เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11602 อักขรานุกรมขุนนางชั้นผู้น้อย พ.ศ. ๒๔๗๔
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 21 ก.ย. 11, 11:59


       กำลังเก็บกวาดปัดฝุ่นเช็ดถูห้องสมุด  พบหนังสือหลายเล่มที่สหายผู้มาเยือนหยิบมาดู

แล้วไม่ได้เก็บคืนเข้าที่   ไม่ได้เห็นมาพักหนึ่งแล้ว     จึงนั่งลงอ่านเสียอีกหนึ่งรอบก่อนเก็บเข้าที่ในตู้หนังสือ

พบสิ่งที่น่าสนใจ  จึงคัดลอกมาฝากค่ะ   ตั้งใจจะเอ่ยแต่บรรดาศักดิ์ของขุนนางผู้น้อยเท่านั้น  เพราะหลังจากนี้แล้ว 

เราก็ไม่มีบรรดาศักดิ์กันอีกต่อไป    ในเวลานั้น  ส่วนมากของท่านเหล่านี้รับราชการอยู่

จะเริ่มจากตำแหน่งขุนก่อน  และเลือกนามที่น่าสนใจเป็นพิเศษเท่านั้น


กระบิลกระบวนพล   ขุน
เฮง    กปิญชรานนท์   นายร้อยโท    สัสดีจังหวัดอ่างทอง

กระจ่างจตุบท   ขุน
จ่าง  สวนสวัสดิ์   นายร้อยโท   ผู้บังคับหมวดสัตว์รักษ์   แผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่

กรดเกรียงไกร   ขุน 
กรด   โรจน์หิรัญ   นายร้อยโท   ประจำกองพันที่ ๑   กรมทหารราบที่ ๘
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 12:16


กรรมารศิลปี   ขุน
จิตร   ปิยะมาน
รองอำมาตย์ตรี   สังกัดกระทรวงธรรมการ


กระสินธุ์ทวารานุรักษ์   ขุน
ฮวด   ชูวิทย์   
รองอำมาตย์เอก   กรมชลประทาน


กรีพลประชุม   ขุน
เจิม  กรีวัต   
นายร้อยเอก   สังกัดกรมจเรทหารราบ


กลยานพินิศ   ขุน
อุ่น   เพ็ชรบุตร์
รองอำมาตย์เอก   กรมรถไฟหลวง
 

กลันททปุรพงศ์   ขุน
เลื่อน  กลันทปุระ
รองอำมาตย์โท   นายอำเภอบ้านสร้าง   จังหวัดปราจีนบุรี


กล้ากลั่นเสียง   ขุน
เล็ก  ติ้นเติมทรัพย์   รองอำมาตย์ตรี   นายเวรชั้น ๓   หมวดต่อโทรศัพท์บางรัก


กวีนรลักษณ์   ขุน
เหมือน   ศุกรพิมพ์   รองอำมาตย์โท   สหุบัญชีแผนกตัวตนคน   กองลหุโทษ  เรือนจำ


กวีวัจวินิต   ขุน
เต๊ก   พิศลยบุตร   รองอำมาตย์ตรี   นายไปรษณีย์  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขตะกั่วป่า
   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 12:59


การกสิขวิธี   ขุน
ปุ่น  เทศะหาสะ
รองอำมาตย์โท   สังกัดกระทรวงธรรมการ


การัญสิกขาภาร   ขุน
ทุเรียน   ทัพภะพยัคฆ์
รองอำมาตย์โท   ธรรมการจังหวัดนนทบุรี


การีนพดล   ขุน
ทรัพย์  ชูตินันท์
นายร้อยโท   สังกัดกระทรวงกลาโหม


กำจรกลการพ์   ขุน
เทียน   เตมียศิลปิน
รองอำมาตย์โท   นายตรวจเอก   กองช่าง กรมไปรษณีย์โทรเลข


กำจัดวนทาห์   ขุน
โต   ดุลกุล
รองอำมาตย์โท   ผู้ช่วยสมุห์บัญชี   กองป่าไม้ภาคเชียงราย


กิจการีสฤษดิกล   ขุน
ฮวด   ชั้นโชติ
รองอำมาตย์โท   นายตรวจชั้น ๓   แผนกทดลองสายและชุมสายโทรศัพย์กลาง  กรมไปรษณีน์​ฯ


กิจสุงการกร   ขุน
กี๊  โหตระกิตย์
รองอำมาตย์โท   นายตรวจเอก   กรมศุลกากร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 20:19


แกล้วการกุม    ขุน
หมั้น  แสงสุริย
นายร้อยตำรวจตรี   กรมตำรวจภูธร


แกว่นทะเลใหญ่   ขุน
เติม  สุวรรณมีระ
รองเสวกโท   สังกัดกระทรวงวัง


ไกรชลผาด   ขุน
เลื่อน   ลัมภเวส
รองเสวกตรี   กองเรือยนต์หลวง กระทรวงวัง


โกศลมัชชกรรม   ขุน
บุรี  โกศล
รองอำมาตย์ตรี   สังกัดกระทรวงการคลัง




ขจรจีนสกล    ขุน
เตียวจ๊กบุ๊น
กรมการพิเศษจังหวัดภูเก็ต


ขจัดชลูปสัค   ขุน
ท้วม  รามสูต
รองอำมาตย์โท   นายตรวจผักตบชะวา   กรมขลประทาน


ขบวนบทดำริห์   ขุน
จรด  พิกุล
รองอำมาตย์โท   ผู้ช่วยนายตรวจทางชั้น ๑   


ขยันแยกประเทศ    ขุน
ขาว  พรหมลัมภัก
รองอำมาตย์โท   นายตรวจการก่อสร้าง  กรมรถไฟหลวง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 21:12

ขยันแยกประเทศ    ขุน
ขาว  พรหมลัมภัก
รองอำมาตย์โท   นายตรวจการก่อสร้าง  กรมรถไฟหลวง

มีข้อมูลอีกทางหนึ่งบอกว่า "ขยันแยกประเทศ" เป็นราชทินนามอยู่ในกรมแผนที่

เข้ามาอ่านหลายครั้งแต่ยังไม่เคยนำเสนอ วันนี้ขอสำแดงข้อมูลบ้าง

ราชทินนามข้าราชการชั้นประทวนในกรมแผนที่ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ รัชกาลที่ ๕

บรรดาศักดิ์ขุน-ทวีปวิจารณ์-ชำนาญรัถยา-นานาภูวดร-อำภรพินิจ-ประดิษฐรัฐเขตร์-วิเศษรัฐการ-วิจารณ์รัฐขันธ์-ขยันแยกประเทศ-นิเวศวิภัชน์-นิวัทธมรรคา-เลขานุวัตร์-ทัศนวิภาค-มารคประเมิน-ดำเนินประเทศ-เขตรประมาณ-ชาญวิถี-การีนภดล-สถลภูมสถิตย์-พินิจภูมสถาน-ตระการภูวกรรม์-ขันธ์ภูมพิภัชน์-รังวัดวิถี-ปถวีประจักษ์-สำนักเลขกิจ-วิจิตรเลขการ-ประสานสีสอาด-วาดวิถีงาม  ข้าราชการทั้งหมดนี้ได้ศักดินาคนละ ๓๐๐

บรรดาศักดิ์หมื่น-จงรังวัด-จัดแพนก-แยกสถล-ภูวดลพินิจ-สิทธิมรรคา-พนานุมัติ์-พิภัชน์สถาน-หาญพนม-อุดมภูวกิจ-สถิตย์วิจารณ์-อนุมานวิถี-ธารีรัถยา-เวหาพินิจ-นภางค์ชำนิ-วุฒฺรัฐการ-ปริมาณนิวาศ-อาจมรรคา-เทศานุกิจ-พิศพิจารณ์-การประจง-จำนงภูมพิภัชน์-วิวัตรภูมเวทย์-เดชพนาวาศ-ราษฎร์รังสิต-นิมมิตรสถล-ไพรสณฑ์สำรวจ-ตรวจมรรคา-อุปรมานักขัตร์-วัดอัมพร-เขจรวิจารณ์-นิมมาณประเทศ-เขตรคำนวน  ข้าราชการทั้งหมดนี้ได้ศักดินาคนละ ๒๐๐

อ่านราชทินนามข้าราชการในกรมแผนที่ แล้วสะดุดอยู่ชื่อหนึ่ง ขุนขยันแยกประเทศ

ชื่อนี้มีอยู่ในทะเบียนนามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขุนขยันแยกประเทศ (ฃาว) ผู้ช่วยแม่กองวางหมุดสามเหลี่ยม  กรมแผนที่  ปู่ชื่อพรม  บิดาชื่อขุนภักดี (หลำ) ต้นสกุล พรหมลัมภัก


ราชทินนามนี้ ถ้ามีในปัจจุบันคงหาคนรับยาก


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 22:00



สนใจ   ขุน  ขจัดชลูบสัค  ไหมคะ

ไปถามทปษ.    ว่า  ชลูปสัคแปลว่าผักตบชะวา(รักษาตัวสะกดเดิม) เหรอ   โดนโห่มาค่ะ

อ้าว! 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 22:45

ชลูปสัค =  ชล + อุปสัค (จากบาลี-อุปสคฺค, จากสันสกฤต อุปสรฺค-อุปสรรค)
 
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 00:14


คุณเพ็ญเก่งจังเลย   เราไปกันต่อนะคะ

ที่นำเสนอมาล้วนคัดสรรนามที่น่าสนใจที่สะดุดตา


ขยันวรรณวินิจ    ขุน
ขัน  ปาณะรักษ์
รองอำมาตย์โท      กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ


คเชนทร์ทวยหาญ    ขุน
เลื่อน  สรณะศิริ
นายร้อยตรี    สังกัดกรมจเรทหารม้า


คัมภีรธรรมพิทักษ์     ขุน
บุญ   พัฒนเพ็ง
รองอำมาตย์ตรี   สังกัดราชบัณฑิตยสภา


คำนวณมาสก    ขุน
แย้ม   บุญแจ่ม
อำมาตย์ตรี   คลังจังหวัดพิษณุโลก


เคร่งระเบียบการ    ขุน
พูน  ทัศกุล
นายร้อยตำรวจตรี   รองสารวัตรตำรวจนครบาลพระโขนง  จังหวัดพระนคร



โคกระวินพิธี    ขุน
เปีย   นิยมมะทา
รองอำมาตย์โท   สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ


จงโทรเลข    ขุน
เจริญ  อินทุประภา   
รองอำมาตย์โท   นายไปรษณีย์ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลาง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 23:47



จบเจนทาง    ขุน
ฉิม
รองอำมาตย์โท   สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม


จรดทะเบียน    ขุน
กุ่ย  กุยยกานนท์
รองอำมาตย์โท   เกษตรและเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอ่างทอง


จรวารินทร์   ขุน
เจริญ  กัณวะเศรษฐ
รองอำมาตย์ตรี   นายเวรโท   กรมเจ้าท่า


จักรกิจกำจร   ขุน
ชม   ฉางสุวรรณ
รองอำมาตย์ตรี  กรมไปรษณีย์โทรเลข


จำแนกวารี    ขุน
เซ่งเหล็ง   พิศลยบุตร
รองอำมาตย์โท  นายตรวจตำบลชั้น ๑   แผนกจำหน่ายน้ำประปา  กรมนคราทร


ชวนาณัติ    ขุน
เปลี่ยน  ชวกุล
รองอำมาตน์โท   กรมไปรษณีย์โทรเลข





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ก.ย. 11, 10:03

คเชนทร์ทวยหาญ    ขุน
เลื่อน  สรณะศิริ
นายร้อยตรี    สังกัดกรมจเรทหารม้า

คเชนทร์ = คช + อินทร์

ช้างไฉนไปอยู่กรมม้า

เรื่องนี้มีที่มา

ต่อไปราชทินนามข้าราชการชั้นประทวนในกรมพระคชบาล กระทรวงกระลาโหม พ.ศ.๒๔๕๕ รัชกาลที่ ๖

บรรดาศักดิ์ขุน-พิบาลคชศักดิ์-พิทักษ์คชยุทธ-บริรักษ์คชรุด-บริคุตคชสาร-คชาธารพิทักษ์-บริรักษ์คชเรศร์-ทรงสิทธิบาศ-คชศักดิ์ชาญวิทย์-คชสิทธิชาญเวช-คชฤทธิ์พิเชต-คชเดชพิไชย-คเชนทรสันทัด  ศักดินาคนละ ๓๐๐

บรรดาศักดิ์หมื่น-ไสคชยาน-บริหารกุญชร-ปรนนิบัติคชสาร-ปรุงปรนไอยเรศ-ผดุงเดชไอยรา-พิเศษคชสิทธิ์-พิจิตร์คชสาร-คชพลบริบาล-วรหัตถาภิบาล-มนินคชรักษ์-สมัคโพนกุญชร-สัญจรโพนช้าง-ชาญทางคชจร-ชำนาญกะรีฤทธิ์-ครรชิตคเชนทร์รณ-ทรงประกัน-อนันตโยธา-สิทธิคชสาร-หาญคชกัน-รามคชไกร-ไกรคชสาร-วิเศษคชสาร

-ศรีคชสาร-ศรีชุมพล-ศรีสิทธิกัน-ชำนิคชสาร-คเชนทร์ทวยหาญ-พิทักษ์คชสาร-จ่ารัตนาเคนทร์-กลางกเรนทศักดิ์-ไชยมนตรี-ชำนาญ-ศรีคชเคนทร์-วิไชยจำนงค์-วิไชยสงคราม-จ่าคชประสิทธิ์-จ่าคชประเสริฐ-อาจคชกัน-กลางรวางคชนารถ-กลางรวางคชรักษา-ก้อนแก้ว-กระสันนาเคนทร์-นุภาพเรืองภพ-จบไตรจักร์-พิทักษ์ไอยเรศ-วิเศษอัยรา-คชาชาญภพ-นพกุญชร-กำจรคชฤทธิ์-อิศรเทพ-นรินทร์คชลักษณ์-จักรคชประจง

-จำนงสระประจอง-จำนองนาเคนทร์-จิตรคชสาร-ชำนาญคชศิลป์-คชินทร์บริรักษ์-ภักดีคีรีคช-สนิทคชลักษณ์-ชนะคชกัน-เสพสรศิลป์-กรินภัชชา-เชี่ยวหัศดินทร์-ชินคชบาล-ชาญคชไพร-ไชยโขลงคช-พยศคชฝึก-ตฤกตรวจคชสาร-คชฤทธิ์ทรมาน-บริบาลคชพลัง-ประคองคชผดุง-บำรุงคชรักษ์-พำนักคชพล-อนนต์คชพ่าย-นิกายกรีเวท-สังเกตกรีการ

-คชยานสำรวจ-สกัดกวดคชวัช-คชาชำนิศิลปื-คชินทร์ชำนิสาร-กรินทร์สิทธิการ-กรีชาญศุภลักษณ์-บริคุตหัศดี-กรีพนศักดิ์-หัศดีรักษ์รณไชย-เกรียงไกรกระบวนคช-หัตถาจารโกศล-สาธรคชลักษณ์-ชำนาญหัศดิน-คชเศรษฐ์พิทักษ์

เฮ่อ...รวม ๑๐๒ นาย (กว่าจะพิมพ์เสร็จ)


อ้างถึง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมพระคชบาลย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง  และลดบทบาทลงเป็นอย่างมากแล้วครับ  ราชทินนามที่มีอยู่จำนวนมากนั้นน่าจะเป็นข้าราชการที่ตกค้างมาแต่รัชกาลก่อน  เมื่อเสียชีวิตหรือลาออกจากราชการก็ยุบเลิกตำแหน่งและราชทินนามนั้นไป เพราะแม้แต่บรรดาศักดิ์พระยาสุรินทราชา ยังเปลี่ยนไปเป็นราชทินนาเทศาฯ มณฑลภูเก็ต  ส่วนพระยาเพทราชานั้นคงมีตัวอยู่  แต่เมื่อหมดตัวแล้วก็ไม่มีการตั้งใครแทน

๑.กรมพระคชบาลที่ผมเอาราชทินนามข้าราชการมาลงนี่  สังกัดกระทรวงกระลาโหม  ดูแลเรื่องช้างที่ให้เป็นพาหนะในราชการฝ่ายกระทรวงกระลาโหม และคงอยุ่สังกัดกับกระทรวงกระลาโหมจนกระทั่งถูกยุบรวมกับกรมที่ดูแลสัตว์พาหนะอื่นๆที่อยู่ในสังกัดกระทรวงกระลาโหม  แล้วเรียกชื่อใหม่เป็นกรมจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้าสมัยต่อมา  กระนั้นก็ยังคงมีข้าราชการที่ทำหน้าที่ดูแลช้างพาหนะอยู่ เพียงแต่ความสำคัยในระยะหลังอาจจะลดลงไปเมื่อมีรถเข้าแทนที่   นอกจากนี้กรมพระคชบาลหรือกรมจเรสัตว์พาหนะฯ ยังมีหน้าที่ดูแลช้างป่าด้วย   ภายหลัง หน้าที่ดูแลช้างป่าถูกโอนไปให้กระทรวงมหาดไทยดูแลแทน เมื่อ ปี ๒๔๖๗   ส่วนกรมช้างต้น ซึ่งสังกัดกระทรวงวังนั้นดูแลเฉพาะช้างสำคัญ และแยกกรมกันกับกรมพราหมณ์พฤฒิบาศด้วย แต่สังกัดกระทรวงวังเหมือนกัน   การแยกกรมที่มีหน้าที่ดูแลช้างออกไปอยู่ตามกระทรวงทั้งสองนี้ คงเป็นมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงจัดราชการกรมกองต่างๆ ให้เป็นกระทรวงอย่างใหม่เมื่อ ปี ๒๔๓๕

๒.ราชทินนามข้าราชการในกรมพระคชบาลนี้ ไม่ใช่ข้าราชการที่ตกค้างมาแต่รัชกาลก่อน แต่เป็นข้าราชการที่รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงกระลาโหมออกตราประทวนตั้งข้าราชการ เมื่อปี ๒๔๕๕ ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศมีวันเดือนปียืนยันเป็นหลักฐาน (กรูณาดูภาพประกอบ)  หลังจากนั้ก็มีการออกประทวนตั้งข้าราชการดูแลช้างในกระทรวงกระลาโหมอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่านี้


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 10:23

จำแนกวารี    ขุน
เซ่งเหล็ง   พิศลยบุตร
รองอำมาตย์โท  นายตรวจตำบลชั้น ๑   แผนกจำหน่ายน้ำประปา  กรมนคราทร

กรมนคราทร ปัจจุบันคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง

กรมนคราทร

เจ้ากรม                                  พระพิศาลสุขุมวิท

แผนกไฟฟ้าและค่ารื้อถอน              อ.ต. หลวงอาจอัคคีการ

แผนกถนนภาคเหนือ                    ร.อ.ท.  ขุนรักษาวิถี

แผนกรังวัด                               ร.อ.ท.  ขุนปรีดีบุรณมารค

แผนกโรงงานเครื่องกล                   อ.ต. หลวงอาจอัคคีการ

แผนกรดน้ำถนนและล้างท่อ              ร.อ.ต. หมื่นนิวัทธ์มรรคา

แผนกจำหน่ายน้ำ                         ร.อ.ท. ขุนสำรวจรัถกิจ
                                             ร.อ.ท. ขุนตรวจอารีเขต
                                             ร.อ.อ. หลวงทรงวุฒิวารีสำรวจ
                                            ร.อ.ท. ขุนจำแนกวารี

แผนกพัสดุและต่อท่อ                      ขุนศรีสวัสดิ์ประปา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 12:16


ขอบคุณคุณเพ็ญที่น่ารักเป็นที่สุด  กรุณาช่วยอยู่เสมอ

ธรรมดาพวกเราก็จะขึ้นใจในบรรดาศักดิ์ใหญ่ ๆ  ตระกูลขุนนางเก่า

ใครมาถามเรื่องขุนระดับประทวนต่างจังหวัด  ก็ไม่มีข้อมูล  ถ้าบุตรหลานไม่ได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่จดจำ

จึงอยากบันทึกเรื่องขุนนางชั้นผู้น้อยไว้  เพราะบรรดาศักดิ์ก็ไพเราะ มีความหมายเรื่องงานที่ปฎิบัติชัดแจ้ง


      หมู่นี้เห็นโฆษณาสำคัญ ๆ  ในหนังสือเก่า รุ่นปี ๒๔๖๐ - ๒๔๘๐ เรื่องร้านเสริมสวย  ร้านตัดเสื้อสุภาพสตรีที่

เคยอ่านผ่านในนวนิยายรุ่นเก่า     จัดกลุ่มได้จะนำมาฝากค่ะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 15:37

ธรรมดาพวกเราก็จะขึ้นใจในบรรดาศักดิ์ใหญ่ ๆ  ตระกูลขุนนางเก่า

กรมนคราทร

เจ้ากรม                                  พระพิศาลสุขุมวิท


ที่มาของถนนสุขุมวิท  วิกกี้บอกว่า เดิมชื่อ"ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เพราะปลายถนนนี้ไปถึงตัวเมืองสมุทรปราการ เปิดใช้งานเมื่อ 8 กันยายน 2479 ต่อมาถนนสายนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท" ตามราชทินนามของพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 5 และเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

พระพิศาลสุขุมวิทได้ทุ่มเทในการก่อสร้างทางหลวงสำคัญของประเทศเป็นอย่างยิ่ง คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราด ว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493

น่าจะเป็นพระพิศาลฯคนเดียวกัน   เพราะรายชื่อเมื่อพ.ศ. 2474   ถนนสุขุมวิทเปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2479

เจ้ากรมนคราทร ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมทางหลวง หรือคะ

ถึงแม้เป็นข้าราชการบรรดาศักดิ์ใหญ่ มีผลงานจนเอาราชทินนามไปตั้งเป็นชื่อถนน คนทั่วไปก็มีน้อยคนจะรู้จักชื่อเจ้ากรมนคราทรนาม "พระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม)"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 16:11



สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง   ท่านลงเรือดำน้ำไปเจรจาซื้อของที่อเมริกา

ท่านไม่บอกใครเลย  เขียนพินัยกรรมทิ้งไว้บนโต๊ะ

ท่านจ่ายสตางค์ส่วนตัวไปเยอะ

ลูกหลานเจ้าพระยายมราชไม่มีใครร่ำรวยจากราชการ

ทันๆเห็นคุณๆเหล่านี้อยู่เพราะนักอ่านหนังสือเก่าอยู่โรงเรียนอนุบาล ดวงถวิล  ในซอยศาลาแดง

คุณหนูใหญ่ไม่เคยเห็น  เห็นครั้งแรกเธอก็เต้นบัลเลต์เป็นมโนราห์แล้ว

คุณแม่ของคุณหนูใหญ่เคยเห็น   เธองามเด่นเป็นสง่า   แต่งกายเรียบร้อยเสมอ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 16:22



ชวลิตเลขา    ขุน
เทียน  พลอยรัตน์
รองอำมาตย์เอก   ผู้ช่วยนายช่าง   กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา  กระทรวงพระคลัง ฯ


ช่วงไฟประทีปวัง   จ่า
พร  หุตะเสวี   รองเสวกเอก   จ่ากรมวังซ้าย


ชัพนสารสาทร   ขุน
ชื่น  วันทะวิมว์
รองอำมาตย์ตรี  ผู้ช่วยนายไปรษณีย์   ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลาง


ชัยชนะพยาธิ์   หลวง
เชย  ลักษณหุต
นายนาวาโท   ผู้บังคับการกรมเสนารักษ์ราชนาวี   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง