เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 10429 เกิดอะไรขึ้นกับวัดชุมพลนิกายาราม
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 30 ส.ค. 11, 14:12

เมื่อไม่นานมานี้ช่วงที่ไปพักบ้านที่อยุธยา (บ้านข้าพเจ้าอยู่ที่อำเภอบางไทร) หลวงพ่อที่นับถือท่านหนึ่งได้โทรศัพท์มาหาข้าพเจ้า เพราะท่านจะบอกข่าวดีเรื่องการบุรณวัด

วัดนั้นคือวัดชุมพลนิกายาราม

หลวงพ่อรูปนี้ไม่ใช่เจ้าอาวาส แต่เป็นพระชราในวัด ท่านเป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงในการบุรณะพระอุโบสถ ตัั้งแต่เริ่มบูรณะพระพุทธรูปให้งามเหมือนเดิม ปิดทองใหม่ให้แสนอร่าม

ข้าพเจ้าชอบหลวงพ่อรูปนี้มากเพราะท่านเป็นนักศิลปะ และซ่อมอย่างนักอนุรักษ์ ตอนท่านซ่อมพระประธานท่านติดต่อช่างจากกรมศิลปากรมาเลย และพยายามให้เหมือนของเดิมมากที่สุด

ทั้งนี้ตอนข้าพเจ้าไปก่อนจะไปเมืองจีนครั้งล่าสุด (สามปีมาแล้วสิ) ท่านบ่นๆเรื่องซุ้มหน้าต่าง เพราะท่านว่าสมัยก่อนเป็นทรงมุงกฎเพรียวงาม แต่ต่อมาทรุดโทรม เลยถูกซ่อมจนกลายเป็นทรงอะไรก็ไม่รู้ ท่านอยากจะบูรณะใหม่ให้เหมือนเดิมเหลือเกิน แต่ขอให้ทำพระประธานกับหลังคาให้แล้วก่อน เพราะห่วงเรื่องฝนรั่ว

ตอนนี้พระประธานซ่อมเสร็จแล้ว หลังคาไม่รั่วแล้ว กำลังจะยกช่อฟ้า และปิดกระจก หน้าต่างก็กำลังซ่อม ท่านเรียกข้าพเจ้าไปเพื่ออวดหน้าต่าง คือท่านทุบที่ซ่อมจนเสียใหม่ แล้วแปลงให้เหมือนภาพถ่ายเก่าตามที่ค้นได้ ปูนปั้นนั้นใช้ช่างกรมศิลป์ ควบคุมโดยกรมศิลป์ แต่ทางวัดหาเงินมาเอง

ท่านเล่าเรื่อยๆว่า ตอนแรกท่านซ่อมองค์พระเสร็จท่านก็จะกลับแล้ว (ลืมถามว่าจะกลับบ้านเดิมทางเหนือที่สันกำแพงหรือไร เพราะท่านเป็นคนเหนือ) แต่ท่านเห็นว่ายังมีงานค้างอยู่หลายอย่าง เลยยังไม่กลับ

ตอนนี้หน้าต่างกำลังบูรณะช้าๆ สุดท้ายเหลือสิ่งที่ท่านอยากทำที่สุดคือการซ่อมภาพจิตรกรรมฝาพนัง

เนื่องจากพนังมีความชื้นมาก และทางกรมศิลป์กล่าวว่า จะทำาการลอกภาพออกมาแล้วใส่ในผืนผ้า บูรณะพนังใหม่และฉีดยากันชื้น แล้วจะค่อยๆนำภาพมาปิดใหม่

ขาดงบประมาณหลายอยู่

ที่ข้าพเจ้าเรียกมานี้ไม่ใช่เพราะว่าจะชวนทำบุญหรืออะไร แต่อยากจะขอชมความพยายามในการอนุรักษ์ศิลปะเก่าๆของไทยไว้ แม้จะอยู่ในกลุ่มคนเล็กๆก็ตาม

ท่านที่อ่านเรื่องนี้อยากไปชมก็ไปชมได้ ขณะนี้กำลังซ่อมอยู่ และเป็นการซ่อมอย่างที่เห็นแล้วไม่รู้สึกเศร้าใจ เพราะเห็นว่าซ่อมแล้วงามดังเดิ่ม

ส่วนจะทำบุญร่วมหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ ครั้นพูดไปเหมือนจะช่วยหาเงินอาจจะดูไม่งาม

สวัสดี

ปล. ท่านเล่าอย่างยิ้มๆว่า ถ้าซ่อมทุกอย่างเสร็จท่านก็จะกลับบ้านแล้ว หมดห่วง แล้วใครอยากเห็นรูปเก่า ขณะนี้ท่านติดรูปตอนอุโบสถสมัยโทรมสุดๆๆไว้อาจชมได้

ท่านอยากให้ชมด้วย เพราะว่า "ทุกคนจะได้มีเครื่องเตือนใจว่าอย่าปล่อยให้สมบัติชาติต้องทรุดโทรมจนสุดท้ายเกือบจะสูญสิ้น"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 15:35

ภาพจิตรกรรมด้านข้างพระประธานหายไปเยอะเหมือนกัน เห็นแล้วน่าใจหายไม่น้อยเลยนะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 15:43

พระพุทธรูปบนฐานชุกชีได้ปิดทองใหม่ อย่างสวยงามอย่างยิ่งครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 16:06

ขออนุญาตคุณหาญเล่าเกริ่นความสำคัญและประวัติสักเล็กน้อย เพื่อผู้เข้ามาอ่านจักได้รู้จักประวัติวัดแห่งนี้ได้ดียิ่งขึ้น

วัดชุมพลนิกายาราม สันนิฐานว่าวัดน่าจะถูกสร้างในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๑๙๓ ส่วน น. ณ ปากน้ำให้ข้อสันนิฐานว่า พระเจดีย์ย่อมุมคู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ มีความคล้ายคลึงกับเจดีย์เพิ่มมุมหน้าพระอุโบสถวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


จุดประสงค์การสร้างวัดนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเชื่อว่า พระเจ้าปราสาททองทรงโปรดให้สร้างวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้น ณ สถานที่ประสูติของมารดาพระองค์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 16:17

พระพุทธรูปหมู่ ๗ องค์บนฐานชุกชี

รายนามพระพุทธรูปมีดังนี้

๑. พระพุทธวิปัสสี ปางมารวิชัย สูง ๗ ศอก ๑๔ นิ้ว

๒. พระพุทธสิขี ปางสมาธิ สูง ๔ ศอก ๕ นิ้ว

๓. พระพุทธเวสสภู สูง ๓ ศอก คืบ ปางมารวิชัย

๔. พระพุทธกุกกุสันธ ปางสมาธิ สูง ๓ ศอก ๕ นิ้ว

๕. พระพุทธโกนาคม ปางสมาธิ สูง ๓ ศอก ๔ นิ้ว

๖. พระพุทธกัสสป สูง ๓ ศอก ปางมารวิชัย

๗. พระพุทธโคดม สูง ๒ ศอก คืบ ๓ นิ้ว ปางมารวิชัย

ซึ่งพระพุทธวิปัสสี อันเป็นพระประธานที่ใหญ่ที่สุด กำหนดไว้ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีความเชื่อกันว่า พระพุทธรูปทั้ง ๗ องค์ที่รวมกันนี้ อาจจะหมายถึงลำดับของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ในคัมภีร์พุทธวงศ์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 16:36

ภาพจิตกรรมฝาผนัง

ในส่วนภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถนี้ เป็นงานวาดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นเรื่องราวของอดีตพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์เรียงลำดับกันไป พร้อมมีจารึกหินอ่อนประกอบไว้ด้วย ซึ่งยืนยันได้จาก ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎ ที่วาดไว้บนส่วนยอดของภาพเรือนแก้ว (วงกลมตามภาพ) ซึ่งท่านยังสมารถพบได้ที่วัดปทุมวนาราม , วัดพระสมุทรเจดีย์, วัดเสนาสนาราม และวัดชิโนรสาราม ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะครับ



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 13:05

เนื่องจากพนังมีความชื้นมาก และทางกรมศิลป์กล่าวว่า จะทำาการลอกภาพออกมาแล้วใส่ในผืนผ้า บูรณะพนังใหม่และฉีดยากันชื้น แล้วจะค่อยๆนำภาพมาปิดใหม่

ขาดงบประมาณหลายอยู่
ลักษณะกรบูณณะอย่างนี้มีตัวอย่างให้ชมที่พระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม นับเป็นวิธีที่ทำยากวิธีหนึ่งแต่ดีในแง่การเก็บรายละเอียดของเดิมได้หมด แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของจิตรกรรมฝาผนังไทยก็คือผนังส่วนที่ติดตั้งนี่แหละ ที่ปัจจุบันการทำปูนตำแบบโบราณแท้ๆไม่มีใครมีสูตรที่ชัดเจนเลยเพราะเป็นเทคนิคช่างที่ต่างคนต่างมีกลเม็ดไม่บอกต่อได้แต่ครูพักลักจำกันมา จึงเกิดปัญหาที่อยากจะทำอย่างโบราณได้ปัจุบันเลยล่อแต่ปูนซิเมนต์ซะฉิบ ก็เลยได้ฉิบหายกันหมดต่อให้บูรณะกันกี่ทีก็ไม่รอด ทุกวันนี้จิตรกรมมฝาผนังไทยในทุกทีมีแต่รอวันตาย เพราะศิลปะทุกวันนี้มิสำคัญเท่าปากท้องคนจะเสพจะเข้าใจมีอยู่ในวงจำกัด เท่าที่อยู่ในวงการนี้มากว่า25ปียังไม่เคยพบการบูรณะทีใดที่ทำให้จิตรกรรมฝาผนังคงอยู่ได้เท่าของเดิมเลยสักที่(ดูภาพประกอบความวิบัติฉิบหายของจิตรกรรมฝาผนังไทยที่วัดป่าเกดอันเกิดจาการอนุรักษ์เป็นตัวอย่าง รูปแรกก่อนอนุรักษ์รูปสองเมื่ออนุรักษ์แล้ว)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ย. 11, 20:02

เรื่องพวกนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไป  ตอนนี้สิ่งสำคัญน่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลไว้ให้มากที่สุดมากกว่าและนำข้อมูลนั้นมาทำการศึกษาให้เกิดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอดสำหรับเด็กรุ่นใหม่ต่อไป
พี่ยินส์ครับ น้องๆคิดถึงมากว่างๆออกมาทานข้าวกันบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง