เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 31383 อุโมงค์ หรือ สีสำราญ ที่คลายทุกข์ของสาวชาววัง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 23 ก.ย. 11, 10:07

อุปกรณ์ที่คุณดีดีว่าคือ ไม้ที่พันปลายด้วยฟองน้ำธรรมชาติที่เรียกว่า spongia

มีคนหนึ่งในภาพกำลังใช้งานอยู่

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 23 ก.ย. 11, 10:23

แสดงว่าคงเอาฟองน้ำชุบน้ำในอ่าง แล้วพอใช้เสร็จ ก็ล้างเก็บ... ยิงฟันยิ้ม
ส่งภาพ medieval toilets มาให้ชมพร้อมวิธีใช้ค่ะ...



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 23 ก.ย. 11, 10:25

หน้าตาของ Spongia



ให้ความนุ่มนวลกว่าไม้แก้งก้นของเราเยอะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 10:52

รูปนี้คือชักโครกอันแรกในโลก  ประดิษฐ์โดยเซอร์จอห์น  ฮาร์ริงตันเมื่อค.ศ. 1596   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 06:30

เมื่อเย็นวาน อาจารย์ใหญ่(มากกส์)อีกท่านหนึ่งได้ใช้เพื่อนร่วมห้องสมัยนักเรียนของผม ให้โทรมาตามผมไปที่บ้าน เพราะท่านเห็นว่าที่เราเรียกๆกันในกระทู้นึ้ว่าสีสำราญบ้าง ศรีสำราญบ้างนั้น ผิดจากที่มาที่ไป ซึ่งท่านบอกว่าคำนี้มาจาก สรีรสำราญ (อ่านว่า สะ รี ระ สำราญ) แล้วกร่อนมาเป็นสรีร์สำราญ จึงเพี้ยนเป็นสีสำราญและศรีสำราญตามลำดับ

ผมได้ขอถ่ายภาพหลักฐานจากท่านมาด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 08:37

ท่านอาจารย์ใหญ่มากกส์ ท่านอ่านเรือนไทยด้วยหรือคะ.  หรือว่ามีคนพริ้นท์จากจอไปให้ท่านอ่าน

ขอเล่าเกร็ดจากคำนี้. ว่าในโรงเรียนเก่าของดิฉัน.   เวลาจะลาครูไปห้องน้ำ.   ใช้คำว่า"ขอลาไปสำราญ". 
มันเป็นศัพท์ที่ใช้กันมาแต่ครั้งใดก็ไม่ทราบ. แต่เขาไม่ใช้คำอื่น
ถ้าไปถ่าย ใช้ว่าสำราญหนัก
ถ้ากินน้ำเข้าไปมากๆ.   อั้นไว้ไม่อยู่ ก็จะประสบอาการ"สำราญราด"
เพราะเหตุนี้.   พวกนักเรียนเวลาได้ยินชื่อสถานีตำรวจสำราญราษฎร์เป็นครั้งแรก มักหัวเราะกันกิ๊กกั๊ก
นักเรียนร.ร อื่น เขาก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเราขำกันนักหนา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 09:06



อา...เล่มสีแดง  หน้า ๘๐๐  กว่า

ที่จริงถ้าท่านผู้อ่าน  จะกรุณาแนะนำมาทางกระทู้ของคุณหนุ่มโดยตรง

คงยินดีกันมากทีเดียว


       เรื่องโรงพักสำราญราษฎร์ของคุณเทาชมพู   ตลกจังค่ะ

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒   ดิฉันได้ยินศัพท์นี้ที่โรงเรียนทางศาสนาคริสต์ที่ถนนประมวญค่ะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 09:09

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายไว้อีกอย่างหนึ่ง

ความหมายของคำว่า "ศรีสำราญ" ค่ะ

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าไว้ในเรื่อง ‘สาส์นสมเด็จ’
ทรงอธิบายคำว่า ‘ศรีสำราญ’ ไว้ว่า
“คำศรีสำราญ นั้น ได้ทราบความหมายแล้วเป็นคำเขมร เขียนเช่นนี้ ‘สรีสำราล’
สรี แปลว่าผู้หญิง คือคอรัปชั่นมาจากคำว่า ‘สตรี’
สำราล แปลว่าทำให้เบา(ทุกข์) เป็นพวกเดียวกับคำที่ว่า ส่งทุกข์”





ตามความหมายนี้ "ศรีสำราญ" เป็นคำสำหรับห้องน้ำผู้หญิงโดยเฉพาะ น่าจะเหมาะเจาะกับการนำไปใช้ดี

แต่ถ้าความหมายที่ท่านอาจารย์ใหญ่มากกส์ท่านอธิบายดูจะไม่จำแนกเพศ

อันไหนถูกอันไหนผิด วานไปช่วยคิดพิจารณา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 09:34

พยายามคิดว่า สำราญ(ไม่มีศรี)เมื่อคำนี้ออกมานอกวัง  มาอยู่ในโรงเรียน  จำกัดเพศหรือไม่   แต่ก็บอกไม่ได้เพราะว่าร.ร.ดิฉันเป็นร.ร.หญิงล้วน  ครูก็ผู้หญิงทั้งหมด   ไม่เคยมีครูผู้ชาย
ทางร.ร.เคยรับนักเรียนชายมาเรียนชั้นอนุบาลหรือที่เรียกกันว่าชั้น KG(Kinder Garten) ก็เลิกไปตั้งแต่ก่อนดิฉันเข้าเรียน
เลยไม่รู้ว่าทางร.ร.แบ่งแยกศัพท์นี้ตามเพศหรือเปล่า
และไม่ทราบว่าทางร.ร.ชายที่เป็นคาทอลิคเหมือนกัน   อย่างร.ร.อัสสัมชัญและเซนต์คาเบรียล ใช้คำว่าอะไร

ถ้าศรีสำราญ ใช้เฉพาะกับผู้หญิง    แล้วพวกผู้ชายที่ทำงานในวัง  ในสมัยโน้น  เขาไปที่ไหนกันคะ มีศัพท์เรียกว่าอะไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 09:50

อ่านที่เคยมีการคุยกันในเรือนไทย เรื่อง วัฒนธรรมเกี่ยวกับห้องน้ำ เมื่อ ๑๐ ปีก่อน ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ที่ที่ผู้ชายที่ทำงานในวังเขาไปทำธุระส่วนตัวกันเรียกว่าอะไร  

เวจ ?  ให้แปลกใจเมื่อค้นในพจนานุกรมไม่มีคำว่า เว็จ

เวจ, เวจ [เว็ด, เว็ดจะ] น. ที่ถ่ายอุจจาระ. (ป. วจฺจ).

ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 10:05

ขอยกที่เคยเล่าไว้เมื่อ ๑๐ ปีก่อน มาอีกที

จำได้ตอนหนึ่งจากพระนิพนธ์ " แม่เล่าให้ฟัง" ในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสฯ
เล่าเรื่องส้วมไว้ด้วย
เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน  ส้วมของประชาชนแยกห่างจากตัวบ้าน  อยู่ริมคลอง   มีไม้กระดานเดินพาดจากประตูไปถึงตัวที่ถ่าย  ถ่ายลงน้ำไปได้เลย  พื้นกระดาน โปร่งอากาศถ่ายเทได้   เป็นส้วมที่สะอาดและไม่มีกลิ่น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 30 มี.ค. 22, 10:35

ทางเข้าอุโมงค์นั้น ไม่มีประตูปิด แต่ทำเป็นช่องโค้ง ๆ ไว้แทนช่องประตู มีความลึกตามส่วนหนาของกำแพงตรงช่องทางเข้า พอที่จะมองไม่เห็นตัวข้างในได้ เพราะมีลับแลอยู่ตรงกลาง

พื้นภายในก่ออิฐถือปูนกระเบื้องหน้าวัว มีที่นั่งถ่ายเป็นเหมือนคอกกั้นด้วยฝาไม้เรียงกันเป็นแถวเฉพาะห้องเล็ก ๆ นั่งได้คนเดียว คอกเหล่านี้มีฝากั้นสองข้างสูงพอมิดศรีษะ จำนวนคอกเหล่านี้ยาวไปจนสุดมุมกำแพงซ้ายขวา

ด้านหน้ามีคอกมีฉากไม้กั้นเป็นบังตากันอุจาดไว้ตลอด เว้นทางเดินเข้าเป็นช่องไว้บ้างเป็นระยะห่าง ๆ สำหรับเดินเข้าออก ภายในด้านบนมีช่องลมกว้างมากตลอดแนวก่อนถึงหลังคา ช่วยให้มีแสงสว่างส่องถึงและถ่ายเทอากาศได้สะดวก

ภาพประกอบโดย คุณหนุ่มสยาม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 30 มี.ค. 22, 10:45

จาก สี่แผ่นดิน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง