เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3966 วิสาขะ ของ ร.อ.ท. พล้อยพรปรีชา ไทยเขษม ๒๔๖๘
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 26 ก.ย. 11, 23:10



ถอดความ จาก  ไทยเขษมปีที่ ๒  เล่ม ๑  วันที่ ๑๕​  พฤษภาคม  ๒๔๖๗


มีรายละเอียดมากว่า กุลสตรีวิสาขา  ที่เคยอ่านกันมา


นิยายทิเบตเรื่องนี้ เป็นของ ฟอนไชพ์แนร์   

นาย ว.ร.ส. ราลสตัน เอม.เอ  แปลจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน

จะคัดลอกโดยเต็มเป็นบางส่วนเพื่อแสดงรสวรรณคดี



      มฤคธร  มุขมาตย์ของกษัตริย์ประเสนแห่งกรุงโกศล    มีบุตรชาย ๗ คน  คนสุดท้องชื่อ วิสาขะ

หลังจากภริยาเสียชีวิต  ลูกชายทั้ง ๖ คนก็แต่งงาน  แต่บุตรชายกับภริยา  พากันหลงระเริงอยู่กับความฟุ้งเฟ้อและเครื่องแต่งกาย

ไม่มีใครสนใจกับกิจการของบ้านเรือนเลย

       พราหมณ์ซึ่งเป็นสหายจึงแนะนำว่าให้ไปหาภริยาให้วิสาขะ

       มฤคธรผู้เป็นคหบดีไม่แน่ใจว่าเมื่อลูกชายสมรสแล้ว  กิจการจะดีขึ้นหรือเสื่อมทรามลงไปอีก      พราหมณ์จึงรับอาสาจะ

ไปหาผู้หญิงที่เหมาะกับเขาให้


       พราหมณ์ก็ออกเดินทางเรื่อยมาจนมาถึงกรุงหนึ่งนามว่ากรุงจำปา


       ในกรุงนี้มีคหบดีคนหนึ่งชื่อ พลมิตร   มีธิดาชื่อ วิสาขา   รูปโฉมเจริญตารูปร่างงดงามราวดังดอกไม้แรกแย้ม   

ทั้งฉลาดและมีไหวพริบเป็นอย่างยิ่ง   



(ท่านผู้อ่านไม่ต้องเกรงว่าจะสับสน  เพราะเรื่องนี้ จะเป็นเรื่องของนางวิสาขา  ทั้งสิ้น       ด้วยความเคารพต้นฉบับจึงมิได้เปลี่ยนชื่อเรื่อง)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 23:39




     "ขณะที่พราหมณ์ไปถึง   เจ้าหล่อนและเกลอรุ่นดรุณี  กำลังเดินทางไปหาความสนุกสนานบานกมลในอุทยานแห่งหนึ่ง

เมื่อมาพบกุมารีผู้มีศรีเจริญตาน่ายลนี้   พราหมณ์จึงมานึกว่า        เขาอยากจะลอบมองเจ้าหล่อนสักหน่อย

ดังนั้นเขาจึงค่อยๆเดินตามไป    สายตาก็มิได้ไปจดจ้องอยู่ที่อื่นนอกจากสาวรุ่นกำดัด          ดรุณีเหล่านี้โดยมากเป็นคนซุกซน

บ้างก็วิ่ง  บ้างก็เขย่ง  บ้างก็หมุนตัวและบ้างก็หัวเราพ   บ้างก็ร้องเพลงและอะไรอีกจิปาถะต่อมิอะไรไปตลอดทาง

ส่วนวิสาขะนั้นเจ้าหล่อนค่อย ๆ เดินไป  ทุก ๆฝีก้าวสม่ำเสมอกัน  ไม่สั้นไม่ยาว       ลำดับที่มาถึงอุทยาน 

กุมารีอื่นๆต่างเปลื้องเสื้อและผ้าลงอาบน้ำในถังใบใหญ่   แหวกและว่ายอย่างบันเทิงรื่นเริงใจ"



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 09:01



       ส่วนวิสาขานั้นเล่า  เจ้าหล่อนค่อย ๆ ยกเสื้อผ้าขึ้นชูไว้ทีละน้อยเมื่อเจ้าหล่อนจุ่มตัวลงในน้ำ

แล้วค่อยๆปล่อยให้ต่ำลงเมื่อเจ้าหล่อนขึ้น   ทั้งนี้ทำไปด้วยมารยาทอันแนบเนียนน่าทัศนา

เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำแล้ว   กุมารีทั้งหมดพากันไปรวมหมู่อยู่ตรงที่แห่งหนึ่ง  แล้วควัก

โภชนาหารออกมารับประทาน   เสร็จแล้วจึงให้เป็นทานแก่ปวงบ่าวที่มาด้วย   ส่วนวิสาขานั้น

หยิบยื่นให้กับทาสของหล่อนก่อนแล้วตนเองจึงลงมือรับประทาน"


       ต่อไปวิสาขาได้ใส่ลงเท้าลุยน้ำในลำธาร    กางร่มในป่าอามรวัน  ต่อมาอธิบายเมื่อพราหมณ์ถามว่า

เดินไม่วิ่งเพราะ  "เด็กหญิงเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ผู้ปกครองต้องขายไป    ถ้าหกล้มขาหรือแขนหักไปสักข้างหนึ่ง

ใครเล่าเขาจะมาเกี้ยวข้าพเจ้า   ข้าพเจ้าก็ต้องให้บิดามารดาเลี้ยงจนชีวิตหาไม่"

ในการที่ค่อย ๆ ยกเครื่องแต่งกาย    คำตอบก็คือ   "เป็นการจำเป็นแท้ที่นารีต้องมีกระดากและอาย

และจะไม่เป็นการดีนักหรอก   ถ้าใครมาเห็นข้าพเจ้าปราศจากเครื่องคลุมกาย"

เรื่องที่ให้อาหารแก่ทาสก่อนนั้น  "พวกเราที่เก็บเกี่ยวผลแห่งคุณความดี  มักจะมีการเลี้ยวดูสนุกสนานเนือง ๆ

ส่วนพวกเข่ที่เก็บเกี่ยวผลแห่งความลำบาก  มักจะไม่ใคร่ได้พบของดีนัก"

เรื่องที่ใส่รองเท้าลุยน้ำก็เพราะในน้ำมองไม่เห็น  กิ่งไม้  หนาม  หิน  กรวด  ก้างปลา หรือเปลือกหอย

ที่กางร่มในป่า  เพราะในป่ามีลิงค่าง บ่าง ชนี  ที่จะปล่อยเศษอาหาร  กระดูกต่าง ๆ  และผลไม้ที่กินแล้วลงมา

กิ่งไม้ผุก็จะร่วงหล่น


พรหมณ์ถามว่าเมื่อมีฝนและพายุ  ทำไมจึงกางร่มอยู่กลางแจ้งเมื่อทุกคนเข้าไปหลบอยู่ในโบสถ์

นางงามตอบ

       "โบสถ์ร้างเช่นนี้คงจะไม่ปราศจากเสียซึ่งคนพาลสันดานถ่อย  หรือพวกเจ้าลูกไม่มีพ่อ  หรือมีแต่

พวกพ่อแม่ไม่เลี้ยงดู    ถ้าเจ้าพวกเหล่านี้มาแตะต้องสัมผัสร่างกายข้าพเจ้าเมื่อย่างเข้าไปในโบสถ์แล้ว

ผู้ปกครองรู้เข้าจะพอใจหรือ        นอกจากนี้แม้จะตายก็ตายกลางแจ้งดีกว่า"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 09:28




       พราหมณ์พอใจในความประพฤติและมารยาทของดรุณี      จึงรุดไปที่

เคหะของคหบดีพลมิตร์

"ขอให้มีสุข   ขอให้เจริญยิ่งๆขึ้นไปเถอะ  พ่อคุณ"

คนในบ้านกล่าวตบ  "พ่อพราหมณ์  ยังไม่ถึงเวลาขอนี่    แต่นี่ท่านมาขออะไร"

พราหมณ์   "ข้าพเจ้าขอบุตรีท่าน"

คนในบ้าน   "ขอไปให้ใคร"

พราหมณ์   "ให้แก่วิสาขะ  บุตรมฤคธรผู้มุขมาตย์แห่งกรุงสราวัสตี (สารวถี)

คนในบ้าน   "จริงอยู่ที่เขากับเราเป็นชาติเดียวกัน   แต่ทว่าบ้านเมืองของเขาอยู่ออกไปไกลมากนัก"

พราหมณ์    "ก็ในเมืองไกลน่ะซิท่าน   ที่เราจะสืบหาบุรุษผู้สมควรเป็นสามีของลูกสาว"

คนในบ้าน   "เพราะเหตุดังฤา"

พราหมณ์   "ถ้าเจ้าหล่อนทำการสมรสอยู่ในละแวกบ้านของตน  ก็จะมีผู้นิยมชมชื่นยิ่งขึ้น   เมื่อต่างคน

ต่างทราบว่าเจ้าหล่อนประสบความรุ่งเรือง   แต่ถ้าเกิดทุกข์ขึ้น   ทรัพย์สมบัติของชายอาจละลายหายสูญ

เขาหมดตัวด้วยทาน  ยัญ  และการจับจ่ายในการเคารพบูชา"

คนในบ้าน   "เมื่อเป็นเช่นนี้  เราจะให้ลูกสาวของเรา"


         ลำดับนั้นพราหมณ์ก็กล่าวคำอำนวยชัยให้พร   แล้วก็กลับมายังสราวัสตี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 09:37



       เมื่อพักผ่อนร่างกายแล้ว  พราหมณ์ก็ไปหาท่านมฤคธรอมาตย์    ชี้แจงความรุ่นกำดัด

ความวิลัยลักษณ์   ความมีไหวพริบตลอดจนมารยาทและอาการรับประทานอาหารของเจ้าสาวให้ฟัง

       "ข้าพเจ้าได้ท่องเที่ยวไปในประเทศและกรุวต่าง ๆ ด้วยความลำบาก    และได้พบเจ้าหล่อน

เข้าด้วยความลำบากเหมือนกัน   บัดนี้ท่านจงไปรับหล่อนมาเถอะ"


       มฤคธรจับยามดูฤกษ์วันและชั่วโมง  ก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นฤกษ์งามยามปลอด   จึงเขาก็จัดงานอย่างเอิกเกริก

ไปรับนางวิสาขามาเป็นภรรยาของบุตรชาย

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:34



       
       "ในขณะที่บุตรีกำลังจะออกจากบ้าน   มารดาจึงให้โอวาทดั่งนี้

        "ลูกเอย    ลูกจงให้เกียรติย์กับศูรย์และจันทร์    จงเอาใจใส่กับอัคคี   จงหมั่นขัดสีคันฉ่อง

ให้เกลี้ยงเกลา    และเจ้าจงสวมเสื้อขาว   เจ้าพึงแต่รับ  แต่อย่าให้ใคร    เจ้าจงระวังวาจา

เมื่อเจ้าลุกขึ้น  เจ้าต้องไม่ยอมให้ใครแทนที่   เจ้าต้องบริโภคอาหารอร่อย   เจ้าต้องนอนเงียบ

เจ้าต้องใช้บันได"

     เมื่อมฤคธรสดับโอวาทเหล่านี้    เขาคิดว่าบุตรีได้รับคำสั่งสอนที่ผิดพลาดนอกทางไปไกล   

และเขาจำจะต้องเกลี้ยกล่อมย้อมใจมิให้ทำตาม   และจะพยายามสั่งสอนทางที่ถูกให้


       มารดาผู้อาลัยรัก   ผู้มีกมลอันอ่อนและดวงตาอันชุ่มน้ำตา   สรวมกอดบุตรีและพูดด้วยเสียงกระเส่า ๆ

"ลูกเอย   วันนี้แล้วแม่ได้เห็นเจ้าเป็นครั้งที่สุด

       วิสาขากล่าวเชิงเตือน   "แม่เอย   แม่เกิดที่นี่หรือ    เด็กหญิงไม่ได้เกิดในหมู่ญาติพี่น้องดอกหรือ

บ้านนั้นเป็นบ้านของแม่หรือ    ไม่ใช่บ้านนี้หรือที่เป็นบ้านของแม่     เมื่อทุกสิ่งที่รวมกันได้ฉันใด  ก็ย่อม

แยกกันได้ฉันนั้น    ขอแม่อย่าพิลาปคร่ำครวญและจงนิ่งเสียเถอะ"


       ต่อมามฤคธรก็ออกเดินทาง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:50




       วิสาขากับสามีพร้อมข้าทาสก็ติดตามไปลงเรือ     ม้าซึ่งมีลูกอ่อนตัวหนึ่งก็จะต้องเอาลงเรือไปด้วย

มันรู้สึกว่าลูกมันอยู่บนบกจะสบายกว่าอยู่ในเรือ   มันก็ทำพยศดื้อดึง   ไม่มีใครสามารถนำลงเรือได้

ทำให้เกิดเสียงอึกทึกอื้อฉาว     เมื่อวิสาขาได้ยินก็ถามถึงต้นสายปลายเหตุ   เมื่อทราบเรื่องแล้ว

นางก็ให้คำแนะนำว่าควรจับลูกมันลงเรือเสียก่อน   ฉะนี้แล้วแม่ม้าก็จะตามลงมาเอง      คำตักเตือนของนางเป็นผล

และแม่ม้าลูกอ่อนก็ลงเรือได้สมประสงค์

       มฤคธรถามคนใช้ว่ามีเรื่องอะไร    คนใช้ก็เล่าให้ฟัง

       มฤคธรจึงพูดว่า  "หญิงสาวชาวกรุงจำปานี่ฉลาดจริงหนอ"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 13:03


     ในระหว่างการเดินทาง   คนใช้ได้กางกระโจมให้มฤคธรใต้หน้าผา       นางวิสาขาขอให้ย้ายที่เพราะถ้าหน้าผา

พังลงมา   ชาวบ้านจะล้อนางไปตลอดชีวิตว่า   พ่อผัวพาสะใภ้กลับบ้าน  ยังไม่ทันถึงก็ตาย

คืนนั้นหน้าผาพังลงมา    มฤคธรไม่ตายเพราะคนใช้ย้ายที่นอนให้แล้ว  เขาพูดว่า

"หญิงชาวกรุงจำปาฉลาดจริงหนอ"


   ต่อมาขบวนได้หยุดที่โบสถ์ร้าง   ที่นอนของท่านอำมาตย์ก็จัดไว้ในโบสถ์           นางวิสาขาก็ขอให้

ย้ายเพราะถ้ากำแพงพังลงมา  นางคงไม่พ้นนินทา  ว่า พ่อผัวพาสะใภ้กลับบ้าน  ยังไม่ทันถึงก็ตาย

อีกครั้งหนึ่งที่พ่อผัวรอดชีวิตมา          คำพูดของมฤคพรก็เป็นที่เล่าลือกันต่อไปว่า

"หญิงชาวกรุงจำปาเป็นคนฉลาด"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 11:25



    "มิช้าก็พากันมาถึงสราวัสตี       และเมื่อได้พักผ่อนกายหายเหนื่อยจากการเดินทาง  และจ่ายแจก

ของกำนัลไปยังญาติมิตรสหายแล้ว          วิสาขาจึงได้เริ่มลงมือดูแลกิจการบ้านเรือน    ด้วยเหตุว่า

สะใภ้ของมฤคธรทั้งหมดมีเวรกันจัดหาและหุงต้มอาหาร         วิสาขาได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่นี้ในวันที่ ๗

ในวันที่ใกล้เข้ามาจะถึงเวรตน   วิสาขาได้นำเครื่องกระแจะจันทร์และแป้งหอมที่สามีและบิดาของเขาเหลือใช้มาปั้นเป็นลูกกลม

เล็ก ๆ  ผึ่งแดดไว้         เจ้าหล่อนทำเช่นนี้เสมอทุกวัน   แล้วเก็บใส่หีบไว้    ที่เหลือใช้  เจ้าหล่อนก็นำมาเคล้า

กับน้ำมันแล้วแบ่งเป็นส่วนเท่าๆกัน   เมื่อวันรุ่งขึ้นจะถึงเวรของเจ้าหล่อน   วิสาขาสั่งให้เตรียมหาเหล้าไว้

ตอนเช้าเจ้าหล่อนให้ส้มสูกลูกไม้  ดอกไม้  กระแจะจันทร์  เครื่องหอม  ตลอดจนเนื้อและเครื่องดื่มแก่คนงาน

พวกเหล่านี้ดีใจเสียนี่กระไรเลยและนึกว่าภรรยาเฒ่าแห่งท่านคหบดีได้เอาใจใส่แก่ตนเป็นครั้งแรกเมื่อนานมาแล้ว

และในระหว่างวันนั้น  ทำงานได้มากกว่าที่เคยทำถึงหนึ่งเท่า


       เมื่อมฤคธรลงมือสำรวจงานในเวลาสายัณห์   และเห็นว่างานที่ทำเสร็จไปนั้นมากกว่าที่เคย   จึงไต่ถามว่า

เพิ่มคนงานขึ้นอีกหรือ   และเมื่อได้รับคำตอบว่ามิได้เป็นเช่นนั้น   มฤคธรจึงถามต่อไปว่า  ไฉนจึงได้งานทวีขึ้นถึงเท่าหนึ่ง

ตอบ     "นาย  เมื่อเพิ่มอาหาร   ก็เพิ่มงาน"

ถาม      "นั่นหมายความว่ากระไร"

ครั้นแล้วมฤคธรก็ได้ทราบความจริงทั้งหมดในกิจการที่วิสาขาได้ทำไปแล่ว

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 11:32




       มฤคธรถามวิสาขา    "ลูกเอย   เจ้าปรุงอาหารด้วยวิธีใดเล่า"

       วิสาขาก็เล่าให้ฟังโดยสิ้นเชิง    ท่านมฤคธรมีความพอใจมาก    จึงขอให้นางเป็นผู้อำนวย

กิจการของบ้านเรือน    และสั่งให้ผู้คนในบ้านฟังการบังคับบัญชา   และกระทำการงานตามที่วิสาขาจะสั่งให้ทำ

ด้วยประการฉะนี้วิสาขาจึงได้เป็นเคหินี  แห่งเคหะนั้น      และเนื่องด้วยนางงามพร้อมทั้งรูปทรง  และมารยาท

คนทั้งหลายก็มีความยินดี

 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 09:56




       ต่อมาวันหนึ่งหงส์ ๒ - ๓ ตัวบินมาจากอุตตรกุรุทวีป   และบินข้ามหลังคาบ้านไป

ในจงอยปากคาบรวงข้าวซึ่งได้งอกงามขึ้นโดยมิต้องไถและหว่าน     หงส์ในกรุงราชคฤห์เห็นเข้าก็พากันร้องขับ   

หงส์ที่บินอยู่อดร้องตอบไม่ได้   ก็ร้องตอบออกมาทำให้รวงข้าวที่คาบมานั้นตกลงบนหลังคาวัง   พระมหากษัตริย์

ได้ทรงแจกจ่ายรวงข้าวเหล่านี้แก่ปวงอำมาตย์   ส่วนมฤคธรนั้นเมื่อกลับมาบ้านก็นำรวงข้าวที่รับพระราชทานให้กับวิสาขา

นางเก็บบรรจุไว้ในหีบ    แล้วภายหลังก็แจกจ่ายแก่ชาวนาผู้ซึ่งพอใจยิ่ง  และเตรียมที่นาไว้ปลูก   เมื่อได้หว่านเมล็ดข้าว

ในกาลอันเหมาะ   วรุณก็โปรยปรายฝนลงมา   ข้าวก็งอกงามดี    ในปีต่อมาก็ได้ข้าวทวีมากขึ้น  และต่อไปก็ยิ่งมากขึ้นทุกที


        เผอิญวันหนึ่ง   ประเสนชิต  กษัตริย์แห่งกรุงโกศลประชวร      คณะแพทยฺต่างก็มาประชุมกัน  ประกอบพระโอสถถวาย

และลงความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า   ถ้าได้ข้าวที่หงส์คาบมานั้นหุงเป็นข้าวต้มให้เสวยแล้ว   พระอาการจะหายสนิท

พระมหาหษัตริย์จึงเรียกประชุมหมู่อำมาตย์   แล้วทรงตรัสถามถึงรวงข้าวที่หงส์คาบมา  และที่พระองค์พระราชทานให้


     บางคนกราบทูล   "ข้าแต่ราชา   ข้าพระเข้าถวายพระไปแล้ว"

บางคนกราบทูล   "ข้าพเจ้าโยนเข้ากองไฟไปแล้ว"

และบางคน   "ข้าพเจ้าแขวนไว้ที่ระเบียง"


       แต่มฤคธรกราบทูลว่า  "ข้าพเจ้าได้ให้แก่วิสาขา   ข้าพระเจ้าจะกลับไปถามว่านางเอาไปทำอะไรไว้"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 10:08



       เมื่อเขามาถามวิสาขา    นางถามว่า  "นายเอย   ใครต้องการจะบริโภคข้าวที่หงส์คาบมานั้นหรือ"

"พระราชาประชวรและแพทย์หลวงได้แนะนำให้เสวยข้าวที่หงส์คาบมา"


       ครั้นแล้ววิสาขาก็จัดแจงบรรจุข้าวที่หงส์คาบมาในขันทอง   แล้วให้คนนำไปถวายพระมหากษัตริย์   

เมื่อเสวยแล้วก็ทรงฟื้นจากโรคที่ประชวร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 10:33




       ในกาลครั้งหนึ่ง   ชาวบ้านนอกนำแม่ม้าและลูกม้าเข้ามาในกรุง 

เมื่อไม่ทราบว่าตัวไหนเป็นแม่  และตัวไหนเป็นลูก     พระมหากษัตริย์จึงมี

รับสั่งให้ปวงอำมาตย์พิจารณาดูอย่างถ้วนถี่   แล้วให้กราบทูลรายงานให้ทราบ

หมู่อำมาตย์ต่างช่วยกันพินิจพิเคราะห์ม้าทั้งสองเป็นเวลาวันหนึ่งเต็ม ๆ

ต่างอ่อนใจ   ผลสุดท้ายก็ไม่ทราบว่าตัวไหนเป็นแม่  ตัวไหนเป็นลูก


       เมื่อมฤคธรกลับบ้านมาในยามเย็น         วิสาขาหมอบอยู่แทบเท้า  และปราศรัยว่า

"ข้าต่นาย   "ไฉนท่านจึงกลับช้านักเล่า"      มฤคธรก็เล่าเรื่องให้ฟังจนหมด

วิสาขาเอ่ยขึ้นว่า    "ข้าแต่ท่านคหบดี   มีอะไรจะต้องใคร่ครวญหนักหนา   หาหญ้ากองเท่า ๆ กัน

มาวางกองให้ม้าทั้งสองกิน     เจ้าลูกม้านั้นจะรีบกินหญ้าของตนให้หมดก่อน   แล้วก็จะมาแย่งแม่ของมันกินต่อไป

ส่วนตัวแม่จะชูหัวเฉยอยู่และไม่กินหญ้าเลย         นี่คือการพิสูจน์ที่แท้จริง"


     มฤคธรได้บอกวิธีนี้แก่อำมาตย์ผู้ลงมือจัดการตามคำชี้แจงทันที   พอรุ่งรางสว่างแสง   ก็นำรายงานขึ้นกราบทูล

"ข้าแต่ราชา   นี่แม่ม้า   และนั่นลูก  พระเจ้าค่ะ"

ทรงถามว่า  ทราบได้อย่างไร   ก็กราบทูลเรื่องดังที่เป็นมาแล้ว

"ไฉนพวกท่านจึงไม่ทราบตั้งแต่เมื่อวาน"

"ราชะ   ข้าพเจ้าจะทราบได้อย่างไร   วิสาขาพึ่งสอนวิธีให้"

พระมหากษัตริย์   "หญิงสาวชาวกรุงจำปาช่างฉลาดจริงหนอ"   

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 16:26



       ต่อมาได้มีชายผู้หนึ่งวางรองเท้าของตนไว้ที่ท่าน้ำ     ขณะเมื่อกำลังอาบน้ำอยู่ชายอีกคนผ่านมา

ทางนั้นฉวยรองเท้าผูกไว้กับศีรษะตน    แล้วก็ลงอาบน้ำเช่นเดียวกัน   เมื่อชายคนแรกอาบเสร็จแล้ว

และขึ้นจากน้ำก็หารองเท้าไม่เจอ

ชายอีกคนหนึ่งพูดขึ้น  "นี่  แกอะไรเพื่อน"

"เกือกของข้า"

"เกือกของแกอยู่ที่ไหน   เมื่อแกมีเกือกก็ควรผูกไว้ที่หัวอย่างข้า   ก่อนจะลงอาบน้ำ"

ได้มีการโต้เสียงกรรมสิทธิ์กันขึ้นระหว่างชายทั้งสอง  และเมื่อไม่เป็นที่ตกลงกันได้   จึงพากันไปเฝ้าพระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์จึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ตรวจคดีอย่างถ่องแท้   และให้คืนรองเท้าให้แก่เจ้าของที่ถูกไป

อำมาตย์ก็ลงมือไต่สวนซักถามชายผู้นั้นที  ชายผู้นี้ที   ต่างคนต่างก็ยืนยันว่าเป็นรองเท้าของตน   พอดีหมดเวลา

อำมาตย์ก็พากันกลับบ้านด้วยความอ่อนเพลีย    และไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความอะไรเลย        วิสาขาถามมฤคธร

มฤคธรก็เล่าให้ฟัง


       นางกล่าวว่า    "ข้าแต่ท่านคหบดี   มีอะไรจะต้องใคร่ครวญหนักหนา       จงพูดกับชายคนหนึ่งว่า "แกเอาไปข้างหนึ่ง"

และพูดกับชายอีกคนหนึ่งว่า "ที่เหลืออีกข้างแกจงเอาไป"        เมื่อฉะนี้แล้วชายที่เป็นเจ้าของแท้จริงจะพูดว่า

"ไฉนมาแยกเกือกของข้าพเจ้าเสียล่ะ"          ส่วนอีกคนที่ไม่ใช่เจ้าของจะพูดว่า   "ได้ดิบได้ดีอะไรกับเกือกเพียงข้างเดียว"

มฤคธรจึงไปบอกอำมาตย์ทั้งหลาย   แลเหตุการ์ณก็ได้ดำเนินมาดังได้แถลงมาเบื้องต้น    พระราชามีรับสั่งว่า

"หญิงชาวกรุงจำปานี่ฉลาดจริงหนอ"


เรื่องราวต่างๆที่วิสาขาได้แสดงความคิดเห็นมีเรื่อง  ท่อนไม้ด้านไหนเป็นต้นด้านไหนเป็นปลาย     การแย่งลูกกันระหว่างเมียหลวงกับเมียน้อย

เมื่อมฤคธรป่วยแต่อาการดีขึ้นวันหนึ่ง  ทรุดวันหนึ่ง    วิสาขาได้ตรวจดูยาที่ทำให้อาการดี   และปิดประตูไม่ให้แพทย์มายุ่ง   พยาบาลพ่อผัว

โดยเว้นจากยาขนานอื่นเสีย   มฤคธรก็หายขาด

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 ต.ค. 11, 16:12


       ประเสนชิต   กษัตริย์แห่งกรุงโกศล   มีเจ้ากรมคชบาลผู้หนึ่ง  นามว่า ศรีวรรธน

ศรีวรรณธนได้ถูกพระมหากบัตริย์กล่าวโทษ

ในวันหนึ่ง   วิสาขาได้ทราบเรื่องนี้จึงกล่าวกับมฤคธรว่า    "ข้าแต่ท่านคหบดี   ศรีวรรธนควร

จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ"

มฤคธร     "ลูกเอย   เจ้าจงคิดหาหนทางเถอะ"


      ดังนั้นวิสาขาจึงกราบทูลพระราชาว่า

"ข้าแต่ราชา   ศรีวรรธนเป็นผู้มีความผิดจริง   ข้าพระเจ้าขอให้ทรงโปรดพระราชทานอภัย"

พระมหากษัตริย์ก็โปรดพระราชทานอภัยให้

วิสาขา    "ข้าแต่ราชา    เมื่อพระองค์ทรงพระราชทานอภัยแล้ว   ขอให้ทรงแต่งตั้งเขาไว้ในตำแหน่งเดิมด้วย  พระพุทธเจ้าค่ะ"


       พระมหากษัตริย์ก็ทรงปฎิบัติตาม     ศรีวรรธนรู้สึกว่าตนเป็นหนี้วิสาขาไม่น้อย   และตั้งใจจะทดแทนบุญคุณอันนี้


       ต่อมามฤคธรได้ป่วยเป็นโรคในที่ลับ   และรู้สึกละอายใจที่จะยอมให้วิสาขามาพยาบาลตน

นางคิดในใจว่า  ไฉนหนอคุณพ่อจึงต้องละอาย   ลูกสาวจะพยาบาลพ่อบ้างไม่ได้หรือ         นางคิดว่าเมื่อมฤคธรไม่ยอมให้นางพยาบาล  

เขาก็ต้องหาภริยาเท่านั้น           จึงไปขอลูกสาวของศรีวรรธนมาให้   จัดงานต้อนรับอย่างเอิกเริก  และภรรยาก็ไดิทำหน้าที่พยาบาล

สามีของตน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง