เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13387 อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 19 ก.ย. 11, 14:45

ไปเจอภาพอาคารเก่าหลังหนึ่งมีแผ่นป้ายว่า "หอพระสมุดในพระองค์" พระองค์ใด ? ใคร่อยากทราบประวัติครับ

ภาพจาก "เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน" โดยเครก เจ. เรย์โนลด์ส ในส่วนของ "คดีไต่สวน ก.ศ.ร. กุหลาบ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 14:49

เห็นกองตำราเอกสารหุ้มปกอย่างดี น่าเข้าไปหยิบไปต้อง ไปอ่านทุกตัวอักษร


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 10:46

คำว่า  "หอพระสมุดในพระองค์"  คงจะหมายถึง  พระบรมวงศานุวงศ์อื่นไปไม่ได้
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพราะคำว่า  พระสมุด  บ่งบอกว่า
เป็นเอกสารหนังสือหลวง   เจ้านายพระองค์อื่นไม่น่าจะมีหอพระสมุดเป็นส่วนพระองค์ได้
มีได้อย่างมากก็น่าจะเป็นห้องสมุดส่วนพระองค์มากกว่า 
คำว่า หอพระสมุด  แสดงว่า  น่าจะเป็นอาคารที่ตั้งแยกออกมาเป็นเอกเทศ
แต่ว่าหอพระสมุดในพระองค์นี้  ตั้งอยู่ที่ไหน (ตามภาพที่ปรากฏ) นี่น่าขบคิด ลังเล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 11:01

ดูเหมือนวังเจ้านอกกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีศิลปะฉลุไม้ หลังคากระเบื้องว่าว มีบันไดทางขึ้นหน้าบ้าน หน้าต่างไม้บานเกล็ด สวยนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 11:35

หอหลวง เป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับตำรับตำราและจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง (ที่เรียกว่า "หอหลวง" เห็นจะเป็นคำย่อมาแต่ "หอหนังสือหลวง") มีในพระราชวังมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มีหอหลวงอยู่ในพระราชวังเช่นเดียวกัน ฉันเคยเห็นเป็นตึกชั้นเดียวหลังหนึ่ง อยู่ริมถนนตรงหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ยังมีรูปภาพตึกนั้นเขียนไว้ในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ (ห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ) อาลักษณ์เป็นพนักงานรักษาหนังสือหอหลวงจึงทำการของกรมอาลักษณ์ที่ตึกนั้นด้วย เป็นเหตุให้คนทั้งหลายเรียกตึกนั้นว่า "ห้องอาลักษณ์" ด้วยอีกอย่างหนึ่ง

ในรัชกาลที่ ๕ (ดูเหมือนในปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙) เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โปรดฯให้รื้อตึกหอหลวงกับตึกสำหรับข้าราชการกรมอื่น ๆ ที่รายเรียงอยู่แถวเดียวกันลง เพื่อจะสร้างใหม่ให้งามสมกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ก็ในเวลารื้อตึกสร้างใหม่นั้น จำต้องย้ายของต่าง ๆ อันเคยอยู่ในตึกแถวนั้นไปไว้ที่อื่น สมัยนั้นกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นอักษรสารโสภณ ทรงบัญชาการกรมอาลักษณ์ หาที่เก็บหนังสือหอหลวงไม่ได้ จึงให้ขนเอาไปรักษาไว้ที่วังของท่าน อันอยู่ต่อเขตวัดพระเชตุพนฯไปข้างใต้ หนังสือหอหลวงก็ไปอยู่ที่วังกรมหลวงบดินทร์ฯ แต่นั้นมาหลายปี

จาก นิทานโบราณคดี นิทานที่ ๙ เรื่องหนังสือหอหลวง พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ในภาพจะเป็นหอพระสมุดที่ตั้งอยู่ ณ วังของกรมหลวงบดินทร์ไพศาลได้หรือไม่

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 13:40

หอหลวง เป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับตำรับตำราและจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง (ที่เรียกว่า "หอหลวง" เห็นจะเป็นคำย่อมาแต่ "หอหนังสือหลวง") มีในพระราชวังมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มีหอหลวงอยู่ในพระราชวังเช่นเดียวกัน ฉันเคยเห็นเป็นตึกชั้นเดียวหลังหนึ่ง อยู่ริมถนนตรงหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ยังมีรูปภาพตึกนั้นเขียนไว้ในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ (ห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ) อาลักษณ์เป็นพนักงานรักษาหนังสือหอหลวงจึงทำการของกรมอาลักษณ์ที่ตึกนั้นด้วย เป็นเหตุให้คนทั้งหลายเรียกตึกนั้นว่า "ห้องอาลักษณ์" ด้วยอีกอย่างหนึ่ง


ภาพจิตรกรรมฝาผนังห้องที่เขียนการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ เห็นอาคารชั้นเดียวที่เป็น "หอหลวง" และ "ห้องอาลักษณ" ถูกรื้อถอนเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 14:01



คุณเพ็ญช่างคิดเหลือเกิน   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 14:33

จิตกรรมฝาผนังพระที่นั่งทรงผนวช บานหนึ่งเขียนฉาพลานต้นตะโก และหมู่พระที่นั่งมณเฑียรสถาน และหออาลักษณ์ริมกำแพง


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 08:45

ผมติดใจข้อความที่คุณเพ็ญชมพูว่า


ในภาพจะเป็นหอพระสมุดที่ตั้งอยู่ ณ วังของกรมหลวงบดินทร์ไพศาลได้หรือไม่

 ฮืม

๑.ผมยังไม่เคยเห็นภาพถ่ายวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณมาก่อน
จึงไม่กล้าฟันธงว่า  อาคารที่อยู่ในภาพที่คุณหนุ่มสยามเอาแสดงนั้น
คือวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารในภาพ  ก็ยังสงสัยว่า  วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ จะสร้างเป็นศิลปะตะวันตกอย่างนี้หรือ  ถ้าใครหาหลักฐานได้ว่า
วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ เป็นตึกอย่างตะวันตก  ก็คงจะเชื่อได้ว่า
นี่เป็นน่าจะเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณจริงๆ

๒.ถ้าเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
การขนย้ายหนังสือเอกสารจากหอพระสมุดในพระองค์จากพระบรมมหาราชวัง
ไปไว้ที่วังของพระองค์ชั่วคราว   พระองค์จะทรงทำป้ายติดไว้ว่า
"หอพระสมุดในพระองค์" ติดไว้ที่หน้าตึกที่ประทับของพระองค์หรือ 
ดูจะเป็นการชี้โพรงให้กระรอกมากไปหน่อยกระมัง  การทำป้ายติดบอกว่า
"หอพระสมุดในพระองค์"  น่าจะติดกับอาคารที่เป็นที่ตั้งของหอพระสมุดที่ถาวร
ไม่ใช่หอพระสมุดชั่วคราว  สภาพของป้ายนั้นก็น่าพิจารณาว่าใหม่หรือเก่า

๓.ถ้าเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
การขนย้ายหนังสือเอกสารจากหอพระสมุดในพระองค์ที่เห็นในภาพ
ควรจะเป็นการขนย้ายหนังสือเข้าหรือขนย้ายหนังสือออกจากวัง
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

 ฮืม ลังเล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 09:15

คุณปิยรัตน์  อินทร์อ่อนเขียนเรื่อง หอหลวง ไว้ในคลังความรู้ของรอยอิน ดังนี้

หอหลวง

กฎหมายตราสามดวง : พระทำนูน ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้จัดทำคำอธิบายโบราณศัพท์ต่าง ๆ ที่ปรากฏใน "พระทำนูน" อันเป็นพระอัยการแรกของกฎหมายตราสามดวง ศัพท์คำหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คำว่า หอหลวง

หอหลวง หมายถึง หอหนังสือหลวง เป็นที่เก็บรักษาเอกสารราชการในสมัยโบราณ ได้แก่ ต้นฉบับตัวเขียนที่เป็นตำรา กฎหมาย จดหมายเหตุ พงศาวดาร และวรรณคดีต่าง ๆ โดยมีอาลักษณ์ซึ่งปฏิบัติงานด้านเอกสาร ภาษา และหนังสือ เป็นเจ้าพนักงานดูแลรักษา หอหลวงตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง  เอกสารที่เก็บอยู่ที่หอหลวงจึงเรียกว่า หนังสือหอหลวง

ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุที่ตั้งของหอหลวงในสมัยอยุธยาว่า อยู่ในสระ มุมกำแพงสวนกระต่าย และมีหออาลักษณ์ตั้งอยู่ใกล้กัน ที่ริมกำแพงสวนกระต่าย  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ หอหลวงและหออาลักษณ์ตั้งอยู่ที่เดียวกันในพระบรมมหาราชวัง คือที่ทำการของกรมอาลักษณ์อยู่ในตึกเดียวกับหอหลวง จึงเรียกชื่อเป็น ๒ อย่างว่า หอหลวง หรือ ห้องอาลักษณ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า หอหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นตึกชั้นเดียว ตั้งอยู่ริมถนนหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ดังมีภาพตึกเขียนไว้ในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในห้องส่วนที่เขียนภาพการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ

ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงโปรดให้รื้อตึกหอหลวงและตึกอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน เพื่อสร้างตึกใหม่ให้งดงามรับกับพระที่นั่ง แต่การสร้างตึกหอหลวงหลังใหม่ยังคงค้างอยู่ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสร้างหอหลวงขึ้นใหม่ในพระบรมมหาราชวังอีกเลย.
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 09:22


อย่างน้อยภายในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณมีท้องพระโรงไม้สักอันงามสง่าตั้งอยู่

"เรื่องท้องพระโรงวัดราชาธิวาส เสด็จป้าพระองค์เจ้าวงเดือนรับสั่งเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชดำริห์จะทรงทำตำหนักตึกในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักฝากระดานไปปลูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอที่ออกวัง "เจ้าน้องงอนรถ" อยากทำท้องพระโรงเอง จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ จึงพระราชทานเงินค่าทำท้องพระโรง และท้องพระโรงหลังนี้ "เจ้าน้องงอนรถลงแรงมาก เขียนเองสลักเอง" โดยรับสั่งเล่าอย่างนี้ ภายหลังพระราชทานวังเสด็จพ่อแก่พระองค์เจ้าเปียก ครั้นสิ้น พระชนม์แล้ว พระราชทานกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ต่อมา ก็ไม่มีผู้รักษาเกือบจะเปนอันตรธานไป เดชะบุญในรัตนโกสินทรศก ๑๒๗ ( พ.ศ.๒๔๕๑ ) นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดราชา ธิวาส ทรงระลึกได้โดยได้เคยเสด็จพระราชดำเนินประทับในท้องพระโรงนี้หลายคราว ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าเปนท้องพระโรงที่ทำงดงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อไปปลูกไว้เปนหอสวดมนต์ที่วัดราชาธิวาส ได้ดำรงอยู่ในพระสาสนาต่อไป พ่อดีใจเปนล้นเหลือ๑ ๑ ที่หม่อมเจ้าแดงเอาเรื่องท้องพระโรงมาเล่าไว้ในเรื่องประวัติด้วยนั้น เพราะความพึ่งปรากฎว่าท้องพระโรงหลังนั้นเปนของพระองค์เจ้างอนรถทรงสร้าง และสลักด้วยฝีพระหัตถ์ เมื่อย้ายไปปลูกที่วัดราชาธิวาส หม่อมเจ้าแดงเขียนเรื่องประวัติ จึงเล่าเรื่องท้องพระโรงไว้ด้วย"

ที่มา ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๖
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 09:28

ถ้าไม่มีหอหลวงแห่งใหม่ แล้วหนังสือทั้งหลายจะไปอยู่ที่ไหน

แต่เดิมนั้นในบริเวณพระบรมมหาราชวังเคยมีหอหลวงเป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับ ตำรับ ตำรา และจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โปรดให้รื้อหอหลวงซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณนั้น หนังสือหลวงจึงตกไปอยู่ที่วังเจ้านาย ที่มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลควบคุมงานฝ่ายจดหมายเหตุ และบันทึกทั้งปวง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทรงสร้างอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหนังสือของหลวง บรรดามีตามที่ต่าง ๆ จัดสร้างหอสมุดนี้ขึ้น และพระราชทานตามพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงเป็นพระภิกษุว่า "หอพระสมุดวชิรญาณ สำหรับพระนคร" ซึ่งภายหลังขยายกิจการเปลี่ยนสถานที่ และนามเป็น "หอสมุดแห่งชาติ" อันเป็นส่วนราชการหนึ่งในกรมศิลปากร  

จาก  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 09:46

เราต้องมาดูว่า หนังสือย้ายไป ย้ายมา ระหว่างแห่งใดกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการบีบคำตอบให้งวดเข้า

อ้างถึง "หอสมุดวชิรญาณ" พิมพ์เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙

๑. หนังสือในพระองค์ถูกเก็บไว้ที่ "หอหลวง" พระบรมมหาราชวังและย้ายออกไปเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙ จากภาพจิตรกรรมเห็นว่า "หอหลวง" เป็นอาคารชั้นเดียว

๒. พ.ศ. ๒๔๒๖ หอสมุดอาศัยห้องชั้นต่ำมุขกระสันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางตะวันตก แล้วมาตั้งที่ตึกทิมดาบตรงหน้าพระที่นั่งจักรีเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐

๓. ย้ายออกไปที่ศาลาสหทัยสมาคม

๔. เปิดตึกหอสมุดวชิรญาณ ริมถนนหน้าวัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 10:16

ชายในชุดเครื่องแบบ น่าลองถามคุณ V_mee ถึงการแต่งกาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 10:25

เข้าไปหาชุดเครื่องแบบทหาร ซึ่งมีกระเป๋าหน้าพับได้ ตรงกลางแหลมเป็นปีกกา ระบุว่า พลทหาร ๒๔๕๑ - ๒๔๕๕



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง