เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
อ่าน: 93282 วีรเวร-วีรกรรมของร.ล.ธนบุรีในยุทธนาวีที่เกาะช้าง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 22:38

อ้างถึง
โปรดสงสารคนชรา  ผู้หญิง และเด็กที่ไม่ชินกับตัวย่อทางทหารด้วยเถอะค่ะ   ต่อไปนี้คือรายการถอดรหัส ที่ขอจากอินทรเนตรอันศักดิ์สิทธิ์ให้ประทานมา

น.ท.  = นาวาอากาศโท
นบ.    =  นักบิน  (ได้จากคำตอบท่านนวรัตน)
ทอ.    =  กองทัพอากาศ
เสธ.ทร.  =  โรงเรียนเสนาธิการกองทัพเรือ
เสธ. ฝรั่งเศส   = โรงเรียนเสนาธิการของฝรั่งเศส
บ. ทอ.  = เครื่องบิน ฝูงบิน?? ของกองทัพอากาศ
นทน.   = คำนี้จนปัญญา  คุณกู๊กเจอคำนี้แต่ไม่ยักอธิบายให้ทราบ
ทร.    =  กองทัพเรือ
ยศ.ทร.  กรมยุทธศึกษา กองทัพเรือ?


มาเติมคำในช่องว่างครับ


บ. ทอ.  =  เครื่องบิน กองทัพอากาศ
นทน.    =  นายทหารนักเรียน
นทน.ทร.=  นายทหารนักเรียน กองทัพเรือ

คนชรา ผู้หญิง และเด็กที่ไม่ชินกับตัวย่อทางทหาร แต่สนใจใคร่เรียนรู้ศัพท์ยากๆที่ทหารเขาใช้กัน โปรดแว๊ปเข้าเวปนี้ครับ

http://www.rta.mi.th/21610u/New/Data/vocab_soldier.pdf


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 22 มี.ค. 12, 16:53

การเทียบยศทหารตำรวจในลิ้งค์ที่คุณนวรัตนให้มา ละเอียดมากค่ะ     ต้องค่อยๆอ่านไป   ถ้าอ่านแบบจำ ก็นานหลายวันกว่าจะอ่านจบ
ใครเป็นนักแปลที่แปลเรื่องทางทหารตำรวจน่าจะเซฟเป็นบุ๊คมาร์คไว้
Captain Von Trapp พระเอกใน Sound of Music  เป็นนาวาเอกจริงๆ  ไม่ใช่เรือเอก


บันทึกการเข้า
TonyNTR
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 01 ม.ค. 15, 23:33

ผมตามไปอ่าน เรือประจัญบานเซาท์ดาโกต้า รบกับ เรือประจันบานคิริชิม่า เรือลาดตระเวนหนักอะทาโกและทาเกา. เมื่อ 14-15 พ.ย. 1942 มีรายงานผลการสำรวจความเสียหาย อ่านดูยังไม่เข้าใจทั้งหมด. คล้ายว่ากระสุนเจาะเกราะฝ่ายญี่ปุ่นจะใช้ชนวนถ่วงเวลานานกว่าทางสหรัฐ. ทำให้เมื่อยิงโดนตัวเรือที่ไม่หนามากกระสุนทะลุไปก่อนที่จะระเบิดทำความเสียหายในตัวเรือ เห็นว่าโดนยิงไปอย่างน้อย 26 นัด 1 นัดจากปืนขนาด 5 นิ้ว/6 จาก 6 นิ้ว/18 จาก 8 นิ้ว รูดซิบปาก และ 1 นัด จาก 14 นิ้ว. น่าสนใจที่ โดนขนาด 8 นิ้วไป 18 นัด. จะเป็นขนาด 8 นิ้วเดียวกับเรือธนบุรีเราที่ต่อจากญี่ปุ่นในช่วงเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือไม่ รบกวนท่านผู้ทราบช่วยอ่านและแปลให้ทราบด้วยน่ะครับ. ผมเอาที่อยู่มาแปะไว้
http://www.history.navy.mil/library/online/wardamagereportno57.htm
ลองอ่านดูตรง หน้า 3 น่ะครับ ขออนุญาตคัดลอกมาบางส่วน// เข้าไปจะมีรูปประกอบด้วยครับ
SECTION III
DISCUSSION
A. Type of Projectile
11. During the engagement described above, SOUTH DAKOTA sustained at least 26 projectile hits. It is estimated that one hit was 5-inch, six were 6-inch, eighteen were 8-inch and one was 14-inch. The caliber of these hits was estimated from the damage produced and fragments recovered of one projectile. In many cases the size of the entry hole of the projectile almost gave a direct measure of its caliber. Although structural damage was extensive, it was considerably less than would be generally expected from this number and caliber of hits. That damage was not more extensive can be attributed to the fact that most projectiles passed through the ship's structure without detonating. SOUTH DAKOTA reported that fragmentation was chiefly due to impact rather than detonation. After a study of the fragments, one 8-inch projectile was classified in reference (e) as a common projectile. From reference (f), however, it appears that this was probably a Japanese 8-inch AP projectile. From the damage produced it appears that the majority of the hits were AP projectiles. Reference (f) reported that the Japanese used a fuze with a time delay of 0.4 second in 8-inch and larger AP projectiles and a time delay of 0.08 second in 6-inch AP projectiles as compared with a time delay of about 0.02 second to 0.035 second in U.S. Naval AP projectiles. This relatively long time delay was used to allow time for penetration of the lower side belt after the fuze action had been initiated on water impact for a near-short. Because of this long time delay, most projectiles passed through the superstructure without detonating.

12. Japanese AP projectiles were designed to continue an undisturbed trajectory under the water with the hope of striking the target below the waterline and possibly below the armor belt. To prevent deflection upon striking water, the forward section of the projectile was weakened so that when it struck water the windshield and cap head would break off leaving a flat end. It would be expected that when striking structure above

--3--
the waterline, these parts would break off and make fragment holes in the vicinity of the hole made by the body of the projectile. This is believed to be the reason that, even when there was no detonation, fragment holes were frequently found near the projectile hole. Also the hole made by the hardened cap head would be expected to be round and slightly smaller than the hole made by the body of the projectile as noted in hits Nos. 9 and 10.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 09:16

ผมอ่านแล้วแต่คงไม่กล้าวิจารณ์ต่อหรอกครับ ความรู้ไม่พอ  เอาให้ผู้เชี่ยวชาญของทหารเรือเผื่อท่านจะผ่านมาทางนี้ก็แล้วกัน
 
ผมเองได้ผ่านตาสารคดีเรื่องหนึ่งหลังจากที่เขียนกระทู้นี้จบไปแล้ว กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงหลังของการดวลปืนใหญ่ระหว่างสองฝ่ายว่า  ลามอตต์ปิเกต์ถลำเข้าไปในเขตน้ำตื้นจนท้องเรือครูดกับสันดอนใต้น้ำ เรือสะเทือนไปทั้งลำทำท่าจะติดแห้ง  กัปตันจึงสั่งหันหัวกลับ ต้นกลเพิ่มไฟเต็มที่ระเบิดแรงดันไอน้ำเข้าขับเคลื่อนใบจักรเหนือขีดวิกฤต เรือจึงเคลื่อนที่ต่อไปได้อย่างช้าๆจนกระทั่งหลุดเข้าที่ลึก
จังหวะนั้นเองที่ทหารเรือไทยเห็นลามอตต์ปิเกต์ผละออกจากการรบพร้อมควันดำควันขาวพลุ่งๆตลบเรือผิดปกติ  ต่างโห่ร้องไชโยกันลั่นด้วยความมั่นใจว่าลูกปืนจากป้อมท้ายของเรือธนบุรีโดนเรือรบศัตรูเข้าบ้างแล้ว

ในโอกาสที่ได้เข้ามาอีกนี้ ก็ขอนำเสนอภาพสีน้ำมันก่อนสงครามเขียนโดยจิตรกรชาวญี่ปุ่นราวปี พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ เป็นกองเรือรบสยามขณะแปรขบวนสวนสนามในอ่าวสัตหีบ ในภาพจะเห็น ร.ล.ธนบุรี ร.ล.ศรีอยุธยา นำหน้าด้วยเรือตอร์ปิโดใหญ่ ๙ ลำ ชุดร.ล.ตราด และขนาบข้างด้วยเรือดำน้ำ๔ ลำชุด ร.ล. มัจฉานุ  หลังๆออกไปดูไม่ชัดแล้ว น่าจะเป็นเรือปืนชุด ร.ล. สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์ และที่เก่าๆกว่านั้น

ต้นฉบับขนาดใหญ่มาก ชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ สมุทรปราการครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:51

คุณ K.C. Shai นายทหารเรือราชนาวีไทยยศนาวาโท(ขณะนั้น)ท่านหนึ่งได้กรุณาหลังไมค์มาให้ผมเมื่อสองปีที่ผ่านมา ความว่า

เมื่อช่วงก่อนหยุดปีใหม่ พวกผมคณะทำสารคดีกองทัพเรือ ได้ไปดำน้ำถ่ายทำสภาพเรือหลวงสงขลาและเรือหลวงชลบุรี ที่จมอยู่ที่เกาะช้างมาครับ ภาพที่ถ่ายทำมานี้เป็นส่วนหนึ่งของสารคดี เรื่อง การรบที่เกาะช้าง ที่พวกเรากำลังทำกันอยู่ครับ เรือนำภาพมาแบ่งปันให้คุณอาได้ดูครับ
ภาพที่เห็นเป็นลำๆ นั้นคือเรือหลวงสงขลานะครับ ส่วนเรือหลวงชลบุรีนั้น ปัจจุบันโครงสร้างเรือพังทลายเป็นแผ่นเหล็กกองอยู่ใต้ท้องทะเล ทับถมด้วยตะกอนและปะการัง ซึ่งถ่ายทำมาได้ลำบากมากครับ


ผมคัดเลือกภาพมาส่วนหนึ่ง เชิญชมครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:52

2


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:52

3


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:54

4


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:54

5


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:55

6


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:55

7


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:56

8


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:57

9


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 10:58

10 (ภาพสุดท้ายครับ)


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 17 ม.ค. 24, 23:01

วันนี้ ๑๗ ม.ค. ๒๕๖๗ ครบ ๘๓ ปี เหตุการณ์การรบที่น่านน้ำเกาะช้าง
ขอสดุดีวีรกรรมบรรพชนลูกประดู่ทุกท่านที่ได้พลีชีพเพื่อรักษาเกียรติภูมิของชาติ แม้ว่าจะเสียเปรียบด้านยุทโธปกรณ์และเทพีแห่งโชคไม่ได้อยู่ข้างพวกท่าน แต่ก็ต่อสู้ด้วยจิตใจที่ไม่เป็นรองแน่นอน
ด้วยเมื่อหลังวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมาได้มีโอกาสทำพิธีกรรมครั้งสุดท้ายให้ญาติผู้ใหญ่(ฝากท่านสู่อ้อมอกแม่พระคงคา)ที่ทะเลบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง พวกเราลงเรือที่สะพานเทียบเรืออำเภอแหลมงอบ ล่องลงมาตามช่องเกาะช้าง ผ่านเกาะลิ่มและเกาะสลัก ซึ่งร.ล.ธนบุรี ทอดสมออยู่เมื่อ ๘๓ ปีโน้นก็ยกมือพนมตั้งจิตคารวะลูกประดู่ผู้กล้าทั้งหลาย จนกระทั่งเรือที่ให้บริการเลี้ยวผ่านช่องท้ายเกาะช้างกับเกาะง่าม แล้วจึงลอยลำเพื่อเริ่มทำพิธี ทะเลเรียบมาก ท้องฟ้าสีฟ้าสดใส ปราศจากเมฆหมอกใดใด แต่ทว่าน่านนำ้ตรงนี้เมื่อ ๘๓ ปีก่อนคือนรกของลูกเรือเรือตอร์ปิโดใหญ่ ร.ล.สงขลาและร.ล.ชลบุรี ที่ตกเป้านิ่งให้เรือฝรั่งเศสรุมยำจนอับปางคาที่ สภาพเรือขณะนี้ก็คงเป็นดังภาพข้างบนที่อาจารย์NAVARAT.Cโพสต์ไว้ ได้สังเกตทุ่นสีเหลือง ๒ ทุ่น ถูกลอยอยู่ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร ซึ่งตอนที่ผ่านมาหลายปีก่อนยังไม่มี จึงสอบถามนายท้ายเรือที่ให้บริการ ก็ยืนยันว่าเป็นตำแหน่งพักผ่อนสุดท้ายของร.ล.สงขลาและร.ล.ชลบุรี จึงพากันยกมือพนมตั้งจิตคารวะอีกครั้ง ขออำนาจความมุ่งมั่นความกล้าหาญของพวกท่านจงเป็นพลังปกป้องคุ้มครองพวกเราด้วย
พ่อของผมมีอาชีพเป็นช่างเครื่องเรือรบ เรียนจบก็ถูกบรรจุประจำการเมื่อหลังเหตุการณ์เกาะช้าง ๓ ปี เรือรบลำหนึ่งทีพ่อเคยปฏิบัติหน้าที่คือเรือตอร์ปิโดใหญ่ ร.ล.ระยอง ก็ลำเดียวกันกับที่ได้รับคำสั่งให้แยกไปคอยสังเกตการณ์ที่บริเวณเกาะกูดเมื่อตอนเย็นวันที่ ๑๖ ม.ค.๒๔๘๔ เลยคลาดกับกองเรือฝรั่งเศสเนื่องจากเช้ามืดวันรุ่งขึ้นหมอกลงจัด หากไปรวมกองกัน ๓ ลำก็คงจะประสบชะตากรรมเดียวกับเรือสงขลา-ชลบุรี และผมก็คงไม่มีโอกาสไปคุ้นเคยกับเรือลำนี้เพราะพ่อพาไปเที่ยวเรือบ่อยๆตอนเด็กนัยว่าจะปลูกฝัง ปัจจุบันเรือตอร์ปิโดใหญ่ที่รอดมาได้ ๗ ลำ เหลือเป็นรูปเป็นร่างอยู่ลำเดียวคือร.ล.ชุมพร เป็นอนุสรณ์สถานอยู่ที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร นอกนั้นปลดระวางขายเป็นเศษเหล็กหรือไม่ก็เป็นเป้าให้เรือรบปัจจุบันซ้อมยิง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.134 วินาที กับ 20 คำสั่ง