เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12
  พิมพ์  
อ่าน: 34900 มาจากวัดอะไรใครรู้บ้าง
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 25 ก.ย. 11, 19:31

มาต่อตอนวิธูรบัณฑิตเลยครับ เป็นอีกตอนที่เสียดายมากที่ช่างซ่อมทำซะเละไม่อบ่างนั้นจะสวยมาก โดยเฉพาะสุมทุมพุ่มไม้จริงๆแล้วใบไม้ใบหญ้าเขียนแบบกระทบเส้น(ตัดเส้น)เป็นใบสอดสีให้ดูมีมิติ ไอ้คนซ้อมมันเล่นเอาแรงประกระทุ้งเป็นไม้พุ่มหมดทุกต้น อยากจะสาบแช่งพวกมันให้มือกุดจริงๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 25 ก.ย. 11, 19:38

ต่อครับ(ดูที่รูปสุดท้ายนะครับ จะเห็นพุ่มไม้ที่ชายสองคนยืนพิงคุยกันอยู่ยังหลงเหลือฝีมือเดิมอยู่เล็กน้อยจะเห็นการตัดเส้นใบไม้ที่งดงามเหลืออยู่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 25 ก.ย. 11, 19:50

มาถึงตอนสุดท้ายแล้วครับพระเวสสันดร ก็ชมกันเอาเองละกันนะครับ ถ้าไม่มีซ่อมตอนนี้ก็จะสวยตอนนึงเลยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 25 ก.ย. 11, 19:59

ต่อชุดสุดท้าย จบตอนครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 25 ก.ย. 11, 20:18

ลาไปด้วยรูปสุดท้าย ทวารบาลของบานหน้าต่าง จะสังเกตว่าสองข้างบานหน้าต่าง(เรียกว่าบานแผละ)จะผูกลายเขียนเป็นพันธุ์พฤกษาทั้งสองข้างงดงามนัก
ในฐานะของผู้โพสต์ผมได้แต่หวังว่าการโพสต์แต่ละครั้งจะมีคนสนใจเข้ามาชม ที่สำคัญอย่าชมเฉยๆน่าจะมีปฏิสัมพันธ์กันบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติหรือนำเสนออะไรต่อกันบ้าง อย่าไปคิดว่าไม่รู้ถามไปจะปล่อยไก่ ผมเองก็ไม่ได้รู้ไปทุกเรื่องอะไรที่ไม่รู้ก็ต้องไปศึกษาค้นคว้า เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นจะช่วยเป็นแรงใจให้ผู้นำเสนอยังเห็นว่ามีคนสนใจในสิ่งนี้อยู่ ตอนนี้สมาชิกของชมรมผมไปเล่นfacebookกันหมดแล้ว ตัวผมเองก็เพิ่งจะตามไปก็ได้เปิดโลกทรศนืไปอีกแบบวันี้ท่านอาจารย์สันติ เล็กสุขุมยังได้รับแอดเป็นเพื่อนกันในfacebookรู้สึกภูมิใจที่ท่านอาจารย์ท่านให้เกียรติและยินดีให้คำปรึกษา เพราะท่านที่เป็นผู้เชียวชาญทางศิลปะไทยท่านนึงในปัจจุบันทีเดียว ใครอยากพูดคุยกันในfacebookผมใช้ชื่อว่า"ผนังเก่าเล่าเรื่อง"แอดfacebookได้ที่http://www.facebook.com/#!/ryuguza17 ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 11:07

สงสัยบ่นมากไปเลยไม่มีใครเข้ามาดูเลย ขี่ม้าไปเที่ยวที่อื่นดีกว่า อิอิ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 11:22

เข้ามาดูอยู่เสมอ

ขอถามว่าถึงวิธีเขียนภาพฝาผนังในสมัยโบราณว่าก่อนเขียนภาพเขาต้องมีการเตรียมพื้นผนังอย่างไรบ้างหรือไม่

สีต่าง ๆ ที่ใช้ได้มาจากวัสดุธรรมชาติอะไรบ้าง โดยเฉพาะสีทองมาจากอะไร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 12:59

การที่จะเขียนภาพจิตรกรรมไทยบนฝาผนัง อันได้แก่ฝาผนังพระที่นั่ง พระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร หอไตร หอพระ หรือบานประตู หน้าต่าง ฯลฯ
ก่อนที่จะทำการเขียนภาพจิตรกรรมไทยบนฝาผนังนั้น ท่านบรมครูสมัยดั้งเดิม ท่านได้มีแบบแผนและกรรมวิธี ในทางปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยท่านบรมครูได้จัดเตรียมความพร้อมไว้ ๔ ประการคือ
๑. การเตรียมพื้นที่
๒. การเตรียมอุปกรณ์และวัสดุที่จะใช้เขียน
๓. การเตรียมภาพ(แนวคิด มโนภาพ และจินตนาการ)
๔. ลงยางมะเดื่อปิดทอง ซึ่งหลักปฎิบัติทั้ง ๔ ประการนี้ จะได้แยกอธิบายเป็นข้อๆดังต่อไปนี้
๑.การเตรียมพื้นที่
ก. พื้นฝาผนังโดยปกติแล้วจะต้องมีฝุ่นละอองจับอยู่ จำเป็นจะต้องทำการขจัดฝุ่นออกให้หมดเสียก่อน
ข.ใช้น้ำใบขี้เหล็กทาพื้นฝาผนังเพื่อฆ่าความเค็มของปูนเสียก่อน น้ำใบขี้เหล็กที่จะใชัทาพื้นผนังนั้น ก็โดยการนำเอาใบขี้เหล็กสดมาใส่ครกตำให้ละเอียด แล้วเอามาผสมน้ำที่เตรียมไว้ ใช้มือคนให้ทั่วเพื่อให้น้ำขี้เหล็กผสมกับน้ำ แล้วใช้ผ้ากรองแยกกากใบขี้เหล็กออก เอามือบีบคั้นจนน้ำขี้เหล็กออกจนหมด เมื่อได้น้ำใบขี้เหล็กแล้ว ก็เอาไปทาพื้นผนังที่จะเขียนภาพให้ทั่ว ถ้าจะให้ดีจริงๆ ควรทาหลายๆครั้ง
ค. การพิสูจน์ความเค็มของปูน ฝาผนังที่เราทาน้ำขี้เหล็กแห้งสนิทดีแล้ว เราต้องการทราบว่าผนังปูนหมดความเค็มหรือยัง เราก็ใช้ขมิ้นชันสดทดลองขีดบนผนังที่ทาน้ำขี้เหล็กไว้ดู ถ้าปรากฏเป็นสีแดง ก็แสดงว่าผนังปูนยังมีความเค็มอยู่ เพื่อให้ความเค็มของปูนหมดไป ก็ต้องใช้น้ำขี้เหล็กทาทับลงไปอีก เมื่อรอให้แห้งสนิทดีแล้ว ก็ใช้ขมิ้นทดลองขีดดูอีก ถ้ารอยขีดของขมิ้นไม่เป็นสีแดง คือเป็นสีเหลืองของขมิ้นก็แสดงให้ทราบว่า พื้นผนังนั้นปูนหมดความเค็มแล้ว ก็เป็นอันใช้เขียนภาพได้ แต่ถ้าหากใช้ขมิ้นขีดแล้ว ยังเป็นสีแดงอยู่ ก็ต้องใช้น้ำขี้เหล็กทาทับลงไปอีก และทดลองจนเห็นว่าไม่เป็นสีแดงจึงจะใช้ได้ดังได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อเตรียมพื้นได้เรียบร้อยแล้ว ในขั้นเตรียมการต่อไปก็คือ ทาพื้นด้วยดินสอพองเกรอะอีกครั้งหนึ่ง การทำน้ำดินสอพองเกรอะ มีดังนี้..
นำดินสอพองมาแช่น้ำให้ละลายไว้ในภาชนะ เก็บเศษผงทิ้ง และวางทิ้งไว้ให้ดินสอพองนอนก้น เอาเมล็ดมะขามมาคั่วพอให้เปลือกกระเทาะร่อนออก แล้วนำเอาเมล็ดมะขามคั่ว(มะขามต้องเป็นมะขามเปรี้ยวห้ามใช้มะขามหวาน)ที่กระเทาะเปลือกออกหมดแล้ว ใส่กระทะใส่น้ำ นำไปต้มเคี่ยวจนเมล็ดมะขามเปื่อย เป็นแป้งเปียกเหลว แล้วยกลงจากเตา เอาดินสอพองที่ละลายน้ำไว้และทิ้งให้นอนก้น นำมารินน้ำทิ้งจนเกือบหมด แล้วจึงเทใส่ในภาชนะเมล็ดมะขามที่เคี่ยวไว้ ทำการกวนดินสอพองกับเนื้อเมล็ดมะขามให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ให้มีความข้นเท่ากับสีน้ำพล้าสติกที่ผสมน้ำที่จะใช้ทา
เอาดินสอพองผสมเมล็ดมะขามนี้ ไปทากับพื้นที่ทาน้ำขี้เหล็กซึ่งพิสูจน์แล้วว่าหมดความเค็ม โดยใช้แปรงทาสีจุ่มทาให้ทั่ว ( อย่าให้หนาเกินไป ) ( ทาได้ทั้งผนังปูน และบานประตู บานหน้าต่าง ) ทาเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงใช้กระดาษทรายชนิดละเอียดขัดพอหน้าพื้นเรียบเสมอกัน(โบราณจะใช้หอยเบี้ยตัวใหญ่กรวดผนังเอาเพื่อให้เนื้อผนังแน่น) เมื่อขัดพื้นเรียบร้อยแล้วก็ปัดฝุ่นที่ขัดออกให้หมด แล้วจึงใช้สีฝุ่นขาวทา เป็นสีรองพื้นให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง เป็นการเตรียมพื้นฝาผนัง ที่จะใช้เขียนเรียบร้อยสมบูรณ์ตามกรรมวิธีดั้งเดิม
๒. เตรียมอุปกรณ์และวัสดุที่จะใช้เขียน
อุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ที่ประกอบการใช้เขียนภาพจิตรกรรมไทยนั้น ในโบราณกาลท่านบรมครูจะประดิษฐ์อุปกรณ์ขึ้นมาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
ก. ภู่กันที่จะใช้ก็ทำจากขนหูวัว ขนหางม้า หนวดหนู
เทียบกับภู่กันปัจจุบันก็เบอร์๐-๑-๒
ข. ครามสำหรับใส่ลูกประคบ ใช้ตบตามรอยปรุของภาพร่าง
ค. ดินสอพองเผาไฟบดละเอียด ใส่ลูกประคบใช้ตบบนพื้นสีที่มีความมืดหรือสีทึบ
ง. ภู่กันที่ทำจากเปลือกกระดังงาหรือรากลำเจียกทุบไว้
เขียนตวัดปลายเป็นใบหญ้าได้หลายใบหรือประกระทุ้งเป็นพุ่มไม้
กฏของการปฏิบัติการเขียนภาพจิตรกรรมไทยมีดังนี้คือ ระบาย ขีด จิ้ม ทิ่ม ตัด และแต่ละข้อก็แยกความหมาย ให้เห็นเด่นชัดดังนี้
๑. ส่วนระบาย ได้แก่ พื้นดิน น้ำ ท้องฟ้า ภูเขา โขดหิน และพุ่มไม้ที่อยู่ไกลออกไปเป็นชั้นๆ
๒. ส่วนขีด ได้แก่ ใบไม้ หรือหญ้า กิ่งไม้ ใบมะพร้าว ( แบ๊คกราวน์ )
๓.ส่วนจิ้ม ได้แก่ พุ่มไม้ ใบไม้ ใบหญ้า ที่อยู่ตอนกลาง ( มิดเดิลกราวน์ ชั้นที่ ๒ )
๔.ส่วนทิ่ม หรือกระทุ้ง ได้แก่ พุ่มของใบไม้ที่อยู่ใกล้เข้ามาอีกหน่อย เพื่อให้เห็นใบไม้ชัดเจนขึ้นพอประมาณ ( มิดเดิลกราวน์ ชั้นที่ ๑ )
๕. ส่วนตัด ได้แก่ การตัดเส้นใบไม้ให้ชัดเจน โขดหิน หรืออื่นๆ ที่อยู่ใกล้ที่สุด ( โฟร์กราวน์)
สำหรับสีโบราณท่านประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ขออธิบายเพียงคร่าวๆดังนี้
-สีดินแดง ก็เกิดจากดินแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
-สีแดงชาด(สีแดงสด)เป็นสีที่เชื่อกันว่าทำมาจากเมล็ดหรือก้านชาดหรคุณ ส่วนใหญ่ที่ใช้กันเป็นสีสำเร็จที่นำเข้าจากเมืองจีนมีชื่อเรียกต่างกันออกไปเช่นชาดจอแส ชาดอ้ายมุ้ย
-สีเหลืองรงค์ เป็นสีที่ได้จากยางไม้ชนิดนึงที่เรียกว่าต้นรงค์(คำว่ารงค์นี้โบราณใช้แทนคำว่าสีเช่นคำว่าเบญจรงค์ก็คือ”ห้าสี”
-สีเหลืองหรดาลหน เป็นสีที่เกิดจากออกไซด์ของปรอท ที่ทำปกิริยารวมกับกำมะถนละลายในความร้อน มีลักษณะเป็นก้อนๆนำมาบดเป็นฝุ่น
-สีคราม เป็นสีที่ได้จากต้นครามเอามาตำครั้นเอาน้ำเอาน้ำมากรองเอาส่วนที่เป็นเนื้อสีแล้วเกรอะให้แห้งแล้วป่นเป็นสี
-สีขาว มีหลายขาวเช่นขาวฝุ่นเป็นสีที่ได้จากออกไวด์ของตะกั่ว สีขาวกระบัง เป็นสีที่ทำจากดินขาว สีปูนขาวทำจากเปลือกหอย
-สีดำ ได้มาจากเขม่าควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ สีดำที่ได้จากถ่านที่เอากระดูกสัตว์มาเผาแล้วนำไปบดเป็นฝุ่นผง โดยเฉพาะถ้าเป็นถ่านที่ได้จากการเผางาช้างเชื่อกันว่าเป็นสีชั้นดีเยี่ยมที่สุด
สำหรับสีทอง โบราณท่านใช้ทองคำเปลว(ทองคำแท้ที่ใช้ปิดองค์พระโดยส่วนที่จพปิดทองจะซับหนุน(ภาษาช่าง)ด้วยสีรงค์หรือชาดเพื่อให้ทองดูสกมากขึ้นก่อนจะปิดทองจะใช้ยางมะเดื่อ(ได้จากกรีดยางจากต้นมะเดื่อ)มาระบายทับตรงสีที่วับหนุนไว้รอจนแห้งหมาดๆแล้วจึงปิดทองแล้วกระทบเส้นลายด้วยสีชาดและตกแต่งลวดวายด้วยสีอื่นแล้วแต่เรื่องราวแต่ละตอน
ข้อมูลนี้เป็นการอธิบายอย่างคร่าวๆหากต้องการข้อมูลที่ละเอียดกว่านี้มากให้ไปหาอ่านจากหนังสือจิตรกรรมไทย ของสมชาติ มณีโชติ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ครับ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 14:08

ขอบพระคุณคุณยีนมาก สำหรับความรู้เรื่องการเขียนภาพจิตรกรรมไทยบนฝาผนัง

คุณยีนพอจะทราบไหมว่าการเขียนจิตรกรรมแบบฝรั่งบนฝาผนังโดยเฉพาะการเตรียมพื้นผนังที่จะวาด มีความเหมือนหรือต่างกับแบบของไทยอย่างไรบ้าง

 ฮืม
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 14:49

การเขียนภาพจิตรกรรมแบบฝรั่งนิยมเขียนภาพแบบปูนเปียก(fressco)
จิตรกรรมฝาผนังปูนเปียก (Fresco) คืออะไร  จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Fresco) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมนี

คุณลักษณะพิเศษของจิตรกรรมฝาผนังปูนเปียก  มีลักษณะพิเศษทีความคงติดแน่น สามารถคงความสดใสของสีอยู่ได้นับเป็น พันๆปี สีจะฝังลงใต้พื้นปูน เป็นเนื้อเดียวกับปูน แต่ก็เป็นเทคนิคที่ทำได้ยาก เพราะต้องทำงานในขณะที่ปูนยังเปียกอยู่ เวลาที่ใช้ในการทำงานอาจจะอยู่ที่ระหว่าง 6-8 ชั่วโมงงทนิดีความนังปูนเปียก

จิตรกรรมฝาผนังปูนเปียก ในประเทศไทยชิ้นแรกเท่าทีทราบ น่าจะเกิดขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น ภาพเขียนบนผนังกรุใต้ปรางค์วัดราชบุรณะ สร้างในสมัยอยุธยา เป็นเทคนิค Fresco สีสันยังคงสดใสอยู่ครบถ้วน แต่เป็นงานเขียนที่หยาบใช้เวลาสั้นๆในการเขียน ปัจจุบันมีงานจิตรกรรมที่เขียนด้วยเทคนิค Fresco ที่พอจะหาดูได้ที่ ภายในโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม เขียนโดยจิตกรอิตาเลี่ยน หรือที่วัดราชาธิราช บนผนังพระอุโบสถ เป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดกทั้ง4 ผนัง โดยจิตรกรอิตาเลี่ยนชื่อ ซี.ริโกลี  ถึงแม้ว่าเทคนิค Fresco จะเคยมีการใช้ในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายในงานจิตรกรรมฝาผนังของไทย เนื่องจากงานจิตรกรรมฝาผนังของไทยมีความละเอียดอ่อนเน้นการตัดเส้นและปิดทอง จึงต้องใช้เวลามากในการเขียนแต่ละส่วน โดยเฉพาะการปิดทองตัดเส้นซึ่งไม่สามารถทำได้ในขณะที่ยังมีความชื้นอยู่ งานจิตรกรรมฝาผนังของไทยจึงนิยมใช้เทคนิคปูนแห้ง ซึ่งไม่มีเวลาจำกัดในการทำงานและเหมาะสมกับรูปแบบของงานจิตรกรรมไทย

 

 

เทคนิคปูนเปียก (Fresco) กับงานจิตรกรรมไทย  งานจิตรกรรมฝาผนังของไทยใช้เทคนิคปูนแห้งหรือ Secco  และเป็นที่แพร่หลายนิยมใช้ในหมู่ช่างจิตรกรรมไทยแต่ในอดีต  ช่างไทยพิถีพิถันกับการเตรียมพื้นผนังตามกรรมวิธีโบราณ  สีจึงติดแน่นคงทน แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในแถบร้อนชื้น จึงทำให้ความชื้นจากพื้นดินขึ้นมาทำลายความสามารถในการยึดเกาะของวัสดุ  แร่ธาตุต่างๆในผนังก็เกิดปฏิกิริยาแปรสภาพได้ง่าย เนื่องจาก

การเตรียมผนังและการเขียนแบบวิธีโบราณ ด้วยสีฝุ่นผสมกาว การบดสีฝุ่นให้ละเอียดเนียน จนแทรกเข้าไปในเนื้อผนัง ไม่เขียนหยาบหนา ทับกันจนทำให้แตกร่อนได้ในเวลาอันรวดเร็ว

แต่ช่างสมัยปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีโบราณในการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง หลายคนใช้สีอคลายลิก ที่มีความสามารถในการยึดเกาะได้ดี แต่ในระยะเวลายาวนานออกไปจะสามารถทนกับความชื้นใต้ผนังหรือไม่ ยังคงต้องรอการพิสูจน์กันต่อไป ในปัจจุบันช่างที่มีประสบการณ์ และมีโอกาสที่จะร่วมออกแบบโบสถ์ หรืออาคารที่จะเขียนงานจิตรกรรมก็จะหาวิธียกพื้นตัดความชื้นต่างๆเพื่อตัดปัญหาความชื้นในผนังที่ขึ้นมาจากพื้นดิน

วิธีการเตรียมพื้นจิตรกรรมฝาผนังปูนเปียก(Fresco)  เทคนิคปูนเปียกจะต้องมีการเตรียมปูนเพื่อใช้ในการฉาบ ใช้ทรายที่ร่อนไว้แล้วนำมาล้างหลายครั้งให้สะอาด ก่อนนำมาผสมปูน ใช้ปูนผสมทรายในสัดส่วน 1:1 ผสมน้ำ หมักทิ้งไว้ ใช้ปูนที่ผสมไว้ฉาบชั้นแรกเพื่อปรับระดับความขรุขระและอุดรูต่างๆบนผนัง ทิ้งไว้ให้แห้ง ทำการฉาบชั้นกลาง ในชั้นนี้ควรฉาบกดให้แน่น ทิ้งไว้ให้หมาด ในชั้นนี้จะต้องร่างแบบบนกระดาษ(Cartoone)แล้วปรุกระดาษตามรอยร่างภาพ ตบด้วยฝุ่น เพื่อการกำหนดพื้นที่งานที่จะสามารถทำเสร็จได้ในเวลา 6-8 ชั่วโมง ในชั้นสุดท้ายจะเป็นการฉาบเฉพาะที่จะทำการเขียน โดยการร่างแบบบนกระดาษ(Cartoone) แล้วปรุกระดาษตามรอยร่างภาพ ตบด้วยฝุ่นอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะเริ่มเขียนได้ และต้องเขียนให้เส็รจ ก่อนปูนแห้งในเวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง

วิธีการเตรียมพื้นงานจิตรกรรมฝาผนังปูนแห้งแบบไทย(Secco)  เทคนิคปูนแห้งของไทย การผสมปูนฉาบแบบโบราณ มีส่วนผสมอยู่ด้วยกัน 7 ชนิด 1.กาวทำด้วยหนังควายหรือวัว เอามาเผาไฟแล้วต้มจนเหนียว 2. น้ำแช่เถาหัวด้วน เอามาแช่น้ำจะเป็นยางเหนียว หรือว่านหางจระเข้ 3. ต้นบง ถากเอาเปลือกแช่น้า 4. เปลือกประดู่แช่น้ำ 5. ปูนขาว 6. ทราย 7. น้ำอ้อย น้ำอ้อยต้องเคี่ยวให้เหนียวเป็นน้ำเชื่อมก่อน เอาส่วนผสมทั้งหมดรวมกันซักครึ่งตุ่มแล้วใส่น้ำให้เต็มตุ่มแช่เอาไว้ หมักไว้ยิ่งนานยิ่งดี แล้วจึงนำมาฉาบ ก่อนจะเขียนก็ต้องล้างผนังให้จืดเสียก่อน โดยใช้น้ำต้มใบขี้เหล็กมาประสะล้างผนังหลายๆครั้ง จนกว่าผนังจะหมดความเค็ม มีวิธีพิสูจน์ความเค็มของผนังโดยเอาหัวขมิ้นขีดลงบนผนังถ้ามีปฏิกิริยาเป็นสีแดงแสดงว่าผนังยังเค็มอยู่ ขั้นต่อไปให้นำเลือดหมูมาทาบนผนังเพื่ออุดรูพรุนแล้วขัดให้เรียบ แล้วจึงจะเขียนได้

ทางออกของจิตรกรรมฝาผนังไทยด้วยเทคนิคปูนเปียกกับปูนแห้ง  เทคนิคปูนเปียกมีจุดเด่นที่ความคงทนและการยึดเกาะของสี เมื่อปูนแห้งแล้วสีที่เขียนในขณะปูนยังเปียกอยู่จะกลายเป็นเนื้อเดียวกับปูน เหมือนกับสีของหินอ่อน ไม่ละลายน้ำ สีมีความสดใส มีอายุยืนยาวนับเป็นพันๆปี แต่ก็มีข้อจำกัดทางด้านเทคนิคในการเขียน  เทคนิคปูนเปียกต้องเขียนในขณะที่ปูนยังคงมีชีวิตอยู่ซึ่งมีเวลาเพียง 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพพื้น ความหนาของปูนฉาบ และสภาพห้องหรือบริเวณที่เขียน หลังจากนั้นสีจะไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเนื้อปูนได้ การเขียนเพิ่มเติมลงไปเมื่อปูนแห้งแล้วสีจะติดอยู่เพียงผิวหน้าของปูนเท่านั้น เมื่อถูกน้ำก็จะหลุดล่อนออกไม่คงทน แต่บางครั้งก็มีการเขียนเพิ่มเติมเพื่อแต่งรอยต่อต่างๆให้ภาพสมบูรณ์กลมกลืน การแบ่งพื้นที่ในการเขียนแต่ละครั้งก็สำคัญ ในการแบ่งพื้นที่สำหรับการเขียนงานจิตรกรรมแบบไทยก็ต้องมีความเหมาะสม เทคนิคปูนแห้งเป็นเทคนิคที่ทำให้สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดตัดเส้นเพิ่มลวดลายประดับต่างๆ ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความละเอียดงดงาม น่าจะมีการนำข้อดีของทั้งสองแบบมาผสมผสานเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีความคงทนถาวรและสามารถเขียนรายละเอียดตามแบบงานจิตรกรรมของไทยได้  เพราะไม่อยากเห็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีการซ่อมและเขียนใหม่กันหลายครั้งมากแต่ก็ยังคงทรุดโทรมพังทลาย ด้วยความชื้น ความเค็ม และอุณหภูมิอยู่เสมอ เช่นวัดพระแก้วในปัจจุบัน ผนังวัดพระแก้วดูเหมือนจะเป็นพื้นรองรับศิลปินที่มีโอกาสเข้าไปเขียนใหม่ เขียนซ่อม วนเวียนกันอยู่เช่นนี้หลายครั้งมาก ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจก็ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่ทราบจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้วยังไม่ได้แก้ปัญหาที่ตรงจุด ปัญหาความชื้นในผนังก็คงต้องหาช่องระบายความชื้นออกมา ปัญหาความเค็ม  อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ เคยสันนิษฐานไว้ว่ามาจากการใช้กาวหนังควายที่มีความเค็มในตัวกาว ผสมสีเขียนในขณะนั้นเนื่องจากหาได้ง่ายและเป็นที่นิยมใช้กัน ให้สังเกตภาพผนังระเบียงวัดพระแก้ว มีรอยกะเทาะ ล่อน บางทีก็ชื้นเห็นรอยคราบสีเข้มเป็นย่อมๆ รวมทั้งคราบเชื้อรา ก็คงจะต้องปรับพื้นผนังใหม่ให้ถูกวิธี มิฉะนั้นก็ยังคงทิ้งปัญหาไว้ใต้ผนังเช่นเดิม สุดท้ายก็อยู่ที่วิธีเขียน การเขียนที่ผิดวิธี ใช้สีที่ไม่ถูกต้อง การผสมกาวที่ไม่ถูกต้อง ล้วนเป็นส่วนสำคัญของปัญหา และเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขที่จะทำให้เราต้องมาช่วยกันรักษางานจิตรกรรมฝาผนังของไทย ให้มีอายุยืนนาน ไว้ให้ลูกให้หลานได้ชื่นชมกันต่อไป
ข้อมูลจาก http://ffa.bpi.ac.th/bk/fresso/fressco.htm

 รูปประกอบรูปแรกจากกรุพระปางค์วัดราชบูรณะอยุธยา
 รูปที่สองThe last Supper ฝีมือ ลีโอนาโดดาวินซี




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 14:58

ได้ความรู้มากจริง ๆ

ขอบพระคุณคุณยีนอีกครั้ง สำหรับความรู้เรื่องจิตรกรรมฝาผนังทั้งของไทยและของฝรั่ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 15:11

มีท่านใดสนใจอีกก็เข้ามาพูดคุยกันครับ ตอบได้เท่าที่รู้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 19:02

ขอบพระคุณคุณยีนส์มาก ๆ ครับ ติดตามชมอยู่เสมอครับ โครงการต่อไปจะไปถ่ายภาพที่วัดใดหรือครับ

ช่วงนี้น้ำท่วมหนักและสูง ไม่รู้ว่าวัดที่มีจิตรกรรมจะโดนน้ำท่วมไปบ้างหรือเปล่า ยังมีอีกวัดหนึ่งเป็นจิตรกรรมกรรมฝาผนังแบบลอยตัวครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 23:38

ผมก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกันครับว่าจะมีวัดใดที่น้ำท่วม ตอนนี้น่าจะที่อุทัยธานีนี่แหละน่าจะโดน วันนี้ก็ท่วมหนักที่ลพบุรี ตอนนี้ทรัพย์จางเหลือเกินครับ อยากจะเข้าไปที่วัดเวฬุราชินเพราะสมัยเรียนเคยเข้าไปแล้วเห็นว่าเขียนซ่อมซะเยอะเลยไม่สนใจจะถ่าย อาจเป็นด้วยความที่ยังไม่ค่อยประสีประสาต้องกลับไปดูอีกครั้ง แต่ยังไม่มีงบไปเลยครับ ตอนนี้สมาชิกชมรมผมไปเล่นfacebookกันหมดไม่แวะมานี้แล้วผมก็ตามไปเล่นแต่มันโพสต์ไม่ได้เนื้อหาแบบที่นี่ ผมก็คงไม่ทิ้งที่นี่ไปไหนครับ ตอนนี้มีโครงการทำหนังสือสักเล่มเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังชื่อหนังสือว่า "ผนังเก่าเล่าเรื่อง" เป็นการนำเสนอภาพจิตรกรรมในที่ต่างๆเน้นที่ไม่ค่อยแพร่หลายหรือที่สูญสลายไปแล้วแต่เรามีหลักฐานภาพถ่ายอยู่แล้วประกอบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แต่ก็ไม่รู้จะเสร็จเมื่อไหร่ อีกเล่มที่อยากทำก็คือ "เรียนรู้จากครูช่างไทย"เป็นการนำเสนอรายละเอียดของลักษณะหลักของภาพไทยที่ประกอบไปด้วย กนก นารี กระบี่ คชะเพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ของช่างเขียนในปัจจุบัน
ก้ไม่รู้จะสำเร็จหรือไม่ เพราะตอนนี้ที่ต้องการคือกำลังใจและกำลังเงินครับ
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 07:32

รายงานตัวว่าแวะมาอ่านสม่ำเสมอครับ (เบื่อ facebook แล้ว)
อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า ด้วยภูมิรู้ทั้งสามด้าน
ประวัติที่มาและเบื้องลึกของภาพเขียนฯ
วิธีการเขียนฯ
มุมมองเชิงศิลป์ของภาพเขียนฯ
คุณ jean ออกหนังสือดีๆได้สบายเลยครับ ผมสนับสนุนภาพประกอบให้ถ้าจะทำ
และทางที่ดีทำเป็นภาษาอังกฤษด้วยจะได้ขายได้มากๆขึ้น
อย่าท้อนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.161 วินาที กับ 19 คำสั่ง