siamese
|
ความคิดเห็นที่ 75 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 08:45
|
|
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็เกิดคำถามขึ้นมาคือ
๑. ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กำแพงพระบรมมหาราชวังก่อสร้างไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยม และต้องมีประตูอนงคลีลากำเนิดขึ้นแล้วในยุคต้นรัชกาล และการเรียกชื่อลำลองว่า "ประตูดิน" จะหมายเอาอย่างการเรียกอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือไม่ ? หรือเพิ่งจะมีการเรียกเมื่อครั้งแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ?
๒. จากที่สนทนากัน "ดิน" มีทั้ง "ดินปืน" "ดินจอมปลวก" และอย่าลืมว่ากำแพงพระนครเมื่อแรกสร้างทำด้วยไม้มัดติดกันทาสี "ดินแดง" ไว้ก่อนที่จะอิฐถือปูน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 76 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 09:02
|
|
^ เอ้า ปวดขมองกันต่อปาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 77 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 09:02
|
|
บทบาทของประตูอนงคลีลา ในสมัยรัชกาลที่ ๒-๓
บริเวณพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฝ่ายในอันได้แก่ ตำหนักแดง ตำหนักเขียว พระตำหนักตึก และยังมีเจ้านายที่ยังคงอาศัยอยู่ที่พระราชวังเดิมอีก การที่ท้าวศรีสัจจาได้เฝ้าประตูอนงคลีลานี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เป็นประตูที่ชาววังยำเกรง
ด้านท้ายของฝ่ายในก่อสร้างทิมชั้นเดียว (ยังไม่เริ่มก่อสร้างเรือนสองชั้น (เหล่าเต็ง)) หรือแถวเต็งขึ้น
การค้าขายแลกเปลี่ยนของใช้ของผู้คนในวังคงเดินลัดออกไปสู่ช่องกุดที่ตรงกัน (ตามภาพทำเป็นช่องไว้)
จนเมื่อมีการสร้างเต็งด้านใต้ขึ้นจำนวนมากในสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ซึ่งเป็นที่พักของข้าหลวงต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นเมืองขึ้นย่อย ๆ บริเวณท้ายวัง ประตูศรีสุดาวงศ์ (ใหม่) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นต้นมา ประตูอนงคลีลาเลยลดบทบาทลงไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 78 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 09:16
|
|
^ จุดแดงๆทางซ้ายมือ หมายถึงอะไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 79 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 09:21
|
|
^ จุดแดงๆทางซ้ายมือ หมายถึงอะไรครับ
ผมจะลองดูการเดินไปมาสัญจรของผู้คนฝ่ายใน ว่าเดินจากเขตพระราชฐานชั้นกลางสู่ประตูอนงคลีลา (คงมีแต่เจ้านายต่าง ๆ และคุณท้าวที่มีตำแหน่งหน่อย) กล้าพอที่จะเดินช่วงนี้ไปได้ เสมือนเราเดินผ่านหน้าห้องผู้ใหญ่ ย่อมมีเกรงบารมี ส่วนท้ายฝ่ายใน คงเป็นที่ไม่เคร่งครัดในการเดินเหินมากนัก และเลี้ยวลัดออกมายังถนนเขื่อนขันฑ์นิเวศน์ เป็นจุดประสีแดง ๆ ให้เห็นครับ (หนุ่มสยามโมเดล  )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 80 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 09:34
|
|
^ เจ่านาย ท่านจะไม่เสด็จออกถ้าไม่จำเป็น ถ้าจำเป็น จะมีประตูเฉพาะ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ด้านหน้า และด้านถนนมหาไชย ถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ถือเสมือนหลังบ้าน จะมีเฉพาะข้าราชการ ข้าหลวงนางกำนัลใช้กัน
พวกที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง จะเฉียดไปในเขตพระราชฐานส่วนกลางอันเป็นที่ประทับไม่ได้ กฎระเบียบเคร่งครัดนัก
ประตูศรีสุดาจึงเป็นเส้นทางที่ใช้งานเป็นหลักของชาววังในการติดต่อกับโลกภายนอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 81 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 09:59
|
|
ขอให้ภาพพระราชฐานฝ่ายในให้ อ.NAVARAT.C และสมาชิกเรือนไทยได้นำชมครับ ภาพนี้เป็นการถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงมีการไว้ทุกข์กัน บริเวณขวามือคงเป็นเต็ง (บานหน้าต่างแบบกระทุ้ง) และซ้ายมือเป็นเรือนตำหนักของเจ้านาย
ในภาพบรรยากาศคงเป็นตอนเจ้านายเสด็จ มีการหมอบกราบรอไว้ และมีเจ้าพนักงาน ๒ - ๓ ท่านน่ายำเกรง ยืนค้ำอยู่ (คงก่อนเวลาเสด็จไม่นาน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 82 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 10:29
|
|
ใช้อินทรเนตรสอดส่องไปปะเอาภาพนี้เข้า
แสดงว่าท่านผู้เกี่ยวข้องคิดได้แล้วว่าจะเอาอะไรใส่มือสาวใช้ของคุณท้าว
แต่ผมขอประท้วงครับ
ขอประท้วง ณ ที่นี้ว่าผิดประวัติศาสตร์ ไหนๆก็ไหนๆ จะกล้าแล้วต้องกล้าให้สุดๆ ไม่ต้องอายฝรั่งหร๊อก ชาติไหนๆมันก็มีตำนานประเภทนี้เหมือนๆกันทุกชาตินั่นแหละ
หาไม้เคาะตาตุ่มมาให้แสดงเลย อย่าให้เด็กจำตำนานเกี่ยวกับเรื่องที่คนไทยถือธรณีประตูผิดเพี้ยนไป
ในเมื่อเห็นภาพหวายไว้หวดแล้ว ก็จะขอนำภาพซึ่งได้ลิขสิทธิ์มาเฉพาะผมเท่านั้น นำมาให้ชมว่า "ตำรวจหวาย" มีลักษณะเป็นแบบนี้ มัดเรียบร้อย แน่นหนา ยาว เป็นลำใหญ่ ไม่ใช่แบบที่กำลังจัดแสดงขอรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 83 เมื่อ 03 ก.ย. 11, 11:26
|
|
ภาพถ่ายหน้าตรงจากมุมมองแม่น้ำเจ้าพระยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 84 เมื่อ 04 ก.ย. 11, 19:04
|
|
วันนี้ แหล่งข่าวของผมอีกท่านหนึ่งที่ทำงานในสำนักพระราชวังตอบความอยากรู้ของผมว่า
ประตูดิน คือประตูช่องกุด ไม่ใชทั้งประตูอนงคลีลา และประตูศรีสุดาวงศ์
ผมถามท่านว่าท่านทราบมาจากใครครับ ท่านบอกว่า บิดาของท่านทำงานอยู่ในสำนักพระราชวัง ตั้งแต่เด็กจำความได้ท่านเติบโตวิ่งเล่นอยู่ในวัง ประตูช่องกุดนั้น มีอีกชื่อหนึ่งว่า ประตูดิน
ผมคิดในใจว่า เข้าท่าแฮะ ประตูช่องกุดคือประตูของกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านนอก พวกเจ้าชู้ประตูดินทั้งหลาย น่าจะต้องคอยเยี่ยมกรายอยู่ด้านนอก ไม่ใช่มาเที่ยวมั่วอยู่ในภายในกำแพงวัง ถึงจะมีกำแพงชั้นในอีกทีก็เถอะ
และท่านบอกต่อว่า คุณท้าวศรีสัจจา หรือเจ้าคุณประตูดินนั้น ท่านนั่งอย่ที่ประตูศรีสุดาวงศ์ แต่ท่านไม่ทราบ ทำไมเขาจึงเรียกประตูช่องกุดว่า ประตูดิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 85 เมื่อ 04 ก.ย. 11, 19:36
|
|
ประตูช่องกุด มีถนนรถวิ่งได้ผ่านเข้าไปได้ เมื่อถึ่งสี่แยก หากเลี้ยวซ้ายถนนจะเลียบกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอกและชั้นในที่ขนาบข้างอยู่มุ่งไปทางทิศเหนือ หากตรงไปหรือเลี้ยวขวา จะเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นนอกหรือท้ายวังด้านทิศใต้ เดิมเป็นที่อยู่และที่ทำงานของชาววัง ปัจจุบันเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ บริเวณสี่แยกทางส่วนท้ายวังด้านใต้นี้ เหมาะที่จะติดตลาดนัด พวกหนุ่มๆ ข้าราชการเช่นคุณเปรมน่าจะหาเส้นสายพาเข้ามาเหล่สาวๆชาววังได้
ภาพแรกนี้ เป็นถนนที่ตรงไป เห็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นในอยู่ซ้ายมือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 86 เมื่อ 04 ก.ย. 11, 19:40
|
|
ทางขวามือ เป็นอาคารในเขตพระราชฐานชั้นนอกหรือท้ายวังด้านทิศใต้ ปัจจุบันเป็นโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เดิมเป็นที่อยู่และที่ทำงานของชาววัง มีที่ว่างเป้นสนามแยะ บรรยากาศร่มรื่นน่าจะเป็นตลาดนัดชาววังได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 87 เมื่อ 04 ก.ย. 11, 19:43
|
|
มุมของกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีประตูเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน ที่เรียกว่าประตูศรีสุดาวงศ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 88 เมื่อ 04 ก.ย. 11, 21:24
|
|
ยังมี "ประตูดิน" อีกแห่งหนึ่งในคุณนวรัตนงงคือ "ประตูอุดมสุดารักษ์" ประตูอุดมสุดารักษ์ หรือบางที่ชาววังเรียกว่า " ประตูดิน " เป็นทางสำหรับคนสามัญออกไปนอกวัง บางครั้งก็จะมีหนุ่ม ๆ มาดูสาวชาววังจนเป็นที่เรียกติตปากว่า " เจ้าชู้ประตูดิน " นอกจากนั้นยังมีประตูเขื่อนเพ็ชร หรือ ประตู ศรีสุดาวงศ์ เป็นทางสำหรับคนในวังจะติดต่อกับภายนอกมากที่สุด ( ในปัจจุบันประตูศรีสุดาวงศ์เป็นทางที่จะเข้าไปในวิทยาลัยในวังหญิง ) ประตูนี้บางทีเรียกว่า " ประตูบ่าว " เพราะว่า เจ้านาย , เจ้าจอม , พระสนม , หรือท้าวนางข้างในผู้มีบรรดาศักดิ์ จะไม่มาบริเวณประตูเหล่านี้ถ้าไม่จำเป็น ที่บริเวณประตูนี้เป็นตลาด ( คล้ายตลาดนัด ย่อยๆ ) ที่สาวชาววังจะออกมาซื้อของที่ต้องการ เช่น ของใช้ เสื้อผ้าและของเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ตลอดจนผลไม้ทั้ง สด และกวน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับแม่สื่อแม่ชัก ที่จะนัดชายหนุ่มให้มาดูตัวสาวชาววัง อีกด้วย ปัจจุบันประตูศีรสุดาวงศ์ก็ยังคงเปิดใช้เป็นประจำ แต่เหตุการณ์ที่เป็นตลาดน้อย ๆ นั้น ไม่มีอีกแล้ว ข้อมูลจาก บล็อกโอเคเนชั่น 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 89 เมื่อ 04 ก.ย. 11, 21:39
|
|
ดูเหมือนชาววังจะเรียกประตูดินเป็นชุด ๆ ตามทิศทางการเดินเข้าออกนอกวัง
ประตูดินเก่า = ประตูอนงคลีลา + ประตูอุดมสุดารักษ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|