เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 31379 อุโมงค์ หรือ สีสำราญ ที่คลายทุกข์ของสาวชาววัง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:24

อ้างถึง
ประตูศรีสุดาวงศ์ เป็นประตูเข้าออกของฝ่ายในที่มิใช่เจ้านาย และสำหรับออกไปสู่เขตถนนที่อยู่ระหว่างกำแพงชั้นกลางกับชั้นนอก ซึ่งบริเวณนี้ ว่าเป็นที่ชุมนุมของพวกชาววังเวลาออกไป ‘อุโมงค์’ หรือ ‘ศรีสำราญ’ ดังที่ในหนังสือเรื่อง ‘สี่แผ่นดิน’ ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรยายไว้ บรรดาบุรุษส่วนมากข้าราชการหนุ่มๆ มักจะมาคอยเกี้ยวพาราศีหรือดูตัวหญิงชาววังกันที่นี่

สงสัยครับ

อุโมงค์ตามที่ว่า ผมได้ยินอยู่ แต่ไม่ทราบตำแหน่งว่าอยู่ที่ไหน แต่น่าจะใกล้แม่น้ำเพราะมีน้ำขึ้นน้ำลงมาชำระไอ้ที่ว่าออกไป ผมอยากตามไปดูร่องรอย

อันนี้ก็สงสัย

พวกเจ้าชู้ประตูดินหากมาคอยเกี้ยวพาราศีผู้หญิงตอนที่เขาออกมาปลดทุกข์กัน จะได้เรื่องหรือครับ ยังทักทายไม่ทันเสร็จ สาวเจ้าคงวิ่งจู๊ดไปแล้ว พวกมาแอบดูตัว คงเห็นตัวที่มีใบหน้าเหยเก เหงื่อผุดพราวหน้าผาก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:26

อุโมงค์ เป็นสิ่งก่อสร้างภายในรั้วพระบรมมหาราชวัง เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนหนาทึบคล้ายสถาปัตยกรรมโรมันค่อนข้างแข็งแรงเป็นพิเศษ มีหลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งขึ้นไป เหมือนมีแต่กำแพงตั้งไปขึ้นรับ ตัวอาคารตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชฐานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ค่อนข้างยาวและกว้างใหญ่พอจะรองรับคนได้ มีท่อน้ำสำหรับไขน้ำออกให้ถ่ายเททิ้งตามอุโมงค์พื้นดินรอดออกไปแม่น้ำได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:28

^
อยู่ หรือเคยอยู่ตรงไหนครับ

มีแผนผังใดระบุบ้างไหม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:36

ทางเข้าอุโมงค์นั้น ไม่มีประตูปิด แต่ทำเป็นช่องโค้ง ๆ ไว้แทนช่องประตู มีความลึกตามส่วนหนาของกำแพงตรงช่องทางเข้า พอที่จะมองไม่เห็นตัวข้างในได้ เพราะมีลับแลอยู่ตรงกลาง

พื้นภายในก่ออิฐถือปูนกระเบื้องหน้าวัว มีที่นั่งถ่ายเป็นเหมือนคอกกั้นด้วยฝาไม้เรียงกันเป็นแถวเฉพาะห้องเล็ก ๆ นั่งได้คนเดียว คอกเหล่านี้มีฝากั้นสองข้างสูงพอมิดศรีษะ จำนวนคอกเหล่านี้ยาวไปจนสุดมุมกำแพงซ้ายขวา

ด้านหน้ามีคอกมีฉากไม้กั้นเป็นบังตากันอุจาดไว้ตลอด เว้นทางเดินเข้าเป็นช่องไว้บ้างเป็นระยะห่าง ๆ สำหรับเดินเข้าออก ภายในด้านบนมีช่องลมกว้างมากตลอดแนวก่อนถึงหลังคา ช่วยให้มีแสงสว่างส่องถึงและถ่ายเทอากาศได้สะดวก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:46

^
อยู่ หรือเคยอยู่ตรงไหนครับ

มีแผนผังใดระบุบ้างไหม

ตรงนี้ระบุว่าเป็นเขตพระราชฐานชั้นกลาง ริมกำแพงพระบรมมหาราชวัง ก็ควรอยู่บริเวณประตูเทวาภิรมย์ - ป้อมมหาโลหะ - ประตูอุดมสุดารักษ์ อันเป็นช่วงต่อท้ายแถวๆ รอยต่อแนวพระที่นั่งดุสิตฯ น่าจะประมาณที่ทำสีแดงไว้ น่าจะประมาณนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:53

เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์

หม่อมเป็ดสวรรค์เป็นพนักงานที่อยู่ในวัง เป็นพวกนิยมเล่นเพื่อน มิใช่ภรรยาเจ้า แต่ท่าทางเดินเหมือนเป็ดเลยถูกประชดว่า “หม่อมเป็ดสวรรค์” ดังนั้นเวลาปวดหนักคราใดก็ต้องไปที่สีสำราญ จะมานั่งกระโถนเหมือนพวกหม่อมไม่ได้เด็ดขาด บางครั้งชาวพนักงานต้องทนกลั้นไว้นานมากกว่าจะลงจากตำหนัก อีกทั้งไกลอีกด้วย กว่าจะวิ่งไปถึงอุโมงค์ก็เกิดเหตุขายหน้า จนมีเพลงยาวเกิดขี้น

“ครั้นปวดท้องเต็มทนจนสิ้นอาย
ลุกจะไปถ่ายให้ถึงที่
ด้วยเหลือทนพ้นกระสันพันทวี
ก็รายเรี่ยเสียทีมาตามทาง
ก็ซื้อขนมให้ตาเฒ่าเฝ้าตำหนัก
ให้ตักน้ำชำระสะสาง
ให้หมดสิ้นกลิ่นอายระคายคาง
ช่วยอำพรางเสียให้มิดช่วยปิดบัง”
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 15:54


อยู่นอกกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอกหรือครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 16:04

อยู่ในรั้วกำแพงพระบรมมหาราชวังครับ แต่ที่ทำขีดสีแดงเป็นเพียงแนวระดับเดียวกัน เพื่อไม่ให้สีแดงไปบดบังลายเส้นของแผนที่ครับผม


ซึ่งเคยอ่านเจอว่า บริเวณนั้นตรงกับท่าราชวรดิฐ อันเป็นบริเวณที่มีการต่อท่อประปาชักน้ำเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง หากเทียบกับอุโมงค์ ก็คงไม่ห่างไกลกันมาก
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 18:31

จากหนังสือ "วังหลวง" ของนางอมรดุณารักษ์ (อุทุมพร สุนทรเวช) ท่านกล่าวถึง "อุโมงค์" ไว้ว่า

"... ลักษณะอุโมงค์นี้เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ หนาทึบคล้ายๆ สถาปัตยกรรมสมัยโรมันที่ค่อนข้างแข็งแรงเป็นพิเศษ หลังคาเป็นรูปจั่วปูนปั้นเป็นแท่งตรงๆ ขึ้นไปรับตัวอาคาร
ตั้งหันหลังแนบชิดอยู่กับแนวกำแพงพระราชฐานชั้นกลางด้านทิศตะวันตก ทางใกล้ๆ กับประตูศรีสุดาวงศ์ ค่อนข้างจะยาวและกว้างใหญ่พอที่จะรับรองผู้ต้องการมาใช้สถานทีเปลื้องทุกข์ได้พร้อมๆ กันคราวละหลายๆ คน
มีท่อสำหรับไขน้ำเข้าออกให้ถ่ายเทสิ่งโสโครกลงไปตามท่ออุโมงค์ใต้พื้นดินลอดไปออกแม่น้ำได้ตลอดเวลา

ที่ตรงทางเข้าอุโมงค์นั้นไม่มีทางปิดเปิด แต่เขาทำเป็นช่องโค้งๆ ไว้แทนช่องประตู มีความลึกตามส่วนหนาของกำแพงตรงช่องทางเข้าพอที่จะมองไม่เห็นถึงข้างในเพราะมีลับแลบังอยู่ตรงกลาง พื้นภายในก่ออิฐถือปูนปูกระเบื้องหน้าวัว มีที่นั่งถ่ายเป็นเหมือนคอก กั้นด้วยฝาไม้ เรียงกันเป็นแถวเฉพาะห้องเล็กๆ นั่งได้คนเดียว

คอกเหล่านี้มีฝากั้นสองข้างสูงพอมิดศีรษะดังกล่าวมาแล้วโดยตลอด จำนวนคอกส้วมเหล่านี้ยาวไปจนสุดมุมกำแพงทั้งซ้ายขวา ด้านหน้าคอกมีฉากไม้กั้นเป้นบังตากันอุจาดไว้ตลอด เว้นทางเดินเข้าเป็นช่องไว้บ้างเป็นระยะๆ ห่างๆ สำหรับเดินเข้าออก

ภายในอุโมงค์นี้เบื้องบนมีช่องลมกว้างมากตลอดแนวก่อนถึงหลังคา ช่วยให้มีแสงสว่างส่องถึงและถ่ายเทอากาศได้สะดวกไม่เกิดกลิ่นเหม็นจัด..."

แต่ท่านไม่ได้กล่าวถึงเส้นทางท่อน้ำสะอาดที่เข้ามาใช้ในอุโมงค์


อ้าว!  ข้อความไปซ้ำกับของคุณพี่ siamese
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 21:08

จากหนังสือ สี่แผ่นดินกับเรื่องจริงในราชสำนักสยาม ของคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ได้กล่าวถึงอุโมงค์ไว้ด้วยค่ะว่า เป็นที่ถ่ายทุกข์ของข้าราชสำนักฝ่ายใน อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ใกล้กับประตูศรีสุดาวงศ์ (ไม่ได้อยู่นอกกำแพงพระบรมมหาราชวังค่ะ)
 
อุโมงค์ที่ช้อยพาพลอยไปนั้นเป็นที่ถ่ายทุกข์แห่งใหม่ซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕)  ส่วนอุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อออกจากประตูวัง  จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่างพุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา  รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นมีลักษณะเป็นเรือนไม้หลังใหญ่กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน

แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างอุโมงค์ขึ้นใหม่ใกล้กับประตูศรีสุดาวงศ์เพื่อความเหมาะสม (ไม่ต้องออกไปถึงแม่น้ำ)  โดยอุโมงค์ที่สร้างสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถวสำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง
 

ขอยกบทความหนึ่งของคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ในสกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๗๗  ปีที่ ๔๘ ประจำวันอังคาร ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ได้กล่าวถึง “อุโมงค์ หรือ ศรีสำราญ” ไว้ดังนี้

“ศรีสำราญ” ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารภาคที่ ๑๓ เรื่องตำนานวังหน้า เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“ลานพระราชวังบวรฯ ด้านใต้กับด้านตะวันตก กระชั้นชิดกำแพงวังชั้นนอก ด้านใต้มีแต่ทางเดิน ด้านตะวันตกก็เห็นจะเป็นเรือนพวกขอเฝ้าชาววัง ทำนองอย่างข้างพระราชวังหลวง มีสิ่งซึ่งควรกล่าวอยู่ข้างด้านตะวันตก แต่ ๒ อย่าง คือ ท่อน้ำอย่าง ๑ ศรีสำราญอย่าง ๑ ท่อน้ำนั้นก็คือประปาในชั้นแรกสร้างพระราชวังบวรฯ ถึงพระราชวังหลวงก็เหมือนกัน ขุดเป็นเหมืองให้น้ำไหลเข้าไปได้แต่แม่น้ำ ตอนปากเหมืองข้างนอกก่อเป็นท่อกรุตารางเหล็ก ข้างบนถมดิน แต่ข้างในวังเปิดเป็นเหมืองน้ำมีเขื่อนสองข้าง ตักน้ำใช้ได้ตามต้องการ
ศรีสำราญนั้น คือเว็จของผู้หญิงชาววัง ปลูกเว็จไว้ที่ริมแม่น้ำ แล้วทำทางเดินเป็นอุโมงค์ คือก่อผนังทั้งสองข้างมีหลังคาคลุมแต่ประตูวังไปจนแล้วที่ถนนข้างนอกวังตรงผ่านอุโมงค์ก็ทำสะพานข้าม ผู้หญิงชาววังลงไปศรีสำราญได้แต่เช้าจนค่ำ เหมือนกับเดินในวังไม่มีผู้ชายมาปะปน”

   เมื่อแรกเข้าใจว่า ‘ศรีสำราญ’ นี้ เป็นคำใช้กันเฉพาะชาววังหน้า เพราะไม่เคยพบในเรื่องของวังหลวง  ในเรื่อง ‘สี่แผ่นดิน’ ของอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ก็ได้ทราบแต่ว่าชาววังหลวงเรียกสถานที่ว่า ‘อุโมงค์’ เพราะสภาพเป็นอุโมงค์อย่างเดียวกับในวังหน้า
   เพิ่งอ่านพบในหนังสือ ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาค ๑๗ เรื่องหมายรับสั่งบางเรื่องในรัชกาลที่ ๑ และที่ ๒
   ในหมายรับสั่งเรื่องงานศพเจ้าศรีฟ้าในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (พระโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์น้อยในรัชกาลที่ ๑) พ.ศ.๒๓๕๘ ที่วัดสระเกศมีว่า
    “ด้วยพระยารักษมณเฑียร รับพระราชโองการใส่เกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสั่งว่า...ฯลฯ...
   เมรุสามสร้างพลับพลา ฉนวน แลที่สรง ที่ลงบังคน ที่ศรีสำราญ และโรงข้างในแต่งสำรับคาวหวานนั้น รื้อเสียบ้าง ยังบ้าง ชำรุดหักพังไปบ้าง ให้สี่ตำรวจ สนมตำรวจ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ด้านละ ๑๕ คน ๓ ด้าน ๔๕ คน เบิกไม้ไผ่ จากหวาย กระแชง ต่อชาวพระคลังราชการ แลยืมผ้าขาวต่อพระคลังวิเศษทำขึ้นให้เหมือนอย่างเก่า อย่าให้ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้เป็นอันขาดทีเดียว จงเร่งทำให้แล้วทันกำหนดมานี้เป็นการเร็ว”
   แสดงว่า ‘อุโมงค์’ ของชาววังหลวงนั้น จริงๆ แล้วก็เรียกว่า ‘ศรีสำราญ’ เช่นกัน

ความหมายของคำว่า "ศรีสำราญ" ค่ะ

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าไว้ในเรื่อง ‘สาส์นสมเด็จ’
ทรงอธิบายคำว่า ‘ศรีสำราญ’ ไว้ว่า
“คำศรีสำราญ นั้น ได้ทราบความหมายแล้วเป็นคำเขมร เขียนเช่นนี้ ‘สรีสำราล’
สรี แปลว่าผู้หญิง คือคอรัปชั่นมาจากคำว่า ‘สตรี’
สำราล แปลว่าทำให้เบา(ทุกข์) เป็นพวกเดียวกับคำที่ว่า ส่งทุกข์”




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 21:21

ขอบคุณทุกท่านครับ เข้าใจขึ้นแยะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 21:32

อ่านข้อความของคุณเพ็ญชมพูที่ยกจากคุณปีแอร์ คุณดีดี เห็นว่า อุโมงค์ของวังหน้าจะพิเศษกว่า ทำเป็นทางยื่นไปแม่น้ำ ทำฉนวนสะพาน มีสิ่งบังไว้ไม่ให้สตรีชาววังได้ต้องตาชาย แต่สำหรับวังหลวงจะตั้งภายในรั้วกำแพงวัง

แผนที่วังหน้า ริมด้านตะวันตก จุดสีแดงคือ ประตูอุโมงค์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 09:26

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คงต้องมีบริเวณสีสำราญเช่นกัน กระมังครับ  ตกใจ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 09:55

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คงต้องมีบริเวณสีสำราญเช่นกัน กระมังครับ  ตกใจ

จาก "อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)"

"ประตูช่องกุดท้ายวัดศรีสารเพช ๑ มาถึงป้อมปืนมุมสระแก้ว ๑ ประตูบวรเจษฎานารี ภรรยาขุนนางเข้าถือน้ำวัดสารเพช ๑ มาถึงป้อมปืนสวนองุ่น
มุมท้ายสระ ๑ มาถึงประตูไขน้ำออกจากท้องสระในวัง ชื่อประตูชลชาติทวารสาคร ๑ ประตูมหาโภคราช ขุนนางเข้าเฝ้าเสด็จออกพระที่นั่งทรงปืน
ท้ายสระ ๑ ประตูอุดมคงคาระหัดน้ำเข้าท้องสระ ๑ ประตูจันทวารมณาพิรมย์อยู่ข้างสีสำราญ* สำหรับยกศพข้างในออก ป้อมปืนปากท่ออยู่มุม
กำแพงพระราชวัง สุดด้านประจิม"

*ส้วมสำหรับพวกชาววัง น่าจะอยู่ริมแม่น้ำนอกกำแพงด้านเหนือ แต่เหตุใดจึงเอาเข้าไว้ในคลองท่อ
น้ำที่ไขเข้าไปในสระบรรยงก์รัตนาสน์น่าจะปฏิกูลพออยู่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 10:01

ขอบพระคุณมาก หนุ่ม Art47 ผู้เลี้ยง Vast ปักษา น่าจะมีแผนที่ประกอบก็ดีไม่น้อยนะครับผม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง