เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 43884 ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 11:45

(คัดลอกอักขรวิธีตามต้นฉบับเป็นส่วนใหญ่)

@ พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นภูวไนยนฤเบนทราธิบาล
ได้ทรงเรียบเรียงชื่อป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง  
แลรอบพระนครไว้เพื่อข้าราชการ  เมื่อกราบบังคมทูลพระกรุณา
จะได้เรียกให้ถูกต้องตามนี้  


ป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง  คือ

๑.ป้อมอินทรังสรรค์  มุมประตูท่าพระทิศตวันตกเฉียงเหนือ

๒.ป้อมขันเขื่อนเพชร  ริมประตูวิเสศไชยศรีทิศเหนือ

๓.ป้อมเผดจดัษกร มุมโรงสักทิศตวันออกเฉียงเหนือ

๔.ป้อมสัญจรใจวิง ใต้พระที่นั่งไชยชุมพล ทิศตวันออก

๕.ป้อมสิงฃรฃันท์  ใต้พระที่นั่งไชยชุมพล  ทิศตวันออก

๖.ป้อมขยันยิ่งยุทธ  เหนือพระที่นั่งสุทไธสวรรย  ทิศตวันออก

๗.ป้อมฤทธิรุธโรมรัน  ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย  ทิศตวันออก

๘.ป้อมอนันตคีรี  ตรงพระตำหนักสวนกุหลาบ

๙.ป้อมมณีปราการ  มุมวัดพระเชตุพน  ทิศตวันออกเฉียงใต้

๑๐.ป้อมพิศาลเสมา  ตรงพระวิหารพระป่าเลไลย  วัดพระเชตพน  ทิศใต้

๑๑.ป้อมภูผาสุทัศน  ตรงโบถพระพุทธไสยาศน  วัดพระเชตพน  ทิศใต้

๑๒.ป้อมสัตตบรรพต  มุมประตูพิทักษบวร  ทิศตวันตกเฉียงใต้

๑๓.ป้อมโสฬศสีลา  ใต้ฉนวนออกราชวรดิฐ  ทิศตวันตก

๑๔.ป้อมมหาสัตตะโลหะ  เหนือฉนวนท่าราชวรดิฐ  ทิศตวันตก

๑๕.ป้อมพรหมประสาทสิลป  เหนือพระที่นั่งชลังคพิมาน  
๑๖.ป้อมอินทประสาทศร  ใต้พระที่นั่งชลังคพิมาน  ทิศตวันตกทั้งสองป้อม

รอบพระบรมมหาราชวัง  ๑๖

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 12:08

ป้อมรอบพระนครนั้น  คือ

๑.ป้อมมหายักษ  ตรงการเปรียญวัดพระเชตุพน  ทิศตวันตก

๒.ป้อมมหาฤกษ  น่าวังกรมหมื่นภูมินทรภักดี  ทิศใต้

๓.ป้อมผีเสื้อ  น่าวังกรมพระเทเวศวัชรินทร  ทิศใต้

๔.ป้อมจักรเพชร เชีงตพานช้างวัดราชบุรณ  ทิศตวันตกเฉียงใต้

๕.ป้อมมหาไชย  น่าวังใหม่สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ ทิศตวันออก

๖.ป้อมใหม่  ใต้บ้านพระยาอัพภันตริกามาตย (ดิษ) (ขรัวตาในสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ทิศตวันออก

๗.ป้อมมหากาล  น่าบ้านหม่อมเจ้าหญิงพิกุล ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข  ทิศตวันออก

๘.ป้อมมหาปราบ  ออกบ้านเสมียนตรากรมวัง  ทิศตวันออก

๙.ป้อมยุคุนธร  มุมวัดบวรนิเวศ  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

๑๐.ป้อมพระสุเมรุ  ปากคลองบางลำภู  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

๑๑.ป้อมอิสินทร  ออกบ้านพระยาสุรเสนา (บุญคง)  ทิศตวันตก

๑๒.ป้อมพระอาทิตย  มุมพระราชวังบวรสถานมงคล  ทิศตวันตก

๑๓.ป้อมพระจันทร  มุมวัดมหาธาตุ  ทิศตวันตก


ป้อมรอบพระนคร รวม  ๑๓ ป้อม

ปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างล่าง  คือป้อมป้องปัจจามิตร 

ป้อมปิดปัจจนึกนั้นอยู่ฝั่งฟากข้างปากคลองสาร 

ป้อมพิไชยประสิทธิ อยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ มุมวังสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี

ป้อมใหม่ในคลองผดุงกรุงเกษม  เหนือวัดนรนารถสุนทริการาม

ป้อมใหม่ในคลองผดุงกรุงเกษมอีกป้อมหนึ่ง  ตรงบ้านญวน

ป้อมใหม่ในคลองผดุงกรุงเกษม  เหนือวัดพระพลาไชย

ป้อมมีชื่อ ๓ ป้อม  ป้อมไม่มีชื่อ ๓ ป้อม  รวม ๖ ป้อมชั้นนอก

รวมทั้งป้อมรอบพระบรมมหาราชวังและรอบพระนครแลป้อมชั้นนอก  ๓๕  ป้อม  ฯฯ



ลงวัน ๑  ขึ้น ๗ ค่ำ  เดือน ๒  กุนสัปตศก  ๑๒๓๗

ข้าพเจ้า  หลวงเล็ก  นำมารายงาน   
ณ วันขึ้น ๙ ค่ำ  เดือน ๑๐  ปีเถาะ  ๒๕๕๔ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 12:23

เรื่องป้อม คุณวิกกี้มีรายงานดังนี้

ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง

ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีทั้งสิ้น ๑๗ ป้อม สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจำนวน ๑๐ ป้อม และสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง แต่เดิมเป็นป้อมมีหอรบ มีหลังคามุงกระเบื้องโบกปูนทับ ป้อมทั้งหมดมีชื่อคล้องจองกัน ดังนี้

๑.  ป้อมอินทรรังสรร อยู่มุมกำแพง ด้านทิศตะวันตกต่อทิศเหนือ ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง
๒.  ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร  อยู่ทางด้านทิศเหนือระหว่างประตูวิเศษไชยศรี และประตูมณีนพรัตน์ ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ เป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม
๓.  ป้อมเผด็จดัสกร  อยู่มุมกำแพงด้านทิศเหนือต่อทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม มีที่ตั้งเสาธง เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นที่ตั้งเสาธงใหญ่
๔.  ป้อมสัญจรใจวิง  อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ถัดจากพระที่นั่งไชยชุมพล ตรงกับถนนบำรุงเมือง สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๕.  ป้อมสิงขรขันฑ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ ทางเหนือของประตูเทวาพิทักษ์
๖.  ป้อมขยันยิงยุทธ  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับประตูเทวาพิทักษ์ ทางเหนือของพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๗.  ป้อมฤทธิรุดโรมรัน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ทางใต้ของพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๘.  ป้อมอนันตคีรี  อยู่เหนือกำแพงด้านทิศตะวันออก ถัดจากประตูศักดิ์ไชยสิทธิ ตรงข้ามกับสวนสราญรมย์ เป็นป้อม ๒ ชั้น
๙.  ป้อมมณีปราการ  อยู่สุดกำแพงด้านทิศตะวันออก เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ บูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๒ ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียนจริยศึกษาของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
๑๐. ป้อมพิศาลสีมา  อยู่บนกำแพงด้านทิศใต้ ระหว่างประตูวิจิตรบรรจงกับประตูอนงคารักษ์ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพน
๑๑. ป้อมภูผาสุทัศน์  อยู่มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อทิศใต้ ติดกับประตูพิทักษ์บวร ตรงข้ามกับท่าเตียน
๑๒. ป้อมสัตตบรรพต อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ถัดจากประตูช่องกุด เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๒
๑๓. ป้อมโสฬสศิลา  อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางใต้ของประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ บูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๒
๑๔. ป้อมมหาสัตตโลหะ  อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางเหนือของประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ บูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๒
๑๕. ป้อมทัศนนิกร  อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางใต้ของป้อมอินทรรังสรร สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๖. ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือท่าราชวรดิฐ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว
๑๗. ป้อมอินทรอำนวยศร อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ท่าราชวรดิฐ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 12:34

ป้อมรอบกำแพงพระนคร มีรายงานในเว็บของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม

ป้อมรอบกำแพงพระนครทั้ง ๑๔ ป้อม ส่วนใหญ่ได้รื้อออกไปหมดแล้ว คงเหลือเพียง ๒ ป้อม คือ ป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬ มีชื่อและที่ตั้ง ดังต่อไปนี้
  
๑.  ป้อมพระสุเมรุ  ตั้งอยู่ที่มุมกำแพงเมือง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ใต้ปากคลองบางลำภู ป้อมนี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และนับว่าเป็นป้อมที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง  
๒.  ป้อมยุคนธร  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านเหนือ บริเวณเหนือวัดบวรนิเวศ ฯ
๓.  ป้อมมหาปราบ  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านเหนือ  
๔.  ป้อมมหากาฬ  ตั้งอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก ใต้ประตูพฤฒิมาศ บริเวณสะพานผ่านฟ้า ป้อมนี้อยู่ในสภาพ  สมบูรณ์ดีทุกประการ  
๕.  ป้อมหมูทลวง  ตั้งอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก  ตรงหน้าเรือนจำพระนครเก่า  
๖.  ป้อมเสือทะยาน  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านตะวันออก เหนือประตูสามยอด บริเวณสะพานเหล็กบน            
๗.  ป้อมมหาไชย  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านตะวันออก บริเวณหน้าวังบูรพาภิรมย์  
๘.  ป้อมจักรเพชร  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ เหนือปากคลองโอ่งอ่าง ใต้วัดราษฎร์บูรณะ (วัดเลียบ) เป็นป้อมสำคัญทางด้านใต้  
๙.  ป้อมผีเสื้อ  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ตรงปากคลองตลาด  
๑๐. ป้อมมหาฤกษ์  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ เหนือปากคลองตลาดขึ้นไป บริเวณโรงเรียนราชินีล่าง  
๑๑. ป้อมมหายักษ์  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ตรงวัดพระเชตุพน  
๑๒. ป้อมพระจันทร์  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ริมท่าพระจันทร์ ตรงมุมวัดมหาธาตุด้านตะวันตกเฉียงเหนือ  
๑๓. ป้อมพระอาทิตย์ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก มุมพระราชวังบวร ฯ ตรงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  
๑๔. ป้อมอิสินธร  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก
  
นอกจากนั้น ยังมีป้อมที่อยู่นอกกำแพงเมือง สร้างขึ้นภายหลังเมื่อได้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว บางป้อมอยู่ทาง  ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอยู่ ๗ ป้อมด้วยกัน คือ
  
๑.  ป้อมปราบปัจจามิตร  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยา ริมปากคลองสาน  
๒.  ป้อมปิดปัจจานึก  อยู่ริมปากคลองผดุงกรุงเกษม ทางด้านใต้  
๓.  ป้อมผลาญศัตรูราบ  อยู่ใต้วัดเทพศิรินทร์ ฯ ริมถนนพลับพลาไชย  
๔.  ป้อมปราบศัตรูพ่าย  อยู่ใต้ตลาดนางเลิ้ง ตรงหมู่บ้านญวน ข้างบริเวณวัดสมณานัมบริหาร  
๕.  ป้อมทำลายแรงปรปักษ์  อยู่เหนือวัดโสมนัสวิหาร  
๖.  ป้อมหักกำลังดัสกร  อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ด้านทิศเหนือ  
๗.  ป้อมวิชัยประสิทธิ์  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 12:36


ปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างล่าง  คือป้อมป้องปัจจามิตร 

ป้อมปิดปัจจนึกนั้นอยู่ฝั่งฟากข้างปากคลองสาร 


ใคร่ขอถามความสับสนของป้อมทั้งสองนี้ครับ

ข้อมูลจากจาก หนังสือ : รำลึก ๘๐ ปี เขตคลองสาน (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์) รายงานว่า ป้อมบริเวณคลองสาน ชื่อ "ป้อมป้องปัจจามิตร"
ในพื้นที่ของเขตคลองสานมีป้อมสำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่แห่งหนึ่ง คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ตั้งอยู่ปลายถนนลาดหญ้า ซอยลาดหญ้ ๗๑ ทางเข้าป้อมแห่งนี้ผ่านสำนักงานเขตคลองสาน ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ลักษณะของป้อมเป็นแบบก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๓๙๗ หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกเสร็จแล้ว ได้โปรดให้สร้างป้อมรายตามริมคลอง และสร้างป้อมขึ้นเพื่อป้องกันทางด้าน ลำน้ำเจ้าพระยา ป้อมป้องปัจจามิตรอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก ตรงข้ามป้อมป้องปิดปัจจานึกที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม

                     ในรัชกาลที่ ๕ กรมเจ้าท่าได้ใช้ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นสถานที่ตั้งเสาธงสัญญาณสำหรับชักธงแจ้งข่าวเรือสินค้าเข้าออกว่าเป็นเรือของบริษัทใด และมีบ้านพักของข้าราชการกรมเจ้าท่าผู้ดูแล เสาธงอยู่ในบริเวณนั้นด้วย ต่อมาได้มีการย้ายเสาธงบนป้อมป้องปัจจามิตรลงมาอยู่ใกล้บริเวณตัวป้อมดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานสำคัญของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๐๓ กรมเจ้าท่าย้ายการชักธงสัญญาณเรือเข้าออก ไปที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย เสาธงที่ป้อมป้องปัจจามิตรใช้เพียงชักธงแสดงสภาพลักษณะอากาศตามคำพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

                     เนื่องจากป้อมป้องปัจจามิตรเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ และไม่มีหลักฐานว่าได้มีการทำนุบำรุงมาแต่ครั้งใด สภาพของป้อมชำรุดทรุดโทรม ขอบกำแพงป้อมบางตอนแตกร้าว ส่วนใหญ่ถูกรื้อไป เพื่อประโยชน์ในกิจการอื่น คงเหลือส่วนหนึ่งของกำแพงเฉพาะเท่าที่เคยใช้เป็นที่ตั้งของสถานีสัญญาณเรือเข้าออกของกรมเจ้าท่าเท่านั้น ในปีงบประมาณ ๒๕๒๘ เขตคลองสานได้เสนอโครงการ บูรณะปรับปรุงป้อมป้องปัจจามิตรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๙ (คลองสาน สัมพันธวงศ์ บางรัก) และได้รับงบพัฒนาจังหวัด จำนวน ๘๐๔,๖๓๒ บาท ประกอบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๙ กรุงเทพมหานครได้สนับสนุนงบประมาณมาปรับปรุงเพิ่มเติมอีก ๓๑๒,๗๐๐ บาท จึงทำให้สภาพของป้อมป้องปัจจามิตรคงสภาพดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้


http://www.swcs.ac.th/klongsan/pompongputjamid.html
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 12:40

ป้ายประชาสัมพันธ์บ่งว่า "ป้อมป้องปัจจามิตร" ตั้งอยู่คลองสาน ไม่ใช่ตั้งอยู่ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านล่าง

ตกลงชื่อใดถูก ชื่อใดผิด  ฮืม  แบบนี้เรียกรวมพล ไปผิดป้อม คงโดนฟันคอ ริบเรือนกระมัง  ฮืม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 13:39

สงสัยเสมียนที่ส่งให้ไปจดชื่อป้อมจะแอบไปนั่งจิบสุราข้างทาง
ก่อนออกไปถึงป้อม  ทำให้สับสนจดชื่อป้อมสลับกัน
(ข้าพเจ้าไม่ผิด เพราะรายงานตามเอกสาร
อย่างเคร่งครัดและเคร่งเครียด)
 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 14:01

ก็ตามแผนที่กล่าวไว้ว่า ชื่อป้อมป้องปัจจามิตร ครับผม อยู่ใต้วัดเทพศิรินทร์ลงมา


สงสัยแผนที่จะระบุป้อมผิด อ้างถึงสถานและสิ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรื่องป้อมปราการ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ดังนี้

"...ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ
๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร
๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้
๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ
๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง
๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย
๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง
๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน
๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ ๑ วัดแก้วแจ่มฟ้า..."

แผนที่ผิด ?

 ฮืม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 14:12

แผนที่ป้อมรอบพระนครค่ะ... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 14:12

คุณเพ็ญฯ แผนที่ที่เอามาแสดงนั้น  เขียนขึ้นเมื่อปีกุนนพศก  ๑๒๔๙
ตามที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ มีรับสั่งให้เขียนขึ้น

ต่อมากรมแผนที่ได้นำแผนที่ดังกล่าวมาปรับปรุงเติมข้อมูล
ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นลงไปใหม่ เมื่อ ร,ศ, ๑๑๕

เจ้าหน้าที่ที่เขียนแผนที่นี้ คือนายวอนกับนายสอน
เขียนเสร็จเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม  ๑๑๕

ถ้าเลื่อนแผนที่ลงมาอีกนิด  ตรงที่เป็นป้อมป้องปัจจามิตร
ที่ปากคลองสาน  ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา  
มีรูปป้อมเขียนว่า  ป้อมปัจจามิด  อยู่ด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 14:17

แผนที่ระวางอาณาเขตกรุงเทพ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ไม่มีป้อมบริเวณคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว แต่ป้อมเจ้าปัญหา มีระบุว่า "ป้อมป้องปัจจามิตร" แบบนี้เกิดความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นแล้ว

ส่วนแผนที่ฉบับล่างเป็นสมัยรัชกาลที่ ๖



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 14:50

คุณเพ็ญฯ แผนที่ที่เอามาแสดงนั้น  เขียนขึ้นเมื่อปีกุนนพศก  ๑๒๔๙
ตามที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ มีรับสั่งให้เขียนขึ้น

ต่อมากรมแผนที่ได้นำแผนที่ดังกล่าวมาปรับปรุงเติมข้อมูล
ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นลงไปใหม่ เมื่อ ร,ศ, ๑๑๕

เจ้าหน้าที่ที่เขียนแผนที่นี้ คือนายวอนกับนายสอน
เขียนเสร็จเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม  ๑๑๕

แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๙ (ร.ศ. ๑๑๕) เป็นหนึ่งในแผนที่พระราชอาณาเขตและแผนที่เมืองที่กรมแผนที่จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อแสดงข้อมูลทางกายภาพของสยามประเทศ ตามมาตราฐานการทำแผนที่อย่างตะวันตก ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สำหรับแผนที่พระนครนั้น ปรากฏหลักฐานว่า ทำขึ้นในมาตราส่วนขนาดใหญ่ มีรายละเอียดถนน หนทาง บ้านเรือนต่าง ๆ อย่างชัดเจน และตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย แก้ไขเพิ่มเติม ตึกถนน บ้านเรือน ตามที่เปลี่ยนแปลงใหม่ในทุกวันนี้ รวบรวมเข้าทั้งฝั่งลำน้ำเจ้าพระยาลงบนแผ่นเดียวกัน โดยให้ช่างเขียนแผนที่สองท่าน คือนายวอนและสอน คัดลอกเส้นแผนที่ขึ้นใหม่ จนแผนที่แล้วเสร็จและพิมพ์เผยแพร่ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙)

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 15:34

ถ้าเลื่อนแผนที่ลงมาอีกนิด  ตรงที่เป็นป้อมป้องปัจจามิตร
ที่ปากคลองสาน  ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา 
มีรูปป้อมเขียนว่า  ป้อมปัจจามิด  อยู่ด้วย


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 15:35

ตกลงป้อมนี้ (พิจารณาภาพจากความเห็นที่ ๒๒) มีชื่อว่าป้อมอะไร
พร้อมให้เหตุผลหรือแหล่งข้อมูลอ้างอิง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 19:10

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ ขยายพระนครออกไปอีกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมโอบล้อมกรุงซึ่งลักษณะเป็นเกาะ เป็นคลองรอบกรุงชั้นนอก คลองรอบกรุงในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงเป็นคลองรอบกรุงชั้นใน แผ่นดินนี้ ขุดคลองแต่ไม่ได้สร้างกำแพงเมืองเลียบคลอง โปรดฯ ให้สร้างแค่ป้อม ๗ ป้อม เรียงรายตามริมคลอง ที่จริงป้อมสร้างเวลานั้นมี ๘ ป้อม แต่อีกป้อมหนึ่ง ข้ามไปอยู่ฟากธนบุรี ตรงปากคลองสาน ซึ่งบัดนี้ยังคงอยู่อีกป้อมเดียวใน ๘ ป้อม คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ส่วนอีก ๗ ป้อม ทางฟากตะวันออก รื้อหมดแล้ว

ชื่อป้อมทั้ง ๘ คล้องจองกันน่าจำ คือ ป้องปัจจามิตร ปิดปัจจานึก ฮึกเหี้ยมหาญ ผลาญไพรีราบ ปราบศัตรูพ่าย ทำลายแรงปรปักษ์ หักกำลังดัสกร มหานครรักษา

สำหรับป้อมปราบศัตรูพ่ายนั้นเหลือแต่ชื่อ ซึ่งกร่อนลงเหลือแต่ ‘ป้อมปราบ’

ส่วนป้อมหักกำลังดัสกรอยู่แถว ๆ สะพานมัฆวานรังสรรค์


จากบทความเรื่อง เปรียบกรุงเทพฯ ว่าเป็นเวนิซตะวันออกโดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์ นิตยสารสกุลไทย
 

ชื่อป้อมที่คุณหลวงถาม

ตกลงป้อมนี้ (พิจารณาภาพจากความเห็นที่ ๒๒) มีชื่อว่าป้อมอะไร



สงสัยเสมียนที่ส่งให้ไปจดชื่อป้อมจะแอบไปนั่งจิบสุราข้างทาง
ก่อนออกไปถึงป้อม  ทำให้สับสนจดชื่อป้อมสลับกัน

สลับชื่อกับ "ป้อมปิดปัจจานึก" กระมัง

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง