ตัวหนังสือเล็กๆของคุณเพ็ญ ทำร้ายสายตาผมมากเลยขอรับ

คือ คุณหนุ่มสยามเสนอข้อมูลน่าสนใจว่า ประตูดินที่เรากำลังพูดกันนี้มี๒ประตู (เพราะต่างรัชสมัยกัน) คือที่ประตูอนงคลีลา ๑ และที่ประตูศรีสุดาวงศ์ ๑ ในขณะที่ความเข้าใจของพวกเราส่วนใหญ่ คิดว่ามีประตูเดียว
โรงวิเสท หรือก็คือโรงครัวอันเป็นคลังอาหารและที่เก็บของเครื่องใช้ในการครัวต่างๆ รวมทั้งเป็นที่อยู่ของชาววิเสทด้วยนั้น ในรัชกาลที่ ๑ จะอยู่ตรงที่ใดใกล้พระบรมมหาราชวังไม่ทราบแน่ ทว่าในรัชกาลที่ ๒-๓ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูอนงคลีลาหรือประตูดินแน่นอน
ประตูดินนี้ ในรัชกาลที่ ๒-๓ ปรากฏว่า คุณท้าวศรีสัจจา ผู้ว่าการโขลนจ่าควบคุมประตูวัง และอารักขาทั่วไปภายในวัง จะออกมานั่งสั่งงานอยู่ตรงประตูดินเป็นประจำ ชาววังทั่วไปจึงออกนามว่า เจ้าคุณประตูดิน นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ท้าวศรีสัจจา ยังมีหน้าที่คอยรับพวกขอเฝ้า คือบรรดาพวกที่มาขอเฝ้าเจ้านายฝ่ายในพระองค์สำคัญๆ (ในรัชกาลที่ ๓ ปรากฏว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ มีพวกขอเฝ้าพากันมา คอยเฝ้าอยู่ที่ท้าวศรีสัจจาเป็นจำนวนมากทุกวัน)
อ.NAVARAT.C คงได้สำรวจประตูอนงคลีลาไม่ยากนักนะขอรับ คือตอนนี้มีประตูดินที่กล่าวกันอยู่ ๒ แห่ง
๑. ประตูอนงคลีลา ๑
๒. ประตูศรีสุดาวงศ์ ๑
๒ ประตูนี้ตั้งอยู่พื้นที่ฝ่ายใน เข้าและออกได้ โดยประตูอนงคลีลา มีมาตั้งแต่ต้นกรุง ครั้งแผ่นดินต้น (ยังไม่เปิดช่องประตูศรีสุดาวงศ์)
แต่เมื่อรัชกาลที่ ๒ ทรงขยายพื้นที่ไปยังเจ้าครอกวัดโพธิ์แล้ว จึงได้ถือกำเนิดประตูศรีสุดาวงศ์ขึ้น
ผมกำลังจะเชื่อคุณหนุ่ม เพราะคิดว่าตลาดหน้าช่องกุดกับศรีสำราญ น่าจะอยู่ต่างบริเวณกัน(คงจะไม่มีใครจะติดตลาดหน้าส้วมของชาววัง)
กำลังเรียบเรียงแผนที่และรูปถ่ายมาสนับสนุนให้ท่านผู้อ่านเข้าใจง่าย แต่มายากที่ผม เพราะต้องค้นคว้า จะเอาเร็วด่วนได้ก็ไม่สามารถ นี่ไปเดินสำรวจสถานที่จริงมา๒รอบแล้ว กำลังสงสัยว่า น่าจะมีรอบที่๓ ถ้าไม่ถูกตั้งข้อหากระทำการจารกรรมไปเสียก่อน เราคงได้คำตอบตรงนี้ชัดเจน