เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13334 อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 11:02


๑. หนังสือในพระองค์ถูกเก็บไว้ที่ "หอหลวง" พระบรมมหาราชวัง
และย้ายออกไปเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙
จากภาพจิตรกรรมเห็นว่า "หอหลวง" เป็นอาคารชั้นเดียว



ภาพจิตรกรรมพระที่นั่งทรงผนวช  วาดขึ้นเมื่อใด  ใครวาด
มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ว่า  คนวาดได้ทันเห็นอาคารดังกล่าวที่วาด
และวาดออกมาตามของเดิมเป๊ะ   ไม่ใช่การวาดโดยอนุมานคร่าวๆ
 ลังเล
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 11:28



นั่งไกลจากเวทีมากที่สุด     หวาดลูกหลง


       สังเกตว่าหนังสือมัดติดกันเป็นตั้ง ๆ     คงมีคำสั่งว่าตั้งละสาม - สี่เล่ม 

เพราะไม่ว่าเล่มเล็กเล่มใหญ่  มัดเรียบร้อย จำนวนเล่มใกล้เคียงกัน

ที่จริงหนังสือปกแข็งเล่มใหญ่นั้น มีน้ำหนักมากเพราะหุ้มหนังนอก

พระราชนิยมในเรื่องการแสวงหาความรู้ติดต่อมาหลายรัชกาล  ทำให้วงการพิมพ์เจริญมาได้



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 13:17



       นึก ๆ ก็ขำมหาดเล็กในวังกรมหมื่นบดินทรไพศาลที่ยักยอกลักซ่อนหนังสือไว้หลายเล่ม

เพราะคงเห็นว่ามีเหลือเฟือ   ปราศจากการตรวจสอบและสนใจหลายปี  แล้วนำไปขาย ก.ศ.ร. กุหลาบ

เสียหลายเล่ม           จะว่าไปแล้วก็ไม่มีที่ใดบันทึกว่า ก.ศ.ร. กุหลาบขายหนังสือไทยโบราณออกนอกประเทศ

มีก็แต่ส่งนายชายไปคัดลอกตำราของพราหมณ์ขายเยรินี   การคัดลอกนั้นคงคัดลอกมากกว่าหนึ่งเล่ม  และ

นายชายเมื่อคัดเล่มที่สองนั้น  คงทำตกและขาดหรือข้ามไปเป็นแน่           นายชายต่อมาเป็นทนายความ

ท่านคงอ่านและจดบันทึกได้อย่างแคล่วคล่องว่องไวเพราะหัดมาตลอด

   
       มาถึงตอนนี้ก็อยากเห็นห้องสมุดของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นที่สุด   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 13:50


๑. หนังสือในพระองค์ถูกเก็บไว้ที่ "หอหลวง" พระบรมมหาราชวัง
และย้ายออกไปเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙
จากภาพจิตรกรรมเห็นว่า "หอหลวง" เป็นอาคารชั้นเดียว



ภาพจิตรกรรมพระที่นั่งทรงผนวช  วาดขึ้นเมื่อใด  ใครวาด
มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ว่า  คนวาดได้ทันเห็นอาคารดังกล่าวที่วาด
และวาดออกมาตามของเดิมเป๊ะ   ไม่ใช่การวาดโดยอนุมานคร่าวๆ
 ลังเล


พระที่นั่งทรงผนวช เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และทรงให้ย้ายพระที่นั่งดังกล่าวมาปลูกสร้างไว้ที่วัดเบญจมพิตร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๐ และโปรดเกล้าฯให้วาดภาพจิตรกรรมเรื่องราวตั้งแต่ต้นรัชกาลจนถึงการย้ายพระที่นั่งมาที่วัดเบญจมพิตร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 14:30

อยากจะให้คุณหลวงเล็กช่วยวิเคราะห์สิ่งก่อสร้าง ๒ แห่งดังนี้ว่า ควรจะเป็นในทิศทางใด

๑. แผนที่วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

๒. ภาพอาคารคลังเก็บของมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง


++++++++++++++++++++++++++++++

เริ่มจากอันดับ ๑. แผนที่วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

ตัววังตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า "ซากั๊กวัง" เป็นสำเนียงเจ๊กลากรถสมัยนั้น เพราะเป็นวังของพระองค์เจ้า ๓ พระองค์ตั้งติดกัน ส่วนไทยเรียกว่าย่านวังท้ายวัดพระเชตุพนฯ ปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวทั้ง ๓ วังถูกยุบเป็น "มิวเซียมสยาม" ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกระทรวงพาณิชย์ (ที่ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖)

จากลักษณะแผนที่ประกอบจะเห็นกลุ่มอาคารตั้งอยู่ ซึ่งมีอยู่หลังหนึ่ง (ทำสีแดงไว้ตามภาพที่แนบประกอบ) เป็นอาคารมีมุขยื่นด้านหน้า ปีกซ้ายขวา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 14:37

๒. ภาพอาคารคลังเก็บของมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง

จากภาพที่แนบประกอบเป็นอาคารตั้งติดกับรั้วกำแพงพระบรมมหาราชวังฝ่ายหน้า ตั้งอยู่หลังหอคองคอเดียซึ่งใช้เป็นหอพระสมุด อาคารนี้ปัจจุบันก่ออิฐถือปูนเป็นศาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์และที่จำหน่ายตั๋วเข้าชมพระบรมมหาราชวังและศูนย์ศิลปาชีพ

จากภาพในวงกลมจะเห็นว่าอาคารนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่า "คลังเก็บของมหาดเล็ก" มีลักษระอาคารทรงจั่วที่คล้ายกัน บานหน้าต่างบานไม้เกล็ดมีราวกันตกชั้น ๒ คล้ายกัน แต่แตกต่างกันที่บริเวณชั้นล่างจะไม่มีเฉลียงทางเดินรอบอาคาร

จึงส่งให้คุณหลวงช่วยรับพิจารณาด้วยครับ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 16:13

^  น่าพิจารณามาก  ภาพที่ออกขุนส่งมานั้น  ก็เข้าเค้าอยู่
ไม่ทราบว่า  พอจะมีภาพในมุมอื่นที่ชัดเจนกว่านี้หรือไม่
อยากจะดูสถาปัตยกรรมให้ชัดเจนกว่านี้ 

อาคารคลังเก็บของมหาดเล็ก  น่าจะสร้างขึ้นปีใด
และพอมีประวัติสิ่งก่อสร้างในบริเวณหอคองคอเดียหรือไม่
จะได้ตรวจสอบเทียบทานกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 16:22

แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตุได้เด่นชัดนอกเหนือจากระเบียงชั้นล่าง คือ "หลังคา" ภาพหนึ่งการปูหลังเป็นแบบกระเบื้องเกล็ดเต่าทรงสี่เหลี่ยมวางทับซ้อนกัน แต่อาคารคลังของมหาดเล็กนั้นหลังคาลูกฟูก เป็นลอนกาบกล้วย ดังภาพที่ได้แนบมาประกอบ เป็นกระบวนแห่เข้าพระบรมมหาราชวังจากประตูวิเศษไชยศรี และช่างภาพได้ถ่ายภาพนี้ไว้ยังเห็นโครงสร้างหลังคา ซึ่งหากเทียบกันแล้วนั้นแตกต่างกัน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 21:35


       นั่งอยู่แถวสอง  ไม่กล้านั่งแถวหน้า เกรงท่านผู้ซ้อมดาบจะแผลงฤทธิ์หรือปามีดสั้นกัน

เนื่องจากเห็นเกียงจูแหยแว่บ ๆเมื่อวันวาน  รูปนี้เคยเห็นแล้วค่ะ  แต่ไม่มีความรู้พอจะ ดิสกัต กะใคร   รู้จักแต่หนังสือไม่รู้จักอิฐปูน


       ดูเองด้วยความปลาบปลื้ม    คุณพระเฉียบเรียงเรียบสหายนักอ่านผ่านมาสนทนาด้วย

เห็นต้องกันว่า  หนังสือที่กองอยู่นั้นเป็นหนังสือฝรั่งใหม่ ๆ ทั้งสิ้นมัดติดกันอย่างเรียบร้อย  เพราะหนังสือเก่า
แต่ใหม่ในสมัยนั้นหาขนาดใหญ่โตปานนั้นยาก  มีอยู่ไม่กี่เล่มเอง

ถ้าทำปกในนี้โดยใช้ช่างหรือครูญี่ปุ่นที่สั่งเข้ามาฝึกอาชีพคนคุก(สัญญาทีละ ๒ ปี)  ปกจะมีลวดลายและสันสวยงามกว่านี้  แต่ขนาดเล็กกว่ามาก
แต่หนังนั้น    ช่างเย็บปกคนสำคัญอธิบายว่า  การหมักหนังของเราไม่ดีเท่าไรในครั้งนั้น

คุณพระยังแสดงความชำนาญต่อไปว่า  ถ้าไม่ใช่การย้ายเข้าหรือย้ายออกล่ะ   แต่เป็นหนังสือต่างประเทศที่เพิ่งนำเข้ามาถวาย

สังเกตว่ามีการเปิดหนังสือโชว์ด้วยเป็นบางเล่ม

การมีสหายช่างพูดนั้นก็มีคุณประโยชน์ดั่งนี้แล


      
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 13:47

ขอขอบคุณคุณวันดี แม้นอยู่แถวสองก็ยังมองจ้องเห็นชัดเสมอ...  ยิ้มกว้างๆ

ยังเสนอความคิดได้ประการหนึ่งว่าป้ายแผ่นไม้ "หอพระสมุดในพระองค์" จำเป็นต้องตั้งอยู่ในรั้วพระบรมมหาราชวังได้หรือไม่ หากนำไปฝากไว้ที่วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ แล้วติดป้ายนี้ไซร้ จักได้หรือไม่

อีกประการทหารเวรยืนยามอยู่ด้วย มั่นคงมากคงต้องยิ้มให้ กศร. สักหลายหน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 14:33

อีกประการทหารเวรยืนยามอยู่ด้วย มั่นคงมากคงต้องยิ้มให้ กศร. สักหลายหน

ก็การแสดงพิพิธภัณฑ์เปิดให้คนดูอยู่นาน นายกุหลาบมีโอกาสเข้าไปดูหนังสือหอหลวงได้ทุกวันเพราะห้องอยู่ติดกัน ต่อเมื่อได้เห็นหนังสือหอหลวง มีเรื่องโบราณคดีต่างๆ ที่ตัวไม่เคยรู้อยู่เป็นอันมากก็ติดใจอยากได้สำเนาไปไว้เป็นตำราเรียน จึงตั้งหน้าตั้งตาประจบประแจงกรมหลวงบดินทร์ฯ ตั้งแต่ที่ท้องสนามหลวงจนเลิกงานแล้ว ก็ยังตามไปเฝ้าแหนที่วังต่อมา จนกรมหลวงบดินทร์ฯทรงพระเมตตา นายกุหลาบทูลขอคัดสำเนาหนังสือหอหลวงบางเรื่อง แต่กรมหลวงบดินทร์ฯ ไม่ประทานอนุญาต ตรัสว่าหนังสือหอหลวงเป็นของต้องห้ามมิให้ใครคัดลอก นายกุหลาบจนใจจึงคิดทำกลอุบายทูลขออนุญาตเพียงขอยืมไปอ่านแต่ครั้งละเล่มสมุดไทย และสัญญาว่าพออ่านแล้วจะรีบส่งคืนในวันรุ่งขึ้น กรมหลวงบดินทร์ฯ ไม่ทรงระแวงก็ประทานอนุญาต นายกุหลาบจึงไปว่าจ้างนายทหารมหาดเล็กที่รู้หนังสือเตรียมไว้สองสามคน สมัยนั้นฉันเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก รู้จักตัวผู้ที่ไปรับจ้างนายกุหลาบคนหนึ่ง ชื่อนายเมธ


ก.ศ.ร. กุหลาบ เข้าไปยืมหนังสือนา มิใช่ไปโจรกรรม   

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 14:44

^
ยิ้มให้กันหมายถึงรู้จักคุ้นเคยกันดีขอรับ เพราะไปสถานที่แห่งนี้หลายหน มิได้หมายความว่าเป็นอย่างอื่นที่ไม่ดี แต่ว่าอ่านข้อความแล้ว "ที่ติดกัน" คงหมายถึงการจัดแสดงหนังสือที่จัดเป็นบูธไว้แสดงหนังสือ น่าจะมีภาพประกอบจังเลย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 14:53

ยังมีเรื่องประวัติหนังสือหอหลวง เมื่ออยู่ที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯต่อไปอีก ด้วยการที่จะสร้างหอหลวงใหม่เริดร้างมาอยู่ช้านาน จนถึงสมัยเมื่อจัดกระทรวงต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ โปรดฯให้รวมกรมอาลักษณ์เข้าในกระทรวงมุรธาธร กรมพระสมมตอมรพันธ์เมื่อยังเป็นกรมหมื่น ได้ทรงบัญชาการกรมอาลักษณ์ จึงให้ไปรับหนังสือหอหลวงจากกรมบดินทร์ฯ เพื่อจะเอามาเก็บเข้ารักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังอย่างเดิม...........เพราะในเวลานั้นไม่มีบัญชีหนังสือหอหลวงอยู่ที่อื่น นอกจากที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ


หนังสือกองโตก็ไปพำนักที่วังนานพอสมควรนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 15:07

ยังมีต่อ

เวลาเมื่อจะส่งหนังสือหอหลวงคืนมานั้น มีคนในสำนักกรมหลวงบดินทร์ฯ จะเป็นผู้ใดไม่ปรากฎชื่อ แต่ต้องเป็นมูลนายมีพรรคพวก ลอบแบ่งเอาหนังสือหอหลวงยักยอกไว้ไม่ส่งคืนมาทั้งหมด มาปรากฏเมื่อภายหลังว่ายักยอกเอาหนังสือซึ่งฝีมือเขียนดีและเป็นเรื่องสำคัญ ๆไว้มาก เพราะในเวลานั้นไม่มีบัญชีหนังสือหอหลวงอยู่ที่อื่น นอกจากที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ อันผู้ยักยอกอาจเก็บซ่อนหรือทำลายเสียได้โดยง่าย แต่การที่ยักยอกหนังสือหอหลวงนั้กรมหลวงบดินทร์ฯ คงไม่ทราบ พวกอาลักษณ์ที่ไปรับหนังสือก็คงไม่รู้ ได้หนังสือเท่าใดก็ขนมาแต่เท่านั้น หนังสือหลวงจึงแตกเป็น ๒ ภาค กลับคืนเข้ามาในพระบรมมหาราชวังภาคหนึ่ง พวกที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ ยักยอกเอาไปซ่อนไว้ที่อื่นภาคหนึ่ง ต่อมาเมื่อกรมหลวงบดินทร์สิ้นพระชนม์แล้ว ชะรอยคนที่ได้หนังสือหอหลวงไว้จะยากจนลง จึงเริ่มเอาหนังสือที่มีรูปภาพและฝีมือเขียนงามๆออกขาย โดยอุบายแต่งให้คนชั้นบ่าวไพรไปเที่ยวบอกขายทีละเล่มสองเล่ม มีฝรั่งซื้อส่งเข้าหอสมุดในยุโรปบ้าง ไทยที่ชอบสะสมของเก่ารับซื้อไว้บ้าง

และก็หายไปเสียมากครานั้น

 เศร้า
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 17:30


       ในงานเอ๊กฮิบิชั่นที่สนามหลวงคราวนั้น   ก.ศ.ร. กุหลาบบันทึกไว้ละเอียดละออว่าเอาหนังสือตัวเขียนไปกี่เล่ม

หนังสือพิมพ์ไปกี่เล่ม   น่าดูชมเลย  ถ้าไม่มีบันทึกฉบับนี้เราผู้มาภายหลังก็จะไม่ทราบอะไรเลย

(คุณอ้วน ธงชัย  แห่ง สำนักพิมพ์ต้นฉบับ  พิมพ์ซ้ำด้วยรสนิยมอันดี  เล่มสีเขียว)


       ครูสมิทเขียนในสยามสมัยถึงหนังสือของก.ศ.ร. หลายครั้งว่าอยู่ห้อง ๑๗    อ่านจากการอธิบายการจัดงาน

ซึ่งวกวนซับซ้อนละเอียดละออแต่ไม่เป็นที่เข้าใจ  เข้าใจผิดว่า ห้องของกรมหมื่นบดินทรไพศาลอยู้ห้อง ๒๕

เพราะหลายตำราบอกว่าอยู่เฉียงกัน   ครูสมิทได้ยืมหนังสือหายากของ ก.ศ.ร. มาพิมพ์ใน สยามสมัยหลายเรื่อง


       ก.ศ.ร. กุหลาบเป็นผู้ที่คบหากับบุคคลมีชื่อเสียงทั้งปวง   ท่านพอมีสตางค์มากอยู่  เรียกว่า "อู๋"  ทีเดียวล่ะ

เงินเดือนในฐานะเสมียนฝ่ายไทยของโรงสีต่างๆและต่อมาเป็นกัมปะโดร์ด้วย  สูงมาก     เรื่องท่านจะไม่เคยเฝ้า

กรมหมื่นบดินทรไพศาลมาก่อนงานหนังสือนั้น  เป็นที่สงสัยอยู่

 
        หนังสือ  Bangkok Centennial  ซึ่ง อาลาบาสเตอร์ รับคำสั่งจาก เจ้านายให้ช่วยแปลหมายกำหนดงานและรายละเอียด

บางประการให้กับ  Siam Weekly Advertiser (มีคนพิมพ์เรื่องนี้มาแล้ว  แต่อ่านไม่ละเอียดว่า  อาลาบาสเตอร์มาช่วยแปล

เข้าใจว่าเอกสารของทางการ เท่านั้น)  ของหมอบรัดเล  แจงรายละเอียดของห้องไว้ตามสมควร  


       ห้องหมายเลข  ๑๗   อยู่ภายใต้การดูแลของกรมหมื่นบดินทรไพศาล

มีหนังสือเก่า หนังสือพิมพ์ กระดาษโบราณของสยาม  หมึก  ดินสอ  ฯลฯ


       ก.ศ.ร. กุหลาบ    เล่าไว้ว่าเป็นบ่าวของเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต  และได้รับใช้จัดห้องแสดงเงินตราต่าง ๆ   ท่านเจ้าคุณทิปแรงมาก

ฺBangkok Centennial  ชมในหน้า ๔๓ เกือบเต็มคอลัมน์ทั้งแถบขวามือว่า ห้อง ๒๐   จัดได้แบบมีความรู้ทางประวัติศาสตร์  

มีตัวอย่างเยอะ  รูปทรงแปลก ๆ  ใครชมแล้วก็เพลิดเพลินเจริญใจเข้าใจความเป็นมาของสยาม


(เรื่องนี้  ดิฉันเขียนขึ้นเอง  มิได้คัดลอกท่านผู้ใดมา   ท่านที่จะนำไปได้ใช้โปรดอ้างอิงด้วย)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง