เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 13335 อยากทราบประวัติ "หอพระสมุดในพระองค์" ครับ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 22:14


              ห้องหมายเลข  ๑๗   อยู่ภายใต้การดูแลของกรมหมื่นบดินทรไพศาล

มีหนังสือเก่า หนังสือพิมพ์ กระดาษโบราณของสยาม  หมึก  ดินสอ  ฯลฯ

จาก Bangkok Centennial, Bangkok, Siam, 1882. (1882)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 ก.ย. 11, 22:41


             ก.ศ.ร. กุหลาบ    เล่าไว้ว่าเป็นบ่าวของเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต  และได้รับใช้จัดห้องแสดงเงินตราต่าง ๆ   ท่านเจ้าคุณทิปแรงมาก

ฺBangkok Centennial  ชมในหน้า ๔๓ เกือบเต็มคอลัมน์ทั้งแถบขวามือว่า ห้อง ๒๐   จัดได้แบบมีความรู้ทางประวัติศาสตร์  

มีตัวอย่างเยอะ  รูปทรงแปลก ๆ  ใครชมแล้วก็เพลิดเพลินเจริญใจเข้าใจความเป็นมาของสยาม

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 ก.ย. 11, 20:24

การเฉลิมฉลองการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดกิจกรรมขึ้นหลายอย่าง หนึ่งในกิจกรรมที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดขึ้นก็คือ “งานพิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นการนำเอาสินค้าพื้นเมืองของประเทศในขณะนั้นมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการซึ่งเรียกว่างาน “เอกษฮีบิชัน” ให้ประชาชนได้เข้าชม ณ ท้องสนามหลวง โดยเรียกนิทรรศการครั้งนั้นว่า “นิทรรศการแนชันนาลเอกษฮีบิชัน” (National Exhibition)

ทรงมีพระราชดำริว่า

“...บ้านเมืองเจริญด้วยการค้าขาย ราษฎรทำเรือกสวนไร่นาต่างๆ ได้รับผลประโยชน์มาก ควรจะนำพืชพันทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในประเทศ และราษฎรมีไว้ซื้อขายกัน เครื่องมือที่ใช้ทำมาหากินทุกอย่าง รวมถึงสิ่งของที่ทำขึ้นด้วยฝีมือตนเอง ทั้งที่ใช้ภายในประเทศและที่ส่งขายไปยังต่างประเทศ มารวบรวมไว้ในที่แห่งหนึ่งเพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราษฎรชาวสยาม และชาวต่างประเทศได้มาชม เพื่อเป็นการแสดงให้ทราบว่า สิ่งใดผลิตขึ้นที่ไหน ผู้ที่จะซื้อขายสินค้าจะได้ทราบแหล่งผลิตดังกล่าว...”

การจัดกิจกรรมในรูปแบบนิทรรศการครั้งนั้น ได้จัดสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น ณ บริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งได้เตรียมการล่วงหน้ากันนานนับปี โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ และกรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช (ต้นราชสกุลภาณุพันธ์) เป็นแม่งาน พร้อมทั้งประกาศเชิญชวนให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชน และเจ้าของห้างร้นนำสิ่งของมาร่วมกันจัดแสดงงาน ภายในงานมีสิ่งของที่นำมาแสดง เช่น ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม งานช่างฝีมือ โบราณวัตถุ ของหายาก สิ่งประดิษฐ์ทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับแนวทางการบริหารราชการในปัจจุบันที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มช่องทางการค้าขายมากยิ่งขึ้น

งานการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนั้นได้มีบันทึกถึงบรรยากาศการจัดงานไว้ว่า

“ในงานมีการสร้างปะรำด้วยไม้ไผ่หลายหลัง มีรั้วไม้ไผ่กั้นโดยรอบและแบ่งเป็นห้อง ๆ ของที่นำมาจัดแสดงมีประมาณ ๔๐ ชนิด มีของน่าชมอยู่หลายห้อง เช่น เครื่องเพชรพลอย เครื่องเงิน การแสดงหุ่นในเครื่องแต่งกายแบบต่างๆ ภาพเขียน เครื่องมุก เครื่องจักสาน งาช้าง เครื่องมือประมง แร่ธาตุต่าง ๆ อาวุธ เหรียญและเงินโบราณ ตลอดจนพืชพันธุ์ของป่า ส่วนที่สำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่ ส่วนของการส่งเสริมการศึกษา ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีกิจกรรมทางการศึกษา คือ ให้มีเทศนาพระราชประวัติพงศาวดารกรุงเทพฯ และพระบวรประวัติ รวมทั้งจัดแสดงหนังสือไทยฉบับตัวเขียนจากหอสมุดหลวง โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ผู้บัญชาการกรมอารักษ์ทรงรับผิดชอบในการจัด”

งานนิทรรศการครั้งนั้น เริ่มจัดตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นเวลา ๕๒ วัน โดยในวันเปิดงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดงานและเสด็จทอดพระเนตรสิ่งของต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงด้วย

จากการจัดนิทรรศการในครั้งนั้น พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึก เรียกว่า “เหรียญที่ระลึกสำหรับพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮีบิชั่น” โดยมีจุดประสงค์เพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่มาช่วยเหลืองาน ซึ่งปรากฏหลักฐานถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานท่านหนึ่ง ได้แก่ นายกุหลาบ ตฤษณนนท์ นักเขียนนามปากาว่า ก.ส.ร. ผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือสยามประเภทในขณะนั้น นายกุหลาบได้นำหนังสือจำนวน ๑๕๐ เล่ม มาร่วมจัดแสดง แต่ยอมให้ประชาชนดูเพียง ๑๔๙ เล่ม ส่วนอีกหนึ่งเล่ม คือ อภินิหารบรรพบุรุษ ไม่ยอมให้ใครดู เพราะตั้งใจจะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว และในงานนี้นายกุหลาบก็ได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึกในงานนิทรรศการแห่งชาติในฐานะผู้ช่วยงานอีกด้วย
 
ข้อมูลจาก เว็บพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 20:57

นายกุหลาบได้นำหนังสือจำนวน ๑๕๐ เล่ม มาร่วมจัดแสดง แต่ยอมให้ประชาชนดูเพียง ๑๔๙ เล่ม ส่วนอีกหนึ่งเล่ม คือ อภินิหารบรรพบุรุษ ไม่ยอมให้ใครดู เพราะตั้งใจจะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 21:41

คุณมนันยาเขียนไว้ว่า ก.ศ.ร. กุหลาบไปตั้งแสดงหนังสือไทยสมัยเมื่อแรกพิมพ์ห้องหนึ่ง เป็นหมายประกาศที่พิมพ์เป็นใบปลิวและหนังสือเรื่องต่าง ๆ ที่พิมพ์เป็นเล่มสมุดในรัชกาลที่ ๔ รวมทั้งสิ้น ๑๕๐ เรื่อง เป็นหนังสือ ๑,๐๐๐ เล่มเศษ

หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบแสดงที่ห้องหมายเลขใดหนอ

"นาย ก.ส.ร. กุหลาบ รับอาสาแสดงหนังสือไทยสมัยเมื่อแรกพิมพ์ห้องหนึ่ง อยู่ต่อกับห้องกรมหลวงบดินทร์ฯ ด้วยเป็นของประเภทเดียวกัน ฉันเคยไปดูทั้ง ๒ ห้อง และเริ่มรู้จักตัวนายกุหลาบเมื่อครั้งนั้น"



เป็นไปได้ไหมว่าแสดงที่ห้องหมายเลข ๑๘ ซึ่งแสดงหนังสือตัวเขียนของพระยาศรีสุนทรโวหาร ห้องอยู่ติดกับห้องของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณพอดี  ฮืม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 11:50

โรงเอกซฮิบิเช่อน ณ ท้องสนามหลวง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 ส.ค. 19, 08:09

ห้องหมายเลข ๑๗ หรือ หมายเลข ๑๘ ?

ความเห็นจาก หนังสือแกะปมจินตภาพ นาย ก.ศ.ร. กุหลาบแห่งสยาม โดย บุญพิสิฐ ศรีหงส์ หน้า ๔๕-๔๖




บันทึกการเข้า
ราชประชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 10



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 ส.ค. 19, 14:27

ไปเจอภาพอาคารเก่าหลังหนึ่งมีแผ่นป้ายว่า "หอพระสมุดในพระองค์" พระองค์ใด ? ใคร่อยากทราบประวัติครับ


เจอภาพชัดๆ ละ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 19 ส.ค. 19, 15:14

ในภาพจะเป็นหอพระสมุดที่ตั้งอยู่ ณ วังของกรมหลวงบดินทร์ไพศาลได้หรือไม่

คำเฉลย

อาคารหอพระสมุดในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน


เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดในพระองค์ไปที่หอสมุดสำหรับพระนคร และตั้งเป็นหอสมุดวชิราวุธ
 
https://www.facebook.com/TheNationalGalleryThailand/photos/a.1241578469306840/1253239361474084?type=3&sfns=mo
https://www.facebook.com/613991711999127/posts/1858477357550550?s=100006582436536&sfns=mo


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 ส.ค. 19, 21:41

ภาพลงสีฝีมือคุณหนุ่มสยาม  ยิงฟันยิ้ม

https://www.facebook.com/780950968608377/posts/2019810254722436?s=100006582436536&sfns=mo


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง