เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 43733 ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 11:32

แสดงว่า ก่อน ร.ศ. ๑๐๐ เป็นประตูยอดตัด และ ร.ศ. ๑๐๗ ทำเป็นประตูยอด และพังลงใน ร.ศ. ๑๓๑

+++

ไม่ได้เหน็บแนบ แต่ให้ "ไส้กรอกปลาแนม" ติดกัณฑ์เทศน์ไว้  แลบลิ้น

แซ่บสิครับอย่างนี้  อนุโมทนาบุญแก่ออกขุนสยามไว้ด้วย
แหล่นี้เล่าประวัติประตูสะพานหันได้ดียิ่ง  ยังไม่เคยได้อ่านจากแหล่งอื่นเลย
อ้อ  ไม่ต้องปิดทองคำเปลวหรอกครับ  เดี๋ยวจะมีคนหมั่นไส้

ส่วนสาธุชนที่ใคร่ฟังแหล่อีก  คงต้องรอโอกาสหน้าล่ะครับ
เพราะต้องแหล่ตามเนื้อเรื่องกระทู้  แหล่พร่ำเพรื่อเรี่ยราดไม่ได้
เดี๋ยวราคาจะตกได้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 15:36

หมายรับสั่ง  เรื่อง  ยกประตูพระบรมมหาราชวัง  จุลศักราช  ๑๑๔๔

วัน ๕  ขึ้น ๗ ค่ำ  เดือน ๒  จุลศักราช  ๑๑๔๔  ฤกษ์ยกประตูซึ่งมีมณฑป
พระราชวัง ๔ ด้าน  เป็นประตูด้านริมน้ำตะวันตก  ๕  สะกัดเหนือ  ๔ 
ตะวันออกใต้  ๔   ใต้  ๔   รวม  ๑๗  ประตู


ประตูด้านริมน้ำ  นับใต้ไปเหนือ

ประตูดิน  ที่ ๑  กรมตำรวจใหญ่ซ้าย  พระพิเรนทรเทพ ทำ   อนงคลีลา  ๑

ประตูฉนวน  กรมตำรวจใหญ่ขวา  พระพิเรนทรเทพ ที่ ๒   ยาตรากษัตรี  ๑

ประตูที่ ๓  พระอินทราทิตย์  กรมสนมซ้าย  ทำ    ศรีสุนทรทวาร  ๑

ประตูที่ ๔  กรมตำรวจนอกซ้าย  หลวงอินทรเดชะ  ทำ   ไพศาลสมบัติ  ๑

ประตูที่ ๕  กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง  พระพิพิธเดชะ  ทำ   รัตนพิศาล  ๑

รวม  ๕  ประตู
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 15:57

ประตูด้านสะกัดเหนือน้ำ  นับแต่ตะวันตกไปตะวันออก

ประตูมุมข้างเหนือที่ ๑  ทวารเทเวศร  ๑
ประตูถัดมาที่ ๒  วิเศษไชยศรี  ๑  รวม  ๒  ประตู
หลวงรักษมณเฑียร  ข้าหลวงกรมพระราชวังบวร ทำ

ประตูที่ ๓  มณีนพรัตน  ๑
ประตูที่ ๔  สวัสดิโสภา  ๑  รวม ๒  ประตู
หลวงบำเรอภักดิ์  ข้าหลวงกรมพระราชวังบวร  ทำ



ประตูด้านตะวันออก  นับข้างเหนือลงไปใต้น้ำ

ประตูด้านตะวันออกที่ ๑  นับลงไปข้างใต้  พระรามพิไชย  กรมล้อมวังซ้าย  ทำ  เทวาพิทักษ์ ๑

ประตูที่ ๒  ลงไป  พระพิเดชสงคราม  กรมล้อมวังขวา  ทำ  ศักดิ์ไชยสิทธิ์  ๑

ประตูที่ ๓ ลงไป  พระเสนานนท์  กรมอาสาวิเศษขวา  ทำ  วิจิตรบรรจง  ๑

ประตูที่ ๔ ลงไป  พระอินทราทิตย์  กรมสนมขวา  ทำ  อลงการ์รัตน์  ๑    รวม  ๔ ประตู
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 16:05

ประตูด้านสะกัดใต้น้ำ  นับแต่ตะวันออกมาตะวันตก

ประตูด้านใต้ที่ ๑  หมื่นอัคเนศร  หมื่นศรสำแดง  กรมเกณฑ์หัด  ทำ  สวัสดิสัญจร  ๑

ประตูที่ ๒  หลวงสุริยภักดี  กรมสนมซ้าย  ทำ  สุนทรทิศา  ๑

ประตูที่ ๓  ริมศรีสำราญ  หลวงพรหมบริรักษ์  กรมสนมขวา  ทำ  เทวาภิรม  ๑

ประตูที่  ๔  หมื่นจงใจรักษ์  กรมทหารในขวา  ทำ  อุดมสุดารักษ์  ๑  รวม  ๔  ประตู
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 16:16

วัน ๒  แรม ๖ ค่ำ  เดือน ๒  จุลศักราช  ๑๑๔๔  ปีขาลจัตวาศก
เพลาเช้าโมง ๑  บาท ๑   ฤกษ์ยกประตูมีมณฑป  พระราชวังชั้นใน  ๓ ด้าน
ด้านสะกัดเหนือ  ๕    ตะวันออก  ๒  ใต้  ๓   รวม  ๑๐  ประตู  ในนี้

ประตูด้านสะกัดเหนือ  นับตะวันตกไปตะวันออก

ประตูที่ ๑  เป็นสองชั้น  ชั้นนอก  กรมกระลาโหม  ๑  ทำ 
ชั้นใน  พระมหามนตรี ๑  ทำ   สุบรรณบริบาล  ๒

ประตูที่ ๒  เป็นสองชั้น  ชั้นนอก  กรมมหาดไทย  ๑  ทำ
ชั้นใน  พระมหาเทพ  ๑  ทำ  พิมานไชยศรี  ๒

ประตูที่ ๓  หลวงภูเบนทรสิงหนาท ๑  หลวงนเรนทรชาติสังหาร  ๑  ทำ  ดุสดีศาสดา ๑


ประตูด้านตะวันออก  นับเหนือลงไปใต้
ขุนสุเรนทรวิชิต ๑  ขุนอภัยเสนา ๑  ทำ ที่ ๑  อินทรลีลาศ
หลวงราชโยธาเทพ ๑  ทำ ที่ ๒  ราชสำราญ     รวม  ๒ ประตู


ประตูด้านใต้  นับตะวันออกไปตะวันตก
พระราชวรินทร์  ทำ ที่ ๑  อีสาณทักษิณ  ๑
ชาวเครื่องพระอภิรมย์ราชยาน  ทำ ที่ ๒  วารินขณรา ๑
ขุนภักดีอาษา ๑  ขุนโยธาภักดี ๑  ทำ  ที่ ๓  กัลยาวดี  ๑   รวม  ๓  ประตู ฯฯ...
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 17 ก.ย. 11, 21:47

จิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิต มีอยู่ประตูหนึ่งที่เป็นลักษณะประตูยอดแหลม เสาไม้


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 08:19

ฝ่ายพวกกุลีมารายงาน     ว่าหมวกทหารเจอหนึ่งใบ
แต่เจ้าของหมวกไม่รู้ไปไหน   หรือดำดินไปใต้บาดาล
อย่าเพ่อดูหมิ่นดำดินทราย    เขาก็เป็นชายชาติทหาร
ทิ้งหมวกไว้ให้เป็นพยาน      แล้วหนีบันดาลดำดินไป
เหมือน "โทเฮงสูน" เรื่องห้องสิน    เขายังดำดินไปได้
เรื่องหมวกไม่รู้ของผู้ใด      ฉันสืบไม่ได้ต้องยอมจน
คนที่คอยดูอยู่จนรุ่ง           สู้ทนให้ยุงมันกัดป่น
ไม่พบคนตายเลยสักคน      จนแสงสุริยนส่องนภา
กุลีขนอิฐยังไม่หมด           แต่ครบกำหนดตามสัญญา
ครั้นรุ่งสางสว่างจ้า            กุลีถ้วนหน้าหยุดงานพลัน
เมื่อแรกรับจ้างต้องเซ็นชื่อ     หรือลงลายมือเป็นสำคัญ
ครั้นถึงรุ่งเช้าเอารางวัล       บาทหนึ่งเท่ากันทุกคนไป
โรงพักถนนพาหุรัด            เป็นที่จ่ายจัดค่าจ้างให้
กรมกองตระเวนไม่เกณฑ์ใคร   คิดค่าจ้างให้ทั่วทุกคน
กุลีพวกก่อนอดนอนเพลีย      ต้องหยุดพักเสียไม่รื้อขน
จ้างกุลีใหม่อีกหลายคน        ให้ขุดรื้อขนต่อไปนา
ขนอีกสองวันจึงสำเร็จ         รวมกุลีเสร็จหกสิบห้า
จ้างคนละบาทไม่ขาดราคา    ไม่หย่อนไม่กว่าร้อยสตางค์...


โทเฮงสูน ในเรื่องห้องสิน  เป็นใคร มีบทบาทอย่างไร
ใครทราบโปรดอธิบายให้ฟังหน่อย  จักเป็นพระคุณยิ่ง

รถที่สำหรับรับคนป่วย       ก็เอามาด้วยเตรียมไว้หนา
กรมกองตระเวนเกณฑ์เอามา   สำรองเผื่อว่ามีอันตราย
คนยิ่งแน่นอัดยัดเยียดกัน    ต่างคนต่างดันกันเกือบล้มหงาย
ตั้งใจมาดูผู้คนตาย           แต่ไม่สมหมายดังจินดา
หมายว่าประตูพังทับคน      จึงได้สู้ทนเบียดเข้ามา
ที่ยังเป็นสาวคราวโสภา      เห็นจะเสียท่าไปหลายคน
พวกรุ่นหนุ่มรุมกันจ้อง       เกือบ "มั้ว" "กินช่อง" กลางถนน
แต่เครื่องภายนอกหยอกกันป่น   เพราะกำลังคนชุลมุน
ที่ปลายถนนพาหุรัด          คนเบียดเยียดยัดกันออกวุ่น
หญิงคนหนึ่งถูกพระพิรุณ     พี่เจ๊กแกดุนผ้าเปรอะไป
เหลียวหลังมาว่าอ้ายตายโหง   มันมาตะโพงหลังกูได้
เพื่อนกันห้ามว่าอย่าอึงไป      ขายหน้าใครๆ เขาแลดู
เราเป็นผู้หญิงนิ่งดีกว่า        ขืนทำปากกล้าจะอดสู
เลยเลี่ยงหลบไปไกลประตู    ถ้าแม้นขืนอยู่ชื่อคงดัง
บ้างว่าถูกคนล้วงกระเป๋า      บ้างถูกเหยียบเท้าด้วยเกือกหนัง
พลตระเวนห้ามก็ไม่ฟัง       ขืนดันทุรังเบียดเข้าไป
ฝรั่งที่อยู่โรงไฟฟ้า            กับคนงานมาจัดแก้ไข
เอาเชือกโยงเสาเข้าทันใด    กลัวล้มลงไปจะเสียที...

คำว่า  มั้ว  กินช่อง  มีความหมายว่าอะไร   ใครก้ได้ช่วยอธิบายหน่อย
จักเป็นพระคุณยิ่งนักแล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 09:05

มั้ว กับ กินช่อง เป็นภาษาทางการพนันหรือเปล่าคุณหลวง  ฮืม

คิดได้ว่า กินช่อง คงจะหมายถึงการพนันแบบหนึ่งอย่างกำถั่ว เล่นโป โดยแทงวางเงิน (เบี้ยหอย) ไปที่แผ่นไม้กระดานซึ่งทำเป็นเครื่องหมายบวกไว้ เกิด ๔ ช่องให้เลือกแทงได้ตามสบาย โดยช่องที่ว่าเรียกว่า ประตู คือมี ๔ ประตูให้เลือกเล่น ซึ่งคงจะหมายถึง กินช่องได้เงินพนันว่ามีผู้ใดตายหรือไม่ตายในกองอิฐนั้น
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 10:01

ฝ่ายพวกกุลีมารายงาน     ว่าหมวกทหารเจอหนึ่งใบ
แต่เจ้าของหมวกไม่รู้ไปไหน   หรือดำดินไปใต้บาดาล
อย่าเพ่อดูหมิ่นดำดินทราย    เขาก็เป็นชายชาติทหาร
ทิ้งหมวกไว้ให้เป็นพยาน      แล้วหนีบันดาลดำดินไป
เหมือน "โทเฮงสูน" เรื่องห้องสิน    เขายังดำดินไปได้
เรื่องหมวกไม่รู้ของผู้ใด      ฉันสืบไม่ได้ต้องยอมจน
คนที่คอยดูอยู่จนรุ่ง           สู้ทนให้ยุงมันกัดป่น
ไม่พบคนตายเลยสักคน      จนแสงสุริยนส่องนภา
กุลีขนอิฐยังไม่หมด           แต่ครบกำหนดตามสัญญา
ครั้นรุ่งสางสว่างจ้า            กุลีถ้วนหน้าหยุดงานพลัน
เมื่อแรกรับจ้างต้องเซ็นชื่อ     หรือลงลายมือเป็นสำคัญ
ครั้นถึงรุ่งเช้าเอารางวัล       บาทหนึ่งเท่ากันทุกคนไป
โรงพักถนนพาหุรัด            เป็นที่จ่ายจัดค่าจ้างให้
กรมกองตระเวนไม่เกณฑ์ใคร   คิดค่าจ้างให้ทั่วทุกคน
กุลีพวกก่อนอดนอนเพลีย      ต้องหยุดพักเสียไม่รื้อขน
จ้างกุลีใหม่อีกหลายคน        ให้ขุดรื้อขนต่อไปนา
ขนอีกสองวันจึงสำเร็จ         รวมกุลีเสร็จหกสิบห้า
จ้างคนละบาทไม่ขาดราคา    ไม่หย่อนไม่กว่าร้อยสตางค์...


โทเฮงสูน ในเรื่องห้องสิน  เป็นใคร มีบทบาทอย่างไร
ใครทราบโปรดอธิบายให้ฟังหน่อย  จักเป็นพระคุณยิ่ง


โทเฮงสูน หรือ ถู่อิ๋วซุน  เป็นศิษย์ของกีลิวสุน แห่งเทืองเขาเหลียงซาน มีภรรยาชื่อ นางเตงตันหยก
ลักษณะคือ รูปร่างเตี้ย สูงเพียงสองศอกคืบ ผิวดำ อาวุธที่ใช้คือง้าวกระบองเหล็ก มีพาหนะคือกิเลน
ความสามารถพิเศษ ดำดินได้ไกลวันละสองหมื่นห้าพันเศษ

ตอนแรกรับราชการเป็นขุนพลนายทหารของพระเจ้าโจ้วหวาง แต่ภายหลังเข้าสวามิภักดิ์กับฝ่ายของพระเจ้าโจวอู่หยาง
ที่มีเจียงจื่อหยางเป็นแม่ทัพใหญ่

ต่อมาในการรบที่ด่านเสงตี้กวน ก็ถูกเตียวแก๋นายด่าน ผู้มีวิชาดำดินเช่นกัน ฆ่าแล้วตัดศีรษะเสียบประจานที่หน้าด่าน
พระเจ้าโจวอู่หยาง ทรงประกอบพำธีบวงสรวงปูนบำเหน็จหลังสงครามเสร็จสิ้น
โดยให้โทเฮงสูน เป็นดาวโทฮู้แช หรือดาววังดิน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 06:46

ทางเข้าไปยังประตูสะพานหัน ผู้คนมากมายต่างพากันมาดูประตูพัง ราว ๒ ทุ่มกว่า (จะเห็นอะไรดีคุณหลวง มืดซะกระนั้น  ฮืม)

ไม่เคยคิดข้อข้องใจแต่อย่างใด จนกระทั่งเพิ่งสังเกตเห็นว่า ทั้งสองภาพที่กล่าวว่าประตูสะพานหัน ประตูเดียวกัน แต่ทำไมเครื่องยอดประตูไม่เหมือนกัน

แน่นอนว่าภาพทั้งสองถ่ายต่างปีกัน?



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 04:55


แนวกำแพงพระนครและประตูพระนครนั้น อาศัยจับทิศการวางรางรถรางแล้วพบว่า
๑. ตัวราง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกำแพงพระนคร ซึ่งผมก็รีบลงไปดูในแผนที่รถราง พบว่า เส้นทางเดินของรถราง
    ในพระนครจะอยู่ชิดกับแนวกำแพงเสมอ ยกเว้นมีอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่วางรางตรงข้ามกับกำแพง และมีประตู
    พระนครตั้งอยู่ด้วย ซึ่งก็คือ "ตั้งแต่หัวมุมโรงเรียนราชินี - ประตูศรีสุดาวงศ์" เท่านั้น

๒. เมื่อทราบตำแหน่งแล้วก็เจาะไปยังแผนที่วัดโพธิ์ฯ พบว่าแนวรถรางหน้าภาพ มีการหักมุมเล็กน้อย และมีกำแพงตั้งตรง
     กันกับแนวหักพอดีจึงได้กำหนดซึ่งน่าจะเป็นตรงนี้ ด้วยมีประตูเมือง (ตรงกับเขตสังฆาวาส) เหนือประตูจะเป็นที่ตั้ง
     ของป้อมมหายักษ์ ท้ายวัดโพธิ์

๓. อีกจุดหนึ่งซึ่งยืนยันความถูกต้องของภาพคือ จุดวงกลม ๒ จุดอยู่เยื้องกัน ในแผนที่มีจุดวงกลม อยู่พอสังเกตได้ว่า
     เป็นตำแหน่งของ "หัวก๊อกประปา" ซึ่งก็มีอยุ่ในภาพ และมีอยู่ในแผนที่

สรุปว่า ภาพที่ผมลงให้เห็น เป็นภาพถนนมหาราช รถรางวิ่งผ่านท้ายวัดโพธิ์ ช่วงเขตสังฆาวาส ครับ

เยี่ยมครับ

ฉะนั้น ภาพตึกที่ขวางถนนอยู่ข้างหน้าคือ สถานที่แห่งใด

ดังนี้แล้ว อาคารมีหลังคาคลุมนี้ ควรจะเป็นป้อมมหาฤกษ์ อยู่ตรงโรงเรียนราชินี ในปัจจุบันครับ แต่ด้วยพื้นขาว เลยทำให้ความขาวกลืนเป็นพื้นหลังไปหมด ไม่เห็นรายละเอียดใบเสมาครับ


ขอขุดกระทู้ขึ้นมาถามนะครับ...

ทำไมรางจึงพุ่งตรงเข้าหาป้อมมหาฤกษ์ // กลายเป็นว่าตัวป้อม”หลบใน”เข้ามาในแนวกำแพง // ลองค้นดูแผนที่กูเกิล  พบว่ามีพื้นที่ว่างติดกับรร.ราชินี  พอดิบพอดีที่จะเคยมีป้อมได้หลังหนึ่ง  ไม่ทราบว่าบังเอิญหรือไม่?

6เหลี่ยม=ป้อมมหายักษ์ // วงกลม=ป้อมมหาฤกษ์ (ผมเดา) // 5เหลี่ยม=ป้อมผีเสื้อ (ผมเดาอีกเหมือนกัน) // ตำแหน่งป้อมที่ผมเดาไปนี้  เข้าเค้าบ้างไหมครับ?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 08:17

ป้อมรอบกรุงเทพมหานครชั้นใน ต้องอยู่แนวกำแพงพระนครเท่านั้นครับ แนบแผนที่ลักษณะโครงสร้างของ
ป้อมมหายักษ์ หน้าวัดพระเชตุพน

ป้อมมาฤกษ์ สร้างตรงพื้นที่ปากคลองตลาด ป้อมนี้จึงมีความใหญ่ยื่นออกมาสวยงาม ชานป้อมด้านหน้ากลายเป็นพื้นที่ของโรงเรียนราชินี ในปัจจุบันนี้

ป้อมผีเสื้อ ป้อมรักษาท้องน้ำเจ้าพระยาหันหน้าออกแม่น้ำ เป็นป้อมขนาดเล็กยื่นออกจากกำแพงนิเดียว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 15:30

ภาพป้อมถนนจักรเพชร


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 16:58

ขอบคุณสำหรับรูปลายเส้นของป้อมทั้ง4
ป้อมผีเสื้อ คงจะอยู่สุดปลายถนนบ้านหม้อ ทับอยู่บนถนนตัดใหม่ที่ทอดไปลงเจ้าพระยา
ป้อมมหาฤกษ์ นี่ได้อาคารสุนันทาลัยช่วยชี้ทาง
ป้อมจักรเพชร โดนถนนทับไปบางส่วน และเป็นเกาะกลาง/ไหล่ทางบางส่วน // ถ้ายังมีฐานรากป้อมหลงเหลืออยู่บ้าง น่าจะขุดแต่งแล้วทำกล่องกระจกครอบไว้ (รูปประกอบ เป็นถนนสมัยใหม่ที่ซ้อนทับอยู่บนถนนโบราณ ในเมืองกวางโจว)



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 17 ก.ย. 15, 16:17


พื้นที่ตรงนี้น่าสนใจมากครับ
ซ้อนทับกับป้อมใหม่เมืองบางกอก ปลายสมัยพระนารายณ์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง