เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5198 นายอากร
เสาวณิต
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 07 เม.ย. 01, 18:31

อยากทราบว่าตำแหน่ง “นายอากร”(ในสมัยรัชการที่ 5) คืออะไรหรือคะ
เป็นข้าราชการหรือเปล่า? สังกัดกรม-กระทรวงไหน
และมีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 เม.ย. 01, 07:24

เดาว่าเป็นคนเก็บภาษีครับ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 เม.ย. 01, 08:56

ส่วนใหญ่เป็นสามัญชนที่มีฐานะ เสนอประมูลกับทางราชการรับเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรต่าง ๆ เช่น นายอากรรังนก   สุรา  ฝิ่น   แล้วแต่ทางราชการจะเปิดประมูลประเภทใด  

ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทางราชการจะได้เงินล่วงหน้า และไม่เป็นภาระในการจัดเก็บภาษีอากร  แต่ก็มีข้อเสียในกรณีที่นายอากรจัดเก็บอย่างไม่เป็นธรรม จนมีกรณีพิพาทและฟ้องร้องหลายคดีความ

นายอากรเหล่านี้ หลายคนได้รับบรรดาศักดิ์และเข้าสู่ระบบราชการต่อมา

ยังไม่มีเวลาตรวจสอบให้ว่าสมัยอยุธยามีแล้วหรือไม่  ใครทราบช่วยตอบก่อน  แต่ต้นรัตนโกสินทร์มีแล้ว  อาจจะสมัยพระเจ้าตากสิน ถ้าทำไม่ผิดต้นตระกูล ณ สงขลา ได้เป็นนายอากรรังนก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 เม.ย. 01, 19:52

อยุธยาตอนปลายมีแล้วค่ะ   ตามประวัติพระเจ้าตากสิน บิดาที่ว่าเป็นจีนไหฮอง  เป็นนายอาการบ่อนเบี้ย
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 เม.ย. 01, 16:11

Can we say that this system is the evidence that we have already been using the idea of privatization - since Ayudhya period?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 เม.ย. 01, 17:32

จะเรียกว่า privatization ได้ไหมคะ  ในเมื่อนายอากรตอนปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์เป็นข้าราชการ
อย่างพระบิดาของพระเจ้าตากสิน ก็ได้เป็นขุนพัฒน์

สมัยนั้นไม่มีเงินเดือน   หลวงมักช่วยให้ขุนนางหารายได้กันเองนอกเหนือจากเบี้ยหวัดซึ่งก็ติดหนี้กันบ่อยๆ  เงินที่นายอากรได้ นอกเหนือจากต้องส่งหลวง ก็ถือเป็นรายได้จากการทำงาน

ยุคนี้ มหาวิทยาลัยของรัฐที่ถูกผลักดันให้ออกนอกระบบ คงเข้าข่าย privatizationอีกแบบหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 เม.ย. 01, 06:31

ไม่ใช่รู้เรื่องนักกับ privatization  แต่หากเอาความรู้เรื่องนี้ที่มีกับสมัยนี้ไปเทียบ  เข้าใจว่า privatization มักจะเริ่มจากหน่วยงานราชการ แล้วปรับเปลี่ยนมาเป็นโครงการเลี้ยงตัวเอง  เช่น โครงการเก็บเงินแพง ๆ ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ไม่ทราบเข้าใจถูกหรือเปล่า  

สำหรับการแต่งตั้งเจ้าภาษีนายอากร  มักจะเริ่มที่เอกชนก่อน  แล้วก็เปิดให้ประมูลสืบทอดต่อ ๆ กัน  ตัวเจ้าภาษี นายอากร เมื่อได้รับบรรดาศักดิ์ ก็จะมีโอกาสเลื่อนฐานะและตำแหน่งเข้าสู่ระบบราชการ  บางคนได้เป็นเจ้าเมืองก็มี

บางกรณี ตัวเอกชนที่ต้องการรับเป็นเจ้าภาษีนายอากรใหม่ ๆ  ก็เสนอทางราชการขอจัดเก็บ บางอย่างก็แปลก ๆ จำได้ว่าเคยอ่านเจอเรื่องอย่างนี้  แต่จำไม่ได้ว่าเป็นอะไร  ภาษีผักบุ้งปลายอยุธยาหรือปล่าว ไม่แน่ใจค่ะ

ระบบเจ้าภาษีนายอากรนี้  นักประวัติศาสตร์บอกว่ามาจากระบบของจีน  ส่วนใหญ่ที่รับเป็นเจ้าภาษีนายอากรก็มักจะเป็นคนจีน  บรรพบุรุษท่านหนึ่งก็เคยเป็นนายอากรเหมืองดีบุกอยู่ทางหลังสวน  ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ในที่สุดระบบนี้คงทำให้รัฐจัดเก็บรายได้ไม่เต็มที่  จึงยกเลิดไปสมัยรัชกาลที่ ๕ นั่นเอง และระบบเก็บภาษีแบบปัจจุบัน หอรัษฎากรฯ ก็มาแทนที่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง