เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5122 กรมทหารปืนใหญ่แม่นปืน และ เรื่องที่น่าสนใจอื่น ๆ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 24 ก.ย. 11, 14:33



       มีคนคุยกันเรื่องบ้านบาตร   เกิดอยากทราบว่ามีใครบ้างที่อยุ่แถวนั้นค่ะ  เลยเปิดหนังสือ

สารบัญชีส่วนที่ ๑   ส่วนราชการ      อยากทราบอีกว่าข้าราชการที่อาศัยอยู่ในบ้านราชทูต

มีจำนวนมากไหม      ดูแว่บ ๆ เห็นมีหลายคนที่อาศัยอยู่ริมคลองบ้านเจ้าคุณภาสกรสวงศ์

แต่ในบ้านมีสองคนเท่านั้น   ตอนนั้นท่านว่ากรมภาษีเบ็ดเตล็ด   มีคนจีนขึ้นหลายสิบคน


       เปิดผ่านหน้า กรมทหารปืนใหญ่  เห็นชื่อคริสเตียนเป็นส่วนใหญ่  จึงนำมาฝาก

เผื่อท่านที่สนใจจะได้กระทำยุทธนาการให้เป็นที่เพลิดเพลินต่อไป


   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 15:25



         ท้ายสุดแต่มิใช่สุดท้ายค่ะ  เห็นเรื่องช่างสนะ  ซึ่งได้อ่านมาเวลารับแขกเมือง  จะมีคำสั่งให้ส่งฟูก  หมอน

หมอนข้าง ไปส่ง   จึงมีความเข้าใจว่าเป็นหน่วยงานเย็บที่นอน   พจนานุกรมก็บอกว่า

สนะ  น.เสื้อ;   เครื่องสอบสวน;  หนัง.
ก.  เย็บ,   ชุน,   ปัก



       ในสารบัญชีของกรมไปรษณีย์   หน้า ๑๘๕      ลงไว้ว่า    ช่างขึ้นพระแสงในซ้ายช่างสนะไทย - จีน


ช่างขึ้นพระแสงในซ้ายช่างสนะไทย

หลวงวิจิตรพัตราภรณ์ (เล็ก)   เจ้ากรม
บ้านในคลองวัดราชสิทิ์ (พลับ)

ขุนสุนทรศรีพลกิจ (ขำ)  ปลัดกรม
บ้านเคียงสี่แยกถนนเจริยกรุง



ช่างขึ้นพระแสงในซ้ายช่างสนะจีน

ขุนศรีพลกิจปรีชา (เล็ก  แซ่ลอ)   เจ้ากรม
บ้านถนนเจริญกรุง   ปากตรอกเจ๊สัวเนียม

ขุนรจนาสิทธิ์พลกิจ (สุก)    เจ้ากรม
บ้านหน้าวังกรมสมเด็จพระ  ถนนท่าช้างวังหลวง

หมื่นชำนิสุดการ  (ซือ  แซ่ฉั่ว)    ปลัดกรม
บ้านถนนบำรุงเมือง  ปากตรอกวัดโคก

หมื่นชำนาญสุดกิจ  ( ซาม  แซ่เจ๋ง)   ปลัดกรม
บ้านถนนเจริญกรุง

หมื่นโสภณโกสัยกิจ  (ซุ่น  แซ่จือ)    ปลัดกรม
บ้านถนนปากตรอกเต๊า

หมื่นวิจิตรโกสัย  (เห่ง  แซ่อึง)    ปลัดกรม
บ้านประตูยอด

   
     คงเป็นหน่วยงานเล็ก  ที่ฝากไว้กับช่างสนะ
 อ่านต่อไปพบว่า   ช่างแก้นาฬิกา  ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่  ขึ้นอยู่กับ พระแสงหอกดาบ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 16:51



หนังสือเล่มนี้  ออกมาในปี ๒๕๔๑

       ประวัติที่ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒน์  เกษมศรี   ประธานบริษัทสำนักพิมพ์ต้นฉบับ  เขียน คำนำ       

      " พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง

ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์  กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช

ซึ่งในขณะนั้นเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลข  จัดพิมพ์ขึ้นจากบัญขีบ้านเลขที่ในเขตกรุงเทพมหานคร

จัดพิมพ์เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๒๖  ณ โรงพิมพ์พระเทพพลู"


       รายละเอียดเรื่องการจัดพิมพ์นั้นยังพอนำมาเล่าได้ต่อไป    เพราะดิฉันมารู้จักหนังสือเล่มนี้ต่อภายหลัง

มีความนิยมและนับถือ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ  ที่ทำประโยชน์ให้กับผู้คนนับไม่ถ้วน



       กรมทหารแม่นปืนใหญ่หน้า

พระยาวิเศษสงครามรามภักดี     จางวาง
โยฮัน  เฝเรยรา   (นุด)
บ้านวัดสมอราย  สามเสน


หลวงศักดาวุธ    เจ้ากรม
อังแซงมอรีเบยรอ    (แจ่ม)
บ้านวัดคลองราชาธิวาส


หลวงรุดสรเดช    เจ้ากรม
ยอแซ     (นุด)
บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออก เหนือวัดราชาธิวาซ(สมอราย)


หลวงทรงสรวุธ    ปลัดจางวาง
แฟรง  สิทโก  เฝเรยรา    (จิก)
บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออก  เหนือวัดราชาธิราช(สมอราย)


ขุนชนะทุกทิศ    ปลัดกรม
อันเร   ฟองสกา    (นก)
บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออก  เคียงวัดราชาธิวาช


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 16:51

ขยายความเรื่องช่างสนะไทยและช่างสนะจีน

หน้าต่อไป
มีชื่อแปลกๆมาฝากอีกแล้ว  กรมสนะไทย  กับกรมสนะจีน  เคยได้ยินแต่ เสนาสนะ แปลว่า ที่อยู่
กรมสนะในวังหน้าคงจะทำหน้าที่เกี่ยวกับผลิตหรือจัดหาผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่ม      ส่วนภูษามาลาคือจัดเสื้อผ้าของใช้  สำหรับเจ้านาย    นี่เดาเอาล้วนๆจากราชทินนามค่ะ

สนะ แปลว่า "ช่างเย็บ ชุน ปัก"

ในพระไอยการสมัยอยุธยาไม่มีชื่อกรมนี้ในช่างสิบหมู่
(ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างรัก ช่างบุ ช่างปูน)

แต่มีปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 เรื่องทรงตั้งและแปลงนามขุนนาง
(มีทั้งช่างไทยช่างจีนเหมือนทางวังหน้า)
ช่างสนะไทย หลวงจิตราภรณ์ เจ้ากรม    แปลงว่า หลวงวิจิตรพัสตราภรณ์
              ขุนบวรโกไสย ปลัด        แปลงว่า ขุนสุนทรสิพพนะกิจ
ช่างสนะจีน   ขุนสิทธิภูษา เจ้ากรม       แปลงว่า ขุนสิพพนกิจปรีชา
              ขุนรัตนภูสิต เจ้ากรม        แปลงว่า ขุนรจนาสิพพกิจ
              หมืนพิมลภูษา ปลัด        แปลงว่า หมื่นชำนิสุตรการ
              หมื่นชำนาญโกไสย ปลัด   แปลงว่า หมื่นชำนาญสุตรกิจ
              หมื่นศรีพัฒนา ปลัด         แปลงว่า หมื่นโสภณโกไสยกิจ
              หมื่นภูษาวิจิตร              แปลงว่า หมื่นวิจิตรโกไสยการ

กรมช่างสนะนี้ น่าจะมีขึ้นก่อนรัชกาลที่ 4 เพราะหากตั้งในรัชกาลนั้นแล้ว จะต้องเขียนไว้ว่า "ทรงใหม่" เช่น
    กรมโรงพิมพ์ ทรงใหม่
    กรมเกณฑ์พระราชกุศล ทรงใหม่
หรือถ้าเป็นข้าราชการตั้งขึ้นใหม่ในรัชกาลนั้น ก็ใช้ "ทรงใหม่" เหมือนกัน เช่น
    กรมอาลักษณ์ ทรงใหม่ นายราชาณัตยานุหาร พนักงานหนังสืออังกฤษ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 19:34

      กรมทหารแม่นปืนใหญ่หน้า

พระยาวิเศษสงครามรามภักดี     จางวาง
โยฮัน  เฝเรยรา   (นุด)
บ้านวัดสมอราย  สามเสน


หลวงศักดาวุธ    เจ้ากรม
อังแซงมอรีเบยรอ    (แจ่ม)
บ้านวัดคลองราชาธิวาส


หลวงรุดสรเดช    เจ้ากรม
ยอแซ     (นุด)
บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออก เหนือวัดราชาธิวาซ(สมอราย)


หลวงทรงสรวุธ    ปลัดจางวาง
แฟรง  สิทโก  เฝเรยรา    (จิก)
บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออก  เหนือวัดราชาธิราช(สมอราย)


ขุนชนะทุกทิศ    ปลัดกรม
อันเร   ฟองสกา    (นก)
บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออก  เคียงวัดราชาธิวาช

กฎหมายพระอัยการนาพลเรือนและนาทหารหัวเมือง  ที่ตราขึ้นสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และได้รับการเพิ่มเติมในอีกหลายสมัยต่อมานั้น กลุ่มทหารต่างชาติ เช่น โปรตุเกส เป็นเพียงหนึ่งกลุ่มที่มีบทบาทในระบบราชการอยุธยาเท่านั้น  เพราะเป็นการควบคุมกองกำลังมิให้กระจัดกระจาย ดังรายละเอียด คือ
 
กรมเกนหัดอย่างฝารัง
         พระพิพิทเดชะ เจ้ากรมเกนหัดอย่างฝารัง                        นา ๘๐๐
         หลวงพิพิทณรงค์ปหลัดเรือ ซ้าย                                นา  ๖๐๐
         หลวงทรงวิไชยปหลัดเรือ ขวา                                  นา  ๖๐๐
         หลวงรามรณภาพปหลัดกรมพนักงานบก                          นา  ๖๐๐
         หมื่นในกรม                                                      นาคนละ ๒๐๐
         พันหัว                                                            นาคละ ๑๐๐
         พันท้าย                                                           นาคละ ๑๐๐
         หมื่นณราพลสิทธสมุหบาญชี                                     นาคละ ๓๐๐
         หมื่นฤทธพลไชยสมุหบาญชี                                      นาคละ ๓๐๐

กรมฝรั่งแม่นปืน
         ขุนกระละมาพิจิตรเจ้ากรมขวา                                    นา ๔๐๐
        หมื่นแผลงผลาญปหลัดกรม                                        นา ๒๐๐
         ขุนฤทธสำแดงเจ้ากรมซ้าย                                        นา ๔๐๐
         หมื่นแผลงผลาญปหลัดกรม                                       นา ๒๐๐
         หลวงศักดาวุธเจ้ากรมขวา                                        นา ๔๐๐
         ขุนชนะทุกทิศปหลัดกรม                                         นา ๒๐๐
         หลวงรุทสรเดชเจ้ากรมซ้าย                                      นา ๔๐๐
         ขันฤทธราวีปหลัดกรม                                           นา ๒๐๐
         นายหมวด ๑๒ คน                                            นาคนละ ๕๐
         เลว ๑๕๐ คน                                                  นาคนละ ๓๐

จาก ค่ายและคน ชุมชนโปรตุเกสในอยุธยา โดย ปรีดี พิศภูมิวิถี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:33



เข้าใจว่าคุณหลวงเล็กได้อธิบายไว้ตามสมควรในบริติช แฟตเตอรี่ ค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:36

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับชาวโปรตุเกสในประเทศไทย

เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนชาวโปรตุเกสในประเทศไทยมีคนเขียนไว้น้อย  หายาก  
โชคดีที่มีคนค้นคว้าเรื่องนี้ไว้  จึงจะขอนำมาถ่ายทอดต่อดังนี้

(เก็บความจากบทความเรื่อง  "ภาษาของผู้สืบเชื้อสายโปรตุเกสในประเทศไทย" ของ รองศาสตราจารย์กีรติ  บุญเจือ  (ตำแหน่งวิชาการในขณะนั้น)  พิมพ์ในหนังสือ วัฒนธรรมพื้นบ้าน : ภาษา   เป็นหนังสือในชุดไทยศึกษา  เล่มที่ ๓ )


เมื่อโคลัมบัสพบทวีปอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. ๑๔๙๒  (พ.ศ. ๒๐๓๕)  พระเจ้ากรุงดปรตุเกสจึงได้ทรงลงทุนสนับสนุนให้นักเดินเรือชาวโปรตุเกสออกเดินเรือแสวงหาดินแดนใหม่  เพื่อหาตลาดสินค้าและหาดินแดนยึดครองแข่งกับสเปนบ้าง  วาสโกดากามา  เดินทางมาถึงอินเดีย  เมื่อ ค.ศ. ๑๔๙๘ (พ.ศ.๒๐๔๑)  ต่อมา  อัลบุเคร์เค - Albuqueque  เข้ายึดครองมะละกา ได้สำเร็จเมื่อ ปี ค.ศ. ๑๕๑๑ (พ.ศ. ๒๐๕๔)  ในปีเดียวกันนี้  ก็ได้ส่งทูตในนามรัฐบาลโปรตุเกสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทำการค้าขายกับสยามในสมัยรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒   ครั้งนั้นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตและทรงต้องรับทูตโปรตุเกสเป็นอย่างดี  นับแต่นั้นก็มีพ่อค้าเข้ามาค้าขายในสยาม  และบ้างก็เข้ามาตั้งหลักแหล่งเกิดลุกหลานเป้นชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสสืบมา


พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในสยามครั้งนั้นไม่มีบันทึกว่ามีใครชื่ออะไรบ้าง  และมีบทบาทอย่างไรในสมัยนั้น   ชาวโปรดเกสเหล่านั้นนับถือศาสนาคริสต์คาทอลิก  เมื่อเข้ามาค้าขายตั้งหลักแหล่งมากขึ้น  ย่อมต้องมีนักบวชเข้ามาประกอบพิธีกรรมตามศาสนาคริสต์  บาทหลวงชาวโปรตุเกสที่ปรากฏนามในบันทึกว่าได้เดินทางเข้ามาประกอบพิกรรมให้ชาวโปรตุเกสในกรุงศรีฯ  ในปี ค.ศ. ๑๕๕๕  (พ.ศ. ๒๐๙๘)ตรงกับสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ ว่า บาทหลวง Jerome  of  the Cross กับบาทหลวง  Sebastian  of  Conto  แห่งคณะโดมินิกันเดินทางจากมะละกาตามคำสั่งผู้สำเร็จราชการโปรตุเกส   ในระยะหลังจากนั้น   ชาวโปรตุเกสและชาวโปรตุเกสที่เกิดในสยาม  ก็ได้ใช้ภาษาไทยแทรกปะปนกับภาษาโปรตุเกสมากขึ้นโดยลำดับ  มีหลักฐานในสมัยต่อมาว่า  หนังสือภาษาไทยคริสต์ที่สังฆราชลาโนเขียนขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีศัพท์ สำนวนโปรตุเกสปนอยู่มาก

ข้อมูลจากชาวบ้านมิตตคาม  เล่าว่า

ราวสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์  ชาวโปรตุเกสกลุ่มหนึ่งราว ๖๐-๗๐ ครอบครัวได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้รับชาวฝรั่งโปรตุเกสเหล่านี้รับราชการเป็นทหารอาสาสมัครโปรตุเกส  และพระราชทานที่ดินตำบลสวนพลู อันเป็นบริเวณเหนือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน  เป็นที่ตั้งภูมิลำเนา  หน้าที่ของทหารอาสาเหล่านี้  คือ ป้องกันข้าศึกที่อาจจะเข้ามาทางทะเลขึ้นมาตามลำน้ำเจ้าพระยา  ชาวโปรตุเกสเหล่านี้นอกจากมีเป็นทหารแล้ว   ยังมีความรู้ด้านการก่อสร้าง  การตีทอง  และการประมงด้วย   เมื่อมีชุมชนชาวโปรตุเกส จากนั้นก็มีบาทหลวงคาทอลิกชาวโปรตุเกสเข้ามาสอนศาสนาด้วย  

นามสกุลชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในสยามครั้งนั้นพอสืบได้ดังนี้  

Libeiro   Fonsca   De Jesu   Diaz   Da Cruz   De Horta    De  Paiva    Frereiro    Pezro   Rodiguez  เป็นต้น

ทั้งนี้ รศ.กีรติ  ท่านได้ไปตรวจดูที่ป้ายหลุมศพชาวโปรตุเกสและได้สอบถามจากคนเก่าแก่เชื้อสายโปรตุเกสที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนปใช้นามสกุลไทยหมดแล้ว

ต่อมา   ชาวโปรตุเกสกลุ่มนี้เกิดขาดบาทหลวงโปรตุเกสเข้ามาดูแลด้านศาสนาในชุมชน  ก็ได้บาทหลวงชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นมิชชันนารีเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในสยาม ชื่อ ลาโน (Laneau) เข้ามาดูแลกิจการศาสนาในชุมชนชาวโปรตุเกสแทน  ในครั้งนั้นบาทหลวงลาโนได้ทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสมเด็จพระนารายณ์ขอที่ดินสร้างโบสถ์คริสต์ในบริเวณค่ายทหารโปรตุเกสนั้น  ทั้งนี้แต่เดิมที่ยังไม่มีการสร้างโบสถ์คริสต์   ชาวชุมชนโปรตุเกสจะไปประชุมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่บ้านหลังใหญ่ๆ หลังใดหลังหนึ่งในหมู่บ้าน  โดยเฉพาะบ้านหัวหน้าค่าย  และบาทหลวงก็คงอาศัยอยู่ที่บ้านหัวหน้าค่ายนั่นเอง


โบสถ์ที่แรกสร้างแต่ครั้งนั้นคงเป็นโบสถ์ไม้จึงไม่เหลือซากมาให้เห็นในปัจจุบัน   โบสถ์นี้ได้รับนามขนานว่า  "โบสถ์แม่พระปฏิสนธิ์นิรมล" และยังเป็นนามโบสถ์นี้ในหมู่บ้านมิตตคามอยู่จนปัจจุบัน

มาถึงตรงนี้ อยากขอให้ท่านเข้ามาอ่านช่วยหารูปโบสถ์แม่พระปฏิสนธิ์นิรมลมาลงให้สักหน่อย ยิ้ม

ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี   พระองค์ได้ทรงรับเอาชาวบ้านมิตตคามเชื้อสายโปรตุเกสเข้ารับราชการเป็นทหารรักษาพระองค์    และในคราวที่เกิดกบฏพระยาสรรค์เข้ายึดพระราชวัง    พวกทหารเชื้อสายโปรตุเกสก็ได้สู้รบกับพวกกบฏอย่างเข้มแข็ง ทำให้รักษาพระราชวังได้อย่างปลอดภัย  ระหว่างที่รอสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จฯ กลับเข้ามาพระนคร  เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ทหารเชื้อสายโปรตุเกสเหล่านั้นก็ได้รับราชการในหน้าที่ทหารฝรั่งอาสาสมัคร


รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระปบมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศืจักรี  ในปี ๒๓๒๕    ในกาลนั้น  เจ้าฟ้าทะละหะ (มู) เป็นเจ้าปกครองเขมร  มีใจฝักใฝ่ข้างญวน   รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราช  (แบน)  ยกทัพไปปราบปรามจับเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) มาสำเร็จโทษได้    จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยายมราช (แบน) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเขมร   โยรัชกาลที่ ๑ได้ทรงชุบเลี้ยงโอรสธิดาของเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ไว้เป็นเจ้าเมืองเขมรสืบต่อไป    

พระยายมราช (แบน) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเขมรไม่นาน  พวกแขกจามก็ยกทัพมาตีเขมร  พระยายมราชเห็นท่าจะสู้ต้านไว้ไม่ไหวจึงได้ล่าทัพเข้ามาเมืองบางกอก  โดยพานักองเอง (ผู้เป็นรัชทายาทเมืองเขมร) เข้ามาพร้อมทั้งเจ้านายและขุนนางเขมรจำนวนมาก  ซึ่งในจำนวนนั้น  มีชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกด้วยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารรัชกาลที่ ๑  ด้วย

เมื่อเข้ามาถึงพระนครแล้ว  รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ชุบย้อมนักองเองเป็นอย่างพระราชบุตรบุญธรรม   ส่วนนักองอีกับนักองเภา  สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงขอรับพระราชทานไปทรงชุบย้อมในฐานะสนม   ส่วนข้าราชการเขมรโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่ตำบลเดียวกับชุมชนชาวเชื้อสายโปรตุเกส    ด้วยทรงเห็นว่าชาวเขมรเหล่านี้นับถือคริสต์อย่างเดียวกับพวกโปรตุเกศคงจะร่วมสบสังวาสในทางศาสนาได้    จากนั้นมา    หมู่บ้านชาวโปรตุเกสแห่งนี้ก็ได้ชื่อว่า หมู่บ้านเขมรติดปากมาจนบัดนี้  

อนึ่งชาวบ้านมิตตคามเองได้เล่าไว้ว่า  มีชาวโปรตุเกศที่เป็นทหารอาสาสมัครในเมืองเขมรยกครอบครัวเข้ามาอยู่ร่วมกับชาวเขมรด้วย  จึงทำให้รัชกาลที่ ๑   มีรับสั่งให้ชาวเขมรเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับชาวโปรตุเกส

กลับเข้าสู่เรื่องชาวโปรตุเกสในสยามกันต่อครับ

เมื่อเหตุการณ์ทางเมืองเขมรสงบราบคาบ  ชาวเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารโดยอพยพเข้ามาพร้อมพระยายมราช (แบน)  ตั้งแต่ปี ๒๓๒๕  ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายกลับไปเมืองเขมรไปโดยส่วนมาก  รัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ขอ   ครั้งนั้นคงมีแต่ชาวโปรตุเกสกับชาวเขมรที่แต่งงานกับชาวโปรตุเกสในค่ายทหารคงอาศัยอยู่ในเมืองบางกอกต่อไป

มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่เป็นเกียรติประวัติของชาวโปรตุเกสในสยาม

รัชกาลที่ ๑  โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมิตตคามรับราชการทหารเป็นเหล่าทหารอาสาสมัครในกรมท่าช้าง  เรียกว่า  อาสาสมัครโปรตุเกส   เมื่อมีการสั่งปืนใหญ่ชนิดใหม่เข้ามาใช้ในราชการสงครามครั้งนั้น  รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้มีการทดลองยิงปืนใหญ่ดังกล่าว ถวายเพื่อทอดพระเนตร  ณ บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา   ชาวมิตตคามเล่าสืบต่อกันมาว่า   รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่เอาผ้าขาวผูกปากตุ่มใบเขื่อง   แล้วปล่อยลอยอยู่กลางลำน้ำ    จากนั้นมีรับสั่งให้ทหารอาสาแขกยิงปืนลองฝีมือก่อน  ๒  นัด  กระสุนพลาดเป้าทั้ง ๒ นัด    แล้วรับสั่งให้ทหารอาสาจีนลองยิงดูบ้าง  ปรากฏว่า  ทหารอาสาจีนยิงถูก ๑ นัด พลาด ๑ นัด     ที่สุดมีรับสั่งให้ทหารอาสาโปรตุเกสลองยิงดูบ้าง  ปรากฏว่า กระสุนตกตรงเป้าหมาย ทั้ง ๒ นัด  แต่รัชกาลที่ ๑ ทรงแคลงพระทัยว่าอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญ   จึงมีรับสั่งให้ทหารอาสาโปรตุเกสลองยิงปืนอีกนัดหนึ่ง  ผลประกฏกระสุนตกตรงเป้าหมายอีก   ว่ากันว่าผู้ที่ยิงปืนถูกเป้าหมายครั้งนั้น  เป็นชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส แห่งบ้านมิตตคาม  ชื่อ นายแก้ว  สกุล  ลีเบยโร  ( Libeiro )  จึงมีรับสั่งให้ตามตัวนายแก้วมาเฝ้าฯ  รับสั่งถามความดู  จึงได้ทราบว่า  นายแก้วนี้ไม่ได้ยิงปืนไปตามบุญตามกรรมแต่ได้คำนวณระยะยิงตามสูตรที่ได้ร่ำเรียนสั่งสอนสืบทอดกันมาในหมู่ชาวโปรตุเกส    เมื่อได้ทรงทราบเช่นนี้จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเหล่าทหารอาสาสมัตรโปรตุเกสขึ้นเป็นกองทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่หน้า  และโปรดเกล็ฯ ตั้งนายแก้ว  ลีเบยโร  เป็นที่จางวางเจ้ากรมทหารฝั่งแม่นปืนใหญ่หน้า    มีโรงเก็บปืนใหญ่อยู่ที่บริเวณวังสราญรมย์ในปัจจุบัน    มีหน้าที่ควบคุมเรือพระที่นั่งในกระบวนเสด็จฯ ทางชลมารคทุกครั้ง   กับรักษาพระบรมมหาราชวังในระหว่างที่ในหลวงเสด็จฯ ไปประพาสนอกพระนครด้วย


นอกจากนี้ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส  ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินคดี  ลงโทษผู้กระทำผิดถึงโทษโบย จำ กักขัง และจองจำ   นายแก้ว  ลีเบยโร    ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยซื่อสัตย์สุจริตและกล้าหาญ  จึงได้เลื่อนเป็นที่พระยาวิเศษสงครามรามภักดี   และได้เป็นต้นตระกูลของสกุล  "วิเศษรัตน์"  และ  "วงศ์ภักดี"  และได้มีลูกหลานเหลนรับราชการสืบทอดราชทินนามพระยาวิเศษสงครามรามภักดี นี้ต่อมาตามลำดับดังนี้ คือ  พระยาวิเศษสงครามรามภักดี   (แบน)  พระยาวิเศษสงครามรามภักดี   (นอน)  และพระยาวิเศษสงครามรามภักดี   (แก้ว) (ชั้นเหลน)

(ยัง   ยังมีต่ออีกครับ) ตกใจ

นายแก้ว  ซึ่งเป็นเหลนของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี   (แก้ว) คนแรก   ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นที่พระยาวิเศษสงครามรามภักดี ต่อมา  ในสมัยรัชกาลที่ ๒   และรับราชการต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓  



ครั้นมาในสมัยรัชกาลที่ ๓   สยามมีเหตุต้องยกทัพไปรบกับญวนเพื่อชิงเมืองเขมร   พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) คนที่ ๒ ได้รับมอบหมายให้เคลื่อนกองทหารฝรั่งแม่นปืนไปร่วมรบกับทัพใหญ่ที่มีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นแม่ทัพด้วย   ในการสงครามครั้งนั้น   ยังมีกองทหารอาสาเชื้อสายโปรตุเกสอีกกองหนึ่ง  ซึ่งมีพระยาณรงค์ฤทธิโกษา  (ไม่ทราบนามเดิม)  ซึ่งเป็นคนเชื้อสายโปรตุเกศเช่นกัน เป็นผู้คุมกองทหารนั้นไปร่วมรบกับญวนด้วย   เข้าใจว่ากองทหารที่มีพระยาณรงค์ฤทธิโกษาคุมไปนี้  คงเป็นทหารเชื้อสายโปรตุเกสจากบ้านกุฎีจีน  ซึ่งได้แยกออกจากบ้านมิตตคามไปตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่นั่นเอง


ในระหว่างที่กองทหารอาสาโปรตุเกสทั้งของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) และพระยาณรงค์ฤทธิโกษา  รบติดพันอยู่กับทัพญวน  ณ บริเวณปากคลององเจืองอยู่นั้น   มีชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก ที่หนีมาหลบซ่อนตัวอาศัยอยู่ในป่าในเขตพื้นที่การยึดครองของกองทัพสยาม   ทั้งนี้เป็นเพราะพระเจ้ามิ่งหมางกว่างเด๊  ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงเวียดนามในครั้งนั้นได้ทรงมีประกาศห้ามชาวญวนนับถือศาสนาคริสต์  และทรงวางบทลงโทษผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ถึงขั้นประหารชีวิต    ว่ากันว่าพระองค์ได้มีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จับชาวญวนคริสต์จำนวนหนึ่งไปประหารชีวิตเป็นตัวอย่างข่มขวัญแล้วด้วย   บรรดาชาวญวนที่ไม่ยอมละทิ้งการนับถือศาสนาคริสต์จึงหนีมาหลบซ่อนตัวตัวอยู่ตามป่าเขา  มีบริเวณคลององเจือง  เมืองโจดก เป็นต้น  


ชาวญวนคริสต์เหล่านี้ได้ทราบว่า  ที่เมืองสยามนั้น  พระเจ้าแผ่นดินมีพระมหากรุณาธิคุณ  โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรสามารถนับถือศาสนาได้อย่างเสรี   ชาวญวนคริสต์ส่วนหนึ่งจึงได้ร้องขออพยพย้ายครอบครัวติดตามกองทัพสยามเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าแผ่นดินสยามด้วย  ตามคำบอกเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา  บ้างว่ามีชาวญวนคริสต์อพยพเข้ามาราว  ๕๐๐ คนเศษ   บ้างก็ว่าอพยพเข้ามาราว  ๗๐๐  คนเศษ    การที่ชาวญวนคริสต์ได้อพยพเข้ามายังเมืองสยามครั้งนี้  นัยว่าบรรดาทหารเชื้อสายโปรตุเกสที่ไปร่วมรบในกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา  คงจะได้พูดจาชักชวนชาวญวนคริสต์เหล่านั้นให้เข้ามาอยู่เมืองสยาม  ด้วยเป็นศาสนิกศาสนาเดียวกัน   โดยเบื้องต้นคงเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายทหารไทยก่อน  พร้อมกันนั้นก็ได้ให้รวบรวมชายฉกรรจ์อาสาสมัครชาวญวนคริสต์ที่เข้ามาในค่ายนั้น  มาฝึกการรบเพื่อป้องกันตัวและครอบครัว   เมื่อทัพสยามยกกลับ  บรรดาอาสาสมัครเหล่านี้ก็ได้ขออพยพย้ายครอบครัวของตนเข้ามาเมืองสยามด้วย   ด้วยเกรงว่าหากยังอยู่ที่เมืองญวนคงจะไม่พ้นต้องถูกจับตัวถูกประหารชีวิต


เมื่อกองทัพกลับเข้ามาถึงพระนคร   เจ้าพระยาพระคลังได้นำเจ้าพระยาบดินทรเดชา  พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)  พระยาณรงค์ฤทธิโกษา  และขุนนางทหารชั้นผูใหย๋ที่ไปราชการทัพครั้งนั้นเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานราชการสงคราม  และคงจะได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชดำริเรื่องชาวญวนคริสต์ที่อพยพตามกองทัพสยามเข้ามาด้วย    

ครั้งนั้นพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตรับผิดชอบดูแลบรรดาชาวญวนคริสต์ที่อพยพเข้ามานั้น   โดยได้พาพวกญวนคริสต์ไปตั้งค่ายที่บริเวณวัดส้มเกลี้ยง  อันอยู่ติดกับค่ายโปรตุเกสด้านเหนือ     พร้อมกันนั้นพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) ก็ได้คัดเลือกชายฉกรรจ์ชาวญวนคริสต์รวมตัวกันตั้งเป็นกองทหารอาสาสมัคร  และให้สักท้องแขนว่า  "ญวนอาสาสมัคร"   ทั้งให้ตั้งนายกองนายหมวดดูแลปกครองกันเอง   โดยขึ้นตรงต่อพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)   (แสดงว่า ในการทำสงครามกับญวนนั้น   ทหารอาสาสมัครญวนเหล่านี้คงจะอยู่ในการดูแลของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) อยู่ก่อนแล้ว)  


ต่อมา  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีพระราชดำริว่า  พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)  มีหน้าที่รับผิดชอบมาก  ทั้งฝ่ายกองทหารฝรั่งแม่นปืน  และฝ่ายทหารอาสาสมัครญวนใหม่ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันนั้น   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฝ่ายทหารอาสาสมัครญวนขึ้นเป็นกองทหารแม่นปืนใหญ่ชาวญวนเป็นกองขึ้นใหม่ต่างหาก   และมีรับสั่งให้ตั้งหัวหน้าชาวญวนมีอำนาจบังคับบัญชาการกองทหารนั้น  เป็นที่พระยาบรรลือสิงหนาท   จางวางเจ้ากรมทหารแม่นปืนใหญ่หลัง   กับมีอำนาจดูแลปกครองชาวญวนอพยพทั้งหมด

จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔    กรมทหารแม่นปืนใหญ่หลังจึงได้ย้ายไปทำหน้าที่ทหารรักษาพระองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเปลี่ยนชื่อเป็นกองทหารปืนใหญ่ญวนหน้า  ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วังหน้า


ส่วนกองทหารในการบังคับบัญชาของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี   (แก้ว)  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่วังหลวง    

 ยิ้มเท่ห์

นับตั้งแต่นั้นมา  ชาวบ้านมิตตคามก็แบ่งออกเป็น  ๒  กลุ่ม   ชาวบ้านมิตตคามที่สืบเชื้อสายชาวโปรตุเกสต่อมาหลายชั่วคน   ได้ใช้ภาษาไทยเป็นพื้น  ส่วนภาษาโปรตุเกสนั้นหาคนพูดไม่ได้แล้ว   ภาษาเขมรที่เคยใช้พูดเมื่อมีชาวเขมรอพยพเข้ามาก็เหลือคนรู้และพูดได้ไม่มากนัก   อย่างไรก็ตาม   ภาษาไทยก็ยังใช้ในสวดมนต์การประกอบพิธีกรรมในโบสถ์   แต่รูปแบบพิธียังรักษาตามธรรมเนียมชาวโปรตุเกสดั้งเดิมไว้ได้โดยมาก   มีพิธีแห่แหนพิธีถอดพระในวันศุกร์ใหญ่  (วันที่ระลึกวันมรณกรรมของพระเยซู)  และการให้ศีลให้พรกันเมื่อพบหน้ายังใช้ภาษาโปรตุเกส  แต่ออกเสียงเพี้ยนไปและไม่มีใครเข้าใจความหมายแล้ว


พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) คนที่ ๒ ได้บริจาคทรัพย์สร้างโบสถ์ในบ้านมิตตคามใน  ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่พักศพก่อนนำไปฝังในสุสาน  ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดน้อย   พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๓ นั้น   ต่อมา  รัชกาลที่ ๓ ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายจัน  ซึ่งเป็นน้องชายพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)  เป็นที่พระยาวิเศษสงครามรามภักดี


พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จัน)  มีประวัติว่าเกี่ยวข้องกับการต้อนรับทูตอเมริกัน  เมื่อ พ.ศ.
๒๓๙๓  (ดูรายละเอียดในประชุมพงศาวดารภาคที่  ๖๒ ) โดยมีความสังเขปว่า  วันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปี ๒๓๙๓  ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จัน) จางวางทหารแม่นปืนใหญ่  หลวงวุฒิสรเดช  เจ้ากรมทหารปืนใหญ่   และหลวงฤทธิสำแดง  เจ้ากรมทหารแม่นปืน  ไปรับทูตขึ้นเรือนรับรอง  แล้วมีรับสั่งให้พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จัน)ฝรั่งไปเบิกเงินเจ้าภาษีกรมท่าพระคลังสินค้า  จัดหาพวกครัวฝรั่งมาประจำทำกับข้าวฝรั่งเลี้ยงทูตจนกว่าทูตจะกลับ


พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จัน)  ถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔    รัชกาลที่  ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระเพลิงแผลงผลาญ  บุตรของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จัน)  รักษาราชการแทน   แต่ยังไม่ทันที่ได้โปรดเกล้าเลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาวิเศษสงครามรามภักดี ก็ด่วนถึงแก่กรรมไปเสียก่อน   ส่วนทายาทของพระเพลิงแผลงผลาญ  ขณะนั้นยังเล็กนัก   รัชกาลที่ ๔  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายเกิด  มหาดเล็กดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวิเศษสงครามรามภักดี   ว่ากันว่านายเกิด  มหาดเล็กคนนี้ต่อมาได้สมรสกับหญิงในบ้านมิตตคามคนหนึ่ง  และได้สมัครใจเข้ารีตนับถือคริสต์ด้วย


อนึ่งนายเกิด  มหาดเล็ก  ผู้นี้ มีเกร็ดประวัติว่า  ในสมัยที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎยังประทับอยู่  ณ  วัดราชาธิวาส   ได้โปรดให้นายเกิด  มหาดเล็ก  คนนี้ไปเชิญบาทหลวงปาเลอกัวซ์จากโบสถ์คอนเซ็ปชั่น  (โบสถ์ใน) มาเฝ้าสนทนาเรื่องวิทยาการความรู้ต่างๆ กับพระองค์ที่วัดราชาธิวาสอยู่เนือง ๆ  เพราะวัดราชาธิวาสกับโบสถ์คอนเซ็ปชั่น  (โบสถ์ใน)  อยู่ใกล้กัน    ยิงฟันยิ้ม


พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (เกิด) ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๕    จากนั้นรัชกาลที่ ๕ ก็ได้โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้นายนุช  ทายาทพระเพลิงแผลงผลาญ  เป็นที่พระยาวิเศษสงครามรามภักดีสืบต่อไป  

พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (นุช)  นี้เป็นต้นตระกูล  วิเศษรัตน์  เจ้าคุณได้สมรสกับ หม่อมราชวงศ์หนู  พึ่งบุญ  ธิดาในหม่อมเจ้ากรุง   พึ่งบุญ     มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ นายเจิม  ได้เป็นที่พระยาสมุทรศักดารักษ์  (เจิม  วิเศษรัตน์)  ท่านเป็นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญรุ่นแรกๆ  ร่วมรุ่นกันพระยาอนุมานราชธน  (ยง  เสฐียรโกเศศ)  และพระยาวิสูทธากร  (ต้นสกุล  ทรรทรานนท์)  ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าราชการหนองคาย  นครพนม สมุทรสงคราม ราชบุรี และปทุมธานี  

พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (นุช)  ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๕   จากนั้นก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายแจ่ม  ผู้เป็นพี่ชายของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (นุช)  เป็นที่พระยาวิเศษสงครามรามภักดี ต่อไป    พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แจ่ม) คนนี้เป็นต้นสกุล  วงศ์ภักดี   เจ้าคุณถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๖   จากนั้น  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายสิทธิ์  บุตรชายของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แจ่ม)   เป็นผู้ปกครองบ้านมิตตคามในตำแหน่งพระวิเศษสงคราม    ส่วนตำแหน่งจางวางทหารแม่นปืนใหญ่นั้น  โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายนพ   ฟอนเซคา  เป็นหมื่นจิตใจหาญ  ดำรงตำแหน่งแทน    พระวิเศษสงคราม (สิทธิ์  วงศ์ภักดี)  มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อนายมรกต   วงศ์ภักดี เป็นที่พระประจักษ์ยุทธธน


บรรดาผู้สืบเชื้อสายชาวโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยานั้นได้คุ้นเคยกับการใช้นามสกุลมาตลอด   ครั้นต่อมา รัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้น  ผู้สืบเชื้อสายชาวโปรตุเกสเหล่านี้ก็ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลไทย   มีที่ได้รับพระราชทานนามสกุล  เช่น  สกุล วิเศษรัตน์  กับ วงศ์ภักดี  ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากตระกูล Libeiro    สกุล นพประไพ  สืบสกุลมาจากตระกูล  Fonseca    สกุล ดารุทยาน  สงวนแก้ว  ตาวิชกุล  และรัศมิมาน  สืบสกุลมาจากตระกูล  De Horta   สกุล  อนงค์จรรยา  และขมังดิษฐ์  สืบสกุลมาจากตระกูล Rodiguez   เป็นต้น


จบเรื่องชาวเชื้อสายโปรตุเกสในเมืองไทย  (เฮ้อ เหนื่อย) ตกใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:38

โพสต์ซ้ำกับคุณหลวง  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:38

คุณเพ็ญชมพูครับ  ผมตอบไปแล้ว  กรุณาอย่าตอบซ้ำกันสิครับ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:45

ขอประทานโทษคุณหลวง ที่รถไฟชนกัน  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:53


ขอต่อเรื่อง  กรมทหารแม่นปืนใหญ่หน้า   ต่อ  นะคะ

ขุนฤทธิส่รี    ปลัดกรม
กาปรีเอล เฝเรยรา  (อา งุน)
บ้านพระยาวิเศษสงคราม


หมื่นสาตราประสิทธิ์ผู้ช่วยราชการ
ยอแซ  เฝเรยลา  (ถมยา)
บ้านปากคลองวัดราชาธิราช(สมอราย)

หมื่นสท้านธรนีสมุหบัญชี
เปาลินเคอร์  อาเปรว (จู)
บ้านปากคลองญวนสามเสน


ขุนประชาเทพคฤสตจีน
(เตว  แซ่เจีย)
บ้านใหม่   แขวงเมืองฉะเชิงเทรา


หมื่นศาสนาคฤสตรักษ์์์
บ้านบางยี่รงเหนือคลองฝรั่ง  แขวงเมืองราชบุรี


หมื่นพิทักษคฤสตาน
อี  แซ่หลิม
บ้านห้วยลึก   แขวงเมืองราชบุรี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 20:58



กรมทหารแม่นปืนหลัง

หลวงฤทธิ์สำแดง  เจ้ากรม
เบญเนดิกโต  เดรอราลิออ (แสง)
บ้านวัดเดรษารีออ  คลองผดุง


ขุนผลาญแผลง  ปลัดกรม
ยอแซ  ดากรุศ (แย)
บ้านเสนกรวงศ์   คลงวัดกระดีจีน


ขุนแผลงผลาญ    ปลัดกรม
ลิทโกเดรอรารีออ (พู่)
บ้านคลองวักราชาธิวาศ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ก.ย. 11, 21:06


เรื่องนายราชาณัตยานุหารนั้น  สนุกมากค่ะ   ดิฉันเก็บงานของท่านได้ข้อมูลใหม่มาก

คอยเอกสารอายุ ๙๐ ปีอยู่ ๑ เล่ม   และคำพิพากษาศาลฎิกาต้นรัชกาลที่ ๖  ซึ่งพ้นเอื้อมมือค่ะ


เรื่องฝรั่งในเมืองไทยนั้น   หมอบลัดเล  ลงข่าวละเอียด   ต้องไปเสียเวลาตรวจอีกพักค่ะ
จวนงานหนังสือแล้วต้องไปสนทนากับสมาชิกพรรคค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง