เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 43907 ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 09 ก.ย. 11, 16:01

ออกขุนอย่าเพิ่งขัดแหล่สิ  ก็เขาว่าเห็น แสดงว่ามันต้องแสงสว่างบ้างสิน่ะ
อย่างน้อยก็ตะเกียงเจ้าพายุ ไฟฉาย  เทียน  ก็ต้องมีติดมือกันมาบ้าง
หากว่าคืนนั้นฟ้าไม่ปิด  เดือนแหว่งน้อย  แสงจันทร์ก็คงพอช่วยได้บ้าง

ส่วนแหล่ประตูอื่น  ไม่มีจ้ะ  ถ้าอยากฟัง  ออกขุนต้องออกแรงแหล่เองแล้วละ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 09 ก.ย. 11, 16:42

ชายหนึ่งขึ้นรถจักรยาน              รีบถีบลนลานเร็วใจหาย
โจนรถเจ๊กปัง ไม่พังทะลาย         ตัวกลับล้มหงายกลางมรรคา
ฝ่ายว่านายแดงโปลิศสมัคร         กำลังนอนพักในเคหา
ได้ยินนกหวีดเสียงเซ็งซ่า           ไม่รู้เรื่องว่าเหตุอันใด
แต่งฟอร์มไม่ทันดันโดดโหยง      นุ่งผ้าโสร่งวิ่งเข้าไป
ถูกสายไฟฟ้าเข้าทันใด              เลยล้มลงไปกลางมรรคา
สายไฟฟ้านั้นก็พันพาด              คล้ายนาคบาศรัดกายา
เป็นควันกลุ้มกลบอบมังสา          แรงดูดไฟฟ้าเข้าในกาย
ไฟลุกจากปากจากช่องหู            ยิ่งพิเคราะห์ดูน่าใจหาย
ช่องจมูกเห็นเป็นประกาย            นายแดงเลยตายอยู่กลางแปลง
สาสารแม่บุญเกือบเป็นบ้า           ด้วยเป็นภรรยาของนายแดง
ตั้งแต่โศกเศร้าเฝ้ากรรแสง          คิดถึงนายแดงผู้สามี
เมื่อนายแดงถูกสายไฟฟ้า           แม่บุญถลาจรลี
จะเจ้าไปอุ้มช่วยสามี                 แต่พอเดินรี่จะเข้าไป
โปลิศกับแขกช่วยกันห้าม           ไม่ให้โฉมงามเข้าไปใกล้
เขากลัวจอมขวัญจะบรรลัย          แม่บุญพิไรร่ำโศกา
ว่าโอ้โอ๋พ่อโฉมฉาย                  พ่อมานอนตายอนาถา
ชีวิตวายวางกลางมรรคา             น่าเวทนานี่กระไร
เพราะอ้ายสายไฟฟ้า                  มันล้างชีวาผัวกูได้
นางยิ่งครวญคร่ำร่ำพิไร               สุชลนัยน์อาบพักตรา
ถ้าแม้นเจ็บตายด้วยโรคไข้          ถึงจะเสียใจก็พอซา
ได้พยาบาลการรักษา                 หามหอหายาบำรุงได้
ถ้าเสือมันกัดหรือคนดี                แม่บุญจะหนีอย่าสงสัย
คงคิดแก้แค้นตอบแทนได้           ฆ่าให้บรรลัยไปตามกัน
นี่พ่อตายด้วยสายไฟฟ้า             สุดสิ้นปัญญาของดิฉัน
หรือกรรมสิ่งใดมาตามทัน           นางยิ่งโศกศัลย์แสนเสียดาย...

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 ก.ย. 11, 16:48

สรุปว่านายแดง โปลิศ ตายเพราะถูกไฟดูดตาย ไม่ได้ตายจาก "ประตูสะพานหันพัง"  เจ๋ง เจ๋ง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 09 ก.ย. 11, 16:51

ผู้ที่มาดูประตูพัง                ก็ยิ่งคับคั่งมามากมาย
ลือว่าประตูทับคนตาย         ทั้งหญิงทั้งชายชวนกันมา
พวกพลตระเวนยืนเรียงแถว   ล้อมกองอิฐแล้วเฝ้ารักษา
ไม่ให้ผู้ใดเดินไปมา             ถูกสายไฟฟ้าคอยระวัง
กรมหมื่นเดชอดิศรอุดมเดช    ทอดพระเนตรประตูพัง
ผู้ที่มานั้นอนันตัง                ทั้งแขกฝั่งและจีนไทย
จะแก้ไขให้ละเอียด             ก็จะยาวเหยียดมากเกินไป
จะกล่าวแต่ย่อพอเข้าใจ        ขอออกนามให้ทราบคดี
พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ     ยศของท่านนายพลตรี
พระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ที่         เสนาบดีธรรมการ
พระยายมราชที่                   เสนาบดีนครบาล
ปลัดทูลฉลองรองสถาน        นามของท่านพระยาเพชดา
พระอธิการมิสเตอร์ลอซัน      อเนกอนันต์มากหนักหนา
สารวัตรนายหมวดตรวจตรา    อีกกรมสุขานั้นก็มี
คุณพระคุณหลวงอีกมากหลาย  ฉันบรรยายไม่ถ้วนถี่
อ้างพอมีหลักเป็นสักขี           เพราะยังมีอีกมากนา...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 13 ก.ย. 11, 16:23

ช่วงนี้ ผมมีกิจมาก  ยังไม่สามารถมาแหล่เรื่องประตูสะพานหันพัง
ให้จบได้  แต่ครั้นจะให้สาธุชนที่สนใจติดตามกระทู้นี้นั่งหาวรอผม
มาแหล่ต่อไปเป็นหลายเพลาก็ใช่ที   จึงนำข้อมูลเล็กน้อยมาลง
เพื่อให้เห็นการใช้ประตูบางประตูในพระบรมมหาราชวัง

"...พระสงฆ์ที่รับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังนั้น 
นิมนต์เป็นเวรกันมารับ  จึงเรียกว่า "บิณฑบาตเวร"
เมื่อรัชกาลที่ ๑  นิมนต์แต่พระภิกษุวัดระฆังผลัดเวรกัน
กับพระภิกษุวัดพระเชตุพน  ด้วยพระภิกษุทั้งสองวัดนี้
ต้องรับราชทัณฑ์เมื่อครั้งกรุงธนบุรีด้วยเหตุซื่อตรง
ต่อพระวินัยบัญญัติมีความชอบ  ดังปรากฏข้อความ
อยู่ในพระราชพงศาวดาร   ครั้นต่อมา  ในรัชกาลชั้นหลัง
ได้เพิ่มจำนวนวัดที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์
พระภิกษุวัดอื่นๆ เข้ามารับบิณฑบาตจนครบตามวัน
ในสัปดาห์  และมีพระภิกษุวัดอื่นที่เข้ามาสมทบในแต่ละเวรด้วย
ดังนี้

วันอาทิตย์  วัดมหาธาตุ  เป็นต้นเวร  วัดดุสิดาราม สมทบ

วันจันทร์     วัดราชบูรณะ เป็นต้นเวร  วัดจักรวรรดิและวัดราชบพิธ สมทบ

วันอังคาร    วัดระฆัง เป็นต้นเวร  วัดอมรินทร์  วัดรังษีสุทธาวาส และวัดพระยาทำ สมทบ

วันพุธ     วัดพระเชตุพน เป็นต้นเวร  วัดสามพระยา  วัดนาคกลาง  และวัดชิโนรส  สมทบ

วันพฤหัสบดี  วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นต้นเวร  วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายอื่นๆ สมทบ

วันศุกร์    วัดสุทัศน์ เป็นต้นเวร   วัดสระเกศ  สมทบ

วันเสาร์  วัดอรุณราชวราราม  เป็นต้นเวร  วัดโมลีโลกยาราม  วัดหงส์รัตนาราม  และวัดราชสิทธาราม  สมทบ

จำนวนพระภิกษุที่เข้ารับบิณฑบาตเวรโดยปกติมีจำนวน ๑๐๐  รูป
ต่อวัน  ต่อเมื่อเป็นวันนักขัตฤกษ์จึงนิมนต์เพิ่มขึ้นเป็น ๑๕๐  รูป
พระองค์เจ้าสามเณร  หม่อมเจ้าสามเณร  และสามเณรเปรียญ
ก็ได้เข้ารับบิณฑบาตเวรด้วย   พระภิกษุสามเณรที่จะรับบิณฑบาต
ในแต่ละวันจะเดินเข้าทางประตูดุสิตศาสดา (ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)

เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว  พระองค์เจ้าพระ  พระองค์เจ้าสามเณร 
จะเสด็จออกที่ประตูสนามราชกิจ (ประตูยามค่ำ หรือประตูย่ำค่ำ)
ส่วนหม่อมเจ้าพระและหม่อมเจ้าสามเณร  จะเสด็จออกที่
ประตูยาตรากษัตรีย์  (ประตูฉนวน)  พระภิกษุสามเณรนอกนั้น
จะเดินออกที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) ..."

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 13 ก.ย. 11, 16:44

ขอทราบประวัติประตูย่ำค่ำ ว่าทำไมถึงชื่อนี้คร่าว ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 07:57

รอก่อนนะออกขุน  ช่วงนี้มีงานมากจริงๆ
เดี๋ยวแหล่ต่อจบแล้วจะเอามาลงให้อ่าน
และจะแถมหมายรับสั่งสมัยรัชกาลที่ ๑
ที่เกี่ยวกับเรื่องประตูในพระบรมมหาราชวังให้ด้วย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 08:13

ในแต่ละวันจะเดินเข้าทางประตูดุสิตศาสดา (ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)

เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว  พระองค์เจ้าพระ  พระองค์เจ้าสามเณร 
จะเสด็จออกที่ประตูสนามราชกิจ (ประตูยามค่ำ หรือประตูย่ำค่ำ)
ส่วนหม่อมเจ้าพระและหม่อมเจ้าสามเณร  จะเสด็จออกที่
ประตูยาตรากษัตรีย์  (ประตูฉนวน)  พระภิกษุสามเณรนอกนั้น
จะเดินออกที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) ..." 

ไม่ใคร่ตรงกับข้อมูลใน "พระประวัติตรัสเล่า"

อายุเราได้ ๑๔ ปี  ถึงกาลกำหนดบรรพชา......ครั้งนั้นยังมีบิณฑบาตเวร คือจัดพระสงฆ์ในวัดอาราหลวงให้ผลัดกันเข้าไปรับบิณฑบาต ในพระบรมหาราชวังชั้นใน วันพฤหัสบดีเป็นเวรของพระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดธรรมยุตอื่น ถึงกำหนดเราเข้าไปบิณฑบาต  ใช้เสลี่ยงไปจากวัด ลงเดินที่ในวัง พวกเณรธรรมยุตก็ใช้ห่อมดองคาดประคตอกสะพายบาตร เหมือนเณรมหานิกาย แต่ในที่อื่น แม้เมื่อเข้าไปหรือกลับออกมาแล้ว ก็ห่อคลุม เข้าทางประตูดุสิตศาสดา ที่เป็นทางข้างในออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์เจ้าออกทางประตูสนามราชกิจ ที่เรียกว่าประตูย่ำค่ำ หม่อมเจ้าได้ยินว่า ออกประตูอนงคลีลา หรืออะไรที่ออกฉนวนตำหนักน้ำท่าราชวรดิษฐ์  พระสามัญออกประตูยาตราสตรีที่เรียกว่าประตูดิน 

จาก พระประวัติตรัสเล่า  พระประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยพระองค์เอง ตอนที่ ๓ คราวเป็นพระกุมาร


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 08:22

ขอทราบประวัติประตูย่ำค่ำ ว่าทำไมถึงชื่อนี้คร่าว ๆ ครับ

ประตูสนามราชกิจ อยู่ระหว่างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกับกำแพงแก้วพระมหามณเฑียรตรงพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ชาววังเรียกกันโดยทั่วไปว่า ประตูย่ำค่ำ



ประตูนี้ถือว่ามีความสำคัญเพราะหากข้าหลวงในวังจะออกนอกเขตพระราชฐานชั้นใน ถ้าพ้นเวลาที่จะออกทางประตูด้านหลังพระราชวังซึ่งปิดไปแล้วตั้งแต่ตอนเย็น ทางออกจากเขตพระราชฐานชั้นในจึงเหลือเพียงประตูสนามราชกิจนี้เพียงประตูเดียว ซึ่งจะเปิดอยู่จนถึงสี่ทุ่มตรง

ในอดีตมีประเพณีสำคัญเกี่ยวกับประตูย่ำค่ำหลายประการ เป็นต้นว่าชาววังที่จะเดินผ่านออกมาฝ่ายหน้าต้องระมัดระวังการแต่งตัวไม่ใช้สีฉูดฉาดเกินไป แต่ต้องไม่ให้ดูซอมซ่อจนน่าเกลียด ไม่ลากจูงหรือแบกหามของใหญ่โตที่อาจจะทำให้เกิดวุ่นวายส่งเสียงดัง หรือห้ามนำสัตว์มีชีวิตเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้แต่การสวมรองเท้าต้องเป็นรองเท้าหุ้มส้นเรียบร้อย จะเป็นรองเท้าแตะไม่ได้โดยเด็ดขาด มิฉะนั้นพนักงานกรมโขลนจะสั่งสอนต่อหน้าธารกำนัลโดยไม่มีการไว้หน้า

ข้อมูลจาก บล็อกโอเคเนชั่นของป้ารุ

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 11:01

คนมารอฟังคุณหลวงเล็กแหล่ เรื่องประตูสะพานหันพัง ตอนจบค่ะ... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 11:17



เนื่องจากไม่อยากเป็นสาธุชน         ไปกันมากขนาดนี้มิต้องสาธุกันเมื่อยมือฤา


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 15:18

รถที่สำหรับรับคนป่วย       ก็เอามาด้วยเตรียมไว้หนา
กรมกองตระเวนเกณฑ์เอามา   สำรองเผื่อว่ามีอันตราย
คนยิ่งแน่นอัดยัดเยียดกัน    ต่างคนต่างดันกันเกือบล้มหงาย
ตั้งใจมาดูผู้คนตาย           แต่ไม่สมหมายดังจินดา
หมายว่าประตูพังทับคน      จึงได้สู้ทนเบียดเข้ามา
ที่ยังเป็นสาวคราวโสภา      เห็นจะเสียท่าไปหลายคน
พวกรุ่นหนุ่มรุมกันจ้อง       เกือบมั้วกินช่องกลางถนน
แต่เครื่องภายนอกหยอกกันป่น   เพราะกำลังคนชุลมุน
ที่ปลายถนนพาหุรัด          คนเบียดเยียดยัดกันออกวุ่น
หญิงคนหนึ่งถูกพระพิรุณ     พี่เจ๊กแกดุนผ้าเปรอะไป
เหลียวหลังมาว่าอ้ายตายโหง   มันมาตะโพงหลังกูได้
เพื่อนกันห้ามว่าอย่าอึงไป      ขายหน้าใครๆ เขาแลดู
เราเป็นผู้หญิงนิ่งดีกว่า        ขืนทำปากกล้าจะอดสู
เลยเลี่ยงหลบไปไกลประตู    ถ้าแม้นขืนอยู่ชื่อคงดัง
บ้างว่าถูกคนล้วงกระเป๋า      บ้างถูกเหยียบเท้าด้วยเกือกหนัง
พลตระเวนห้ามก็ไม่ฟัง       ขืนดันทุรังเบียดเข้าไป
ฝรั่งที่อยู่โรงไฟฟ้า            กับคนงานมาจัดแก้ไข
เอาเชือกโยงเสาเข้าทันใด    กลัวล้มลงไปจะเสียที...


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 15:26


อายุเราได้ ๑๔ ปี  ถึงกาลกำหนดบรรพชา......ครั้งนั้นยังมีบิณฑบาตเวร
คือจัดพระสงฆ์ในวัดอาราหลวงให้ผลัดกันเข้าไปรับบิณฑบาต ในพระบรมหาราชวังชั้นใน
วันพฤหัสบดีเป็นเวรของพระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดธรรมยุตอื่น ถึงกำหนดเราเข้าไปบิณฑบาต  
ใช้เสลี่ยงไปจากวัด ลงเดินที่ในวัง พวกเณรธรรมยุตก็ใช้ห่อมดองคาดประคตอกสะพายบาตร
เหมือนเณรมหานิกาย แต่ในที่อื่น แม้เมื่อเข้าไปหรือกลับออกมาแล้ว ก็ห่อคลุม เข้าทางประตูดุสิตศาสดา
ที่เป็นทางข้างในออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์เจ้าออกทางประตูสนามราชกิจ ที่เรียกว่าประตูย่ำค่ำ
หม่อมเจ้าได้ยินว่า ออกประตูอนงคลีลา หรืออะไรที่ออกฉนวนตำหนักน้ำท่าราชวรดิษฐ์  พระสามัญออกประตูยาตราสตรีที่เรียกว่าประตูดิน  

จาก พระประวัติตรัสเล่า  พระประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยพระองค์เอง ตอนที่ ๓ คราวเป็นพระกุมาร


 ยิงฟันยิ้ม

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเล่าว่า  "ได้ยินมา"  
แสดงว่า  พระองค์จะทรงจำคำของคนอื่นมาอีกทอด
หาใช่ทรงเห็นเอง   ฉะนั้นข้อมูลจึงอาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงได้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 15:31

หมายรับสั่งยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔

ประตูดินที่ ๑ กรมตำรวจใหญ่ซ้าย...... อนงคลีลา
พระพิเรนทรเทพทำ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 14 ก.ย. 11, 21:38

อ้างถึง "จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์" กล่าวถึงประตูย่ำค่ำว่า

"ประตูพระบรมมหาราชวัง เปิดและปิด ๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น. การเปิดและปิดประตูมีการตรวจตาอย่างเข้มงวด เมื่อพ้นเวลาที่กำหนดแล้ว หากฝ่ายในและฝ่ายหน้ามีราชการสำคัญหรือราชการด่วนต้องติดต่อกัน ก็จะใช้ประตูสนามราชกิจ ที่เรียกสามัญว่า "ประตูยามค่ำ" และเพี้ยนเป็น "ประตูย่ำค่ำ" บางทีก็เรียก "ประตูข้างหน้า" ดังนั้นประตูสนามราชกิจจึงต้องมีเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนอยู่เวรยามตลอดคืนทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง