เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 93442 วีรเวร-วีรกรรมของร.ล.ธนบุรีในยุทธนาวีที่เกาะช้าง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 09:40

มาสวัสดีเช่นกันค่ะ.    ยังตั้งตัวไม่ทัน.    ขอเดินเลียบชายหาดไปพลางๆก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 09:50

ชูป้ายริมฝั่งทะเลสักหน่อย จะขอสรุปเหตุการณ์ก่อนหน้าที่ อ.NAVARAT.C จะออกปากอ่าว  แลบลิ้น

ผู้อ่านจะได้เข้าใจเล็กน้อยว่า อยู่ดีดีทำไมเกิดเหตุการณ์สู้รบ ยิงเรือรบกันก่อนดังนี้

๑. การเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์และการเดินเรือ ๒๔๗๙ (แต่ฝรั่งเศสบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด)

๒. ทำสนธิสัญญาไทย - ฝรั่งเศสไม่รุกรานกัน ๑๒ มิถุนายน ๒๔๘๓

๓. สงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศฝรั่งเศสถูกเยรมันยึด

๔. ไทยขอแก้ไขเส้นแดนที่ไม่เป็นธรรมต่อฝรั่งเศส กันยายน ๒๔๘๓

๕. การเดินขบวนเรียกร้องจากนิสิตนักศึกษา นักเรียนเพื่อเรียกร้องเอาดินแดนคืนมา

๖. เครื่องบินฝรั่งเศสบินข่มขู่ไทยแถวนครพนมตั้งแต่กันยายน ๒๔๘๓

๗. เครื่องบินฝรั่งเศสเข้ามาถ่ายภาพตัวเมืองนครพนม เดือนพฤศจิกยน ๒๔๘๓ จึงเกิดการขับไล่ สู้รบ กันจนเกิดเหตุการณ์ "สงครามอินโดนจีน" อันมีผลทำให้เรือรบทั้งหลาย เริ่มออกตัวเลยครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 10:14

สวัสดีทั้งสองท่านครับ

ขอเชิญท่านเก็บหอยเก็บปูตามสบาย จะไปเก็บถึงแม่น้ำโขงก็ไม่ว่า ระวังปาดบ้างก็แล้วกัน
พอดีได้เวลานัด ผมจะต้องทิ้งกระทู้ไปจนถึงค่ำ ก่อนออกจากบ้าน ขอตอบคุณหนุ่มสยามดังนี้


๑.ให้ถือเส้นกลางแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งระหว่างประเทศ และถือเกณฑ์ร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์

ข้อนี้ฝรั่งเศสยอมตกลงแล้วครับ จึงมีการลงนามในข้อตกลงไม่รุกรานกันที่ผมกล่าวในกระทู้ที่ผ่านมา

๒. ปรับปรุงเขตแดนให้เป็นไปตามธรรมชาติ (อันนี้หมายถึงดินแดนที่อยู่ฝั่งซ้ายและขวาแม่น้ำโขงจะได้แบ่งไปเลย แต่ปัจจุบันนี้ก็ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เช่นในแขวงไซยบุรี และปากเซ เป็นต้น) 

๓. ถ้าอินโดจีนเปลี่ยนอธิปไตยจากฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะคืนลาวและกัมพูชาให้ไทย


สองข้อนี้ ไทยเสนอเข้าไปเพิ่มใหม่หลังจากฝรั่งเศสยอมแพ้เยอรมันแล้ว โดยอ้างว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปจากที่ตกลงกัน เพราะฝรั่งเศสยอมให้ญี่ปุ่นเข้าไปตั้งฐานทัพเป็นการคุกคามต่อไทย จึงจำเป็นต้องขอดินแดนที่เคยเป็นของไทยคืน คล้ายๆจะให้เป็นกันชนของแผ่นดินแม่ แต่รัฐบาลวีซี่ไม่ยอมรับ หาว่าไทยแทงข้างหลังทั้งๆที่ทำข้อตกลงไปแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 10:35

แม่เคยเล่าให้ฟังว่า ตอนสมัยเด็ก ๆ ได้นั่งรถไฟไปเที่ยวพระตะบองกัน เพราะว่ามีเครือญาติไปเป็นผู้กำกับที่เมืองพระตะบอง ไปด้วยรถไฟสนุกสนานกันมาก ไปเที่ยวที่ตลาดพระตะบอง เครื่องหวาย เครื่องจักรสานมากมาย และหินสบู่แกะสลักอย่างปราสาทบายน (พระพรหมสี่พักตร์) ขนาดใหญ่ก็ขนาดเด็กโอบรอบได้ (ซึ่งก็ซื้อมาประดับไว้ที่บ้านเวลานี้) ส่วนขนาดเล็กก็กำปั้นเห็นจะได้

ดินแดนนี้ควรจะเป็น เมืองพระตะบอง - เสียมราฐ - ไพลิน - ศรีโสภณ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 13:28


และเช่นเดิมครับ เชิญท่านทั้งหลายให้เข้ามาช่วยเสริมสร้าง(กรุณาอย่าเสริมแต่ง) หรือใครจะตั้งคำถาม ถ้าตอบได้ผมก็จะตอบอย่างตรงไปตรงมา หรือจะเห็นต่างก็ได้ ผมน้อมรับและยินดีที่จะได้ถกกัน สำหรับกูรูที่ประสงค์จะพาออกจากทะเลขึ้นฝั่งไปบ้างก็ไม่ว่า แต่อย่าไปไกลมากนะครับ เอาแค่ขุดหอยช้อนปลาหาเขียดปาดอยู่แถวชายหาดก็แล้วกัน เดี๋ยวผมจะพากลับออกทะเลไม่ถูก ถ้าสนใจจะต่อเรื่องเหตุการณ์ในกรณีพิพาทอินโดจีนจริงๆแล้วละก็ ควรแยกกระทู้ผมจะไปแจมด้วย จะเอาเป็นมหากาพย์อย่างกระทู้ครั้งกระโน้นก็เอากัน


เจอท่านผู้การ Navarat ดักคอเข้าแบบนี้  ต้องระมัดระวังในการจับกุ้งหอยปูปลาชายฝั่งมาปั่นเรตติ้ง      เพราะอาจจะถูกคลื่นซัดไปนอกปากอ่าวกรณีพิพาทอินโดจีนเข้าโดยไม่ทันตั้งตัว

ไล่จับปลาชายฝั่งได้ มาหนึ่งกาละมัง  ว่าด้วยงบประมาณพิเศษของกระทรวงกลาโหม   สำหรับซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องบินรบ ในพ.ศ. ๒๔๘๑   เป็นจำนวนเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท   
กลาโหมขอมา  ๑๓ ล้านครึ่ง  คณะรัฐมนตรีใจดีมาก นอกจากให้ตามที่ขอแล้ว ยังเห็นว่าแค่นี้ไม่พอ   ก็อนุมัติเพิ่มเติมให้อีกโดยไม่ต้องขอ  ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเตรียมไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน  และมีงบจ่ายเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงทหารเกณฑ์ กองประจำการปี ๒ เป็นเงิน ๑,๙๙๒,๔๘๘ บาท
กระทรวงกลาโหมได้ที   เห็นความจำเป็นต้องจัดกองทัพไทยแบบสมัยใหม่  อาศัยการเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ จึงของบประมาณเพิ่มเติมอีกจำนวน ๔,๙๙๘,๙๘๘ บาท เพื่อเป็นค่าซื้อยานยนต์และค่าก่อสร้างโรงทหารชั่วคราว   คณะรัฐมนตรีก็ไฟเขียวแต่โดยดี

นังมีการเพิ่มกำลังทหารทั้งสามเหล่าทัพขึ้นด้วย  เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์สงคราม คือมีกองทัพ ๒ กองทัพ คือกองทัพบูรพา และกองทัพอิสาน มีอัตรากำลัง ๗๕ กองพันรวมกำลังพลทั้งสิ้น ประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน

ดิฉันตอบไม่ถูกว่าถ้าเป็นปัจจุบัน งบประมาณเหล่านี้จะเท่ากับเงินจำนวนเท่าไร    จำได้ว่าคุณแม่เรียนจบจากจุฬาฯก่อนปี ๒๔๘๑ เล็กน้อย   บรรจุเข้าเป็นอาจารย์โรงเรียนสตรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ   ได้เงินเดือนหนึ่งร้อยกว่าบาท   บ่นว่ามากมายเสียจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร    เลยซื้อตุ๊กตาแจกนักเรียนในชั้น
งั้นค่าของเงินหนึ่งร้อยบาทในสมัยนั้นคงมากกว่าหนึ่งหมื่นบาทในสมัยนี้แน่นอน   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 18:01

ค่าของเงินเมื่อเจ็ด-แปดสิบปีก่อนจะเทียบกับสมัยนี้อย่างไร ผมก็นึกไม่ออกจริงๆ
ลองพิจารณาตรงนี้สิครับว่าญี่ปุ่นต่อเรือดำน้ำให้เราราคาลำละเท่าไหร่

สภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ได้อนุมัติ พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 โดยในพระราชบัญญัตินี้ ได้กำหนดให้กองทัพเรือ ต่อเรือดำน้ำ จำนวน 6 ลำ โดยในที่สุดแล้ว ไทยได้ทำสัญญาว่าจ้างต่อเรือ กับ บริษัท มิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่นให้ต่อเรือดำน้ำ ขนาด 370 ตัน จำนวน 4 ลำ เป็นเงิน ลำละ 820,000 บาท และได้รับพระราชทานชื่อในภายหลังว่า ร.ล.มัจฉาณุ (หมายเลข 1) , ร.ล.วิรุณ (หมายเลข 2) , ร.ล.สินสมุทร (หมายเลข 3) และ ร.ล.พลายชุมพล (หมายเลข 4)

820,000 บาท เดี๋ยวนี้ซื้อมิตซูบิชิแลนเซอร์ได้คันเดียว

ข่าวล่าสุด ได้ยินว่ารัฐบาลเห็นชอบให้กองทัพเรือจัดซื้อเรือดำน้ำรุ่น U-206 A มือสองจากเยอรมัน จำนวน 6 ลำ ในวงเงิน 7.7 พันล้านบาท หรือเฉลี่ยลำละ1283 ล้านบาท เขาว่าราคานี้ถูกมาก เพราะใหม่ๆลำละประมาณหมื่นล้าน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 18:07

ลองเทียบกับราคาทองได้ไหมคะ   ก่อนสงครามโลก ทองบาทละเท่าไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:18

ในบรรดาเรือรบที่สั่งต่อทั้งหมด ร.ล.ธนบุรีเป็นลำสุดท้ายที่ราชนาวีได้รับมอบ

ร.ล.ธนบุรีเป็นเรือปืนหนักก็จริง แต่มีขนาดเล็กกว่าเรือรบที่จะไปใช้ในเชิงรุกราน เหมาะสำหรับป้องกันชายฝั่งของประเทศเท่านั้น พิธีวางกระดูกงูกระทำที่อู่ต่อเรือคาวาซากิ เมืองโกเบในเดือนมกรา ๗๙ ปล่อยเรือลงน้ำกรกฎา ๘๐ ติดตั้งอาวุธประจำเรือและอุปกรณ์ทั้งหลายแล้วเสร็จ ขึ้นระวางเป็นเรือรบหลวงของราชนาวีไทยเมื่อวันที่๕ ตุลาคม ๒๔๘๑

กองทัพเรือส่งทหารไปรับมอบและออกทะเลฝึกกับครูช่าวญี่ปุ่นอยู่นานนับเดือน จึงได้เดินทางออกจากญี่ปุ่น มีการถ่ายรูปนายทหารและลูกเรือร่วมกันตามธรรมเนียม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:20

ร.ล.ธนบุรีเดินทางมุ่งสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ตัดข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก แวะโชว์ธงและเติมเสบียงที่อ่าวมนิลาก่อนจะกลับมาตุภูมิ มีคนไทยที่นั่นไปยืนโบกธงต้อนรับกันอบอุ่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:22

ขณะที่กำลังจะเข้าเทียบท่าที่มนิลานั้น มีเรือรบลำมหึมาทาสีขาวควันบุหรี่ลำหนึ่งชักธงฝรั่งเศสทอดสมออยู่ในอ่าวก่อนแล้ว ชื่อเรือลำนั้นเขียนว่า La Motte-Picquet ทหารเรือไทยเห็นแล้วก็ประสาทตื่นตัวขึ้นมาทันทีโดยสัญชาติญาณ แม้อ่านภาษาเขาไม่ออกก็รู้ว่านี่คือเจ้าลามอตต์-ปิเกต์ เรือธงของกองเรืออินโดจีนฝรั่งเศสที่ผู้บังคับการร.ล.ธนบุรี น.อ.หลวงพร้อมวีรพันธุ์พูดให้ฟังเสมอนั่นเอง

ขณะเรือวิ่งผ่านกัน ทหารทั้งสองฝ่ายต่างละหน้าที่มายืนเรียงข้างกราบเรือ ส่งสายตาไปยังอีกฝ่ายหนึ่งพลางคิดในใจว่า วันหนึ่งเราต้องเจอกันในสมรภูมิแน่



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:23

เรือเฉียดกันครั้งนั้นก็เหมือนคู่ชกมวยมายืนเปรียบกันบนเวที ประเภทที่นักมวยไทยปะทะนักมวยฝรั่งแบบไม่เกี่ยงน้ำหนักแหละครับ ยืนบังกันมิดชนิดคนดูโห่ฮากันเกรียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:27

ความใหญ่โตของลามอตต์-ปิเกต์จะเห็นได้เมื่อเปรียบเทียบขนาดของทหารเรือที่ยืนอยู่บนกราบเรือ กับของร.ล.ธนบุรี



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:31

ร.ล.ธนบุรีมีอย่างเดียวที่เหนือกว่า คือขนาดของปืนใหญ่คู่  8” สองป้อมหัวท้าย ในขณะที่ลามอตต์-ปิเกต์มีปืนใหญ่คู่ขนาด 155 ม.ม. (6”) สี่ป้อม หัวท้ายข้างละสองป้อม ปกติแล้ว ปืน 6”ย่อมบรรจุและยิงกระสุนตับใหม่ได้รวดเร็วกว่าปืนขนาด 8” ถึง2.5เท่าถ้าทั้งสองฝ่ายต่างอยู่ในระยะยิงด้วยกันแล้ว ด้วยจำนวนกระบอกที่มากกว่า แถมยิงเร็วกว่า ถือได้ว่าอำนาจการยิงของลามอตต์-ปิเกต์ เหนือกว่าร.ล.ธนบุรีมาก

เมื่อร.ล.ธนบุรีเดินทางออกจากมนิลามาแล้วไม่นาน เจ้าลามอตต์-ปิเกต์ก็ตามออกมาอย่างห่างๆ ก่อนจะเร่งฝีจักรผ่านไปทิศทางไซ่ง่อนในเชิงท้าทาย แต่ทหารเรือไทยกลัวซะที่ไหน จะเจอกันเมื่อไหร่ที่ไหนก็ได้ ไม่เกี่ยง




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:40

ยามที่จอดเทียบท่า บางครั้งจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมเรือรบได้ เรือปืนหนักใหม่เอี่ยมของราชนาวีทั้งสองลำ เป็นความภาคภูมิใจยิ่งของคนที่รักทหารเรือ

ภาพชุดต่อไปนี้ผมได้มาจากเวปที่แต่เดิมฝรั่งเป็นคนนำมาลง มีการบรรยายภาพไว้เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่าต้นตอของภาพจริงๆแล้วเขาได้มาจากไหน แต่ที่ผมแน่ใจอย่างหนึ่งก็คือ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่รัฐบาลจัดซื้อมาครั้งนั้น ฝรั่งเศสที่อินโดจีนมีภาพถ่ายที่ส่งจารชนมาเก็บภาพไว้ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ถ่ายจากงานสวนสนามหรือวาระที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปเยี่ยมในฐานทัพอย่างใกล้ชิดนี้เอง
 
ภาพแรกเป็นป้อมปืนท้าย อยู่ภายใต้หลังคาผ้าใบที่ติดตั้งยามปกติ และภาพส่วนท้ายเรือสุดของเรือที่ประดับธงฉาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 20:42

กลางเรือ ที่เห็นเป็นป้อมกลมๆอยู่ส่วนที่สูงที่สุดคือหอควบคุมการยิง แลเห็นกล้องเล็ง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง