เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 32400 ประวัติศาสตร์ กับ ทรัพยากร
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 31 ส.ค. 11, 21:30



สินค้าขาเข้า ปรอทนั้นน่าสนใจ ไม่ทราบว่าเอามาทำอะไรบ้าง แต่การใช้ปรอทที่สำคัญอย่างหนึ่งคือใช้จับทองในการทำเหมืองทอง ผมเดาว่าอย่างนั้นนะครับ ทองคำของอยุธยาจึงมีมากมีมากทีเดียว


ปรอทนั้นก็น่าสนใจครับ เอาแค่ในงานช่างฝีมือก็ใช้ปรอทเข้าผสมอยู่จำนวนมาก เช่น งานเปียกทอง คือ การนำเอาปรอทผสมกับทองคำ แล้วนำไปฉาบกับผิวที่ต้องการแล้วไฟลนไล่ปรอทออก ก็จะเหลือแต่เนื้อทอง ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมของไทย  และงานอีกประเภทที่ใช้ปรอทอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการหล่อพิมพ์พระ ซึ่งในพระเจดีย์อยุธยามีอยู่จำนวนมาก

ยกตัวอย่างพระเครื่องเนื้อชิน (ดีบุก + พลวง + ตะกั่ว) ที่พบได้ในกรุวัดราชบูรณะนั้นมีมากมายเหลือคณานับ ซึ่งการจะหล่อหลอมน้ำทองลงพิมพ์ต้องใช้ปรอทล่อ บนแม่พิมพ์เพื่อให้น้ำทองแล่นติดพิมพ์ดี

แค่นี้ปรอทก็ได้เป็นพระเอกแล้ว ใช้กันมากเสียด้วยครับ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 17:07


ส่วนกับประเทศไทย นับแต่ราชวงศ์หยวนยันชิง เขาก็ค้าๆขายๆกับเราตลอด
....... แต่ว่าถ้าจะในบริบทให้ช่วยรักษาชายแดน ส่วนตัวข้าพเจ้าไม่ค่อยจะเห็นด้วยเท่าไร เพราะว่าตอนนั้นแถวๆนี้ไม่ใคร่จะมีความสามารถไปทำอะไรได้ ส่วนจีนเองก็มีระบบจัดการดีเต็มทีด้วยระบบราชการแบ่งหัวเมืองปกครองคล้ายๆจังหวัดในประเทศไทยทุกวันนี้ ไม่ใช่เจ้ากินเมือง แหล่งทรัพยากรของเขาที่สำคัญจริงๆในคำว่าจีนตอนใต้นั้น จริงๆแล้วใต้ของจีนเองก็มีหลายใต้ คือใต้แม่น้ำแยงซีเกียง หรือใต้ไกลโพ้นถึงกวางตุ้ง และยูนหนาน ทั้งนี้แถบๆตอนกลางแถวเซฉวนของจีนกับตอนบนๆอย่างทิเบตก็มีแหล่งทรัพยากรพอควร ไม่น่าจะมีอะไรชวนวิตก
ข้าพเจ้าคิดว่าการทำการค้ากับเมืองแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะเป็นเพื่อรับซื้อสินค้าที่หาไม่ได้ในจีนและรับแลกเปลี่ยนสินค้าจากตะวันตกเช่นอินเดีย ที่จะมาเปลี่ยนผ่านแถวนั้นมากกว่า
อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวใครไม่เห็นด้วยสามารถขัดได้ ไม่ว่ากัน


ข้อสัณนิษฐานนั้นก็คงไม่ผิดหรอกครับ
ผมคงจะสื่อสารผิดไป ในความหมายของผมก็คือ การแสดงว่าตนเองนั้นเกี่ยวข้องกับทรัพยากรในพื้นที่ตอนใต้ของจีนมานานแล้ว คืออยู่เขตในเอื้อมแขนของตน

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ก.ย. 11, 17:44


ปรอทนั้นก็น่าสนใจครับ เอาแค่ในงานช่างฝีมือก็ใช้ปรอทเข้าผสมอยู่จำนวนมาก เช่น งานเปียกทอง คือ การนำเอาปรอทผสมกับทองคำ แล้วนำไปฉาบกับผิวที่ต้องการแล้วไฟลนไล่ปรอทออก ก็จะเหลือแต่เนื้อทอง ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมของไทย  และงานอีกประเภทที่ใช้ปรอทอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการหล่อพิมพ์พระ ซึ่งในพระเจดีย์อยุธยามีอยู่จำนวนมาก
ยกตัวอย่างพระเครื่องเนื้อชิน (ดีบุก + พลวง + ตะกั่ว) ที่พบได้ในกรุวัดราชบูรณะนั้นมีมากมายเหลือคณานับ ซึ่งการจะหล่อหลอมน้ำทองลงพิมพ์ต้องใช้ปรอทล่อ บนแม่พิมพ์เพื่อให้น้ำทองแล่นติดพิมพ์ดี
แค่นี้ปรอทก็ได้เป็นพระเอกแล้ว ใช้กันมากเสียด้วยครับ

ทำให้ผมนึกถึงคำว่า gilding เลยไปเปิดดูใน Wiki ให้ความรู้น่าสนใจมากครับ
สำหรับการปิดด้วยทองคำเปลวในสมัยโบราณ เราก็มีการทำกัน โดยใช้ยางรักเป็นกาว ?? แต่พอปิดทองพระที่ไปกราบไหว้ แล้วเราใช้กระเทียมทาเป็นกาว
 
ใสมัยก่อนนั้นมีการทำตามวิธีการที่อธิบายใน Wiki อื่นๆอีกบ้างอย่างไรหรือเปล่าครับ

ขอฝอยต่อนิดนึงครับ ที่เมือง Kanazawa ซึ่งอยู่ติดฝั่งทะเลญี่ปุ่น และอยู่ทิศเหนือของเมืองนาโกยา มีหัตถกรรมพื้นเมืองที่คล้ายกับของไทยเป็นจำนวนมาก (หากมีโอกาสจะพยายามหารูปแสดงให้ดู) อย่างหนึ่งก็คือการทำทองคำเปลว ยังมีการทำแบบโบราณในย่านท่องเที่ยวอยู่ เขาใช้กระดาษสาขนาดแผ่นประมาณ 20x20 ซม. วางเป็นชั้นๆสลับกับทองคำที่รีดบางๆแล้ว ชิ้นเล็กๆ ใส่ซองหนัง แล้วใช้ฆ้อนไม้ทุบ ขนาดของชิ้นทองคำเปลวก็เท่าๆกับของไทย (สมัยก่อนทองจะแพง) วิธีการเหมือนกันเลยใหมครับ ความแตกต่างอาจจะมีเพียงเฉพาะกระดาษที่ใช้ ของเขาใช้กระดาษสาแต่ของเราผมไม่ทราบว่าใช้กระดาษอะไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 19:30

ทองคำ เป็นแร่โลหะที่สามารถตีแผ่ได้บางที่สุดในโลกครับ โดยใช้ทองคำขนาด ๑ x ๑ ซม. ตีทองออกมาได้ทองเปลวกว้างมาก ย่านตีทองเขาใส่กระดาษแก้ววางซ้อนกันจนหนา และใส่ปลอกหนังวัว (เดิมใส่ปลอกหนังกวาง ... ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอยุธยาไปญี่ปุ่น เพื่อผลิคเสื้อเกราะหนังกวางอย่างซามูไร) ใส่ซองหนัง ๑ มัดเรียกกันว่า " ๑ กุบ " นำมาตีด้วยฆ้อนนับพัน ๆ ก็ได้ทองแบนบาง

อุตสาหกรรมการตีทองนั้นไม่ใช่แต่ในญี่ปุ่น ทางพม่า ก็มีครับ (ตามภาพ)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 19:35


ขอฝอยต่อนิดนึงครับ ที่เมือง Kanazawa ซึ่งอยู่ติดฝั่งทะเลญี่ปุ่น และอยู่ทิศเหนือของเมืองนาโกยา มีหัตถกรรมพื้นเมืองที่คล้ายกับของไทยเป็นจำนวนมาก (หากมีโอกาสจะพยายามหารูปแสดงให้ดู) อย่างหนึ่งก็คือการทำทองคำเปลว ยังมีการทำแบบโบราณในย่านท่องเที่ยวอยู่ เขาใช้กระดาษสาขนาดแผ่นประมาณ 20x20 ซม. วางเป็นชั้นๆสลับกับทองคำที่รีดบางๆแล้ว ชิ้นเล็กๆ ใส่ซองหนัง แล้วใช้ฆ้อนไม้ทุบ ขนาดของชิ้นทองคำเปลวก็เท่าๆกับของไทย (สมัยก่อนทองจะแพง) วิธีการเหมือนกันเลยใหมครับ ความแตกต่างอาจจะมีเพียงเฉพาะกระดาษที่ใช้ ของเขาใช้กระดาษสาแต่ของเราผมไม่ทราบว่าใช้กระดาษอะไร

Kanazawa lacquerware ครับ สวยงามดี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 03 ก.ย. 11, 20:03

ของไทยก็เรียกว่า เครื่องเขิน ลักษณะการทำคล้ายกัน และงานฝีมือนี้เราได้รับอิทธิพลจากพม่าครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ก.ย. 11, 11:39

"ปรอท" ในฝั่งยุโรป นำไปฉาบกับกระจก เพื่อผลิตกระจกเงา ซึ่งมีคุณภาพดีว่าการฉาบด้วย "ตะกั่ว"  จากการค้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. ๒๒๒๗
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 05 ก.ย. 11, 21:18

ตามที่คุณ Siamese ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำทองคำเปลว นั้น
ถูกแล้วครับ ทองคำเปลวมีการทำอยู่ทั่วไปในเอเซียตั้งแต่โบราณจนปัจจุบัน สามารถจัดเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีความยั่งยืนต่อเนื่องมายาวนาน
 
นำพาให้มีเรื่องน่าสนใจอีก คือ
  - พระบัวเข็ม ซึ่งก็คงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการใช้ทองคำเปลว แล้วพระพุทธรูปเก่าๆของไทยที่ไม่ใช่โลหะ มีการทำในลักษณะนี้มากน้อยเพียงใดครับ
  - งานเปียกทองนั้น เราใช้กับเฉพาะกับพระหรือสิ่งของขนาดเล็ก หรือใช้กับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ด้วย หรือสำหรับพระพุทธรูปขนาดใหญ่เราใช้วิธีปิดด้วยทองเปลว
  - ที่ว่าพม่าเผากรุงศรีฯแล้วเอาทองไปทำยอดเจดีย์ชเวดากองนั้น มีมูลความจริงมากน้อยเพียงใดครับ ทองในงานเปียกทองและปิดทองเปลวนั้นคงจะำไม่มีปริมาณมากมายถึงขนาดนั้น พม่าซึ่งเป็นชาวพุทธที่ค่อนข้างจะเคร่งก็คงจะไม่หลอมพระพุทธรูปเพื่อเอาทองไป (แล้วก็คงจะได้เพียงทองผสมสำริด) ทั้งนี้หากพม่าได้ทองไปในปริมาณขนาดนั้น ก็คงต้องมาจากทองก้อนและทองรูปพรรณต่างๆที่สะสมอยู่ในพระราชวังและจากประชาชน การจะได้ทองคำจากงานทางสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยทองคำล้วนบางอย่างก็คงจะไม่น่าจะมีมากนัก

ผมมีข้อสงสัยอยู่ประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นมีการค้าขายทองคำกันบ้างหรือไม่ครับ

           
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 05 ก.ย. 11, 21:59

เรียนคุณตั้ง

เรื่องทองคำเปลวที่ใช้กันบนแผ่นดินสยามนี้ ผมหยิบ "พระคง" ให้ชม พระคงเป็นพระเนื้อดินเผาขนาดเล็ก สกุลช่างล้านนา อายุการสร้างพระมีในตำนานช่วงพระนางจามเทวี ซึ่งกล่าวไว้ว่ามีการสร้างพระดังกล่าวขึ้น มีทั้งปิดทอง และไม่ปิดทอง การปิดทอง และอายุการสร้างมากว่า ๑๐๐๐ ปี ก่อนยุคสุโขทัย (ซึ่งมีการปิดทองแล้ว)

การปิดทองต้องทำการลงรักเพื่อให้วัสดุเหนียวแล้วค่อยปิดทอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 05 ก.ย. 11, 22:05

ส่วนงานเขมร ในช่วงเดียวกัน เน้นการหล่อโละหะสำริดกันอย่างมากมาย ดังนั้นทรัพยากรด้านโลหะเช่น ทองแดง ดีบุก  ต้องมีอยู่จำนวนมาก แต่ไม่พบงานลงรัก ปิดทอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 ก.ย. 11, 22:13

แต่ทางขอม ก็ใช้ทองคำเช่นกัน ดังจารึกพุทธศตวรรษ ๑๗ ปราสาทหินพนมรุ้ง

"ศฺศิรสา สฺวมูรฺตฺเตะ เทเศสุวรฺณปฺรติมำศราไขฺย สฺ สฺถาปยามาสสมุตฺกเจตาะ" แปลได้ว่า พระองค์ทรงเบิกบานพระทัยได้สร้างรูปทองคำโดยศราขยะ ด้วยความเคารพใกล้รูปของพระองค์*

"วฺฤษธฺวชปุเรวิษฺโณะ ปฺรติมาญฺจหิรณฺมยมฺ" แปลได้ว่า พระองค์*ได้สร้างรูปทองคำของพระวิษณุในเรือนของพระวฤษธวชะ

*พระองค์ คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 ก.ย. 11, 22:31

กรณีคุณ Siamese ใ้ข้อมูลเรื่องปรอทที่ใช้ในการฉาบทำกระจกเงา จากการค้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. 2227 นั้นก็น่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะในเชิงเทคโนโลยี

ผมเลยไปแสวงหาข้อมูลในอินทรเนตร ก็พบว่าที่เราเรียกว่ากระจกเงาฉาบปรอทนั้น คือการใช้โลหะผสมระหว่างปรอทกับดีบุกบ้าง ปรอทกับเงินบ้าง ฉาบผิวด้านหนึ่งของกระจก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มากนัก ดังนั้น หากมีอยู่ในบันทึกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ก็แสดงว่าไทยรับทราบเทคโนโลยีดังกล่าวพอสมควร ซึ่งแสดงออกถึงความทันสมัยและความสนใจกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยของไทยในยุคนั้น ไม่ทราบว่าในสมัยนั้นไทยสามารถฉาบได้ด้วยตนเองหรือไม่

ก็ขอเลยไปถึงเรื่องสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับที่ทำจากแก้ว ด้วย 2 ข้ออยากรู้  
    - เครื่องแก้ว (ของใช้ หรือของตกแต่ง) เก่าที่สุดของไทย ไม่ว่าจะเป็นของกำนัลหรือทำเองมีอยู่ที่ใหนบ้างครับ (ไม่นับรวมลูกปัดแก้วโบราณ)
    - วัดในไทยที่มีการประดับด้วยชิ้นแก้วเก่าที่สุดอยู่ในสมัยใดครับ  
ประเด็นของผมก็คือ แก้ว (กระจก) นั้นมั้นเป็นของเปราะบางและยังหนักอีกด้วย (1 ลบ.ม. หนักประมาณ 2.5 ตัน) หากมีความสำคัญหรือมีค่า (แก้วสีสำหรับประดับวัด) ก็น่าจะต้องมีบันทึกอยู่บ้างในรายการสินค้าที่ค้าขายของไทย เิริ่มแต่เมื่อใด หรือไทยสามารถผลิตแก้วได้เอง ตั้งแต่ยุคใด  
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 08:49

แก้ว - กระจก เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนมณี และอัญมณี ซึ่งเกิดจากการหลอมเหลวของแร่ซิลิกา ที่พบมากในทราย โดยคนโบราณ(สมัยก่อนประวัติศาสตร์) เรียนรู้ที่จะทำและนำแร่ธาตุอื่น ๆ มาผสมทำให้เกิดสีต่าง ๆ เกิดเป็น "ลูกปัด" และต่อยอดขึ้นไปเป็นเครื่องใช้ "ขวด" บรรจุของเหลว

ประเทศซีเรีย ดินแดนอาหรับ ถือเป็นต้นกำเนิดการเป่าแก้ว และกระจกเงาเป็นแห่งแรกของโลก ในคริสศตวรรษที่ ๑

ยุคกลางฝั่งยุโรป ต่างเล่นแร่แปรธาตุกันเพื่อสร้างทองคำจากตะกั่ว จึงเกิดทฤษฎีสูตรเคมีมากมาย ต่อยอดไปยังแก้ว - กระจก เกิดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สวยงาม

- กระจกสี (Stained Glass) ติดเชื่อมกันได้ต้องคู่กับตะกั่วเป็นกรอบหุ้มเดินลาย

- เลนส์เว้า เลนส์นูน นำกระจกมาเจียโดยลูกปืนใหญ่ หมุน ๆ ขึ้นมา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์มากมาย

- ขวดไวน์ ขวดใส่สารเคมี ลดการกัดกร่อน แตกง่าย เดิมใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบ พัฒนาสู่เครื่องแก้ว

โดยแหล่งการทำกระจกที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดต้อง "อิตาลี" ทำเครื่องแก้วได้มีคุณภาพสูงที่สุด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 08:57

ในฝั่งสุวรรณภูมิก็มีคำว่า "แก้ว" เช่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่ Glass หากเป็นแร่ที่มีความใสนั่นคือ "Quartz" หรือ แร่ควอซท์ ซึ่งเกิดจากแร่ซิลิลาที่ตกผลึก ซึ่งก็คือ ผลึกซิลิกานั่นเอง โดยไม่ต้องเอาทรายไปหลอม ให้ธรรมชาติเป็นผู้หลอมให้พบได้มากทางพม่า - เชียงราย - ลำปาง

โดยนำผลึกเหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานในรับใช้ทางศาสนา คือ นำมาแกะเป็นพระพุทธรูป นำมาแกะเป็นเครื่องถ้วย นำมาประดับร่างกาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ก.ย. 11, 09:04

ศิลปะวัตถุ ๒ ชิ้นนี้เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งมีการนำแร่ควอซท์ - แก้ว นำมาใช้ประโยชน์ ภาพซ้ายพบที่กรุวัดราชบูรณะ ส่วนภาพขวาพบที่เจดีย์สุริโยทัย ที่วัดสบสวรรค์


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง