เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 92922 วีรเวร-วีรกรรมของร.ล.ธนบุรีในยุทธนาวีที่เกาะช้าง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:44

ฐานปืนป.ต.อ. 3” และแท่นไฟฉาย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:46

หอรับและถ่ายทอดสัญญาณ ทหารประจำเรือเรียกหอกลาง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:48

ลูกเรือยืนพักผ่อนตามสบายอยู่หน้าหอบังคับการเรือ ห้องผนังโค้งๆข้างหลังนั้นหุ้มเกราะหนา 4” เรียกว่าห้องนายพล
ขณะที่นายทหารหนุ่มๆกำลังงานเข้า ง่วนกับภารกิจสำคัญอยู่ที่ป้อมปืนหน้า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:53

ปกติ ทหารจะต้องทำการฝึกอย่างหนักกลางทะเล เพื่อให้คุ้นเคยกับเรือรบที่เข้าประจำการใหม่ ทุกคนรู้ดีว่าสงครามรออยู่ข้างหน้า จะทำเป็นใจเย็นไม่ได้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้นที่ชายแดนด้านอินโดจีนฝรั่งเศส กองทัพเรือได้ตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ฐานทัพเรือสัตหีบ และสั่งให้มีการลาดตระเวนทางทะเลอยู่ตลอดเวลา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 10:38

เอ ท่านกูรูทั้งหลายหายไป ไม่ทราบว่าไม่ถนัดจับกุ้งหอยปูปลาหรือไม่มีให้จับ แฟนๆขาประจำก็เงียบ ไม่ทราบว่าไปช้อนลูกน้ำอยู่ที่ไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 11:45

ยังติดตามอยู่ค่ะ    แต่ไม่อยากแทรกกลางให้เสียจังหวะเรื่อง    เห็นพระเอกคือ ร.ล.ธนบุรีแหวกม่านปรากฏโฉมออกมา    แล่นสวนทางกับฝ่ายปรปักษ์แล้ว  ก็รอดูว่าจะเริ่มบทพระเอกต่อไปอย่างไร

แต่ถ้าท่านนวรัตนจะนั่งพัก จิบน้ำชาให้หายคอแห้ง   ดิฉันก็ขอคั่นโปรแกรมด้วยกุ้งหอยปูปลาที่จับมาได้จากยูทูป   
คือภาพเคลื่อนไหวของร.ล.ธนบุรี ขณะลาดตระเวนสลับกับร.ล.ศรีอยุธยา
(ดูในคลิป  เรือดูเล็กมาก)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 11:48

คุณร่วมฤดี คงจะติดภารกิจทางบ้าน   แก๊งค์ลูกน้ำคนอื่นก็ไม่รู้ว่าไปช้อนลูกน้ำอยู่ทางไหน
คุณเพ็ญชมพู กับคุณ DD ยังไม่เห็นมา
เหลืออีก 1  คน  ขอถูตะเกียงก่อน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:09

ระหว่างรอกองหนุน ผมขอสลับฉากไปที่อินโดจีนฝรั่งเศสมั่ง

ก่อนที่สงครามใหญ่ในยุโรปจะประทุ กองเรือของอินโดจีนฝรั่งเศสถูกจัดวางกำลังไว้ไม่มากนักและเรือรบดีๆทันสมัยก็ระดมเอาไปป้องกันประเทศแม่เกือบทั้งหมด เรือรบที่เหลือประจำการเป็นเรือเก่าที่ยกเครื่องปรับปรุงและติดอาวุธใหม่ แต่นาวิกานุภาพก็ถือว่าได้ดุลย์อำนาจเมื่อเปรียบเทียบกับกองทัพเรือของประเทศเพื่อนบ้านในคาบสมุทรนี้ แม้เรือรบหลักจะมีเพียง ๓ ลำ แต่หนึ่งในนั้นก็คือเรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ที่โด่งดัง  อีก ๒ ลำเป็นเรือสรูปที่เหมือนกันแบบฝาแฝด ติดอาวุธครบเครื่อง นอกนั้นเป็นเรือช่วยรบ และมีเครื่องบินทะเล ๘ ลำเป็นตัวเสริม
 
สิ่งที่กองเรืออินโดจีนได้เปรียบก็คือทหารเรือที่มีประสพการณ์ ชำนาญในการเดินเรือและใช้อาวุธที่ประเทศของพวกเขาเองเป็นผู้ผลิต นายทหารระดับผู้บังคับบัญชาล้วนผ่านศึกสงครามมาแล้ว แต่ผมค้นประวัติและรูปพวกเขายากมาก ทราบแต่ว่าหลังสงครามแทบทุกคนถูกนำตัวขึ้นศาลทหารในฐานะคนขายชาติ เช่นเดียวกับผู้นำคนอื่นๆในรัฐบาลวีซี่ที่ไปร่วมมือกับเยอรมัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:20

เมื่อเกิดความตึงเครียดขึ้นกับไทยบริเวนชายแดนติดกัน และมีกองกำลังติดอาวุธเข้าไปก่อกวนในลาว รัฐบาลอินโดจีนก็มีนโยบายที่จะตอบโต้แบบรบรุก ไม่ใช่ตั้งรับ เพราะอาวุธยาวของเขาถูกออกแบบไว้เพื่อการนั้นทั้งเครื่องบินและเรือรบ ยิ่งเห็นว่าจำนวนเรือที่มีอยู่ไม่อาจจะคุ้มครองชายฝั่งได้ ควรจะอาศัยสมรรถนะที่เหนือกว่าของตัวเรือและอาวุธ ฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีก่อนที่ฝ่ายไทยจะตั้งตัวได้จะดีกว่า

และเมื่อกองทัพบกของทั้งสองฝ่ายเข้าปะทะกัน ทหารไทยรุกข้ามพรมแดนอินโดจีนเข้าไปทั้งทางลาวและเขมร จิตใจทุกคนตอนนั้นฮึกเหิมยิ่งนัก พร้อมที่จะรบเพื่อชาติแบบไว้ลายไม่เสียดายชีวิต ทำเอาทหารอินโดจีนที่มีฝรั่งเศสเป็นนาย กำลังพลเป็นทหารรับจ้างเอามาจากอัฟริกาและทหารเกณฑ์ชาวญวน ที่ไม่รู้ว่าจะรบไปทำไมเพื่อใคร ประเทศฝรั่งเศสก็ถูกเยอรมันเขมือบไปแล้ว อนาคตของอินโดจีนก็เห็นซามูไรจ่ออยู่ที่คอหอย จึงรบแบบกลัวๆกล้าๆทำให้ต้านทานกองทัพบูรพาไม่อยู่ ล่าสุดฝรั่งเศสสูญเสียกองพันทหารต่างด้าวที่ดีที่สุดไป๓กองพันในการรบครั้งเดียว เรียกว่าละลายไปทั้งกรม ทหารไทยสามารถยึดธงไชยเฉลิมพลประดับเหรียญกล้าหาญและเหรียญเชิดชูเกียรติมาได้ต้วย รัฐบาลอินโดจีนจำเป็นต้องเรียกขวัญและกำลังใจคืนมาบ้างอย่างด่วน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:22

วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๔ พลเรือตรี จูลร์ เตร์โฮ้ซ (Jules Terraux)  ผู้บัญชาการกองเรืออินโดจีนรับนโยบายของผู้สำเร็จราชการอาณานิคม พลเรือเอกฌอง เดกูซ (Jean Decoux)  มาเรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ฐานทัพอ่าวคัมรานห์(Cam Ranha) และแต่งตั้งนาวาเอกเรจีส์ เบรังเยร์ (Régis Bérenger) ผู้บังคับการเรือลามอตต์-ปิเกต์ให้เป็นผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจประกอบด้วยเรือลามอตต์-ปิเกต์ เป็นเรือธง เรือแอดมิรัล ชาร์แนร์ และเรือดูมองต์ ดูวิลล์ เป็นเรือโจมตี เรือตาอูร์ และเรือมาร์น เป็นเรือช่วยรบ อีกตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจสั่งการให้กองเรือเฉพาะกิจนี้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดสุดแต่สถานการณ์จะเอื้ออำนวย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:31

ภารกิจ ๔ ประการที่พลเรือตรี จูลร์ เตร์โฮ้ซ ลงนามในท้ายหนังสือคำสั่ง คือ

๑ จู่โจมในเวลากลางวันเข้าระดมยิงเป้าหมายบนดินของฐานทัพเรือสัตหีบและเรือรบของข้าศึก และดำเนินการกวาดล้างทำลายกำลังทางเรือของข้าศึกที่เหลือหากพบตามแนวขอบฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสยาม

๒ ค้นหาและทำลายกองเรือข้าศึก(สยาม)ตั้งแต่สัตหีบลงมาถึงเส้นพรมแดนเขมร

๓ นำกองเรือปรากฏตัวโดยเปิดเผยเข้าจู่โจมในอ่าวจันทบุรี รวมทั้งหมู่เกาะช้างและเกาะกูด แล้วระดมยิงเรือข้าศึกทุกลำที่พบ

๔ เมื่อปฏิบัติภารกิจข้างต้นแล้วเสร็จให้รวมกองเรือกลับสู่ไซ่ง่อน เว้นแต่เรือลำเลียง(ได้รับการดัดแปลงติดอาวุธเป็นเรือช่วยรบ) ให้ทำการลาดตระเวนตรวจการณ์น่านน้ำระหว่างแหลม เซนต์แจคส์ (Saint Jacques) และเกาะคอนดอร์ ( Pulo Condore)
(ปัจจุบันคือแหลมวุงเตา(Vũng Tàu) และเกาะคอนซอน ( Côn Sơn) อยู่ในเวียตนามบริเวณปากแม่น้ำโขง จุดยุทธศาสตร์คุมเส้นทางเดินเรือสู่ไซ่ง่อนและพนมเปญ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 13:40


สิ่งที่กองเรืออินโดจีนได้เปรียบก็คือทหารเรือที่มีประสพการณ์ ชำนาญในการเดินเรือและใช้อาวุธที่ประเทศของพวกเขาเองเป็นผู้ผลิต นายทหารระดับผู้บังคับบัญชาล้วนผ่านศึกสงครามมาแล้ว แต่ผมค้นประวัติและรูปพวกเขายากมาก ทราบแต่ว่าหลังสงครามแทบทุกคนถูกนำตัวขึ้นศาลทหารในฐานะคนขายชาติ เช่นเดียวกับผู้นำคนอื่นๆในรัฐบาลวีซี่ที่ไปร่วมมือกับเยอรมัน


ขอแยกซอยเล่าถึงรัฐบาลวิชี่ ที่คุณ NAVARAT เอ่ยถึงอยู่ 2-3 ครั้ง  เผื่อท่านที่ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลวิชี่เป็นใคร

รัฐบาลวิชี่  (Vichy) คือรัฐบาลหุ่นของฝรั่งเศสใต้การครอบงำของนาซีเยอรมัน  เพราะในสงครามโลกครั้งที่ 2   พอฝรั่งเศสตกอยู่ในเงื้อมมือเยอรมันเรียบร้อยแล้ว   เยอรมันก็หนุนหลังตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา มีผู้นำรัฐบาลชื่อนายพลฟิลิป  เปแต็ง   รัฐบาลวิชี่ดำเนินนโยบายตามลูกพี่ ปราบปรามกวาดล้างชาวฝรั่งเศสที่ถูกข้อหาเป็นสายลับหรือต่อต้านเยอรมัน      เป็นผลให้เดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า     ในที่สุดรัฐบาลวิชี่ก็ไปไม่รอด  ถูกผู้นำฝรั่งเศสฝ่ายตรงข้ามคือนายพลชาร์ลส์ เดอ โกล ที่พันธมิตรหนุนหลังปลดแอกประเทศจากรัฐบาลวิชี่ได้สำเร็จ
รัฐบาลวิชี่กลายเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น   เมื่อสิ้นสุดสงครามด้วยความพ่ายแพ้ของฮิตเลอร์และเยอรมนี  นายพลเปแต็งถูกจับในฐานะอาชญากรรมสงคราม  ได้รับโทษขั้นประหารชีวิตแต่ถูกลดโทษลงมาแค่จำคุกตลอดชีวิต

รูปข้างล่างนี้ คนซ้ายสุดคือเปแต็ง  หัวหน้าคณะรัฐบาลวิชี่   จับมือกับฮิตเลอร์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 13:56

ส่งยูทูปยุทธนาวีที่เกาะช้างมาสนับสนุน



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 14:33

^
อินทรเนตรของผมไม่เห็นยูทูปครับ หรือมนุษยเนตรของผมจะฝ้าฟางไปแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 14:35

อันที่จริงการจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจได้กระทำมาตั้งแต่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเตรียมพร้อมเพื่อทำสงครามทางทะเลกับไทย มีการฝึกซ้อมปฏิบัติการร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่เพิ่งจะมีความชัดเจนว่าจะให้ลงมือทันทีหลังจากที่ผู้บัญชาการเรียกประชุมหมอบหมายภารกิจดังกล่าว หลังจากนั้น เรือทั้ง๕ลำก็เริ่มทะยอยออกจากท่าเพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัยของสายลับไทยที่เฝ้าดูเรือเข้าๆออกๆจากท่าอยู่เป็นประจำ ทั้งหมดนัดมาเจอกันที่เกาะคอนดอร์ในตอนเย็นเพื่อประชุมผู้บังคับการเรืออีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่เรือทุกลำจะเดินเครื่องเต็มพิกัด ออกเดินทางเมื่อเวลา๒๑.๐๐น.ของคืนวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๘๔ มุ่งหน้าสู่พรมแดนไทย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง