เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 43734 ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 08:21

^ ป้อมใกล้วัดพลับพลาไชย ไม่ใช่ ป้อมปิดปัจจานึก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 08:25

อ้าว! งั้นป้อมนี้ล่ะ

๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย

 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 08:40

ทำเนียบนาม  พิมพ์ปี ๒๔๕๗  ว่าไว้ดังนี้

ป้อมที่ตั้งเรียงรายอยู่ชั้นนอก
รอบคลองผดุงกรุงเกษมแลฝั่งตวันตก

(๑) ป้อม "ป้องปัจจามิตร" อยู่ฝั่งตวันตกริมปากคลองสาน

(๒) ป้อม "ปิดปัจจานึก" อยู่ฝั่งตวันออก ริมปากคลองผดุงกรุงเกามข้างใต้

(๓) ป้อม "ผลาญศัตรูราบ" อยู่ข้างใต้วัดเทพศิรินทราวาศ หรือริมวัดพลับพลาไชย

(๔) ป้อม "ปราบศัตรูพ่าย" อยู่ใต้ตลาดนางเลิ้ง ตรงหมู่บ้านญวนข้าม  แต่บัดนี้ได้รื้อแล้ว

(๕) ป้อม "ทำลายแรงปรปักษ์" อยู่เหนือวัดโสมนัศวิหาร  แต่บัดนี้ได้รื้อเสียแล้ว

(๖) ป้อม "หักกำลังดัษกร" อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม  ข้างเหนือรื้อแล้ว (นะจ๊ะ)

(๗) ป้อม "วิไชยประสิทธิ์" อยู่ฝั่งตวันตก  ปากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 08:50

เอกสารจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ ๓
ว่าด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกชื่อป้อม

(คัดลอกอักขรวิธีตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่)

@ วัน ๕ ขึ้น ๕ เดือน ๑๐ จุล.๑๑๘๗ ระกาสัปตศก
สมเดจพระพุทธิเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
สั่งให้จาฤกชื่อป้อมลงแผ่นศิลาลายไปตรึงประจำป้อมกรุงเทพฯ
ชั้นนอก ๑๔ ป้อม  ชั้นใน ๑๑ ป้อม  เมืองสมุทรปราการ ๖ ป้อม
เมืองนครเขื่อนขันธ์ ๙ ป้อม  ป้อมเมืองนางเกร็ง ๑ ป้อม
(รวม) ๔๑ ป้อม  ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 08:56

เรื่องป้อมริมวัดพลับพลาไชย

จาก ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔

๓๒ ขุดคลองแลทำถนนในจังหวัดพระนคร ๑ คลองผดุงกรุงเกษม เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กอง ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ( วร ) เปนนายงานขุด คลองแต่ลำแม่น้ำที่ใต้วัดเทวราชกุญชรผ่านคลองมหานาคไปออกแม่น้ำ ที่เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าคลอง๑ ๑ เปนคูพระนครชั้นนอกกว้าง ๑๐ วาลึก ๖ ศอก ยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วาสิ้นค่าจ้างขุดเปนเงิน ๒๗,๕๐๐ บาท สำเร็จในปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้เปิดคลองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ค่ำ ๑ พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม แลมีงานมโหรศพ ฉลอง ๓ วัน ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ ๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร ๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง ๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย ๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง ๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน ๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ ๑ วัดแก้วแจ่มฟ้า เดิมอยู่ตรงหลังธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ย้ายไปอยู่ถนนสี่พระยา เมื่อ ในรัชกาลที่ ๕

๓๓ (ป้อม ๘ ป้อมนั้นสร้างไม่ทันแล้วหมด ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเขตรพระนครขยายต่อออกไปอิก ป้อมเหล่านั้นไม่เปนประโยชน์ดังแต่ก่อน จึงโปรดให้รื้อเอาที่สร้างสถานที่ต่าง ๆ โดยมาก ยังเหลืออยู่เวลานี้แต่ป้อมป้องปัจจามิตรข้างฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร กับป้อมปิดปัจนึก ข้างฝั่งตวันออกที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๒ ป้อมเท่านั้น)

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 09:32

... ชั้นนอกพระนคร  ป้อมมหายักษ  หน้าวัดพระเชตพล ๑  
ป้อมมะหาเริกษ  หน้าบ้านพญาราชภักดี ๑  ป้อมผีเสื้อ
หน้าบ้านพญาอุไทยทัน ๑  ป้อมจักรเพช  ปากคลอง ๑
ป้อมมะหาไชย  หน้าวังกรมหมื่นนะเรน ๑  ป้อมเสือทะยาน
หน้าบ้านพระมหาเทพ ๑  ป้อมหมูทะลอง ริมบ้านพญายมราช ๑
ป้อมมะหากาล  ประตูยอดข้ามไปสนามกระบือ ๑
ป้อมมะหาปราบ  เหนือวัดพรมสุรินขึ้นไป ๑   ๙ (ป้อม)

ป้อมยุคนธร ๑  ป้อมอิศินธร ๑  ป้อมพระสุเมร ๑  
ป้อมพระอาทิตย์ ๑  ป้อมพระจันท์ ๑  กรมพระราชวังบวรฯ   ๕ (ป้อม)
(รวม) ๑๔ ป้อม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 09:46

...ชั้นในพระราชวัง  ป้อมอินทะรังสรร  ๑  ป้อมขันเขื่อนเพช ๑
ป้อมเผด็จศดัศกอร ๑  ป้อมศิงขรขันท์ ๑  ป้อมมะนีปราการ  ๑
ป้อมพิศาลเสมา ๑  ป้อมภูผาสุทัศน์ ๑  ป้อมสัตะบรรพต  ๑
ป้อมโสฬศีลา ๑  ป้อมมะหาโลหะ  ๑  ป้อมอะนันตคีรี  ๑  
๑๑  ป้อม

(ป้อม) เมืองสมุทรปราการ  ป้อมผีเสื้อสมุท  กลางหาด ๑
ป้อมนาคราช ฝั่งตวันตก  ๑  ป้อมพระกาล  มุมตวันออก  ๑
ป้อมประโคนไชย ป้อมใหญ่ ๑  ป้อมกายสิทธิ์  ป้อมแปดเหลี่ยม ๑
ป้อมนารายปราบศึก  มุมเหนือริมน้ำ  ๑    ๖  ป้อม

(ป้อม) บางนางเกร็ง  ป้อมตรีเพชร  เหนือเมืองสมุทรปราการ
ฝั่งตวันออก  ๑  ป้อม

(ป้อม) เมืองนครเขื่อนขัน  ป้อมศัตรูพินาศ  เฉียงใต้ริมน้ำ ๑
ป้อมไฟฟ้า  ป้อมแปลงมุมเฉียงใต้ริมน้ำ ๑  ป้อมเพชหึง
ป้อมใหญ่เหนือเมือง  ๑  ป้อมมะหาสังหาญ  ป้อมใหญ่ริมน้ำ ๑
ป้อมจักกรด  มุมเหนือ  ๑  ฟากตวันออก  ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย  
มุมเหนือริมน้ำ  ๑  ป้อมปีสาจสิง  มุมเฉียงเหนือ  ๑  ป้อมราหูจร
เฉียงใต้  ๑  ป้อมวิธยาคม  เฉียงเหนือ  ริมน้ำ  ๑     ๙  ป้อม

ป้อมวิเชียรโชดก  เมืองสาครบุรี  ๑  สถารเทพยเจ้าจอมเมือง
สารเจ้า  ๑  เมืองสมุทรสงคราม  ป้อมพิฆาฎข้าศึก  ๑  
บางปะกฎ  ป้อมคงกะพัน  ๑

(ป้อม) ทรงใหม่ ป้อมป้องปัจจามิตรฝั่งตวันตก ๑  
ป้อมปิดปัจนึก  ฝั่งตวันออก ๑   ป้อมกำราบฤทธิปรปักษ์ ๑
ป้อมหารหักศัตรู  ๑  ป้อมสู้ไพรีรณ  ๑  ป้อมผจญปัจนึก ๑    ๖  ป้อม...

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 09:48

แผนผังการวางตำแหน่งของป้อมรอบพระนครชั้นใน


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 09:58

...ชื่อป้อม  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นเดชอดิศศร (ทรงพระนิพนธ์)
ป้อมป้องปัจจามิตร ๑                 ป้อมปิดตระวัน ๑
ป้อมศิงขรเขือนขรร ๑                ป้อมพรรรภูผา ๑
ป้อมปักกหลั่น ๑                        ป้อมเสือซ่อนเล็บ ๑
ป้อมปิศาจสิง ๑                        ป้อมผาเผือก ๑
ป้อมศิลาโลหะ ๑                       ป้อมแปดคม ๑
ป้อมยักขินี ๑                            ป้อมมหาถมื้น ๑
ป้อมประจำสมุท ๑                     ป้อมประจำจักรวาฬ ๑
ป้อมหิมภานต์คูหา ๑                   ป้อมคิรีราบร้าย ๑
ป้อมเพชหึง ๑                           ป้อมอะสุรินทราหู ๑
ป้อมประไลยกัลป ๑                    ป้อมจำบังนระปักษ์ ๑
ป้อมมหาเมฆ ๑                         ป้อมแสงอาทิคย์ ๑
ป้อมปัตพิพัง ๑                          ป้อมแก้วปราการ ๑
ป้อมปะกายแก้ว ๑                      ป้อมมารสดุ้ง ๑
ป้อมมหาพิฤก ๑                         ป้อมธนูเพช ๑
ป้อมพสุธาสเทือน ๑                   ป้อมธนูแผลง ๑

ป้อมกำราบฤทธิปรปักษ์ ๑             ป้อมมหารหักศัตรู ๑
ป้อมสู้ไพรีรณ  ๑                       ป้อมประจนปัจนึก ๑
๔ ป้อมๆ ทำใหม่  ฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 10:03

ตำแหน่งป้อมของคุณหนุ่มกับของคุณดีดีมีต่างกันอยู่ ๒ แห่ง

ช่วยยืนยันทีว่า ซ้ายหรือขวา ถูกต้อง   ฮืม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 10:19

ตำแหน่งป้อมของคุณหนุ่มกับของคุณดีดีมีต่างกันอยู่ ๒ แห่ง

ช่วยยืนยันทีว่า ซ้ายหรือขวา ถูกต้อง   ฮืม

อำแดงนวลแข cross check ได้ตาไวมากขอรับ ของคุณดีดี ถูกต้องแล้ว

"อ้างถึง
๘.ป้อมมหาปราบ  ออกบ้านเสมียนตรากรมวัง  ทิศตวันออก

๙.ป้อมยุคุนธร  มุมวัดบวรนิเวศ  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 10:39

อำแดงนวลแข cross check ได้ตาไวมากขอรับ ของคุณดีดี ถูกต้องแล้ว

อำแดงนวลแข

ใครหนอ

เพ็ญชมพูหาใช่ "นวลแข" ไม่    
แก้ไขใหม่ "เต็มชมพู" ต่างหากหนา
อย่างไรก็ชื่นใจในกรุณา
ตอบปัญหาไวว่องต้องขอบคุณ

" เต็มชมพู" คืออะไรใคร่ขอถาม
ชมพูงาม เต็มอย่างไรสงสัยอยู่
มีแหว่งเว้าตรงไหนไม่น่าดู
ขอความรู้ช่วยเฉลยเผยมาที

 ยิงฟันยิ้ม  ฮืม

สีชมพูมีความหมายในหลายสิ่ง
คือสุขยิ่งคือความรักสมัครสมาน
คือมิตรภาพคืออายุยืนยาวนาน
คือสีหวานแห่งมหา'ลัยในพระนาม

เพ็ญชมพู "ชมพูเต็ม" เต็มด้วยสุข
สนานสนุกเต็มด้วยรักชักวาบหวาม
เต็มด้วยมิตรภาพในวัยอันงาม
หวังทุกยามเรือนไทยนี้สีชมพู


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 10:46

ชื่อไพเราะ "เต็มชมพู" ดูสมบูรณ์ อิ่มเอมทุกประการ

อำแดงนวลแข = อำ + แดงนวล + แข

แดงนวล เสมือน แดงเรื่อ ๆ ประหนึ่ง ชมพูหวาน

แข เสมือนพระจันทร์ แจ่มจรัส วันเพ็ญ

คิดเล่น ๆ เท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 11:08

ข่าวเพลิงไหม้ บริเวณป้อมปราบศัตรูพ่าย ตกปีใด คุณหลวงเล็กช่วยคำนวณวันอย่างฝรั่งให้ทีครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 07 ก.ย. 11, 11:26

พ.ศ. ๒๔๒๙ ไฟไหม้ไปถึงวัดญวน ตลาดน้อย ไปหยุดลงที่ป้อมปิดปัจจนึก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง