เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 41222 หนังสือพิมพ์เก่า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 15:22

หนังสือพิมพ์นี้  เก่ามาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 15:24

เมื่อก่อน มีหนังสือพิมพ์สำหรับนักเรียนโดยเฉพาะด้วยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 15:28

หนังสือพิมพ์อายุสั้น  ออกในช่วงงานวัดเบญจมบพิตรปี ร,ศ, ๑๒๐


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 16:12

ส่วนอันนี้ ..ข่าวลวงโลก... ยิงฟันยิ้ม


เรื่องนี้มีรายละเอียดอยูที่กระทู้สัตว์ประหลาด

แล้วสัตว์ประหลาด ๒ ตัวนี้ล่ะ

พบในเมืองไทยนี้เอง

คุณเทาชมพูว่าเป็นตัวอะไร

ใช่มนุษย์ต่างดาวหรือเปล่า


 ยิ้มเท่ห์


นารีผลหรืออะไรสักอย่างทำนองนั้น   อ้างว่าเก็บมาได้จากต้นในป่าหิมพานต์     ก็หลอกกันน่ะแหละ   ดูเหมือนจะมีคนแห่กันไปขอเลขเด็ดกันตามธรรมเนียม

มีคนเชื่อว่าเป็นอย่างที่คุณเทาชมพูว่า เคยออกรายการโทรทัศน์ด้วย มีนายแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักการศาสนา มามะรุมมะตุ้มวิเคราะห์วิจารณ์กันมากมาย

แต่ก็มีบางคนเชื่อว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวเหมือนกัน

ไว้พรุ่งนี้จะหาคลิปรายการมาให้ดู

สัตว์ประหลาด ๒ ตัว (หรือจะเรียกว่า สิ่งประหลาด ๒ ชิ้น ดี) นี้ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่วัดพระปรางค์มุนี จังหวัดสิงห์บุรี

ออกอากาศรายการ "เจาะลึกเรื่องจริง" ทางช่อง ๓  สองสัปดาห์ติดต่่อกัน

สัปดาห์แรก วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 19:12

ฉากสุดท้าย ... มิตร ชัยบัญชา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ส.ค. 11, 19:17

งานพระราชทานเพลิงศพ มิตร ชัยบัญชา  ณ  วัดเทพศิรินทราวาส ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=aooa&date=17-07-2010&group=70&gblog=12



 เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 15:25

โฆษณาเก่า ในหนังสือพิมพ์
ชิ้นล่างเป็นโฆษณาของรัฐวิสาหกิจ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 15:29

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ใครรู้จักบ้างคะ
แพทย์เชลยศักดิ์ =  แพทย์เอกชน?


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 15:37

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ใครรู้จักบ้างคะ
แพทย์เชลยศักดิ์ =  แพทย์เอกชน?

    หมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์ มีความแตกต่างกันดังนี้           

            หมอหลวง    คือหมอที่เชี่ยวชาญ เป็นพิเศษ รับราชการสังกัด อยู่ในกรม ราชแพทย์  จึงเป็นข้าราชการที่มีศักดินา  ได้รับพระราชทาน เบี้ยหวัด  เงินปี ทำหน้าที่รักษา พระมหากษัตริย์  บุคคลต่างๆ ในราชสำนัก  และรักษาตาม พระบรม ราชโองการ  ของกษัตริย์  การศึกษา ของหมอหลวง  จะเป็นระบบและน่าเชื่อถือ  ให้คุ้นเคย กับการรักษาพยาบาล  แล้วจะได้เลื่อน  ขึ้นเป็นผู้ช่วยแพทย์ ติดตามหมอหลวง ไปทำการรักษา จนมีความชำนาญในการตรวจ  ผสมยา เมื่อโตขึ้น ก็มีความรู้ พร้อมที่เข้า  รับราชการได้  เมื่อมีตำแหน่งว่าง ในกรมหมอหลวง  ก็จะ ได้รับการบรรจุเข้าทำงานทันที  หมอหลวง จะได้รับสิทธิพิเศษ เหนือ  กว่าหมอเชลยศักดิ์ หลายอย่าง เช่น  สามารถเก็บสมุนไพรตาม บ้านราษฎร หรือในที่ใดๆ ก็ได้  โดยมี กระบองแดง  เป็น สัญลักษณ์แสดง  ถ้าสมุนไพร ชนิดใดขาดแคลน  และหมอหลวงไม่สามารถ หาได้ในบริเวณ เมืองหลวง  ก็จะมี สารตราในนาม  เจ้าพระยาจักรี ออกไปยัง หัวเมือง ให้เก็บสมุนไพร ต่างๆ มายัง โรงพระโอสถ  ในด้านรายได้ของหมอหลวง  มักจะได้รับเงินเป็น  จำนวนมาก จากการรักษา  เจ้านาย หรือข้าราชการตาม พระบรมราชโองการ  ถึงแม้ว่า โดยธรรมเนียม ประเพณีแล้ว  หมอ หลวง  ที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานไปรักษานั้น  จะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล  แต่คนไข้ ก็มักจะ จ่ายให้หมอ เป็นการแสดงความขอบคุณ เสมอ

            หมอเชลยศักดิ์ ( หมอราษฎร์)     คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ  ประกอบอาชีพ อิสระ ฝึกฝนเล่าเรียน จาก บรรพบุรุษ ที่เป็นหมอ อยู่ก่อน  หรือศึกษาจากตำราแล้วทดลองฝึก หัดจนมีความชำนาญ  เช่น หมอพื้นเมือง ทั่วไป  ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นหมอ  ที่มีชื่อเสียง และมีลุกศิษย์ มาก ทั้งฆราวาส และพระสงฆ์  โดยทั่วไป หมอเชลยศักดิ์ มักจะเป็นผู้ชาย  ( ยกเว้นหมอตำแย  ซึ่งมัก  จะเป็นหญิง สูงอายุ )  ทำหน้าที่ทั้งหมอและ เภสัชกร  กล่าวคือ  เมื่อตรวจไข้และ วินิจฉัยโรคแล้ว  หมอคนเดียวกันนี้ จะทำการ ปรุงงยารักษาด้วย  โดยหมอจะมีล่วมยา 1 ใบ  ภายใน บรรจุซองยา สมุนไพร ชนิดต่างๆ  เมื่อตกลงจะรักษาคนไข้รายใด ก็ให้เจ้า  ของไข้ตั้งขวัญข้าว ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าวสาร  กล้วย  หมากพลู  และเงินติดเทียน หกสลึง   สิ่งเหล่านี้เรียกว่า  ค่าขวัญข้าว  ใช้  สำหรับเป็นค่าบูชาครู แพทย์ ( ชีวกกุมารภัจจ์)  หมออาจจะให้เจ้าของไข้ เก็บ เครื่องยาสมุนไพร ส่วนเครื่องเทศ หมอเรียกร้องเงิน  ซื้อบ้าง  ถ้าไข้าไม่สำคัญ คนไข้หายเร็ว  เจ้าของไข้ก็ส่ง ขวัญข้าว ทั้งหมด ให้หมอ  และให้ค่ายา อีก 3 บาท  แต่ถ้าหมอรักษาไม่  หาย  หมอจะไม่ได้อะไรเลย  ไม่ว่าจะลงทุนไปแล้วเท่าไรก็ตาม  ในรายที่คนไข้มีฐานะดี  ผู้เป็นเจ้าของไข้เกรงว่า  หมอจะทำการ  ตรวจและรักษาไม่เต็มที่  ก็จะตั้งรางวัลไว้สูง  หากหมอคนใด รักษาหาย ได้ ก็จะ ได้รับรางวัล ที่ตั้งไว้  นอกจากนี้  ในกรณี ที่หมอ  มีชื่อเสียง  บางครั้ง อาจมีการเรียกเก็บเงินก่อน  ทำการรักษาพยาบาล  เรียกว่า  ค่าเปิดล่วมยา  หมอเชลยศักดิ์  มีรายได้จากค่า  ตอบแทนในการรรักษาพยาบาลเท่านั้น  ซึ่งแตกต่างกันไป แล้วแต่ละท้องถิ่น และไม่แน่เสมอไป ว่า จะได้เงิน  ในกฎหมายสมัย  ก่อน บัญญัติให้หมอ สามารถ เรียกสิ่งอื่น เป็นค่ารักษาได้นอกจากเงิน  ในกรณ๊  ที่ คนไข้ไม่มีเงิน  ดังนั้น  รายได้ของหมอเชลย  ศักดิ์  จึงไม่แน่นอน  มักจะประกอบอาชีพอื่นไปด้วย

            หมอเชลยศักดิ์ นี้มีโอกาส เลื่อนเป็นหมอหลวง ได้ ในกรณีที่แสดงความสามารถ เป็นที่พอ พระราชหฤทัย พระมหากษัตริย์  ก็จะโปรดๆ ให้เข้ารับราชการ ในกรมหมอหลวง หรือ มีโอกาศ เข้ารับราชการ เป็นหมอประจำเมือง  ในกรมหมอหลวง  ของเมือง ใหญ่ๆ เช่นเมือง  นครศรีธรรมราช  เป็นต้น  หมอเชลยศักดิ์ มีทั้งที่เป็ฆราวาส และพระสงฆ์

            ส่วนแพทย์ ที่ไม่ได้รับการแยกประเภท อย่างเป็นทางการ  แต่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในชนบท อีก 2 ประเภท คือ หมอ กลางบ้าน และหมอพระ  โดย หมอกลางบ้าน  เป็นหมอที่มีความรู้  และทางยา พอใช้ได้  สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บพื้นๆ ได้  อย่างดี  ปัจจุบัน อาจเทียบได้กับหมอประจำตำบล  ส่วนหมอพระ หรือหมอวัด  ซึ่งสังคมปัจจะบัน มองข้ามบทบาท  และความ  สำตัญ  หมอเป็นพระ ที่มีความรู้ทางแพทย์แผนไทยย พอสมควร  มีความเมตตา  และไม่ประสงค์ สินจ้าง ยาที่ใช้มาก  เช่น  ยาเขียว  ยาลม  ยาธาตุ  ๆ  เป็นต้น

ที่มา http://www.ttmp.ru.ac.th/km/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.htm
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 15:42

เรายังมีคำว่า "ครูเชลยศักดิ์"  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 15:52

และ "นักสืบเชลยศักดิ์"   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 ก.ย. 11, 16:01

และ "นักสืบเชลยศักดิ์"   ยิงฟันยิ้ม
แปลมาจากคำว่า  private detective ค่ะ

เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงรวบรวมสามก๊ก เพื่อจะมาพิมพ์เป็นเล่มให้ครบบริบูรณ์   ทรงบันทึกไว้ว่า ได้มาจากฉบับเชลยศักดิ์ ด้วย
หมายถึงเป็นฉบับที่เจ้าของผู้เป็นเอกชนครอบครองอยู่

ของแถม
รูปข้างล่างนี้คือ พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อคโฮฺล์มส์  นักสืบเชลยศักดิ์  ที่เรียกตัวเองว่า consulting  detective  ตั้งอยู่ที่ถนนเบเกอร์   จำลองจากที่เขียนไว้ในหนังสือนิยายนักสืบของเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 19:01

ไทยรัฐ ฉบับหลังวันที่ 14 ตุลาคม 2516


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 19:04

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งโค้ก ยังมีชื่อรู้จักกันแพร่หลายว่า  โคคา-โคล่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 12:19

ย้อนกลับไปค.ศ. 1865  หนังสือพิมพ์ Bangkok Recorder


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง