เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6807 สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า กับ หม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา เทวกุล
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 07 ต.ค. 11, 12:37





       อ่านมาจาก   ๑๐๐ ปี ท่านอาจารย์วงศ์ทิพย์สุดา   เทวกุล

๑๒ พฤศจิกายน  ๒๕๓๗   หน้า ๒๖ - ๒๗



       ข้อความบางตอนมาจากข้อเขียนของ ม.จ. อัปภัศราภา  เทวกุล( ชายา ม.จ. อนันตนรไชย   เทวกุล

โอรสองค์หนึ่งของสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์)  ทรงเขียนในหนังสือพิมพ์ในวันพระราชทานเพลิงศพ

ท่านอาจารย์



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 12:49



หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพย์สุดา   เทวกุล   เป็นพระธิดาองค์ที่ ๒๐   ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยา  เทวะวงศ์วโรปการ   กับหม่อมพุก   

ประสูติเมื่อ  ปีมะเมีย  ปีที่ ๑๒ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๓๗   

ณ วังสะพานถ่าน   ถนนเจริญกรุง   (ตรงข้ามโรงภาพยนต์เฉลิมกรุง) ​ซึ่งเป็นวังเดิมของพระบิดา 


สิ้นชีพะตักษัยเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๒  ด้วยพระหทัยวาย  ณ ตำหนัก  ถนนนครไชยศรี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ต.ค. 11, 15:53



วัยเยาว์  -   วันเรียน

       เมื่อทรงพระเยาว์   ได้เริ่มทรงศึกษาอักขรวิธีกับครูบุญเกิด(มารดาหลวงสารานุประพันธ์)

ผู้ต่อมาได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่บ้าน      ต่อมาในปี ๒๔๔๖   ได้ทรงเรียนหนังสือกับหม่อมเจ้าหญิงปุก   ในสำนัก

สมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๕  ในพระบรมมหาราชวัง


       หม่อมเจ้าหญิงสิบพันพารเสนอ  โสณกุณ ทรงเล่าไว้ในหนังสือพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพย์สุดา

ไว้ด้งนี้        ได้ร่วมเรียนหนังสือชั้นเดียวกับ "พี่อ้น" (หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพย์สุดา)เพียงปีเดียว  ในปี ๒๔๕๓ ที่โรงเรียนราชินี   

"ทรงเป็นผู้ที่หมั่นเรียนมาก       ทรงเรียนได้ผลดีเสมอ      และประพฤติองค์ดีที่สุด        ทั้งมีมารยาทเรียบร้อย น่ารัก น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง

ครั้งนั้นเราเรียนจรรยากัน   โดยใช้หนังสือแพทย์จรรยาของเจ้าพระยาพระเสด็จ ฯ เป็นหลัก       นักเรียนไม่มีหนังสือ         

ท่านอาจารย์เลือกมาสอนเป็นข้อ ๆ ไป    พวกเราก็จดเอาไว้    สองสามอาทิตย์ท่านก็ถามเสียที   พี่อ้นทรงตอบได้ดีเสมอ


       กลับจากโรงเรียนแล้ว  เวลาเย็นไปเล่นน้ำกันที่ท่าสวนสี่ฤดู (ที่ประทับของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ในพระราชวังดุสิต)

บางทีท่านอาจารย์เสด็จมาสรงน้ำด้วยพร้อม ๆ กัน        ท่านเคยปรารภเรื่องจรรยานี้บ่อย ๆ  และตรัสทายถามทั่วไปในบรรด่พวกเราที่เล่นน้ำกันอยู่

พี่อ้นทรงตอบได้ดีกว่าใคร ๆ โดยมาก         เพราะท่านประพฤติตามหลักที่ได้เรียนไว้จริงๆ ด้วย"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 10:08



       หลังจากสำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมพิเศษ (มัธยม ๖) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓    ได้ทรงเป็นครูสอน

ที่โรงเรียนราชินี  สมัยท่านอาจารย์หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิรภา  และหม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภา  เทวกุล

ทรงเป็นครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่     ท่านอาจารย์วงศ์ทิพย์สุดา  เทวกุล  ทรงปฎิบัติหน้าที่ครูอย่างดียิ่ง  จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๐

ก็ทรงลาออก   เพื่ออยู่ปฎิบัติถวายฉลองพระเดชพระคุณพระบิดา ณ วังที่ประทับ


      ท่านหญิง  ทรงเป็นลูกที่มีความเคารพรักและกตัญญูกตเวทีต่อพระบิดา  และหม่อมมารดาเป็นอย่างยิ่ง   

ได้ทรงถวายการปกิบัติพระบิดาอย่างอ่อนโยนใกล้ชิด  จนกระทั่งพระบิดาสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖

เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์แล้ว    ท่านก็ได้ทรงเป็นธุระดูแลหม่อมมารดา  โดยท่านประทับอยู่ด้วยตลอดมาที่วังเทวะเวสม์

และต่อมาได้ย้ายไปพำนัก ณ ตำหนักถนนนคีไชยศรีจนกระทั่งหม่อมมารดาถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุ ๙๓ ปีก่อนที่ท่าน

จะสิ้นชีพิตักษัยเพียง ๓ เดือน   

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 10:31



       สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ฯ กับท่านอาจารย์
       (หน้า ๒๖ -  ๒๗)


       "ท่านอาจารย์มีความจงรักภักดีและกตัญญููต่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า   ซึ่งทรงพระกรุณา

ต่อท่านในฐานะเป็นพระธิดาของสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการด้วยเป็นพิเศษ    เมื่อสมเด็จพระพันวัสสา

โปรดให้หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล จัดตั้งสำนักงานผลประโยชน์ของวังปทุมวัน (ปัจจุบันเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์)

ท่านอาจารย์ก็ทรงเป็นผู้หนึ่งที่ทรงได้รับเลือกให้เข้ารับหน้าที่ในฐานะผู้รักษาเงินสด   ซึ่งท่านก็ได้รับใช้สนองพระกรุณาอย่าง

ซื่อสัตย์สุจริต       ในโอกาสที่ทรงรับใช้พระพันวัสสานี้   ท่านอาจารย์ทรงมีโอกาสถวายการรับใช้พระธิดาของสมเด็จ ฯ

คือสมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้า  เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร      ซึ่งต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนราชินีบน   

ที่ท่านอาจารย์ได้มาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ตั้งแต่เริ่มแรกตั้ง  และเป็นผู้จัดการและอาจารย์ใหญ่ในโอกาสต่อมาจนถึงชีพิตักษัย


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 15:45



       เรื่องการถวายการรับใช้สมเด็จ ฯ  ทั้งสองพระองค์นี้       ปรากฎรายละเอียดบางตอนจากข้อความที่

ม.จ. อัปภัศราภา  เทวกุล (ชายาหม่อมเจ้าอนันตนรไชย  เทวกุล  โอรสองค์หนึ่งของสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์ ฯ)

ทรงเขียนในหนังสือพิมพ์ในวันพระราชทานเพลิงศพท่านอาจารย์ ดังต่อไปนี้


      "เนื่องด้วยในงานพระราชทานเพลิงศพ  หม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา  เทวกุลนี้   หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์   เทวกุล  มีพระประสงค์ให้ช่วย

เขียนทำนองประสัติ  ตอนผู้สิ้นชีพได้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพันวษาอัยยิกาเจ้า       เพราะท่านทรงทราบว่าข้าพเจ้า

เคยได้เป็นข้าของสมเด็จ ฯ มาแต่เยาว์วัย   คงจะทราบเรื่องราวบ้าง     ข้าพเจ้าเต็มใจอย่างยิ่งที่จะทำถวายเพื่อเป็นการสนองพระคุณที่

หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพย์สุดา (พี่อ้น) ได้ประทานแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่เด็กตลอดมาจนสิ้นชีพจากกันไป


       เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๔   สมเด็จส่งข้าพเจ้าไปเข้าโรงเรียนสุนันทาลัย         ข้าพเจ้าจึงได้เฝ้าพี่อ้นเป็นครั้งแรกในฐานะที่พี่อ้นทรงเป็นครุอยู่คนหนึ่ง

แต่ข้าพเจ้าไม่เคยได้เป็นศิษย์ของท่านเลย          ถึงกระนั้นเมื่อได้เฝ้าทีไร   ท่านก็แสดงพระกิริยาแผ่เมตตาประทานเสมอ
       
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 16:09




       เมื่อเดือนเมษายน  พ.ศ. ๒๔๖๔   สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์  กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทร 

พระราชธิดาของสมเด็จประชวร    สมเด็จฯจึงทรงพาไปเปลี่ยนอากาศที่เกาะหลักนานถึง ๕ เดิอน

ในระยะที่ประทับอยู่ที่เกาะหลักนั้น       สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ฯ เสด็จไปเฝ้าเยี่ยม  และประทับแรม

อยู่  ๒ คืน      พี่อ้วนจึงได้ตามเสด็จ เสด็จพ่อของท่านไปเพื่อรับใช้ด้วย        สมเด็จฯ ได้ทอดพระเนตรการปฎิบัติ

ของพี่อ้นที่ทำถวายสมเด็จพ่อ   ก็ทรงชมตั้งแต่นั้นมา       



        ความจริงพี่อ้นก็เป็นหลานของสมเด็จฯ   แต่ไม่เคยเข้ามาอยู่ใกล้ชิด          จึงเป็นครั้งแรกที่สมเด็จฯ 

จะได้ทรงพิจารณาความดีของพี่อ้น          พอสมเด็จฯ เสด็จกลับเกาะหลักแล้วก็เลยเป็นการประจำ   

ถ้าไม่มีพระธุระอะไร   มักจะเสด็จไปประทับเสวยพระกระยาหารเย็นกับสมเด็จกรมพระยาฯ  ที่วังเทวะเวสม์ทุกวันเสาร์     

ก็ยิ่งทรงใกล้ชิดกับพี่อ้นมากขึ้น     ถึงกับรับสั่งชมว่า"รูปร่างอ้วนมาก  แต่ก้นไม่หนักเลย   ทำอะไรคล่องแคล่วไม่อืดอาด"   

เพราะพี่อ้นมีลักษณะอ้วนกลมไปทั้งตัว                    รับสั่งล้อเล่นเสมอ      พี่อ้นมีพระนิสัยอ่อนโยน  เยือกเย็น   

ไม่โกรธง่ายอยู่แล้ว    จึงทำให้ทรงคุ้นเตย  และโปรดปรานมากขึ้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ต.ค. 11, 20:26




       ถึง พ.ศ. ๒๔๖๖   เสด็จพ่อของพี่อ้นสิ้นพระชนม์     สมเด็จฯทรงสงสารหลาน ๆ ที่กำพร้าเสด็จพ่อ

พอเสร็จงานพระเมรุแล้ว     จึงทรงชวนให้มาวังสระปทุมทุกวันเสาร์เหมือนกับเมื่อครั้งที่เสด็จพ่อทรงทำอยู่

เมื่อมีพระชนม์           พอถึงหน้าร้อน   สมเด็จ ฯ โปรดที่จะเสด็จเปลี่ยนอากาศ    จึงได้เสด็จไปนอกประเทศ

บ้างในประเทศบ้าง  แล้วแต่จะสดวกทางไหน    ทรงชวนให้พี่อ้นตามเสด็จทุกครั้ง    มีหน้าที่ถือเงินสำหรับ

ทรงใช้จ่าย


       เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐   สมเด็จฯเสด็จประพาสประเทศเขมร    ขากลับด้วยเรือภาณุรังษี         จวนจะถึงพระนครอยู่แล้ว

ก็ประทับคุยกับเจ้าพี่องค์เล็ก (หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา   เทวกุล) ซึ่งตามเสด็จไปด้วย  และพี่อ้น       พี่อ้นเรียกเจ้าพี่องค์เล็กว่า

"เจ้าพี่"   แล้วหันมากราบทูลสมเด็จฯ   ซึ่งพี่อ้นเคยเรียกว่า "สมเด็จอา"         


แต่วันนี้พี่อ้นเผลอกราบทูลว่า "เจ้าพี่"  แทนคำว่า "สมเด็จอา"             


สมเด็จฯ จึงรับสั่งว่า       "ดีเหมือนกัน  เกิดมามีน้องเมื่อแก่"       


เผอิญข้าพเจ้าถือกล้องถ่ายรูปอยู่       จึงรับสั่งให้ถ่ายรูป   และรับสั่งว่า   "พี่กับน้องมานั่งคู่กัน"


ตามธรรมดาสมเด็จฯ   ไม่โปรดจะทรงฉายพระรูปเลย         ซึ่งข้าพเจ้าเองก็เคยถูกกริ้วมาหลายครั้งแล้ว

จึงเห็นว่าพี่อ้นได้รับพระราชทานเกียรติยศสูงแล้ว         

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ต.ค. 11, 12:03



       เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑   สมเด็จฯไปทรงเยี่ยมสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประเทศชวา

อินโดนีเซีย        พี่อ้นก็ได้ตามเสด็จเช่นเคย   เผอิญสมเด็จฯเกิดไปประชวรไข้หวัดอย่างหนัก    มีคุณหลวง

ประกิต  เวชศักดิ์  แพทย์ประจำพระองค์ตามเสด็จไปด้วย   แต่ไม่มีนางพยาบาล    พี่อ้นก็ได้แสดงการ

ปฎิบัติถวายอย่างดีมาก    เพราะท่านเคยทำถวายเสด็จพ่อของท่านมาแล้ว  ด้วยการป้อนพระอาหาร   ซึ่งนับว่า

พี่อ้นได้สนองพระคุณอย่างเต็มที่   แม้แต่เวลาที่สมเด็จฯทรงมีพิษไข้ขึ้นสูง   ทอดพระเนตรเห็นหมอนที่วางอยู่นั้น

เป็นเด็ก   รับสั่งให้อุ้มเด็กไปส่งพ่อแม่เขาเสีย             พี่อ้นก็คลานเข้าไปอุ้มหมอนใบนั้นเหมือนกับอุ้มเด็ก

โดยมิได้แสดงสีพักตร์ของท่านให้เปลี่ยนแปลกไป  ให้เป็นที่ขัดพระทัยสมเด็จฯแต่อย่างใด       เมื่อพระอาการ

ทุเลาแล้วก็ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ          ตั้งแต่นั้นมา   สมเด็จจะประชวรด้วยพระโรคอะไร   และเมื่อไรก็ตาม

จนตลอดถึงสวรรคต   พี่อ้นก็จะต้องไปอยู่ยาม  ค้างอยู่ที่วังสระปทุมทุกครั้ง"



       ได้คัดลอกเรื่องราวตามหัวข้อกระทู้สมบูรณ์แล้ว           ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกเช่นเรื่องราวของคุณหญิงยสวดี  อัมพรไพศาล(ต่อมาเลื่อนเป็นท่านผู้หญิง)

และความมัสยัสถ์ของท่านหญิงในการจัดซื้อของใช้ในโรงเรียนที่นักเรียนเก่าของโรงเรียนเขียนเล่าไว้     นักอ่านหนังสือเก่าจะนำมาเล่าต่อในกระทู้อื่นต่อไป

เพราะได้ตามอ่านเกียรติประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  พระบิดาของท่านหญิง  มานานช้าแล้ว

การได้อ่านเกร็ดประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิงนั้น   เป็นสมบัติทิพย์

       คุณพระเฉียบเรียงเรียบ  สหายที่ปรึกษาของดิฉันได้ซักถามเมื่อแรกตั้งกระทู้ว่า   จะเขียนเรื่องอะไร  เพื่ออะไร   สมควรหรือไม่

เมื่อได้เล่าเรื่องย่อให้ท่านฟังแล้ว     ท่านก็พอใจ  ไม่พูดต่อ

      สหายนักหาหนังสือเก่าอีกท่านหนึ่งก็อยากอ่านเรื่องราวของท่านผู้หญิงยสวดี  อัมพรไพศาลที่เขียนเกี่ยวกับหม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา  เทวกุล

หนังสือเล่มนี้พึ่งได้มาจากงานหนังสือเมื่อไม่กี่วันมานี่เองค่ะ



   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง