เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 76108 คุณท้าวศรีสัจจา หรือเจ้าคุณประตูดิน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 06:43

อ้างถึง
แต่ตามความเห็นส่วนตัวของผู้เล่า เห็นว่า ‘มิ’ น่าจะถูกต้องกว่า ‘ลิ้ม’ เพราะพระนมรอด ท่านเป็นลูกสาวแขก (พระยาราชวังสัน) ส่วนสามีของท่านคือพระยาศรีสรราช ก็ไม่ปรากฏว่ามีเชื้อสายจีน ‘ลิ้ม’ ฟังดูเป็นจีนๆ ชื่อ ‘มิ’ น่าจะสมกับเทือกเถาเหล่ากอของพระนมรอดมากกว่า

ตรงนี้ผมอ่านทีไร ก็เห็นแปลกๆอยู่นะครับคุณเพ็ญชมพู มิกับลิ้มไม่ได้ใกล้เคียงกันเลยน่ะ ผมก็เห็นด้วย
แต่มิเป็นชื่อแขกหรือไม่ ผมยังสงสัย

คือ มีน้าสะใภ้คนหนึ่ง ชื่อเล่นว่า มิ
ผมถามน้ามิว่า ชื่อน้าน่ะแปลว่าอะไร

น้าสะใภ้บอกว่า คนมอญมักเรียกลูกสาวคนสุดท้องว่า มิ

ผมเลยติดสมองอยู่อย่างนี้นานหลายสิบปีมาแล้ว แต่จะถูกผิดประการใด ต้องให้คนที่เชี่ยวชาญเรื่องมอญหรือยาวีมายืนยัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:23

ฝันเห็นหนังสือเล่มหนึ่ง เนื่องจากเพิ่งได้สนทนากับคุณวันดีไม่ช้านาน พลันนึกขึ้นมาได้จึงเปิดอ่าน นำมาเล่าให้ฟัง

"หนังสือป้าป้อนหลาน" ของหม่อมราชวงศ์จงจิตรถนอม จิตรพงศ์

เรื่องรูปปั้นระหว่างทางขึ้นบันไดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท



สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานพระกระแสพระราชดำรัสตรัสอธิบายแก่เสด็จปู่ (กรมพระยานริศราฯ) ว่าคือ รูปท้าวศรีสัจจา (มิ) ในแผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ นั้นมีราชนิเวศนานุบาลฝ่ายใน ๓ คน คือ

๑. เจ้าคุณปราสาท

๒. ท้าววรจันทร์ (อิ่ม)

๓. ท้าวศรีสัจจา (มิ)

เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมีอำนาจบัญชาการสิทธิ์ขาดในวัง รูปนี้โปรดให้ทำขึ้นไว้ในสมัยที่ยังมีบุญวาสนา

ท้าวศรีสัจจา (มิ) ชาววังต่างพากันเรียว่า "เจ้าคุณประตูดิน"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:27

บันไดที่ขึ้นไปเหนือรูปเจ้าคุณประตูดิน ทำไว้เพื่อเสด็จขึ้นไปเพื่อออกสิงหบัญชร ให้คนมาเข้าเฝ้า

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชดำรัสอธิบายไว้อีกว่า "เดิมสร้างในสมัย ร.๑ นั้นยังไม่มี พระนั่งเกล้าฯ ทรงสร้างเติมขึ้น"

คือในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติมใหม่รวมทั้งสิงหบัญชร และรูปเจ้าคุณประตูดินด้วย  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:37

คลังภาพของคุณหนุ่มสยามวิเศษยอดเยี่ยม แถมเรียกปุ๊บมาปั๊บ

คำถามของคุณถ้าถามผม ก็ขอสารภาพว่าไม่ทราบ ขอให้ท่านอื่นตอบ

ส่วนผมขอถามบ้าง
บ่าวของคุณท้าว กำลังส่งอะไรให้คุณท้าว ดูเป็นท่อนไม้หรือม้วนกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่ง

ก็นึก ๆ อยู่ว่ารูปคุณท้าวฯ จะหยิบยื่นอะไรส่งให้คุณท้าวศรีสัจจา (มิ) จะหยิบท่อนไม้ส่งไม้ทำไม จะเอาไว้เคาะ ทำโทษผู้คนกระนั้นหรือ ? ก็ไม่ควรนำมาปั้นภาพให้เสียเกียรติยศเปล่า ๆ

ผมให้น้ำหนักไปที่ หยิบยื่น "หนังสือใบลาน" พอจะตอบโจทย์ได้บ้าง

๑. หากหนังสือใบลานนี้เกี่ยวด้านพระศาสนาแล้ว ก็หมายว่า ให้สนใจใฝ่ธรรมะ ผู้พบเห็นจักได้อนุโมทนาสาธุแก่คุณท้าวฯ  เพื่อให้พึ่งสำเร็จซึ่งนิพพาน

๒. หากหนังสือใบลานนี้เกี่ยวเนื่องทางโลก แล้วคงจะหมายว่า กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ท่านท้าวฯ ยึดถือเพื่อให้เกิดความเคร่งครัดยำเกรง มิได้ตกบกพร่อง อันเป็นที่ยำเกรงแก่ชาววังทั้งปวง ผู้พบเห็นจัดได้หมายว่า นี่คือรูปท้าวศรีสัจจาแห่งประตูดิน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:44

^
สงสัยจะเป็นไม้เคาะตาตุ่มน่ะครับ

นางพนักงานคงรับไม้เคาะตาตุ่มอาญาสิทธิ์ไปจัดการกับผู้ละเมิดจารีตแล้วเสร็จ ก็นำมาส่งคืนกระมัง

ถ้าเป็นคัมภีร์ใบลาน น่าจะเก็บไว้เป็นของสูงตามธรรมเนียมคนไทย ไม่ใช่ให้บ่าวไพร่ถือไว้ จะใช้ก็เรียกเอามาอ่าน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:52

^
ไม้แผ่นใหญ่มากขอครับ โดนเข้าไปคงบวมไปหลายวัน  ยิงฟันยิ้ม

ขออธิบายเพิ่มเติมเรื่องการซ่อมแซมพระที่นั่งพิมานรัตยา ดังนี้

"เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงให้บูรณะองค์พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งพิมานรัตยาสำเร็จดังประสงค์แล้ว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภช แล้วเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียรอยู่  ณ  พระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาทนี้เป็นเวลา ๑ ขวบปี โดยทรงใช้พระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นพระวิมานที่บรรทม และเสด็จออกขุนนาง ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"

ส่วนท้ายพระที่นั่งรัตยาเข้าไปในฝ่ายในก็เป็นที่ตั้งของเรือนจันทร์ อันเป็นที่พำนักของบรรดาบาทบริจาริกาฝ่ายในทั้งปวง (ไม่ทราบว่า อ.NAVARAT.C ได้เข้าไปชักภาพบ้างหรือไม่)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:55

^
เล็กๆ ก็ไม่ร่ำลือหลาบจำกันจนทุกวันนี้หรอกครับ

เดี๋ยว เอาตรงนี้ก่อน

อ้างถึง
คือในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติมใหม่รวมทั้งสิงหบัญชร และรูปเจ้าคุณประตูดินด้วย

ตรงนี้ขัดกับข้อเขียนอีกตอนหนึ่งของจุลลดา ภักดีภูมินทร์ความว่า

เจ้าคุณประตูดิน’ ผู้นี้ คือ ท้าวศรีสัจจา ชื่อเดิมว่า ‘มิ’ เป็นท้าวศรีสัจจามาแต่รัชกาลที่ ๒ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๔ ได้พยายามค้นหาประวัติของท่านก็ไม่พบที่ใด ว่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดปรานท่านมาก ลือกันว่าท่านดุและเด็ดขาด สมัยรัชกาลที่ ๓ คงจะเป็นคนสำคัญไม่น้อย เพราะเมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ หลังจากท่านสิ้นชีวิตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดฯให้จำหลักรูปท่านไว้ในคูหาใต้บันไดขึ้นพระที่นั่งบุษบกมาลาฝ่ายในที่พระมหาปราสาท

ผมออกจะเชื่อว่ารูปปั้นนี้ สร้างหลังจากที่คุณท้าวสิ้นชีวิตแล้ว คติไทยโบราณจะถือกัน ไม่สร้างรูปปั้นคนที่ยังเป็นๆอยู่ เพราะจะทำให้ท่านผู้นั้นอายุสั้น
การปั้นรูปเหมือนคุณท้าวไว้หลังจากที่ท่านสิ้นไปแล้ว อาจทำให้ผู้ล่วงละเมิดเข้ามาในส่วนรโหฐานนั้น เกรงกลัวกว่าสมัยที่ท่านยังเป็นๆอยู่เสียอีกก็ได้ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:58

ชุดเชี่ยนหมากนั้นก็น่าเอ็นดูเชียวนะครับ มีขาปุ่มยื่นออกมายกระดับงามแท้ มีซองพลู เต้าปูน ตลับต่าง ๆ จัดลำดับกัน ตามด้วยครกตำ (ตะบันหมาก) และกระโถนบ้วนน้ำหมากทรงฟักทอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 07:59

อ้างถึง
ส่วนท้ายพระที่นั่งรัตยาเข้าไปในฝ่ายในก็เป็นที่ตั้งของเรือนจันทร์ อันเป็นที่พำนักของบรรดาบาทบริจาริกาฝ่ายในทั้งปวง (ไม่ทราบว่า อ.NAVARAT.C ได้เข้าไปชักภาพบ้างหรือไม่)

ขอเวลาเตรียมการประเดี๋ยวครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 08:04

คำอธิบายเรื่อง เจ้าคุณประตูดิน

ผู้ที่ได้นามว่า เจ้าคุณประตูดิน นั้น ทราบว่าเป็นที่ท้าวศรีสัจจา ในรัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่าชื่อตัวชื่อมิ คือผู้ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ทำรูปไว้ ณ มุขกระสันพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีโคลง (เข้าใจว่าเป็นพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔) จารึกไว้ที่รูปนั้นบท ๑ ขึ้นต้นบทว่า


“ แถลงลักษณรูปท้าว ศรีสัจ จาแฮ”

แต่อีก ๓ บาทข้าพเจ้าจำโคลงไม่ได้ ครั้นไปดูเมื่อเร็วๆ นี้ก็เห็นทาสีลบโคลงเสียหมดแล้ว สืบหาผู้จำไว้ได้ยังไม่พบตัว จำได้แต่เนื้อความของโคลง ๓ บาทต่อไปนี้นั้นเป็นคำสรรเสริญว่า ท้าวศรีสัจจาเป็นผู้เชี่ยวชาญในราชการในพระราชนิเวศน์เท่านั้น อนึ่ง ที่รูปท้าวศรีสัจจานั้นมีรูปโขลนคนรับใช้ปั้นไว้ด้วย ๒ คน คนหนึ่งชื่อจ่าบัว คนหนึ่งชื่อตี อยู่มาจนรัชกาลที่ ๔ คนชื่อตีนั้นข้าพเจ้ารู้จัก

เหตุที่เรียกท้าวศรีสัจจา(มิ) ว่าเจ้าคุณประตูดินนั้น เพราะท้าวศรีสัจจามิ มักออกนั่งว่าการ เช่นรับพวกขอเฝ้าเป็นต้น ที่ประดูดินเป็นมูลเหตุ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า เจ้าคุณประตูดิน (ความที่กล่าวข้อนี้มีรูปเขียนไว้ในตู้ลายรดน้ำใบ ๑ เดี๋ยวนี้อยู่ที่หอพระสมุดฯ เขียนรูปแสดงพระราชวังครั้งรัชกาลที่ ๒ มีรูปหญิงมีบรรดาศักดิ์คน ๑ นั่งรับแขกอยู่ที่ประตูพระราชวัง เป็นสำคัญ)

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 09:00

ประตูดิน มีชื่อเป็นทางการว่า ประตูศรีสุดาวงศ์ เหตุที่ชาววังเรียกว่าประตูดินนั้น อ่านพบว่า เพราะเคยมีจอมปลวกขนาดใหญ่อยู่บริเวณใกล้ๆนั้น

ประตูศรีสุดาวงศ์ เป็นซุ้มประตูกำแพงเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นในอีกทีหนึ่ง อยูเยื้องๆกับประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอกที่เรียกว่า “ช่องกุด” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตลาดท่าเตียนเท่าไหร่ ในเรื่องสี่แผ่นดินจึงมีฉากสำคัญที่คุณเปรมมาดักดูแม่พลอย เพราะบางช่วงจะมีการติดตลาดขนาดย่อมๆบนถนนภายในที่ขั้นระหว่างกำแพงพระบรมมหาราชวังกับกำแพงพระราชฐานชั้นในดังกล่าว เหล่าแม่ค้าแม่ขายที่กิริยาวาจาผ่านการคัดสรรแล้วจะเอาผลหมากรากไม้ อาหารสดอาหารแห้งมาขายให้ชาววัง ให้ไม่ต้องออกไปเจอฝีปากแม่ค้าท่าเตียนหรือปากคลองตลาด รูดซิบปาก

แต่ชาววังในที่นี้มิได้หมายรวมถึงเจ้านาย หรือเจ้าจอมหม่อมห้ามทั้งหลาย แต่เป็นระดับนางข้าหลวง หรือพนักงานหญิงรับใช้ ที่อยู่กินภายในเขตพระราชฐานชั้นในนั้นเอง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 09:02

ทั้งหมดต่อไปนี้ เป็นภาพที่ผมนำมาจากหนังสือ “การบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมมหาราชวัง”


หลังประตูศรีสุดาวงศ์ เป็นส่วนที่อยู่อาศัยแบบเรือนแถว เรียกว่าแถวเต๊ง เป็นที่อยู่ของข้าราชบริพาร และข้าราชการฝ่ายในที่เป็นหญิงล้วน ซึ่งตั้งอยู่ส่วนหลังของเขตพระตำหนักที่ประทับของพระมเหสี พระราชเทวี พระสนมเอก ตลอดจนพระราชธิดาในรัชกาลต่างๆ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 09:08

เต๊งมี ๓ แถว เรียกว่า แถวใน แถวกลางและแถวนอก หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวังก็เหมือนแพแตก ชาววังทั้งหลาย ใครมีช่องทางจะออกไปอยู่กินกับญาติพี่น้องได้ ก็โยกย้ายออกไปจนเกือบหมด อาคารเหล่านี้ขาดงบซ่อมบำรุง ชำรุดทรุดโทรมลงตามลำดับ กว่าห้าสิบปีนั้นกาลเวลาได้ทำลายสภาพลงจนเกือบจะชิ้นเชิง

ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา รัฐบาลเริ่มจัดงบประมาณให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมมหาราชวังอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เน้นที่ส่วนสำคัญๆที่จำเป็นเร่งด่วนก่อน
เมื่อคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์๒๐๐ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กระทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯทรงรับเป็นองค์ประธาน





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 09:11

พ.ศ. ๒๕๒๖ เสด็จทอดพระเนตรแถวเต๊ง สองปีต่อมา การบูรณะในส่วนนี้จึงเริ่มขึ้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 ก.ย. 11, 09:19

การบูรณะปฏิสังขรณ์หลังแล้วเสร็จ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้อาคารเป็นสาธารณะประโยชน์  โดยจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบขึ้นสำหรับบุตรหลานประชาชนทั่วไป

ที่เห็นในภาพคือแถงเต๊งใน หรือเต๊งแดง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง