เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 07 ก.ย. 11, 16:05
|
|
จาก คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม มีประตูเข้าไปพระตำหนักใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ ๑ พระตำหนักนี้เปนที่ประทับของสมเดจพระพรรวษาใหญ่ ซึ่งเปนพระราชเทวีสมเดจพระนาราน์แต่ก่อนมา ครั้นภายหลังมาเปนพระคลังฝ่ายใน ท่านท้าวทรงกันดารรักษา มีกำแพงล้อมมีประตูชื่อสวรรคภิรมย์ ออกไปท้องสนามจันทน์ เลี้ยวท้องสนามจันทน์มาถนนริมกำแพงล้อมตึกห้าห้อง สำหรับนางพนักงานวิเสศต้นแต่งเครื่องพระสุพรรณภาชนะหุงพระกระยาเสวยเครื่องต้น ถนนนี้เลี้ยวไปหัวสิงหน่าพระฉนวนใหญ่ มีกำแพงคั่นแลมีประตูซุ้มชื่อประตูอุดมนารี ออกไปตลาดฃายฃองสดเช้าเยน ตรงประตูดินเข้ามาเปนลานปลาใหญ่มีท่อไขน้ำฝนให้ไหล ออกไปพ้นชลาปากท่อลงแม่น้ำใหญ่ใต้ประตูดินมีพนักงานชาวท่อรักษาที่ศาลาปากท่อประจำประตูดินข้างบนกับประตูดินนี้ เป็นประตูดินเดียวกับที่คุณสุจิตต์กล่้าวถึงหรือเปล่าหนอ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 106 เมื่อ 09 ก.ย. 11, 18:06
|
|
สาวชาววังทั้งหลายแม้ชั้นพนักงาน. ล้วนอยู่ในเกณฑ์นางห้าม. หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเลือกเป็นบาทบริจาริกาเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้น เรื่องจะไปอาบน้ำผ้าผ่อนหลุดลุ่ยให้ชายทัศนาได้ตามสบาย เห็นจะมีแต่ในนิยายเท่านั้น. ยิ่งเส้นทางที่แสนจะลำบาก อาบเสร็จเนื้อตัวสะอาดมาใหม่ๆ ต้องย่ำดินเฉอะแฉะเปรอะเปื้อน. แล้วจะไปอาบมันทำไม. สกปรกหนักกว่าเก่าอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:20
|
|
ผมยอมแพ้จริงๆครับ
แหล่งข่าวของผมที่ล้วนแต่ทำงานในสำนักพระราชวัง เอาเข้าจริงก็เป็นประเภทฟังท่านเล่าทั้งนั้น หาผู้ใดเอาเอกสารมาอ้างอิงไม่ได้เลยว่า ทำไมจึงเรียกประตูดินว่าประตูดิน อุโมงค์ของสาวชาววัง อยู่ที่ไหน ถ้าต้องอยู่ในเขตนอกๆออกมาแล้ว อุโมงค์ของพวกข้าราชการชายฝ่ายหน้า ไม่มีบ้างหรือยังไง แล้วพวกนี้ไปปลดทุกข์กันที่ไหน
อ่านบทความและข้อเขียนที่สหายร่วมกระทู้ทั้งหลายคัดสรรมาลงแล้ว ผมก็ไปต่อไม่ถูก แต่ก็เอาเถิดครับ เช้าวันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศต้อนรับการRefreshกลับมาของท่านอาจารย์เทาชมพู ขอเอาภาพข้างกำแพงพระราชฐานชั้นนอกด้านใน ที่ผมไปเดินถ่ายมาให้ชม
เรามาเริ่มต้นเดินเข้าสู่เขตพระราชฐานด้านทิศตะวันตก (ทางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา) ทางประตูเทวาภิรมย์ กัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:22
|
|
^ ภาพที่ถ่ายตอนเช้าจะย้อนแสงหน่อยนะครับ ไม่ค่อยแจ่มใสเหมือนตอนกลางวัน
เมื่อเข้ามายืนบนถนนภายในที่อยู่เขตพระราชฐานชั้นนอก จะเห็นประตูศรีสุนทรที่นำเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นกลาง ณ บริเวณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:23
|
|
ขวามือของประตูศรีสุนทร คือหอนิเพทพิทยา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง หอนิเพทพิทยา และ หออุเทศทักษิณา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งพระศพเจ้านายฝ่ายใน ซึ่งบางครั้งสิ้นพระชนม์ใกล้เคียงกันหลายพระองค์ หอนิเพทพิทยา เคยเป็นที่ตั้งพระศพของ พระองค์เจ้าศศิพงษ์ประไพ ( พระราชธิดาในรัชกาลที่๕ ) เป็นต้น
ปัจจุบันหอนิเพทพิทยา ใช้เป็นห้องอาหารในวังของข้าราชการและประชาชนทั่วไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:24
|
|
ส่วนหออุเทศทักษิณา อยู่ด้านขวามือ เคยเป็นที่ตั้งพระศพของ พระองค์เจ้าหญิงบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา ( พระราชธิดาในรัชกาลที่๓ ) พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท ( พระราชธิดาในรัชกาลที๕ ) เป็นต้น
ปัจจุบัน หออุเทศทักษิณาใช้เป็นอาคารเรียนของวิทยาลัยในวังชาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:26
|
|
สุดหออุเทศทักษิณา ปัจจุบันเป็นที่ทำการฝ่ายบูรณะราชภัณฑ์ แต่สมัยก่อนจะเป็นอะไรไม่ทราบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 112 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:51
|
|
ต่อจากที่ทำการฝ่ายบูรณะราชภัณฑ์ จะเป็นที่ทำการของฝ่ายสนมพลเรือน
ระหว่างช่วงต่อของอาคารทั้งสองนี้ จะเป็นช่องทางไปสู่พระวิมานอันเป็นที่ประทับและฝ่ายใน มีประตูที่สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่๑ ชื่อประตูยาตรากษัตรีย์ ตั้งอยู่ตรงกับประตูอุดมสุดารักษ์ของกำแพงพระราชวังชั้นนอก ใช้เป็นทางเสด็จออกสู่ท่าราชวรดิฐ ของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในกับข้าราชบริพาร
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 113 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:55
|
|
^ รูปข้างบนผมเอามาจากหนังสือ "การบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมมหาราชวัง" นะครับ ผมไม่สามารถจะถ่ายภาพได้
ส่วนภาพนี้คือ ประตูอุดมสุดารักษ์ ที่ต่อเนื่องกัน มองจากถนนด้านนอก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 12:58
|
|
ที่ทำการของฝ่ายสนมพลเรือน หรือพวกที่ทำงานเกี่ยวกับพระศพ และศพของผู้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งเจ้านาย ตลอดไปจนข้าราชการระดับต่างๆ ภายในอาคารนี้คือโกดังเก็บสิ่งของที่ใช้เนื่องในงานดังกล่าวทั้งนั้น อาคารนี้ยาวไปจนส่วนท้ายจรดช่องทางที่นำไปสู่ประตูอนงคลีลา ประตูอนงคลีลานี้ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ แต่ในรัชกาลที่ ๔ แก้ไขเป็นแบบหลังคาจั่ว ใช้เป็นทางเข้าออกของข้าราชบริพารฝ่ายใน ตอนผมเดินไปเก็บภาพยังเช้าอยู่ ก่อนเวลาที่คนส่วนใหญ่จะมาทำงานกัน ประตูอนงคลีลาเขาห้ามถ่ายภาพข้างใน ผมจึงถ่ายให้เห็นได้เท่านี้
ครั้นมองผ่านประตูโกดังของพวกสนมพลเรือนที่เปิดแง้มๆอยู่เข้าไป เห็นทั้งโกศทั้งลองนอก ลองใน ตลอดจนหีบศพ วางซ้อนอยู่เต็ม ไม่กล้าถ่ายมาให้ดู พลันนึกสงสารสาวๆชาววังที่กลัวผี หากจำเป็นต้องออกมาอุโมงค์ตอนมืดๆค่ำๆ
ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าอุโมงค์ที่ว่าตั้งอยู่ที่ไหน แต่ที่แน่ๆคือ ผมว่าเรารีบไปที่อื่นกันจะดีกว่า
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 13:00
|
|
ตรงช่องปากทางเข้าสู่ประตูอนงคลีลา ฝั่งตรงกันข้ามกับโกดังของฝ่ายสนมพลเรือน เป็นอาคารวิทยาลัยในวังหญิง ที่เห็นเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคาแดงๆนี้
บริเวณอีกฝั่งหนึ่งข้างถนนด้านที่ติดกำแพงพระราชวังชั้นนอก เป็นเรือนต้นไม้ที่ยาวเหยียดหลายสิบเมตร ถ้าอุโมงค์ หรือศรีสำราญอยู่ติดกำแพงพระราชวังชั้นนอกตามตำราของคุณหนุ่มสยาม ทำเลตรงนี้ก็น่าจะเหมาะ เพราะไม่ใกล้ย่านช่องกุดจนเกินไป ทั้งต่อท่อลอดไปออกแม่น้ำทางท่าราชวรดิฐก็ลัดสั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 13:05
|
|
สุดอาคารวิทยาลัยในวังหญิง เป็นเรือนพักเจ้าหน้าที่เวร สุดเรือนพักนี้ จะเห็นกำแพงพระราชวังชั้นใน กำแพงนี้ดูแปลก ดูเหมือนอาคารยาวๆมากกว่าเพราะมีช่องหน้าต่างอยู่ชั้นบน
ชวนให้คิดว่า ถ้าอุโมงค์ หรือศรีสำราญอยู่ภายในกำแพงพระราชวังชั้นในตามคำให้การของแหล่งข่าวของผม ชั้นล่างของอาคารที่เป็นกำแพงวังไปด้วยตรงนี้ก็น่าจะเหมาะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 13:07
|
|
ดูภาพมุมสูง เขตตำหนักที่ประทับของเจ้านายจะอยู่ห่างออกไปจากกำแพงวังชั้นในนี้ ถ้าหมั่นไขน้ำเข้ามาระบายภายในอุโมงค์ กลิ่นก็คงไม่สู้กระไร ศรีสำราญ อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในน่าจะเหมาะกว่าจะมาประเจิดประเจ้ออยู่ข้างนอกนะ ผมว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 13:08
|
|
พื้นที่ข้างถนนภายในกำแพงวังจากตรงนี้จะแคบเข้าจนไม่สามารถสร้างอาคารได้ แต่ฝั่งติดกำแพง เป็นที่ทำการของตำรวจรักษาการณ์ สมัยโบราณเป็นอะไรก็ไม่ทราบ
สุดอาคาร เป็นประตูช่องกุดออกสู่ภายนอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 119 เมื่อ 10 ก.ย. 11, 13:14
|
|
ประตูศรีสุดาวงศ์ ตั้งอยู่เยื้องกับประตูช่องกุด สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑เหมือนกัน เป็นประตูแบบมณฑป กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับพื้นที่นอกแนวกำแพง พระบรมมหาราชวังชั้นใน และในรัชกาลที่ ๔ แก้ไขเป็นแบบหลังคาจั่ว เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ประตูช่องกุดของข้าราชบริพารฝ่ายใน
ชื่อประตูทั้งสามที่กล่าวมา ศรีสุดาวงศ์ อนงคลีลา ยาตรากษัตรีย์ เรียงสัมผัสกันจากทิศใต้ ไปสู่ทิศเหนือ
อ้อ ผมเรียกชื่อประตูยาตรากษัตรีย์ตามหนังสือพระบรมมหาราชวังพระราชวังนะครับ บางแห่งที่เห็นทางอินทรเนตรเรียกว่ายาตรากษัตริย์ ซึ่งผิด
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|