไปค้นคว้าในห้องสมุดทหารเรือที่ปารีสบอกว่า แฟ้มประวัติของกัปตันเบรังเยร์ไส้ในหายไป เหลือแต่ปก มีบันทึกสั้นๆไว้ว่ามัวหมองเนื่องจากร่วมมือกับชนชาติศัตรู ครั้งนั้นเราจึงไม่สามารถสืบเสาะว่าหลังปลดประจำการแล้วนายเบรังเยร์กลับไปตายที่บ้านเกิดหรืออย่างไร ที่ไหน ความหวังว่าจะได้พบกับลูกหลานของเขาเพื่อขอสัมภาษณ์อะไรบ้างจึงหมดไป พลเรือตรีมารี ดานิเอล เรจีส์ เบเรงเช่ ถูกเขี่ยทิ้งออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างเงียบเชียบ ไร้ร่องรอย ในเน็ทมีบันทัดเดียวดังที่ท่านอาจารย์ใหญ่เขียนไว้ทำนองว่า ไปติดคุกญี่ปุ่นอยู่พักหนึ่งช่วงปลายสงครามก่อนถูกปลดประจำการ

ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าความจริงเป็นอย่างไร

แต่ก่อนหน้านั้น หลังรบกับเรา(นานพอสมควร) เรือลามอตต์ปิเก้ถูกนำซ่อมปรับปรุงใหญ่ที่อู่ในโอซาก้า และแล้วก็ถูกญี่ปุ่นยึดไปใช้เป็นเรือฝึกทหาร จนกระทั่งวันที่๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ กองเรือเฉพาะกิจของกองทัพเรือสหรัฐ(Task Force 38)ที่กวาดล้างเรือรบญี่ปุ่นอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ฟิลลิปปินส์เรื่อยมา ได้ส่งเครื่องบินรบจากเรือบรรทุกเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่ตั้งทางทหารในไซ่ง่อน  เรือลามอตต์ปิเก้จอดทอดสมออยู่ในแม่น้ำ โดนเข้าไปด้วยชุดหนึ่งถึงกับอัปปางลงกับที่  แล้วถูกปล่อยทิ้งให้เป็นซากอยู่อย่างนั้นจนหลังสงครามเลิกแล้ว ถูกฝ่ายไหนไม่ระบุขายเป็นเศษเหล็กไป

เรือรบของฝรั่งเศสที่ใช้ในการรบที่เกาะช้างทุกลำ ถูกจมลงหรือถูกขายเป็นเศษเหล็กหมด ในกาลอวสาน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 21 ม.ค. 12, 14:34

แฟ้มประวัติของกัปตันเบรังเยร์ไส้ในหายไป เหลือแต่ปก มีบันทึกสั้นๆไว้ว่ามัวหมองเนื่องจากร่วมมือกับชนชาติศัตรู ครั้งนั้นเราจึงไม่สามารถสืบเสาะว่าหลังปลดประจำการแล้วนายเบรังเยร์กลับไปตายที่บ้านเกิดหรืออย่างไร ที่ไหน ความหวังว่าจะได้พบกับลูกหลานของเขาเพื่อขอสัมภาษณ์อะไรบ้างจึงหมดไป พลเรือตรีมารี ดานิเอล เรจีส์ เบเรงเช่ ถูกเขี่ยทิ้งออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างเงียบเชียบ ไร้ร่องรอย ในเน็ทมีบันทัดเดียวดังที่ท่านอาจารย์ใหญ่เขียนไว้ทำนองว่า ไปติดคุกญี่ปุ่นอยู่พักหนึ่งช่วงปลายสงครามก่อนถูกปลดประจำการ

ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าความจริงเป็นอย่างไร
อินทรเนตรช่วยคนในยุคนี้ได้มาก เพราะสามารถกวาดสายตาให้มองเข้าไปเห็นประวัติของเบรังเยร์ได้ จากประวัติทางการ   มีอยู่ 2 เว็บไซต์ด้วยกัน
ผลออกมาว่า
1  มีนาคม 1945       เบรังเยร์ถูกจับเป็นเชลยของกองทัพญี่ปุ่นตั้งแต่ 9 มีนาคม 1945   จนกระทั่งถึง 2 กันยายน 1945  จึงเป็นอิสระ
25 กันยายน 1945    พ้นจากราชการ   (Released, it is placed on leave of activity in September 1945.  )
28 mars 1946       ปลดเป็นทหารกองหนุน  (หมายถึงปลดประจำการ)

เว็บไซต์บอกว่า
03 avril 1937   Capitaine de vaisseau
14 avril 1939   LA MOTTE-PICQUET - Commandant,jusqu'au 01/05/41
26 mars 1941   Contre-Amiral
01 mai   MARINE INDOCHINE - Commandant,jusqu'au 01/03/45
29 juillet 1943   Vice-Amiral
01 mars 1945   En captivité,jusqu'au 02/09/45
25 septembre   En congé d'activité
28 mars 1946   Placé dans la section de réserve

เหรียญตราต่างๆก็ได้มาเต็มหน้าอก
LÉGION D'HONNEUR - Commandeur - 26 janvier 1941
 LÉGION D'HONNEUR - Officier - 01 juillet 1931
 LÉGION D'HONNEUR - Chevalier - 15 octobre 1919
 CROIX DE GUERRE 1939-1945 Avec 1 palme
 MÉRITE MARITIME - Chevalier
 MÉDAILLES COMMÉMORATIVES DIVERSES ET ASSIMILÉES Médaille interalliée de la Victoire
 MÉDAILLES COMMÉMORATIVES DIVERSES ET ASSIMILÉES Médaille commémorative de la Grande Guerre

น่าสังเกตว่าเครื่องราชย์สุดท้ายที่ได้คือในปี 1941   เมื่อพ้นประจำการแล้ว ไม่ได้ความดีความชอบอีก     แต่ในประวัติไม่ได้บอกว่าเขาถูกขึ้นศาลทหาร
ถ้าหากว่าบันทึกนั้นถูกต้องก็หมายความว่าเมื่อถูกจับเป็นเชลยศึก  สันนิษฐานว่าเบรังเยร์อาจกระทำการบางอย่างที่เป็นประโยชน์กับญี่ปุ่น  เช่นสารภาพ     จึงกลายมาเป็นหลักฐานมัดตัวทีหลังเมื่อเสร็จสงครามแล้ว     แต่คงไม่ได้ร้ายแรงถึงถูกถอดยศ หรือติดคุก   แต่ว่ามีหลักฐานในเรื่องนี้   จึงถูกปลดจากประจำการ   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 21 ม.ค. 12, 15:56

ขอบพระคุณครับ ที่อยู่เป็นเพื่อนในกระทู้นี้ตั้งแต่ต้นจนจบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 22 ม.ค. 12, 17:42

ยุทธนาวีที่เกาะช้าง  เป็นเรื่องของนักสู้ตัวเล็กที่ตัดสินใจสู้กับคนตัวใหญ่กว่าโดยไม่เกี่ยงน้ำหนัก     มิหนำซ้ำเพื่อนที่วิ่งเข้ามาช่วย ก็ยังพลั้งเผลอกระหน่ำเพื่อนด้วยกันเข้าเสียอีก  จะโทษกันก็ไม่ได้     รอยแผลที่ได้รับจึงต้องถือว่าเป็นแผลแห่งวีรกรรมโดยแท้

ขอบคุณท่าน Navarat.Cที่เข้ามาให้ความรู้อันมีค่าซึ่งเกิดจากความอุตสาหะวิริยะในการค้นคว้าและเรียบเรียงเรื่องนี้ จนออกมาเป็นมหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง   จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจใฝ่รู้ต่อไปค่ะ
หวังว่าในโอกาสหน้า ท่านจะมีสิ่งที่น่าสนใจมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีก  ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 23 ม.ค. 12, 20:23

เข้ามาลงชื่อว่าตามอ่านอยู่เช่นเดิมนะครับ


ไม่รู้จะเติมเสริมเรื่องอย่างไร เพราะผมเองก็ไม่ทราบรายละเอียด
ดังนั้น ขออนุญาตแปลงคำปราศรัยของผู้การฯเรือ จากภาษาฝรั่งเป็นภาษาอังกฤษ มาเสริมก็แล้วกันนะครับ

(ขอออกตัวก่อนนะครับ ภาษาฝรั่งของผมก็คืนคุณครูไปเกือบหมดแล้ว เลยใช้เครื่องมือหลายตัวในคอมฯ ช่วยแปลงนะครับ)


Navy in Indochina
Cruiser
“Lamotte-Picquet”

Board in March, the I8 January 1941.

It is indisputable which a victory ended in the morning of 17th January,
the military action in close collaboration of the group placed under my authority with other big ships,
we have taken against an important part of the Siamese‘s fleet.

After 1hour and 40 minutes, The enemy ships had been several continuously committed to lie at the bottom of the sea, and only black smoke column marked, in the wildly diving, as their site.
A rotting coast guard has no salvation to escape from the bottom of the sea that make us stop from pursue.

These brilliant results make your honour.
They had could not be obtained only through the good cohesion of services to the overall effort and discipline of all.

Aircraft bombs, amid shrapnel from an opponent who valiantly fought all you have been an example of a courage worthy of our ancestors.

I am proud of you,

Vive la France
Captain, R. BERENGER
Commanding the cruiser "LA MORT-PICQUET"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 23 ม.ค. 12, 21:07

ขอบคุณที่ติดตาม และช่วยเติมเต็มกระทู้นี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 23 ม.ค. 12, 22:42

ขอบคุณคุณ Diwali ที่แกะจากฝรั่งเศสมาเป็นอังกฤษให้ค่ะ      แต่ฝรั่งเศสพอแปลเป็นอังกฤษ การเรียงรูปประโยค มันออกมาอ่านยากอยู่เหมือนกัน  ว่าจะแปลเป็นไทยอีกทีก็เลยไม่แน่ใจ 
สรุปได้แต่ว่า ในคำปราศรัยของผู้การเรือ  บอกว่าทางฝรั่งเศสถล่มเรือศัตรูจมลงก้นทะเล   คงหมายถึงเรือร.ล.ธนบุรี
และบอกว่าเรือฝรั่งเศสก็โดนทิ้งระเบิดจากเครื่องบินด้วย    แต่ไม่ได้บอกว่าเรือได้รับอันตรายจากระเบิด   เเพียงแต่บอกว่าโดนระดมยิงด้วยกระสุน
และยังบอกว่าสาเหตุที่เรือฝรั่งเศสไม่ได้รุกไล่ทางฝ่ายสยามให้ถึงที่สุด   ก็เพราะเรือลาดตระเวนมาสะกัดไว้เสียก่อน

ดูน้ำเสียงผู้การ   แกพูดเต็มปากว่าทางฝ่ายฝรั่งเศสได้รับชัยชนะในยุทธนาวีครั้งนี้
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 23 ม.ค. 12, 23:57

เอ่อ.....  ต้องขออภัยคุณครูใหญ่ และคุณครูท่านอื่นๆทุกท่าน นะครับ


ขอสารภาพตามตรง ผมใช้เครื่องช่วยแปล ให้แปลงภาษาฝรั่งเป็นอังกฤษ
มันก็เลยออกมาแหม่งๆ แปลกๆ แบบนี้แหละครับ

ภาษาฝรั่งฯของผม ไม่ได้พูด เขียน อ่าน มากว่าสิบปีแล้ว คืนคุณครูผู้ประสิทธิประสาทวิชาไปเสียแล้ว



ถ้าเป็นการบ้านส่งคุณครู  งานนี้ไม่มีคะแนนแถมยังอาจถูกหักแต้มติดลบอีกนะเนี่ย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 24 ม.ค. 12, 08:56

แค่นี้ก็ดีแล้วละครับ สมัยนี้เครื่องทุ่นแรงเยอะ ภาษาที่เราไม่รู้เรื่องก็ได้รู้เรื่องบ้าง ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย

แล้วเราก็แค่อ่านเอาความ ไม่ได้เอาคะแนนไปสะสมไว้แลกรางวัลที่ไหน

วันหลังเอาอีกนะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 24 ม.ค. 12, 09:20

เอ่อ.....  ต้องขออภัยคุณครูใหญ่ และคุณครูท่านอื่นๆทุกท่าน นะครับ


ขอสารภาพตามตรง ผมใช้เครื่องช่วยแปล ให้แปลงภาษาฝรั่งเป็นอังกฤษ
มันก็เลยออกมาแหม่งๆ แปลกๆ แบบนี้แหละครับ

ภาษาฝรั่งฯของผม ไม่ได้พูด เขียน อ่าน มากว่าสิบปีแล้ว คืนคุณครูผู้ประสิทธิประสาทวิชาไปเสียแล้ว
ถ้าเป็นการบ้านส่งคุณครู  งานนี้ไม่มีคะแนนแถมยังอาจถูกหักแต้มติดลบอีกนะเนี่ย

ไม่หักคะแนนหรอกค่ะ  ให้ผ่านอยู่แล้ว
แปลจากฝรั่งเศสเป็นอังกฤษ  อ่านรู้เรื่องกว่าอังกฤษเป็นไทยหลายเท่า
ลองเอาบทแปลภาษาอังกฤษที่คุณ Diwali แปล มาให้น้องกู๊กแปลเป็นไทย   มันออกมาเป็นแบบนี้ละค่ะ

It is indisputable which a victory ended in the morning of 17th January,
the military action in close collaboration of the group placed under my authority with other big ships,
we have taken against an important part of the Siamese‘s fleet.
มันเป็นที่เถียงไม่ได้ชัยชนะในตอนเช้าสิ้นสุดวันที่ 17 มกราคมของการดำเนินการทางทหารในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของกลุ่มอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของฉัน ที่มีเรือขนาดใหญ่อื่น ๆ  ที่เราได้ถ่ายส่วนหนึ่งที่สำคัญของกองทัพเรือสยามของ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 25 ม.ค. 12, 07:16

เรื่องไม่ยอมรับความจริงกับเรื่องที่เกินเลยความจริงนี่ เป็นธรรมดาของการออกข่าวระหว่างคู่พิพาทในทุกกรณีย์ ยากที่คนกลางจะวินิจฉัยได้ว่า เรื่องจริงแท้เป็นอย่างไร และส่วนใหญ่คนฟังก็ปักธงไว้แล้วว่าฉันจะเชื่อใคร พอได้ฟังเรื่องที่ถูกจริตก็นำไปขยายผลด้วยการพูดต่อเขียนต่อ พอคูณด้วยจำนวนคนพูดคนฟังเข้า เรื่องเท็จแท้ๆก็อาจกลายเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าจริงไป

ไม่ต้องไปยกตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราชนิดที่เห็นๆกันนี่นะครับ กิเลศอคติของคนอุณหภูมิยังสูงอยู่  ไม่มีใครยอมรับใคร เอาเรื่องการรบที่เกาะช้างนี่แหละ  ฝรั่งเศสก็โม้ไปอย่างที่พลเรือตรีเบรังเยร์รายงาน  ฝรั่งทั้งหลายก็เชื่อฝรั่งด้วยกัน ส่วนไทยก็เชื่ออีกอย่าง  ก่อนที่“ธนบุรีรบ”จะตีพิมพ์ คนไทยส่วนใหญ่ก็ยึดถือ “ข่าวทหาร” เขียนโดยกองบัญชาการทหารสูงสุดของท่านผู้นำทั้งนั้น  กว่าจะรู้อะไรเป็นอะไรว่าเรื่องที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเชื่อนั้น ไม่จำเป็นต้องใช่เรื่องจริงก็ได้  ก็นานปีทีเดียว

วันที่๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ข่าวทหารที่อ่านออกทางวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์มีดังนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 25 ม.ค. 12, 07:36

หลังจากนั้นสองวัน เมื่อได้รับรายงานตามความเป็นจริง อะไรเป็นอะไรรู้อยู่  แต่ข่าวลือจากตราดมาถึงกรุงเทพหึ่งไปว่าเรือรบฝรั่งเศสบุกเข้ามายิงเรือรบไทยจมไปหลายลำ "ข่าวทหาร"ก็ออกอากาศตามหลักสงครามจิตวิทยาดังนี้



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 25 ม.ค. 12, 08:14

^
ข้อความข้างบนนี้  คนที่แหลมงอบได้ฟังวิทยุแล้วก็คงได้แต่อ้าปากค้าง แต่คนไทยที่อยู่ส่วนอื่นคงฟังแล้วฮึกเหิม พากันยกย่องสรรเสริญท่านผู้นำขึ้นอีกเป็นทวีคูณ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 25 ม.ค. 12, 09:17

สำหรับผม ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่จบลงไปแล้ว แต่เป็นเรื่องสนุกที่น่าค้นคว้าหาความจริงต่อไปได้อีกอย่างไม่สิ้นสุด

เราไม่ควรจะเชื่อในสิ่งที่ใครจะนำมาอ้างจนกว่าจะได้วิเคราะห์ข้อขัดแย้งทั้งมวลแล้ว และต้องพร้อมจะเปลี่ยนความเชื่อหากหลักฐานใหม่ที่ดีกว่าปรากฏ  โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นกับฉันทาคติเดิมที่อาจจะมีผู้จงใจหลอกคนในยุคให้เชื่อในเรื่องที่เป็นคุณต่อพวกเขาเท่านั้น

ผมหวังว่า เรื่องราวในอดีต หากเขียนโดยปราศจากอคติในปัจจุบัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในอนาคต


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 20 คำสั่ง