เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32322 ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 16:07

คุณหนุ่มสยามครับ
ต่อยอดความรู้ไปได้อีกมากมายเลยครับ แล้วก็ดีใจที่ได้มีการค้นพบอะไรใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เสียดายที่ไม่มีภาพบริเวณที่มีการถลุงแร่ในสมัยโบราณ 

ผมเคยเห็นแต่เตาเผาเหล็กที่ใช้สูบลมแบบพื้นบ้าน ชาวเหมืองแร่ที่ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ เขาทำกันเพื่อตีเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ คือใช้ไม้ไผ่ (ไผ่หก) ทะลวงให้ภายในค่อนข้างเรียบ วางตั้งสองท่อคู่กัน ใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กกว่า (ไผ่รวก) พันปลายเทำเป็นก้านสูบ ท่อทั้งสองนี้ต่อเข้ากับท่อเหล็กนอนที่วางไปถึงกองถ่านไฟ คนจะยืนชักก้านสูบขึ้นลงเพื่อให้มีลมไปเป่าไฟให้ร้อนจัด อันนี้คงเหมือนกับที่บรรยายไว้ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ

อีกแบบหนึ่งคือใช้ถุงผ้าสี่เหลี่ยม ก้นถุงด้านหนึ่วฉีกออกแล้วเอาท่อสอดผูกให้แน่น ต่อไปยังกองไฟ ด้านปากถุงฉีกออกแล้วเอาไม้ไผ่มาม้วนออกไปทั้งสองข้าง เมื่อจะเป่าลมก็เอาไม้ที่ม้วนปากถุงนั้นประกบกันแล้วกดลง ก็จะได้ลมไปเป่ากองไฟ

เนื่องจากการถลุงเหล็กจะต้องใช้ความร้อนค่อนข้างสูงมาก คือกว่า 1000 องศา ซึ่งจะต้องใช้ถ่านไม้ คงไม่สามารถใช้ไม้แห้งได้ ดังนั้นในพื้นที่นั้นน่าจะต้องมีซากเตาเผาถ่านหลงเหลืออยู่ให้เห็นบ้าง การถลุงเหล็กนั้นเป็นกระบวนการดึงเอาออกซิเจนออกไปจากตัวแร่ ปัจจุบันใช้ถ่านโค๊ก ในสมัยนั้นไม่ทราบว่าใช้อะไร

จากคำอธิบายในวชิรญาณวิเศษ เป็นไปได้ว่าเป็นลักษณะของการทำสองขั้นตอน คือตอนแรกทำให้แร่ร้อนจัดจนละลาย แกลบเผาที่ผสมกับดินเหนียวทำเป็นเบ้าหลอมนั้น จะทำหน้าที่เหมือนถ่านโค๊ก เหล็กที่ได้ในขั้นนี้น่าจะเป็นเหล็กพรุน (Sponge iron) จากนั้นก็หลอมต่อเพื่อไล่สารเจือปนอื่นๆออกไป อาจจะทำต่ออีกครั้งหรือสองครั้ง ก็จะได้เนื้อเหล็กบริษุทธิ์

นึกออกอีกอย่างหนึ่งครับ ถ่านหุงข้าวสมัยก่อนที่จะหันมาใช้เตาแกสอย่างแพร่หลายกันนั้น มีมากแถวกำแพงเพชรและบ่อพลอย กาญจนบุรี ช่างประจวบเหมาะกับที่เป็นแหล่งแร่เหล็กอีกด้วย ไม่รู้ว่าจะเป็นมรดกตกทอดสัมพันธ์กันเพียงใด

ผมยังมีความสนใจในบันทึกเรื่องการถลุงเหล็กอีกหลายเรื่อง คือ ตามบันทึกนั้น
  1. ตำบลที่มีการถลุงแร่เหล็กอยู่ที่ใหน
.....เสียงสูบดังสนั่นไปตามที่ๆเขาตั้งเตาหลอมเหล็ก ด้วยในตำบลที่เขาตั้งเตาหลอมเหล็กนั้น มีโรงหลายโรงตั้งอยู่เปนหมู่ ๆ รายกันทั่วไป.... 
  2. มีคนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำกิจการถลุงเหล็กแล้ว ฮืม
.....ถ้าจะตั้งสูบไปแต่ผู้เดียว ในชั่วพักหนึ่งนั้นสูบไปไม่ไหว เพราะสูบที่เขาใช้ในการหลอมแร่เหล็กนี้ เปนสูบใหญ่กว่าสูบที่เขาใช้ตีเหล็กในสยามนี้....
  3. แสดงว่าในสมัยนั้นจะต้องมีการเคลื่อนย้ายขนสินแร่เหล็กจากแหล่งมาถลุงในเมืองด้วย นำเข้า ? หรือ เป็นสินแร่ของเราเอง ? หรือทั้งสองอย่าง
คงจะเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน สินแร่เหล็ก 1 ลบ.ม.หนักประมาณ 5 ตัน หนักมากกว่าน้ำ 5 เท่า  สินแร่เหล็ก 1 ตัน ถลุงได้เนื้อเหล็กประมาณ 2/3 ตัน
......การที่ขายเนื้อเหล็กที่หลอมแล้วนี้ เขาก็ขายแก่คนที่อยู่ในบ้านเมืองเดียวกันนั้นบ้าง ขายไปแก่คนที่อยู่ในประเทศที่ใกล้เคียงกัน เปนต้นว่าเมืองยโสธร         หรือเมืองอุบลราชธานี ประเทศเหล่านี้เปนต้น ย่อมใช้เหล็กเมืองสุวรรณภูมิทั้งสิ้นผู้ที่ซื้อเอาเนื้อเหล็กไปทั้งก้อน ๆ นั้น.....
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 16 ก.ย. 11, 16:21

เอาภาพกระบอกสูบลมแบบโบราณมาให้ชมถึงการหลอมโลหะครับ ภาพนี้เป็นภาพโรงเตาหลอมจะเห็นว่าตั้งกระบอกสูบลมแนวตั้ง สำหรับการหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่พิษณุโลก พ.ศ. ๒๔๔๔ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 17 ก.ย. 11, 11:00

ภาพการถลุงแร่ของจีนโบราณ จาก Ancient China's Technology and Science, He Tangkun ให้ภาพประกอบเรื่องการถลุงแร่ โดยใช้ระบบเตาสูบลมเข้าไปยังห้องไฟ และมีเศษตะกรันไหลล้นออกมาด้านหลัง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 17 ก.ย. 11, 19:24

เทียบเคียงจากภาพแรกที่พิษณุโลกและภาพของจีน น่าสนใจมากครับ

แม้ว่าไทยจะติดต่อกับจีนมานาน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีการรับเทคโนโลยีมาจากจีนเลย
แสดงว่าเราพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง ฮืม หรือว่าเนื่องจากตัวสินแร่ที่มีความต่างกัน ฮืม หรือว่าเราเอาแบบมาจากตะวันตก ฮืม

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 21:11

ย้อนนึกไปถึงวันในอดีต
จำได้ว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครเมื่อ พ.ศ. 2504 นั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่เดินอยู่ในริ้วขบวนเสด็จทางสถลมาร์ค โดยเดินถือหอกจากพระบรมมหาราชวัง ไปวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหารแล้วเดินกลับ ก่อนจะตั้งขบวนก็ได้มีโอกาสเห็นห้องเก็บศาสตราวุธ จำได้ว่าเกือบจะไม่เห็นมีดดาบในคลังแสงเลย

วันนี้เลยสงสัยว่า ในสมัยก่อนๆโน้น ดาบหรือหอกที่เป็นอาวุธหลักในกองทหารของไทย ฮืม คือ นึกไปถึงการเปรียบเทียบปริมาณเหล็กที่ต้องใช้ทำดาบกับหอก รวมทั้งความยากง่ายในการตีขึ้นรูปทำเป็นอาวุธ ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 21:35

ปริมาณเหล็กที่ทำอาวุธก็คงมีปริมาณมากตามที่คุณตั้งคิดไว้ งานเหล็กยังรวมไปถึงเครื่องมือทางการเกษตรกรรมด้วย เช่น เคียว มีด พาลไถ หัวหมู จอบ เสียม และหากคิดไปกว้างกว่านี้ก็รวมทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งรบ ทั้งเป็นการเกษตร ย่อมมีเครื่องมือเหล็กมากมาย เราใช้ทรัพยากรโลหะเหล็กมากจริง ๆ

การตีเหล็กก็มีช่างตีเหล็กที่ใช้แรงงานหนัก ไม่นิยมการหล่อขึ้นรูปแล้วมาตี เพราะเหล็กไม่เหนียว เขาจะเพิ่มคาร์บอนในเนื้อเหล็ก และเผาร้อน ชุบแข็ง เป็นวิธีที่ทำให้เหล็กผลักดันมลทินออกไป เหล็กจึงแกร่งแข็งแรง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 09:32

งานเหล็กยังรวมไปถึงเครื่องมือทางการเกษตรกรรมด้วย เช่น เคียว มีด พาลไถ หัวหมู จอบ เสียม และหากคิดไปกว้างกว่านี้ก็รวมทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งรบ ทั้งเป็นการเกษตร ย่อมมีเครื่องมือเหล็กมากมาย เราใช้ทรัพยากรโลหะเหล็กมากจริง ๆ

สมัยก่อนมีจอบสัก ๕๐๐ เล่มก็เป็นฐานสร้างอำนาจทางการเมืองได้

จิตร  ภูมิศักดิ์เล่าถึง "ปู่เจ้าลาวจก" ไว้ในหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ดังนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 09:34

ต่อ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 09:36

ต่อ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 12:31

ผมมีหนังสือเล่มนี้เหมือนกันครับ
เคยอ่านด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ตั้งใจว่าจะเอามาอ่านอีกรอบหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ในขณะนี้จะเรียกว่าได้ลืมเรื่องราวไปหมดแล้วก็ว่าได้
เรื่องราวของทรัพยากรนี้มีซ่อนอยู่ในที่ต่างๆค่อนข้างมากนะครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

ลองคิดอย่างคร่าวๆดู หากเครื่องศาสตรวุธ 1 ชิ้น หนักประมาณ 1 กก. และเครื่องมือเครื่งใช้ต่างๆก็หนักใกล้ๆกันนั้น เมื่อเอาจำนวนทหารตามที่เคยมีบันทึกในการทำสงครามหรือสู้รบแต่ละครั้งมาคูณ และเอาจำนวนประชากรสักประมาณหนึ่งในสามที่มีเครื่องมือทำกินมาคูณ เราก็คงจะต้องใช้เหล็กมากทีเดียว คงจะหลายร้อยตันทีเดียวในแต่ละช่วงสมัย หรือเป็นระดับพันตันเลยทีเดียว 

จึงมีประเด็นว่า
ตามนัยบันทึกเรื่องการถลุงเหล็ก ปริมาณที่สามารถจะผลิตเหล็กได้ของแต่ละเตาในแต่ละครั้งมีค่อนข้างจะจำกัดมาก ในแต่ละครั้งของการถลุงจะได้เหล็กประมาณ 100 ก้อน ผมเดาว่าก้อนหนึ่งก็คงจะไม่เกิน 1 กำมือ ก็จะมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กก. หรืออาจะเล็กกว่านั้น โดยนัยแล้วขนาดของเหล็ก 1 ก้อนที่ผลิตขึ้น น่าจะมีปริมาณพอเหมาะที่จะทำสิ่งของได้ 1 ชิ้นพอดีๆ แสดงว่าหากจะให้ได้เหล็กในปริมาณรวมขนาดนั้น แต่ละแหล่งที่มีการถลุงคงจะต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ทีเดียว ในทำนองเดียวกันชุมชนที่ทำแร่ในแต่ละแหล่งก็ต้องใหญ่มากด้วย ยิ่งถ้าต้องมีการขนแร่จากที่หนึ่งมาถลุงอีกที่หนึ่ง รวมทั้งการขนเหล็กหรือผลิตภัณฑ์ไปขายไกลๆกระจายไปใช้ในท้องถิ่นต่างๆ  เช่นในอิสาณ หรือขนขึ้นไปยังภาคเหนือตอนบน ก็ทำให้นึกถึงระบบการขนส่ง (Logistics) ที่จะต้องมีอย่างดีและมีศักยภาพสูงด้วย
และยิ่งถ้าในเชิงของความมั่นคงด้วยแล้ว เหล็กก็กลายเป็นยุทธปัจจัยที่ต้องมีการการควบคุมอย่างใดอย่างหนึ่ง

น่าสนใจว่า มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการเหล่านี้หรือไม่ครับ

 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 14:09

ผมมีหนังสือเล่มนี้เหมือนกันครับ
เคยอ่านด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ตั้งใจว่าจะเอามาอ่านอีกรอบหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ในขณะนี้จะเรียกว่าได้ลืมเรื่องราวไปหมดแล้วก็ว่าได้

หากคุณตั้งอยากอ่านอีกสักรอบ กดลิ้งก์เข้าไปอ่านได้เลย ที่นี่


เรื่องราวของทรัพยากรนี้มีซ่อนอยู่ในที่ต่างๆค่อนข้างมากนะครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

เหล็กที่ใช้ทำศาสตราวุธกับที่ใช้ทำเครื่องมือการเกษตรน่าจะใช้เหล็กจากคนละแหล่ง

เรื่องนี้คุณสุจิตต์  วงษ์เทศเขียนไว้ในนิยายแปลงพงศาวดารเรื่อง กรุงแตกยศล่มแล้ว ตอนข่าวศึก


..........ทำไมไม่พูดธุระมานี่จะตีดาบศึกหรือจะตีมีดพร้า” เฒ่าจูมเปลี่ยนเรื่องไป

แล้วขุนยี่สารก็บอกเล่าถึงข่าวศึกที่เจ้าคุณโกษาธิบดีกรมพระคลังได้หนังสือข่าวจากเมืองตะนาวศรี แล้วขึ้นเฝ้ากราบบังคมทูลเร็วพลัน

“เหล็กดี ๆ ตีดาบได้มาบ้างไหมล่ะไอ้เจ๊กทั่ง” ขุนยี่สารหันไปทางเจ๊กทั่งนั่งยอง ๆ มองดูอยู่ห่าง ๆ

“มีแต่เหล็กละโว้ขอรับคุณท่าน” เจ๊กทั่งตอบนอบน้อม

ทั่ง คือแท่นเหล็กรองตีโลหะ เป็นของสำคัญในโรงตีเหล็ก เพราะทั่งเป็นเหล็กกล้าได้จากเมืองจีนตั้งแต่รุ่นบรรพชนชั้นก๋ง แล้วสืบต่อถึงเตี่ยจนตกทอดเป็นมรดกให้เจ๊กทั่ง ที่ได้ชื่อทั่งก็เพราะเตี่ยตั้งให้ ส่วนแม่เป็นมอญในอยุธยา ทั้งเตี่ยและแม่ล้มหายตายจากไปนานหลายปีแล้ว เจ๊กทั่งเลยเป็นช่างตีเหล็กสืบจากพ่อ แล้วมีเมียชื่อเข็มเป็นลาว ส่วนลูกชายสามคนถูกเกณฑ์ไปทัพ ตายเสียสองคนชื่อดาบกับมีด ที่เหลืออยู่ให้ตีเหล็กช่วยกันชื่อเสียมที่เป็นเครื่องมือขุดดินทำด้วยเหล็ก

“เหล็กกำแพงน้ำพี้ไม่มีได้มาเลยหรือ” ขุนยี่สารบ้วนน้ำหมากไปพูดไปสลับกัน “กูอยากได้ดาบเหล็กกำแพงน้ำพี้ เหมือนดาบฟ้าฟื้นของขุนแผน”

เหล็กกำแพงน้ำพี้ หมายถึงเหล็กจากเมืองกำแพงเพชร มีบ่อเหล็กอยู่บางพานกระต่ายไปทางน้ำปิง ส่วนเหล็กน้ำพี้มีบ่ออยู่ตำบลน้ำพี้เหนือเมืองพิชัยไปทางน้ำโพ

“เหล็กกำแพงกับน้ำพี้ไม่เหลือมาถึงข้าน้อยหรอก มันหมดอยู่ที่พระคลัง” เจ๊กทั่งบอกขุนยี่สารอย่างพินอบพิเทา “ข้าน้อยมีแต่เหล็กละโว้ใช้ตีมีดพร้า ตีเคียวเกี่ยวข้าวเท่านั้น”

เหล็กละโว้คือเหล็กจากบ่อเมืองลพบุรีไปทางป่าสัก เป็นบ่อเหล็กมีมานานมากหลายชั่วคนตั้งแต่พวกขอมทำไว้ มีคำทายเก่า ๆ ใช้เล่นกันในเมืองลพบุรีจนถึงอยุธยาว่า “อะไรเอ่ย มาจากเมืองละโว้ หน้าขาวเป็นตะโก้ มีฟันซี่เดียว” คำเฉลยคือจอบขุดดิน แสดงว่าพวกขอมเมืองละโว้ชำนาญทำเหล็กตีเป็นจอบขุดดินเฮ็ดไฮ่คือทำไร่


“ดาบของพ่อเฒ่าเป็นเหล็กจากไหน เก็บไว้หรือให้ใครไปล่ะ” ขุนยี่สารนึกขึ้นได้เลยหันไปถามเฒ่าจูมพลตระเวนดาบสองมือกร้านศึกเหนือเสือใต้

“ถวายวัดไปนานแล้ว” เฒ่าจูมนั่งกอดเข่าชันข้างเดียว ถลกหยักรั้งเห็นลายสักขา “ทำราวเทียนไว้หน้าพระประธานในวิหารวัดมหาโลกนี่แหละ”

“ทั้งสองเล่มเลยหรือ” ขุนยี่สารซักต่ออีก

“ทั้งสองเล่ม ทำเป็นราวคู่ ไปดูก็ได้อยู่ในวิหาร” เฒ่าจูมชวนให้ไปพิสูจน์ดูเอง

“ไม่บาปหรือ” นังลูกจันช่างสงสัยเลยถามขึ้น “ตาเอาดาบฆ่าคนไปถวายวัดอย่างนั้นไม่บาปหรือ”

“บุญน่ะไม่ว่า ข้าถวายให้วัดต้องได้บุญซี่วะ จะบาปได้ยังไง” เฒ่าจูมบอกนังลูกจัน

“ดาบของตาเคยฆ่าคนไม่ใช่หรือ”

“เออ ใช่ นั่นแหละยิ่งได้บุญ”

“มันเป็นของบาป”

“ไม่ได้ถวายดาบให้ฆ่าพระ แต่ถวายดาบเป็นราวเทียนบูชาพระให้ฆ่าความโลภ ความโกรธ ความหลงของคน อย่างนี้ได้บุญ รู้ไหมอีบ้า” เฒ่าจูมพูดดุๆ

“ถามดี ๆ มาว่าบ้าได้ไง” นังลูกจันเถียง “ตาซี่บ้า มีอย่างที่ไหนเอาดาบถวายวัด”

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 18:58

อ่านที่คุญเพ็ญชมพูได้กรุณาคัดมา ก็น่าจะทำให้ได้ข้อสรุปบางอย่างที่พอจะชัดเจนครับ

ผมเห็นภาพว่า
ในช่วงสมัยอยุธยานั้น แร่เหล็กและเหล็กเป็นทรัพยากรทางยุทธปัจจัยที่สำคัญยิ่งของไทย คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่านอกจากจะมีการสงวนแหล่งแร่เหล็กคุณภาพดีที่น้ำพี้และพรานกระต่ายใว้ใช้ในราชการแล้ว ยังอาจจะมีการซื้อนำเข้าจากจีนเป็นบางส่วนในปริมาณที่ไม่น่าจะมีมากด้วยข้อจำกัดทางการขนส่ง
ในยุคนั้นน่าจะต้องมีระเบียบและข้อบังคับบางประการที่ค่อนข้างจะเข้มงวดเกี่ยวกับทรัพยากรเหล็กนี้
เห็นภาพว่า การขุดแร่หรือการทำเหมืองแร่เหล็ก รวมทั้งการถลุงเหล็กจากทั้งสองแหล่งนี้ น่าจะเป็นการดำเนินการโดยรัฐและ/หรือรัฐเป็นเจ้าของ
น่าจะขยายภาพได้ว่า พื้นที่ที่มีแหล่งแร่เหล็กเหล่านี้ อยุธยาน่าจะต้องจัดเป็นพื้นที่ความมั่นคงที่สำคัญยิ่ง จะต้องอยู่ในเขตอาณาของอยุธยาที่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ตลอดกาล (Absolute sovereignty) รวมถึงเมืองตามเส้นทางการขนส่งด้วย ซึ่งหมายความว่าผู้ปกครองเมืองเหล่านี้จะต้องมีความใกล้ชิดกับอยุธยา หรือต้องเป็นคนที่อยุธยาให้ความใว้วางใจอย่างสูง หรือเป็นคนที่อยุธยาส่งมาปกครอง เมืองเหล่านี้จึงค่อนข้างจะมีประวัติศาสตร์ของตนที่มีพลวัติ (Active) ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของไทย
ผมมีความเห็นว่า การขนส่งนั้นดำเนินการทั้งทางบกและทางน้ำ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ข้อสังเกตก็คือ เมืองตามเส้นทางบกเหล่่านี้อยู่ห่างกันในระยะการเดินโดยคนประมาณ 1 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 3 วันกับ 2 คืน (ระยะทางประมาณ 40-80 กม.) คนธรรมดาจะเดินได้ประมาณ 40 กม.ต่อวัน หากเป็นเกวียนหรือช้างก็ไม่น่าจะเกิน 20 กม.ต่อวัน เมื่อขนส่งมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองเก่าๆตามแม่น้ำเจ้าพระยาก็ดูจะอยู่ห่างกันมากขึ้นเนื่องจากการขนส่งโดยเรือเดินทางได้ค่อนข้างไกลในแต่ละวัน ดูเหมือนว่า (ผมไม่แม่นนัก) สถานที่ตั้งของเมืองต่างๆตามริมน้ำเจ้าพระยาขาล่องตามน้ำที่เป็นเมืองเก่าจะอยู่ห่างกันในระยะประมาณ 50-60 กม. แต่หากเป็นขาขึ้นทวนน้ำจะเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าท่า (ที่พักเรือ) ระยะทางจะสั้นและอยู่ระรายระหว่างเมืองเก่าเหล่านั้น ซึ่งน่าจะแสดงว่ามีสินค้าขาล่องที่สำคัญที่จะต้องดูแลคุ้มครองเป็นพิเศษ (คิดว่าตัวเองฝันมากเกินไปแล้วครับ)

สำหรับผมแล้ว เมื่อมองเหตุผลจากฐานทางทรัพยากร เห็นว่าเมืองในย่านอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร เข้ามามีชื่อและมีพลวัติอยู่ในประวัติศาสตร์ของเรา ก็ด้วยส่วนหนึ่งในเรื่องที่เกียวพันกับเรื่องของทรัพยากรที่เป็นยุทธปัจจัย ครับ



 
       
   

 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 20:48

ในภาพของผม ในสมัยอยุธยานั้น ให้ความสำคัญค่อนข้างมากกับทรัพยากรอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งได้แก่หนังสัตว์ (จากกวาง) ซึ่งมีชุกชุมมากในยุคนั้น

ก่อนจะสิ้นสุดอยุธยา ยุโรปก็วุ่นวายอยู่กับการแผ่อิทธิพลของฝรั่งเศส อังกฤษก็หลบจากความวุ่นวายไปแสวงหาแหล่งทรัพยากรที่เป็นสินค้าในความต้องการของคนในยุโรป จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา ไทยเราก็วุ่นอยู่กับเรื่องของการกู้เอกราช ในขณะที่อังกฤษก็เริ่มได้ครอบครองอินเดียอย่างค่อนข้างจะสมบูรณ์ ครองความเป็นเจ้าของร่วมในเส้นทางค้าขายที่สำคัญระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
เมื่อไทยเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ อังกฤษก็เริ่มเข้ามายุ่งกับพื้นที่ย่านปลายแหลมทอง ในขณะที่ในแผ่นดินใหญ่ของยุโรปก็กำลังพยายามจะจัดขอบเขตการปกครองใหม่ (จนกระทั่งในสมัย ร.2 จึงได้เกิด The Congress of Vienna)
พอเข้าสมัย ร.3 อังกฤษก็แสดงตนอย่างชัดเจนว่าต้องการมีอิทธิพลเต็มร้อยในพื้นที่ของประเทศมาเลเซีย (และก็ได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงต้นสมัย ร.5) ซึ่งในช่วงนี้ก็มีการอพยพของคนจีนมาในพื้นที่ปลายแหลมทองอย่างมาก (ส่วนหนึ่งค่อนข้างมากมาเป็นแรงงานทำเหมืองดีบุก) พร้อมๆกันนี้อังกฤษก็ได้แสดงความต้องการชัดเจนว่าจะเข้าครอบครองพม่า
พอเข้าสมัย ร.5 อังกฤษก็ได้ครองพื้นที่ปลายแหลมทองค่อนข้างจะสมบูรณ์และพม่าด้วย ทรัพยากรที่มีความสำคัญในการค้าขายในย่านนี้แต่เดิม (เครื่องเทศและใบชาจากจีน) เปลี่ยนไปเป็นทรัพยากรธรณีธรณ๊อื่นๆและไม้อย่างแท้จริง ซึ่งน่าจะเป็นการเริ่มยุคของการค้าขายทรัพยากรของไทยอย่างแท้จริง 

ผมเห็นว่า สถานการณ์ในเชิงประวัติศาสตร์กับทรัพยากรสำหรับไทย ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงและก้าวเข้าสู่วงของความเป็นนานาชาติก็เมื่อปลายสมัยของ ร.2 ซึ่งก็ด้วยพระปรีชาสามารถและการเห็นการไกลของพระมหากษัตริย์ไทยในการบริหารจัดการ ไทยเราจึงสามารถยืนยงอยู่ได้โดยไม่เป็นเมืองขึ้นในอาณัติของใคร
ผมเห็นว่า รากฐานของการวางระบบ ในการให้สิทธิในการทำการค้าต่างๆในอดีตของไทยทั้งหมด มีความสอดคล้องกับระบบที่ประเทศทางตะวันตกเขาใช้กัน ซึ่งก็คือ ระบบสัมปทาน (Concessionaire) ระบบการให้สิทธิ (Rights) ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่าประทานบัตร ระบบการอนุญาตให้ประกอบการ (Operates) ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่าอาชญาบัตร และระบบการอนุญาติให้ดำเนินการได้ (Permits)

ในสมัย ร.5 มีการให้ทั้งระบบสัมปทาน เช่น สัมปทานการทำไม้บริเวณอำเภออุ้มผาง ให้กับ Sir Lawrence Valley ซึ่งในตอนหลังอังกฤษยึดพื้นที่ไปเป็นของตนเอง (ผนวกเป็นของพม่า) จนเขตแดนพื้นที่ของไทยกลายเป็นเว้าปากนกแก้ว (ใต้แม่สอด เหนืออุ้มผาง) ชื่อหมู่บ้านนี้ในปัจจุบันคือ บ้านวะเล่ย์
ระบบอาชญาบัตร เช่น อาชญาบัตรเขียงหมู (??) และอาชญาบัตรสำรวจแร่
ระบบประทานบัตร เช่น ประทานบัตรเหมืองแร่

เล่าเรื่องที่ประมวลได้มายาวพอสมควรแล้ว ซึ่งก็ไม่แน่ใจนักว่าจะถูกต้องมากน้อยเพียงใด

ทั้งหมดก็เพื่อนำไปสู่อีกเรื่องที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาก คือ เรื่องของเส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออก เส้นลองติจูดที่ 105 ตะวันออก และเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ครับ


 

 
 
 
   

 
     
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 09:03

พิกัดประมาณ อ่าวไทย จากประจวบฯ ไปจนถึงเกาะกง...   มั้งคะ  ยิงฟันยิ้ม
คุณnaitang จะเล่าเรื่องอะไรหนอ....
หนูดีดีเดาว่า น่าจะเกี่ยวกะ"ปฏิญญาแกงเลียง" ที่กำลังร้อนท้องกันอยู่ในขณะนี้...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 19:30

พิกัดประมาณ อ่าวไทย จากประจวบฯ ไปจนถึงเกาะกง...   มั้งคะ  ยิงฟันยิ้ม
คุณnaitang จะเล่าเรื่องอะไรหนอ....
หนูดีดีเดาว่า น่าจะเกี่ยวกะ"ปฏิญญาแกงเลียง" ที่กำลังร้อนท้องกันอยู่ในขณะนี้...

ถูกต้องครับ สำหรับละติจูดที่ 11 องศาเหนือ คืออยู่บริเวณ จ.ประจวบฯ แต่เรื่องที่จะพูดถึงเก่ากว่ามากครับ

แต่ผมจะขอไปเริ่มที่เส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออก ซึ่งผมเห็นว่าเป็นต้นตอของเส้นอื่นๆที่กล่าวถึงครับ

คุณดีดี ลองลากเส้นลองติจูดที่ 99 องศาตะวันออกดูซิครับว่า มันผ่านประเทศไทยส่วนใหนอย่างไรบ้าง

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.199 วินาที กับ 20 คำสั่ง