เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 35104 มาจากวัดอะไรใครรู้บ้าง
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 15:47

ไม่ถูกก็ ตอบ (เดา) ใหม่ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
วัดเทวราชกุญชร ค่ะ
มีภาพจิตรกรรม พระภิกษุปลงอสุภกรรมฐาน
และทศชาติชาดกเรื่องสุวรรณสาม...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 15:50

วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 15:52

ไมใช่วัดเทวราชกุญชรครับ ดูรูปอีกรูป ที่ทวารบาลประตูเขียนเป็นรูปทวารบาล(อย่างขุนนางจีน) ฉะนั้นวัดน่าจะอยู่ที่ไหน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 16:06

เดาว่า วัดดิสานุการาม ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 16:21

ลุ้นกับคุณดีดี ... น่าจะถูกนะครับ

วัดดิสานุการาม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดดณะสงฃ์มหานิกาย เดิมชื่อ วัดจางวางดิส ตามชื่อผู้สร้างคือจางวางดิส สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานนามใหม่เป็น วัดดิสานุการาม

พระอุโบสถ ขนาดใหญ่ ตั้งบนฐานยกพื้นมีระเบียงรอบ หลังคา ๒ ชั้น ติดช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปิดทองประดับกระจก หน้าบันลวดลายดอกไม้ ประดับกระจกสี ซุ้มประตูหน้าต่างทรงมงกุฎ ประดับปูนปั้นลายดอกพูดตาน บานประตูมุกลายดอกลอย บานหน้าต่างเขียนลายรดน้ำผูกลายราชวัตร สองข้างประตูพระอุโบสถและเชิงบันไดระเบียง ตั้งราชสีห์หล่อปูน ฝาผนังพระอุโบสถตอนล่างปูแผ่นหินอ่อน ตอนบนเขียนภาพจิตรกรรม ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรืองทศชาติตอน เทพชุมนุม ผนังตรงข้ามพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติ ตอนแบ่งพระบมสารีริกธาตุ และด้านหลังพระประธานเป็น ภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ บานประตูด้านในรูปเชี่ยวกาง บานหน้าต่างรูปทวารบาล

พระวิหาร ลักษณะเดืยวกับพระอุโบสถ แต่ขนาดย่อมกว่า หน้าบันเป็นรูปธรรมจักรล้อมรอบด้วยลายเครื อเถา ซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นช่อดอกพ ุดตาน พื้นปูหินอ่อน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 16:30

หาภาพมาเทียบกับแผงโลหะที่สังเกตุไว้


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 16:36

ดูจากภาพที่ท่านsiamese ช่วยนำมาประกอบ เทียบกับภาพเซี่ยวกาง ยิงฟันยิ้ม
วัดดิสานุการาม  ชัวร์เลยค่ะ 



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 16:44

ภาพนี้ใช่แน่ๆ ค่ะ.. ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 17:36

เก่งมากครับ คุณD:Dและคุณsiameseที่อุตส่าห์หาภาพมาประกอบจนเจอ  ใครเคยไปบ้างครับวัดนี้ เดี๋ยวผมจะเข้าไปอีกไม่กี่วันนี้แหละ ไปดูของสวยของงามกัน ตอนนี้อยู่ดีๆโน๊ตบุ๊คผมเป็นอะไรไม่รู้จอมันเกิดเปลี่ยนสีเป็นภาพซ้อน สงสัยจะกลับบ้านเก่า ทำไมดวงมันถึงได้ตกเช่นนี้ เฮ้อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 20:01

พอเฉลยแล้วก็เลยหายกันไปหมดเลย มาชมภาพกันต่อแล้วกันครับ ภาพนี้เปนภาพปลาใหญ่กินปลาเล็กสุดคาดเดาว่าเป็นปลาอะไรส่วนหนึ่งของจิตรกรรมตอนภูริทัต แต่ลองดูเอาเถิดแววตาของปลาใหญ่ที่มุ่งมั่นในอาหารอันโอชะทีคาบอยู่ในปากสวนปลาเล็กแววตาหามีไม่เนื่องด้วยสายชีวาตั้งแต่โดนเขี้ยวของปลาใหญ่ที่งับเข้ามาเต็มเขี้ยว ช่างเขียนช่างถ่ายทอดความรู้สึกจากปลายภู่กันได้อย่างมีชีวิตชีวาเสียนี่กระไร ครั้งหนึ่งผมเคยคัดเอาตอนนี้ไปเขียนภาพส่งอาจารย์ในวิชาเอกจิตรกรรมไทย อาจารย์ผู้ตรวจคือท่านอาจารย์สุดสาคร ชายเสม ชมว่าปลาที่ข้าพเจ้าคัดลอกนั้นเป็นจุดที่สวยงามมากในภาพ ขนาดเพียงภาพคัดลอกอาจารย์ยังชมเสียขนาดนั้นแล้วภาพต้นฉบับนี้เล่า ลองดูเถิด นี่แหละเสน่ห์ของจิตรกรรมฝาผนังไทย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 20:16

ภาพพระอินทร์หักฉัตร หรือ พระอินทร์ทำลายพิธี ถูกต้องไหมครับ งดงามมาก ๆ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 20:18

หากเป็นผู้เคยชมภาพจิตรกรรมฝาผนังในที่ต่างๆมากเหมือนผม จะสังเกตได้ว่าฝีมือภาพเขียนที่นี่ตัวภาพบุคคลนั้นฝีมือคล้ายคลึงกับภาพเขียนบุคคลในจิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์อยู่หลายจุด อาจเป็นไปได้ว่าช่างที่เขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุทัศน์อาจได้มาฝากฝีมือไว้ที่นี่ก็เป็นได้ ที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งก็คือพวกช่างที่ได้เข้ามาบูรณะเมื่อกว่า20ก่วาปีที่ผานมาได้มาทำลายความงดงามส่วนนี้ลงไปมากกว่า50%(คงเห็นจากภาพทีผมโพสต์ไปหลายภาพแล้ว) ที่ผมว่างดงามอีกจุดคืดการเขียนภาพนรกในจิตรกรรมตอนเนมิราช ช่างวางองค์ประกอบของเหล่าผีเปรตอสุรกายได้ลงตัวงดงามแถมน่ากลัวไม่แพ้เปรตวัดดุสิตที่ว่าน่ากลัวนั่นที่เดียว มาดูภาพประกอบภาพนี้ ไม่รู้เจ้าผีสองตัวนี่มันทำอะไร อีกภาพนึงน่าจะเป็นภาพปีนต้นงิ้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 20:28

ถูกต้องแล้วครับคุณsiamese เป็นชาดกเรื่องจันทกุมารเรื่องก็มีอยู่ว่าในครั้งโบราณ เมืองพารานสี มีชื่อว่า บุปผวดี มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเอกราชา พระราชบุตรองค์ใหญ่ พระนามว่า จันทกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช และ พราหมณ์ชื่อกัณฑหาล เป็นปุโรหิตในราชสำนัก กัณฑหาล มีหน้าที่ตัดสินคดีความอีกตำแหน่ง แต่กัณฑหาลเป็นคน ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มักจะรับสินบนจากคู่ความอยู่เสมอ ข้างไหนให้สินบนมาก ก็จะตัดสินความเข้าข้างนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง ผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมร้องโพนทนา โทษของกัณฑหาล ได้ยินไปถึงพระจันทกุมาร จึงตรัสถาม ว่าเกิดเรื่องอะไร บุคคลนั้นจึงทูลว่า "กัณฑหาลปุโรหิต มิได้เป็นผู้ทรงความยุติธรรม หากแต่รับสินบน ก่อความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้นเนืองๆ" พระจันทกุมารตรัสว่า "อย่า กลัวไปเลย เราจะเป็นผู้ให้ ความยุติธรรมแก่เจ้า" แล้ว พระจันทกุมารก็ทรงพิจารณาความอีกครั้ง ตัดสินไปโดย ยุติธรรม เป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชนทั้งหลาย ฝูงชนจึง แซ่ซ้องสดุดีความยุติธรรมของพระจันทกุมาร พระเจ้าเอกราชาทรงได้ยินเสียงแซ่ซ้อง จึงตรัสถาม ครั้นทรงทราบจึงมีโองการว่า "ต่อไปนี้ ให้จันทกุมาร แต่ผู้เดียวทำหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งปวงให้ยุติธรรม" กัณฑหาลเมื่อถูกถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ ก็เกิด ความเคียดแค้นพระจันทกุมาร ว่าทำให้ตนขาดผล ประโยชน์ และได้รับความอับอายขายหน้าประชาชน จึงผูกใจพยาบาทแต่นั้นมา

     อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าเอกราช ทรงฝันเห็นสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เห็นความผาสุกสวยงาม ความรื่นรมย์ ต่างๆ นานา ในสรวงสวรรค์ เมื่อตื่นจากฝัน พระองค์ ยังทรงอาลัยอาวรณ์อยู่ และปรารถนาจะได้ไปสู่ ดินแดนอันเป็นสุขนั้น จึงตรัสถามบรรดาผู้ที่พระองค์ คิดว่าจะสามารถบอกทางไปสู่เทวโลกให้แก่พระองค์ได้ กัณฑหาลได้โอกาส จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระราชา ผู้ที่ประสงค์จะไปสู่สวรรค์ มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นคือ ทำบุญให้ทาน และฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า" พระราชาตรัส ถามว่า "ฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า หมายความว่าอย่างไร" กัณฑหาลทูลตอบว่า "พระองค์จะต้องการกระทำการ บูชายัญด้วยพระราชบุตร พระมเหสี ประชาชนหญิงชาย เศรษฐี และช้างแก้ว ม้าแก้ว จำนวนอย่างละสี่ จึงจะไป สู่สวรรค์ได้" ด้วยความที่อยากจะไปเสวยสุขในสวรรค์ พระเจ้าเอกราชาก็ทรงเห็นดีที่จะทำบูชายัญตามที่กัณฑหาล ผู้มี จิตริษยาพยาบาททูลแนะ พระองค์ทรงระบุชื่อ พระราช บุตรพระมเหสี เศรษฐี ประชาชน และช้างแก้ว ม้าแก้ว ที่จะ บูชายัญด้วยพระองค์เอง อันที่จริงกัณฑหาลประสงค์ร้าย กับพระจันทกุมารองค์เดียวเท่านั้น แต่ครั้นจะให้บูชายัญ พระจันทกุมารแต่ลำพัง ก็เกรงว่าผู้คนจะสงสัย จึงต้องให้ บูชายัญเป็นจำนวนสี่ พระจันทกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ก็ทรงอยู่ในจำนวนชื่อที่พระเจ้าเอกราชาโปรดให้นำมาทำ พิธีด้วย จึงสมเจตนาของกัณฑหาล เมื่อช้าง ม้า และบุคคล ที่ถูกระบุชื่อ ถูกนำมาเตรียมเข้าพิธี ก็เกิดความโกลาหล วุ่นวาย มีแต่เสียงผู้คน ร้องไห้คร่ำครวญไปทั่ว พระจันทกุมารนั้น เมื่อราชบุรุษไปกราบทูลก็ทรงถามว่า ใครเป็นผู้ทูลให้พระราชาประกอบพิธีบูชายัญ ราชบุรุษ ทูลว่ากัณฑหาล ก็ทรงทราบว่าเป็นเพราะความ ริษยาพยาบาทที่ กัณฑหาลมีต่อพระองค์เป็นสาเหตุ ในเวลาที่ราชบุรุษไปจับเศรษฐีทั้งสี่มาเข้าพิธีนั้น บรรดาญาติพี่น้องต่างพยายามทูลวิงวอนขอชีวิตต่อ พระราชา แต่พระราชาก็ไม่ทรงยินยอม เพราะมี พระทัยลุ่มหลงในภาพเทวโลก และเชื่องมงายในสิ่งที่ กัณฑหาลทูล ต่อมาเมื่อพระบิดาพระมารดาของ พระราชาเอง ทรงทราบก็รีบเสด็จมาทรงห้ามปรามว่า "ลูกเอ๋ยทางไปสวรรค์ที่ต้องฆ่าบุตรภรรยา ต้องเบียด เบียนผู้อื่นนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร การให้ทาาน การ งดเว้นการเบียดเบียนต่างหาก เป็นทางสู่สวรรค์" พระราชาก็มิได้ทรงฟังคำห้ามปรามของพระบิดา พระมารดา

     พระจันทกุมารทรงเห็นว่าเป็นเพราะ พระองค์เองที่ไปขัดขวางหนทางของคนพาลคือ กัณฑหาล ทำให้เกิดเหตุใหญ่ จึงทรงอ้อนวอนพระบิดา ว่า "ขอพระองค์โปรดประทานชีวิต ข้าพเจ้าทั้งปวงเถิด แม้จะจองจำเอาไว้ก็ยังได้ใช้ประโยชน์ จะให้เป็น ทาส เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า หรือขับไล่ไปเสียจากเมืองก็ย่อมได้ ขอประทานชีวิตไว้เถิด" พระราชาได้ฟังพระราชบุตร ก็ทรงสังเวชพระทัยจน น้ำพระเนตรไหล ตรัสให้ปล่อย พระราชบุตร พระมเหสี และทุกสิ่งทุกคนที่จับมาทำพิธี ครั้นกัณฑหาลทราบ เข้าขณะเตรียมพิธีก็รีบมาทูบคัดค้าน และ ล่อลวงให้ พระราชาคล้อยตามด้วยความหลงใหลในสวรรค์อีก พระราชาก็ทรงเห็นดีไปตามที่กัณฑหาล ชักจูง พระจันทกุมารจึงทูลพระบิดาว่า "เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ อยู่ พระองค์โปรดให้พี่เลี้ยง นางนม ทะนุ บำรุงรักษา ครั้นโตขึ้นจะกลับมาฆ่าเสียทำไม ข้าพเจ้าย่อมกระทำ ประโยชน์แก่พระองค์ได้ พระองค์จะ ให้ฆ่าลูกเสีย แล้วจะอยู่กับคนอื่นที่มิใช่ลูกจะเป็นไปได้อย่างไร ในที่สุดเขาก็คงจะฆ่าพระองค์เสียด้วย พราหมณ์ที่สังหาร ราชตระกูล จะถือว่าเป็นผู้มีคุณประโยชน์ได้อย่างไร พราหมณ์นั้นคือผู้เนรคุณ" พระราชาได้ฟัง ก็สลดพระทัย สั่งให้ปล่อยทุกชีวิต ไปอีกครั้ง แต่ครั้นพราหมณ์กัณฑหาลเข้ามากราบทูล ก็ทรงเชื่ออีก พระจันทกุมารก็กราบทูลพระบิดาว่า "ข้าแต่พระบิดา หากคนเราจะไปสวรรค์ ได้เพราะ การกระทำบูชายัญ เหตุใดพราหมณ์จึงมิทำบูชายัญ บุตรภรรยาของตนเองเล่า เหตุใดจึงได้ชักชวนให้คน อื่นกระทำ ในเมื่อพราหมณ์ก็ได้ทูลว่า คนผู้ใดทำ บูชายัญเองก็ดี คนผู้นั้นย่อมไปสู่สวรรค์ เช่นนั้นควรให้ พราหมณ์กระทำบูชายัญด้วยบุตรภรรยาตนเองเถิด" ไม่ว่าพระจันทกุมารจะกราบทูลอย่างไร พระราชา ก็ไม่ทรงฟัง บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง พระวสุลกุมารผู้เป็นราชบุตรของพระจันทกุมาร มาทูลอ้อนวอน พระเจ้าเอกราชาก็ไม่ทรงยินยอมฟัง

     ฝ่ายกัณฑหาลเกรงว่าจะมีคนมาทูลชักจูงพระราชาอีก จึงสั่งให้ปิดประตูวัง และทูลเชิญพระราชาให้ไป อยู่ในที่อันคนอื่นเข้าไปเฝ้ามิได้ เมื่อถึงเวลาทำพิธี มีแต่เสียงคร่ำครวญของราชตระกูล และฝูงชนที่ญาติ พี่น้องถูกนำมาเข้าพิธี ในที่สุด นางจันทาเทวีผู้เป็นชายา ของพระจันกุมาร ซึ่งได้พยายามทูลอ้อนวอนพระราชา สักเท่าไรก็ไม่เป็นผล ก็ได้ ติดตามพระจันทกุมารไป สู่หลุมยัญด้วย เมื่อกัณฑหาลนำถาดทองมาวางรอไว้ และเตรียมพระขรรค์จะบั่นคอพระจันทกุมาร พระนางจันทาเทวีก็เสด็จไปสู่หลุมยัญ ประนมหัตถ์บูชา และกล่าวสัจจวาจาขึ้นว่า "กัณฑหาลพราหมณ์เป็น คนชั่วเป็นผู้มีปัญญาทราม มีจิตมุ่งร้ายพยาบาท ด้วยเหตุแห่งวาจาสัตย์นี้ เทวดา ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง จงช่วยเหลือเรา ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้แสวงหาที่พึ่ง ขอให้เราได้อยู่ร่วมกับสามีด้วยความสวัสดีเถิด ขอให้พระเป็นเจ้า ทั้งหลายจงช่วยสามีเราให้เป็นผู้ที่ศัตรูทำร้ายมิได้เถิด" เมื่อพระนางกระทำสัจจกริยา พระอินทร์ได้สดับ ถ้อยคำนั้น จึงเสด็จมาจากเทวโลก ทรงถือค้อนเหล็กมี ไฟลุกโชติช่วง ตรงมายังพระราชา กล่าวว่า "อย่าให้เรา ถึงกับต้องใช้ค้อนนี้ประหารเศียรของท่านเลย มีใครที่ ไหนบ้าง ที่ฆ่าบุตร ภรรยา และเศรษฐีคหบดีผู้ไม่มีความ ผิดเพื่อที่ตนเองจะได้ไปสวรรค์ จงปล่อยบุคคลผู้ปราศ จากความผิดทั้งปวงเสียเดี๋ยวนี้" พระราชาตกพระทัยสุดขีด สั่งให้คนปลดปล่อยคน ทั้งหมดจากเครื่องจองจำ ในทันใดนั้นประชาชนที่รุม ล้อมอยู่ก็ช่วยกันเอาก้อนหิน ก้อนดินและท่อนไม้ เข้าขว้างปาทุบตีกัณฑหาลพราหมณ์จนสิ้นชีวิตอยู่ ณ ที่นั้น แล้วหันมาจะฆ่าพระราชา แต่พระจันทกุมารตรงเข้ากอด พระบิดาไว้ ผู้คนทั้งหลายก็ไม่กล้าทำร้าย ด้วยเกรง พระจันทกุมารจะพลอยบาดเจ็บ ในที่สุดจึงประกาศว่า "เราจะไว้ชีวิตแก่พระราชาผู้โฉดเขลา แต่จะให้ครองแผ่นดิน มิได้" เราถอดพระยศพระราชาเสียให้เป็นคนจัณฑาล แล้วไล่ออกจากพระนครไป จากนั้นมหาชนก็กระทำพิธีอภิเษกพระจันทกุมารขึ้น เป็นพระราชา ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรม เมื่องทรงทราบว่าพระบิดาตกระกำลำบากอยู่นอกเมือง ก็ทรงให้ความช่วยเหลือพอที่พระบิดาจะดำรงชีพอยู่ได้ พระจันทกุมารปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมาจนถึงที่สุดแห่งพระชนม์ชีพ ก็ได้เสด็จไปเสวยสุข ในเทวโลก ด้วยเหตุที่ทรงเป็น ผู้ปกครองที่ดี ที่ทรงไว้ซึ่ง ความยุติธรรม ไม่หลงเชื่อ วาจาคนโดยง่าย และ ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อตรง
คติธรรม : บำเพ็ญขันติบารมี



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 20:37

น่าเสียดายนะครับที่ตอนจันทรกุมารนี้ตัวภาพโดนเขียนทับเสียสิ้นลายเส้นที่งดงามจึงไม่หลงเหลือเหลืออยู่เฉพาะองค์ประกอบรวมของภาพเท่านั้น มาดูภาพประกอบรูปนี้ที่บอกว่ามีส่วนคล้ายฝีมือช่างที่วัดสุทัศน์ส่วนอีกสองภาพคือกัณหาชาลีเขียนหน้าตาตัวภาพได้จิ้มลิ้มพริ้มเพราไม่แพ้กัณหาชาลีที่วัดประดู่ทรงธรรมเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 ก.ย. 11, 20:37

ขอบคุณครับคุณยีนส์ที่บรรยายเรื่องราวชาดกให้ทราบโดยละเอียด

ในภาพด้านบนที่เห็นหญิงเปลือยอก แล้วมีลิง ๒ ตัวกำลังทำอะไรบางอย่าง ...อยากจะให้เห็นภาพกว้างสักหน่อย และคาดว่าบรรยากาศนี้ควรจะเป็นบรรยากาศแห่งการสังเวย หรือ กำลังบูชายันต์เนื้อมนุษย์ น่าจะใช่นะขอรับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง