The Congress of Vienna คงจะเป็นเรื่องที่นักศึกษาด้านประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ได้เรียนกันในหลักสูตร เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนพอสมควร มีหนังสือหลายเล่มมากๆที่เขียนถึงในรายละเอียด ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอนจะหยิบเอาบริบทใดมาสอน ในทำนองเดียวกันเราก็สามารถจะหาหนังสืออ่านในแง่มุมและมุมมองต่างๆได้มากเช่นกัน
ผมเองก็ไม่สันทัดและรู้มากพอที่จะเล่าเรื่องนี้ จะกลายเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ยุโรปไป ในความเห็นของผมนั้นเรืื่่องนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆในการทำงานใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ EU
ผมเพียงมีโอกาสที่ได้อ่านและได้อยู่ในพื้นที่ จึงมีโอกาสพูดคุยสอบถามกับคนยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ต้องเสียเวลาเสียเงินเดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมกับคนในประเทศนั้นๆ งานส่วนหนึ่งที่ผมทำก็คืองานในบริบทและในระบบของ UN จึงมีโอกาสได้สัมผัสกับคนทุกชาติทุกภาษาที่ทำงานอยู่ในอาคาร UN ก็ได้สอบถาม เรียนรู้และได้รับรู้ความรู้สึกลึกๆของคนชาติพันธ์ต่างๆของยุโรปค่อนข้างมาก
หนังสือที่พิมพ์ขายเกี่ยวกับเรื่องของ The Congress of Vienna นี้ เกือบทั้งหมดก็จะอ้างเรื่องราวมาจากบันทึกเหตุการณ์ต่างๆของแต่ละประเทศที่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของเอกสารทางประวัติศาสตร์โดยทั่วไป
ประเด็นจากประสบการณ์ของผมมีอยู่ว่า ก่อนที่จะจัดทำบันทึกความตกลงต่างๆหรือจัดทำรายงานการประชุมต่างๆอย่างเป็นทางการในเชิงพหุภาคี หรือในระดับพหุภาคีนั้น มันยังมีความตกลงในเบื้องลึกทั้งในระดับทวิภาคีไปจนถึงระดับพหุภาคีของกลุ่มคนหรือประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมเจรจาต่อรองกันทุกๆครั้ง ทั้งที่ปรากฎในรายงานการประชุม ในรายงานของคนที่เข้าประชุมไปถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือที่ไม่มีรายงานแต่เป็นข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่างในสถานการณ์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ ณ.ขณะนั้น ซึ่งเอกสารและข้อมูลเหล่านี้เราทั้งหลายก็คงเดาได้ว่ามันเป็นความลับที่ ณ.เวลานั้นๆ หากเปิดเผยก็จะทำใ้ห้ผลประโยชน์ของชาติของทั้งเขาและเราเสียหาย ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่เป็๋นความลับแต่กว่าจะค้นพบหรือเปิดเผยได้ก็ล่วงเลยมานานมาก
สำหรับผม ผมเห็นภาพว่า ในยุค The Congress นั้น อังกฤษไม่สนใจอำนาจในแผ่นดินใหญ่ยุโรปและใช้โอกาสไปหาและขยายแหล่งทรัพยากรในตะวันออก ซึ่งอังกฤษต้องการมากเพราะเพิ่งจะเริ่มการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ในขณะที่อังกฤษเองก็ได้รับการกีดกันในหลายเรื่องจากฝรั่งเศสด้วย (เป็นคู่รักคู่แค้นกันมานาน) ในขณะที่ผู้มีอำนาจในแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็สาละวนอยู่กับการแข่งเขตอาณาและอิทธิพลเนื่องจากกลัวรัสเซีย ในขณะเดียวกันความตกลงต่างๆในทางลึก (และลับ) ก็คงมิใช่เฉพาะพื้นที่ในแผ่นดินใหญ่ยุโรป แต่รวมถึงพื้นที่อื่นๆที่มหาอำนาจของยุโรปริมทะเลสมัยนั้นมีความสามารถไปถึงได้ (Colonialism) เช่น อัฟริกา ซึ่งผมเห็นว่าไม่น่าจะละเว้นที่จะต้องมีการพูดถึงด้วย เยอรมันใหม่ (ปรัสเซียเดิม) ในขณะนั้นยังไม่มีตัวตนที่แท้จริง พอมีตัวตนที่แท้จริงก็ยังเข้าไปในอัฟริกาและมาแม้กระทั่งไทย (สมัย ร.5) เพื่อขอส่วนแบ่งในลัทธิเมืองขึ้นด้วย
ตังอย่างเช่น ทำไมบราซิลถึงใช้ภาษาปอร์ตุเกส ในขณะที่ในทวีปนั้นใช้ภาษาสเปนทั้งหมด ลองลากเส้นลองติจูดดูก็พอจะทราบได้ หรือทำไมฟิลิปปินส์จึงใช้ภาษาสเปนในขณะที่ถัดมาทางด้านแผ่นดินใหญ่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ภาษาอื่นๆของยุโรป ทำไมเยอรมันเข้ามาลงทุนในไทยด้านธนาคาร ตั้งแต่สมัย ร.5 (และทำให้ธนาคารเสียหาย

เพื่อจะได้เป็นข้ออ้างในการยึดไทย จน ร.6 ต้องออกมาแก้ไข

)
เมื่อประมวลดูแล้ว ผนวกกับภาพของพื้นที่เมื่อเสียดินแดน ฝรั่งเศสไม่ก้าวล่วงเกินเส้นแวงที่ 105 ในบริบทของภูมิศาสตร์โลก แต่ใช่เส้นแบ่งเขตตามสภาพจริงทางภูมิศาสตร์ ก็ดูจะมีเหตุผลอยู่พอสมควร และดูสอดคล้องกับเรื่องที่ผมเล่ากรณีความช่วยเหลือของเยอรมันที่จะไห้กับกรมทรัพยากรธรณ๊ว่าไม่เกินเส้นแวง 99 อ.
สำหรับผม เส้นแวงที่ 99 อ. คือ เส้นแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษกับชาติต่างๆในยุโรป (โดยเฉพาะฝรั่งเศส) ซึ่งผมได้ใช้ความเข้าใจบนพื้นฐานนี้ทำงานได้สำเร็จเป็นประโยชน์กับไทยไปในหลายๆเรื่อง ทำให้ผมเชื่อว่าปรัชญาและความคิดความตกลง (เชิงลับ) ตั้งแต่สมัย The Congress นั้นยังคงยึดถืออยู่และใช้จนปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจึงเป็นเสมือนหนึ่งเขตปลอดอิทธิพลของประเทศในยุโรป ซึ่งผมคงจะไม่ขยายต่อ (แต่หากสนใจก็ไม่แน่)
เรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่ผูกพันกับทรัพยากรใช่ใหมครับ
ครับผม กว่าจะเรียงเรื่องได้ก็เหนื่อย ถูกผิดประการใด มีความคิดเห็นสอดคล้องหรือไม่ประการใดก็ยอมรับครับ