เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 75865 คุณท้าวศรีสัจจา หรือเจ้าคุณประตูดิน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 18:44

"...สองแม่ลูกเดินเลาะกำแพงวังเรื่อยมา มีนางพิศเดินตามหลัง เดินได้สักครู่หนึ่งก็เลี้ยวเข้าประตูชั้นนอก พลอยก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้นเพราะภายในบริเวณวังนั้น ดูเต็มไปด้วยตึกรามซึ่งพลอยเห็นว่าใหญ่โตมหึมา ผู้คนที่เดินเข้าออกก็ดูยัดเยียดเบียดเสียดกัน ตลอดจนหาบของขายและของที่วางขายก็ดูมีมากมายเหลือขนาด ตรงหน้าพลอยเข้าไปมีกำแพงสูงอีกชั้นหนึ่งเป็นกำแพงทึบ มีประตูใหญ่เปิดกว้างอยู่ สังเกตดูคนที่เดินเข้าประตูและออกจากประตูดูสับสนกันไปหมด..."

คำว่า ประตูชั้นนอก นี้ ท่านผู้ประพันธ์ หมายความถึง ประตูช่องกุด

(ประตูช่องกุด เป็นประตูขนาดเล็ก เจาะทะลุกำแพงวัง ไม่มีซุ้มประตูเหมือนประตูอื่นๆ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวังระหว่างป้อมภูผาสุทัศน์และป้อมสัตตบรรพต เป็นประตูพระบรมมหาราชวังซึ่งราษฎรสามัญใช้เข้า-ออกติดต่อกับคนภายในวัง)




ส่วนคำว่า ประตูใหญ่เปิดกว้างอยู่ นั้น หมายถึง ประตูศรีสุดาวงศ์ ที่อยู่เยื้องๆกับประตูช่องกุด

(ประตูนี้เป็นประตูที่แม่พลอยเหยียบธรณีประตูตอนเข้าวังครั้งแรกค่ะ)




ภาพประตูช่องกุด และประตูศรีสุดาวงศ์ที่ลงให้ดูนั้น หนูถ่ายจากกล้องมือถือเมื่อตอนเข้ากรุงเมื่ออาทิตย์ก่อนนี้เอง ภาพอาจไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ค่ะ (ตอนนั้นแดดจ้ามากกกก)

ระหว่างประตูช่องกุดกับประตูศรีสุดาวงศ์มีถนนกั้นอยู่สายหนึ่ง คือ ถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ (นอกเขตกำแพงพระราชฐานชั้นในแต่อยู่ภายในกำแพงพระบรมมหาราชวัง)

บริเวณนี้ในสมัยร้อยกว่าปีก่อน ถือเป็นแหล่ง"ช็อปปิ้ง"สำคัญแห่งหนึ่งของบรรดาสาวชาววัง ของที่นำมาขายกันส่วนใหญ่จะเป็นพวกของกินของใช้มากมายหลายอย่าง และนอกจากจะเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าแล้ว ถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ยังถือเป็นสถานที่พบปะพูดคุยของสาวชาววังกับบุคคลภายนอกอื่นๆ ด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณติดต่อระหว่างฝ่ายหน้ากับฝ่ายใน ทำให้ฝ่ายชายที่อยากจะรอพบฝ่ายหญิง มาดักดูหญิงที่ตนชอบกันมากในบริเวณนี้ ดังเช่นในเรื่องสี่แผ่นดินที่คุณเปรมมารอดักดูตัวแม่พลอยที่ประตูวังนั่นเอง ^^




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 19:08

ตัวหนังสือเล็กๆของคุณเพ็ญ ทำร้ายสายตาผมมากเลยขอรับ ยิงฟันยิ้ม

คือ คุณหนุ่มสยามเสนอข้อมูลน่าสนใจว่า ประตูดินที่เรากำลังพูดกันนี้มี๒ประตู  (เพราะต่างรัชสมัยกัน) คือที่ประตูอนงคลีลา ๑ และที่ประตูศรีสุดาวงศ์ ๑ ในขณะที่ความเข้าใจของพวกเราส่วนใหญ่ คิดว่ามีประตูเดียว

อ้างถึง
โรงวิเสท หรือก็คือโรงครัวอันเป็นคลังอาหารและที่เก็บของเครื่องใช้ในการครัวต่างๆ รวมทั้งเป็นที่อยู่ของชาววิเสทด้วยนั้น ในรัชกาลที่ ๑ จะอยู่ตรงที่ใดใกล้พระบรมมหาราชวังไม่ทราบแน่ ทว่าในรัชกาลที่ ๒-๓ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูอนงคลีลาหรือประตูดินแน่นอน

ประตูดินนี้ ในรัชกาลที่ ๒-๓ ปรากฏว่า คุณท้าวศรีสัจจา ผู้ว่าการโขลนจ่าควบคุมประตูวัง และอารักขาทั่วไปภายในวัง จะออกมานั่งสั่งงานอยู่ตรงประตูดินเป็นประจำ ชาววังทั่วไปจึงออกนามว่า เจ้าคุณประตูดิน นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ท้าวศรีสัจจา ยังมีหน้าที่คอยรับพวกขอเฝ้า คือบรรดาพวกที่มาขอเฝ้าเจ้านายฝ่ายในพระองค์สำคัญๆ (ในรัชกาลที่ ๓ ปรากฏว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ มีพวกขอเฝ้าพากันมา คอยเฝ้าอยู่ที่ท้าวศรีสัจจาเป็นจำนวนมากทุกวัน)


อ.NAVARAT.C คงได้สำรวจประตูอนงคลีลาไม่ยากนักนะขอรับ คือตอนนี้มีประตูดินที่กล่าวกันอยู่ ๒ แห่ง

๑. ประตูอนงคลีลา ๑
๒. ประตูศรีสุดาวงศ์ ๑

๒ ประตูนี้ตั้งอยู่พื้นที่ฝ่ายใน เข้าและออกได้ โดยประตูอนงคลีลา มีมาตั้งแต่ต้นกรุง ครั้งแผ่นดินต้น (ยังไม่เปิดช่องประตูศรีสุดาวงศ์)
แต่เมื่อรัชกาลที่ ๒ ทรงขยายพื้นที่ไปยังเจ้าครอกวัดโพธิ์แล้ว จึงได้ถือกำเนิดประตูศรีสุดาวงศ์ขึ้น

ผมกำลังจะเชื่อคุณหนุ่ม เพราะคิดว่าตลาดหน้าช่องกุดกับศรีสำราญ น่าจะอยู่ต่างบริเวณกัน(คงจะไม่มีใครจะติดตลาดหน้าส้วมของชาววัง)

กำลังเรียบเรียงแผนที่และรูปถ่ายมาสนับสนุนให้ท่านผู้อ่านเข้าใจง่าย แต่มายากที่ผม เพราะต้องค้นคว้า จะเอาเร็วด่วนได้ก็ไม่สามารถ นี่ไปเดินสำรวจสถานที่จริงมา๒รอบแล้ว กำลังสงสัยว่า น่าจะมีรอบที่๓ ถ้าไม่ถูกตั้งข้อหากระทำการจารกรรมไปเสียก่อน เราคงได้คำตอบตรงนี้ชัดเจน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 19:19

นี่คือประตูอนงคลีลา ที่เปิดเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นกลาง พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่พระราชฐานชั้นนี้

ผมถ่ายรูปได้รูปเดียว คุณเธอที่เห็นในภาพก็หันมาเอ็ดว่าเขาไม่ให้ถ่าย ผมก็ต้องรีบเดินไปทางอื่น
เห็นป้อมเล็กสีเหลืองๆที่ติดอยู่บนรูปแค่เศษเสี้ยวไหมครับ นั่นดูเหมือนจะเป็นป้อมรักษาการที่มีพนักงานฝ่ายในนั่งเฝ้า คล้ายกับสมัยรัชกาลที่๓ที่ท้าวศรีสัจจาคงนั่งระแวดระวังคนที่ไม่มีหน้าที่ ไม่ให้เฉียดเข้าไปใกล้ที่ประทับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 19:25

^
แต่ยังไม่สนิทใจ
ทำไมช่องประตูนี้ไม่มีธรณีประตู ทั้งบานประตูก็มองไม่เห็นในภาพ(อาจเปิดออก แต่บังมุมกล้องอยู่)

ถ้าท่านท้าวอยู่ตรงนี้ คงจะหาตาตุ่มชาววังมาเคาะด้วยไม้คู่บารมีไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 19:30

บริเวณหน้าประตูเยื้องออกไป เป็นเรือนต้นไม้ที่แคบ แต่ยาวพิงกำแพงพระราชวังชั้นนอกไปทางท้ายวัง
ดูๆแล้ว เป็นบริเวณที่เหมาะจะเป็นศรีสำราญของชาววังมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 19:40

ประตูที่ว่านี้อยู่ตรงลูกศรครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 19:45

ส่วนประตูประตูศรีสุดาวงศ์อยู่ตรงนี้

ด้านหน้าเป็นทางสามแพร่ง เหมาะแก่การติดตลาดมาก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 21:17

โรงวิเสท หรือก็คือโรงครัวอันเป็นคลังอาหารและที่เก็บของเครื่องใช้ในการครัวต่างๆ รวมทั้งเป็นที่อยู่ของชาววิเสทด้วยนั้น ในรัชกาลที่ ๑ จะอยู่ตรงที่ใดใกล้พระบรมมหาราชวังไม่ทราบแน่ ทว่าในรัชกาลที่ ๒-๓ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูอนงคลีลาหรือประตูดินแน่นอน

ประตูดินนี้ ในรัชกาลที่ ๒-๓ ปรากฏว่า คุณท้าวศรีสัจจา ผู้ว่าการโขลนจ่าควบคุมประตูวัง และอารักขาทั่วไปภายในวัง จะออกมานั่งสั่งงานอยู่ตรงประตูดินเป็นประจำ ชาววังทั่วไปจึงออกนามว่า เจ้าคุณประตูดิน นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ท้าวศรีสัจจา ยังมีหน้าที่คอยรับพวกขอเฝ้า คือบรรดาพวกที่มาขอเฝ้าเจ้านายฝ่ายในพระองค์สำคัญๆ (ในรัชกาลที่ ๓ ปรากฏว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ มีพวกขอเฝ้าพากันมา คอยเฝ้าอยู่ที่ท้าวศรีสัจจาเป็นจำนวนมากทุกวัน)

จาก เรื่องของวิเสท โดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์

จากข้อมูลของคุณจุลลดา

คุณท้าวศรีสัจจา (มิ) ก็ย้ายจากประตูศรีสุดาวงศ์มายังประตูอนงคลีลาเรียบร้อยแล้ว

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 06:29

^
ถ้าในรัชกาลที่ ๒-๓ ประตูอนงคลีลาคือประตูดินแน่นอน

ประตูที่แม่พลอยเหยียบธรณีประตูตอนเข้าวังครั้งแรก (สมัยรัชกาลที่๕) คือประตูศรีสุดาวงศ์ ที่อยู่เยื้องๆกับประตูช่องกุดนั้น ก็ไม่น่าจะใช่ประตูดิน (ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ท่านเคยเขียนไว้เช่นนั้นหรือ??) แต่เป็นประตูที่ติดตลาด คุณเปรมมาพบแม่พลอยตรงนั้นแน่นอน

นอนคิดอยู่หนึ่งคืน
ถ้าประตูอนงคลีลาคือประตูดิน ซึ่งศรีสำราญน่าจะอยู่บริเวณนั้น
เจ้าชู้ประตูดิน คงจะหมายถึงพวกผู้ชายที่ชอบด้อมๆมองๆคอยดูผู้หญิง(ตอนมาเข้าส้วม) แบบไม่มีโอกาสจะได้เกี้ยวพาราศีเขาเท่าไหร่(โรคจิตอ่อนๆ ว่างั้นเถอะ) แค่เห็นหน้าเอาไปฝันต่อได้ก็พอใจแล้ว
ไม่ใช่มีความหมายว่า พวกที่มาคอยเดินตามผู้หญิง(ออกจ่ายตลาด) หาโอกาสกระแซะแทะโลมไปเรื่อย หน้าด้านๆเข้าไว้ เผื่อฟลุ๊ค

ผู้ชาย๒ประเภทนี้ต่างกันพอสมควรอยู่ แต่ผู้หญิงพึงระวังให้ห่างไว้ทั้งคู่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 07:09

ประตูอนงคลีลาไม่มีศรีสำราญหรอกคุณนวรัตน  ศรีสำราญอยู่ที่ประตูศรีสุดาวงศ์

เจ้าชู้ประตูดินอาจมีที่มาจากประตูอนงคลีลาก็เป็นได้ เพราะมีกล่าวถึงตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ แล้ว

ในเรื่องขุนช้างขุนแผน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ตอนหนึ่ง เป็นตอนที่พระพันวษาทรงพระพิโรธพวกทหารที่ไปจับขุนแผน แต่ต้องพ่ายแพ้ขุนแผนกลับมา ทรงบริภาษเกี่ยวไปถึงประตูดินว่า

อ้ายชาติหมากาลีเห็นขี้เสือ
วิ่งแหกแฝกเฝือไม่แลเหลียว
ดีแต่จะเย่อหยิ่งนั้นสิ่งเดียว
ลอยลากหางเกี้ยวประตูดิน

ฉะนั้นเรื่องพวกผู้ชายจะมาเจ้าชู้ประตูดินโดยการด้อม ๆ มอง ๆ เวลาผู้หญิงเข้าส้วม เป็นอันตัดไปได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 07:31

^
แล้วประตูดินในรัชกาลที่๒ ที่ว่า

ผู้หญิงออกมาเข้าส้วม หรือจ่ายตลาด หรือทั้ง๒อย่างเพราะอยู่บริเวณเดียวกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 08:14

ใช้อินทรเนตรสอดส่องไปปะเอาภาพนี้เข้า

แสดงว่าท่านผู้เกี่ยวข้องคิดได้แล้วว่าจะเอาอะไรใส่มือสาวใช้ของคุณท้าว

แต่ผมขอประท้วงครับ

ขอประท้วง ณ ที่นี้ว่าผิดประวัติศาสตร์
ไหนๆก็ไหนๆ จะกล้าแล้วต้องกล้าให้สุดๆ ไม่ต้องอายฝรั่งหร๊อก ชาติไหนๆมันก็มีตำนานประเภทนี้เหมือนๆกันทุกชาตินั่นแหละ

หาไม้เคาะตาตุ่มมาให้แสดงเลย
อย่าให้เด็กจำตำนานเกี่ยวกับเรื่องที่คนไทยถือธรณีประตูผิดเพี้ยนไป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 08:26

^
เห็นด้วยครับ จะทำก็ทำให้ดี ๆ ไปเลย คงเห็นตำรวจหวายจากพวกโขนเกินไป

ก่อนที่ใครจะเกี้ยวกับใคร จะขอฟื้นอดีตสักเล็กน้อยถึงที่มาที่ไปของกลุ่มแนวกำแพงพระบรมมหาราชวังและแนวกำแพงเมืองให้ทราบโดยทั่วกัน ซึ่งปัจจุบันนี้เราเรียนรู้ว่ากำแพงพระบรมมหาราชวัง ใช้ร่วมกันกันกับกำแพงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์

หากแต่ของแท้ดั้งเดิมหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในรัชกาลที่ ๑ กำแพงเมือง ตั้งแยกกับ กำแพงพระบรมมหาราชวัง ตั้งคู่ขนานกันไป โดยมีถนนข้างในกำแพงเมืองคือ ถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้ทรงขยายกำแพงวังออกไปทั้งอ้วนและยาวขึ้น (ทางตะวันตกและด้านใต้) ไปใช้รั้วกำแพงเมืองเดียวกัน ส่วนถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ ก็ถูกเข้าไปอยู่ในกำแพงวัง และหัวถนนก็สร้างประตูสุนทรทิศาตั้งไว้  ส่วนปลายถนนด้านทิศใต้ก็สร้างประตูพิทักษ์บวรปิดท้าย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 08:33

แผนผังโครงสร้างกำแพงวังสมัย ร.๑ ที่ขยายออกไปกลืนถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 08:44

ตามรูปถ่ายนี้

1คือ ประตูอนงคลีลา  2คือ ประตูศรีสุดาวงศ์
ประตูทั้งสองอยู่ห่างกันพอประมาณทีเดียว

จุดต่างก็คือ ประตูอนงคลีลาอยู่มนเขตพระราชฐานชั้นกลาง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ บุคคลภายนอกจะมาจัดกิจกรรมใดๆเช่น ติดตลาดนัด คงไม่ได้ แม้ปัจจุบัน พระมหากษัตริย์มิได้ประทับในพระบรมมหาราชวังแล้ว จารีตนี้ยังคงอยู่ ผมเดินเฉียดๆไปยังถูกเตือน

ส่วนประตูศรีสุดาวงศ์ อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งหมายความว่า เป็นเขตที่อยู่ของสตรีโดยเฉพาะ แต่ตำแหน่งที่ตั้งของประตู ตรงกับเขตที่ข้าหลวงอยู่ มิใช่เป็นเขตพระตำหนักของเจ้านาย ดังเช่นประตูอนงคลีลา

ลองพิจารณาประกอบด้วย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง