เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20885 ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล : พระนิพนธ์บางเรื่อง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 21:11

มีเหมือนกันว่า ในกระทู้เก่าบางเรื่อง  เมื่อจะต้องเอ่ยถึงบุคคลบางท่าน  ทั้งท่าน Navarat และดิฉันต่างก็ขยัน จุด จุด จุด กันเสียจนคนอ่านบางท่านอาจจะหน้ามืดตาลาย     
เราไม่อาจจะระบุชื่อออกมาได้ ทั้งด้วยมารยาทและความควรมิควร     เพราะไม่ประสงค์จะก่อความรู้สึกบาดหมางให้กับผู้เกี่ยวข้อง และลูกหลานซึ่งยังมีชีวิตอยู่
ถ้าหากว่าคนอ่านขยันก็คงจะไปค้นคว้าหาได้เอง  เพราะหนังสือบางเล่มก็กล่าวเอาไว้อย่างเปิดเผย   บางเล่มก็แง้มๆ พอให้เดาออก  อย่างในเรื่องที่คุณ smallhands อ้างถึงนี้

ทีแรกว่าจะจบกระทู้นี้แล้ว  เพราะยิ่งเล่าต่อจะยิ่งยาว  กินเวลานานมาก   แต่เมื่อมีผู้ติดตามอ่าน ก็เห็นทีจะเกียจคร้านไม่ได้แล้ว

ดิฉันคิดว่าหนุ่มน้อยคนนั้นก็คงเข้าใจค่ะ   ถึงได้ยอมรับและจากไปอย่างไม่มีข้อข้องใจอีก
บันทึกการเข้า
smallhands
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 21:40

เข้าใจอาจารย์ทั้งสองได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ เรื่องที่ว่าต้องเว้นชื่อไว้ เพราะแม้แต่ในหนังสือของท่านหญิงเองก็ไม่พิมพ์ จุด จุด ไว้ให้ค้างคาใจ แต่ก็อย่างว่า ราชตระกูลจะว่าไปก็ญาติกันทั้งนั้น ยังไม่นับว่าลูกหลานจะขัดเคืองใจกันอีก จริงๆแล้ว ชื่อคนอื่น คงจะไม่พากเพียรหาขนาดนี้ แต่เพราะท่านหญิงเขียนเรื่องที่กล่าวอาฆาตกันไว้ เลยอยากทราบเป็นพิเศษน่ะค่ะ

ไว้หนูจะกลับมาอ่านใหม่ค่ะ แต่อาจารย์ไม่ต้องรีบเขียนนะคะ เกรงใจว่าอาจารย์คงจะมีงานเยอะ ตอนนี้ เมื่อไหร่ว่างจะมาไล่อ่านกระทู้เก่าๆก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 22:10

พระนิพนธ์เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้  ทรงเขียนขึ้นจากความทรงจำ  ครั้งพระชันษาได้ 12 ปี     อ่านรายละเอียดแล้วก็นึกทึ่ง ในความช่างสังเกตและจดจำบันทึกได้แม่นยำเกินพระชันษามากเอาการ    ทรงเก็บทั้งรายละเอียดใหญ่ๆ และเรื่องเล็กๆน้อยๆได้มีชีวิตชีวา 
เหตุการณ์นั้นเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 5   คือเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปในครั้งที่ 2  เมื่อพ.ศ. 2450

ท่านทรงบันทึกว่า  ในครั้งนั้นเรือพระที่นั่งจักรีออกจากอ่าวไทยไปรับเสด็จที่เกาะปีนัง   เมื่อวันที่ 20  ตุลาคม     บรรดาเจ้านายและฝ่ายในที่มีหน้าที่ถวายการปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์  ก็เสด็จออกไปกับเรือพระที่นั่งจักรีด้วย
ในเวลานั้น  ท่านหญิงทรงอยู่กับสมเด็จเจ้าฟ้านิภานพดล  ราชเลขานุการิณี  จึงได้ตามเสด็จไปด้วย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 22:19

เรือพระที่นั่งจักรี ที่ทรงเรียก คือเรือพระที่นั่งมหาจักรี ลำแรก    เป็นเรือที่ต่อขึ้นโดยบริษัทต่อเรือที่สกอตแลนด์   เป็นแบบเรือลาดตระเวน  เป็นเรือพระที่นั่งตลอดรัชกาลที่ 5   ใช้ในการเสด็จทั้งในประเทศไทย และเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง ชวา สิงคโปร์และยุโรป
เรือพระที่นั่งลำนี้ใช้งานยืนยาวมาจนรัชกาลที่ 6  ปลดระวางเมื่อ พ.ศ. 2459   แต่ทางราชการยังเก็บเครื่องจักรไว้ ให้บริษัทญี่ปุ่นนำไปใช้เป็นเครื่องจักรในเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง ซึ่งขึ้นระวางในสมัยรัชกาลที่ 7   
น่าเสียดายว่าเรือลำที่สองถูกระเบิดทำลายในสงครามโลกครั้งที่ 2  จึงไม่มีให้คนไทยในยุคปัจจุบันได้เห็นอีก

ม.จ. พูนพิศมัย โปรดเรือพระที่นั่งมาก   ตามประสาเด็ก    ทรงบันทึกว่าเป็นเรือที่กว้างมาก   มีม่านกั้นกลางแบ่งเป็นสองส่วน  ส่วนหน้าเป็นที่อยู่และที่ทำงานของทางฝ่ายหน้า    ส่วนหลังเป็นของฝ่ายใน     
เจ้านายสตรีและบรรดานางข้าหลวงพนักงานอื่นๆอยู่เฉพาะฝ่ายใน      ท่านหญิงน้อยๆผู้ทรงพระเยาว์ก็ได้วิ่งไปวิ่งมาได้ทั้งสองส่วน  เวลาบรรทมและเสวยก็อยู่ทางด้านใน   เมื่อใดคิดถึงเสด็จพ่อ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็วิ่งมาเฝ้าที่ส่วนหน้าหรือทางด้านหัวเรือ   เมาคลื่นเมื่อใดก็ทรงนอน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 05:37

เอารูปเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สองมาสนับสนุนครับ

หลัง๒๔๗๕เรือลำนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเรือหลวงอ่างทอง ตามประเภทของเรือ ซึ่งจัดเป็นเรือลำเลียง เรือระบายพล เรือส่งกำลังบำรุง จะตั้งตามชื่อตามชื่อเกาะขนาดใหญ่ เรือในกลุ่มนี้มี ร.ล.อ่างทอง ร.ล.ช้าง ร.ล.พงัน ร.ล.ลันตา ร.ล.พระทอง

ร.ล.อ่างทอง(ลำที่หนึ่ง)หรือเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง ให้เป็นเรือธงผู้บัญชาการทหารเรือในช่วงสงครามอินโดจีน มาจนสงครามโลกครั้งที่สอง โดนระเบิดจากเครี่องบินอเมริกันขณะจอดที่ท่าเรือฐานทัพสัตหีบ เสียหายหนักต้องปลดระวาง

รูปจากกระทู้นู้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 09:58

ขอบคุณที่มาเสริมข้อมูลให้สมบูรณ์ค่ะ   เพิ่งรู้จากท่าน Navarat ว่าเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่ ๒ คือเรือหลวงอ่างทอง   รู้แต่เพียงว่าถูกระเบิดจนใช้งานไม่ได้อีก

เล่าต่อค่ะ
วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐  เวลาหกโมงเย็น   ก็เห็นเรือ "แซกซั่น" มาถึงเกาะปีนัง
ท่านหญิงทรงเกาะแคมเรือพระที่นั่งจักรี อยู่ในกลุ่มของเจ้านายฝ่ายใน    เฝ้ามองด้วยความตื่นเต้นเมื่อเห็นเรือลำใหญ่มหึมาเปิดไฟสว่างจ้า  ลอยลำเข้ามาในอ่าว  มีผู้คนเดินกันพลุกพล่าน
ส่วนทางเรือมหาจักรี  เจ้านายฝ่ายหน้าอย่างสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ   พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร และขุนนางสำคัญอีกหลายท่าน  แต่งพระองค์และแต่งกายเต็มยศ  ลงเรือกรรเชียงจากเรือมหาจักรีไปยังเรือแซกซั่น
ตอนนั้นเอง ปืนใหญ่ก็ยิงสลุตกันสนั่นหวั่นไหว ทั้งจากบนฝั่งและจากเรือมหาจักรี  ทำเอาเด็กๆอย่างท่านหญิงตกพระทัย   ทรงบรรยายว่า "ราวกับหัวใจจะกระโดดออกมาภายนอก"

เสียงสลุตเงียบลงประมาณ ๑ ชั่วโมง  เรือกรรเชียงพระที่นั่งก็กรรเชียงจากเรือแซกซั่นมาที่เรือมหาจักรี   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาพร้อมกับเจ้านายที่ตามเสด็จ
ท่านหญิงบันทึกว่า  สีพระพักตร์สดใส  แดงๆกันทุกพระองค์   
จากนั้นก็เสด็จเข้าห้องเสวย  เบิกตัวข้าราชการเข้าเฝ้ากันอย่างทั่วถึง

ไปค้นเกี่ยวกับเรือแซกซั่น ได้ความว่าเป็นเรือเดินสมุทรของบริษัทเยอรมันน๊อรทด๊อยซ์ลอยด์  เดินทางระหว่างอิตาลีถึงสิงคโปร์    ไม่ใช่เรือของราชการไทย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 10:07

ภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับบนเรือแซกซัน



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 15:35

เรือเดินสมุทรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จประพาสยุโรป   มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า แซกซัน  ตามที่ระบุไว้ในพระนิพนธ์ของท่านหญิง
ชื่อภาษาอังกฤษ ไม่รู้ว่าสะกดยังไง   เดาว่าสะกดว่า Saxon   ส่องอินทรเนตรดูคำนี้  ไม่เจอ     ได้ความจากประวัติเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ว่าท่านโดยสารเรือนี้ไปเรียนต่อต่างประเทศ  เป็นเรือของบริษัทเยอรมันน๊อรทด๊อยซ์ลอยด์   

เจอชื่อบริษัทเข้า แทบหน้ามืดเพราะไม่เคยเรียนภาษาเยอรมัน    แข็งใจสะกดตามแบบต่างๆที่คิดว่าเยอรมันจะสะกดอย่างนั้น  อินทรเนตรยืนกรานปฏิเสธท่าเดียวว่าไม่มี    หมดแรงเข้าหันไปสะกดแบบอังกฤษ ว่า North Deutsch lloyd  ปรากฏว่าคราวนี้อินทรเนตรแกะรอยได้พบ   แต่ท้วงติงนิดหน่อยว่าชื่อ  Norddeutscher Lloyd ตะหาก   เป็นบริษัทเรือเดินทะเลมีประวัติยาวเหยียด  คุณวิกกี้บอกไว้หมด  ใครสนใจใส่ชื่อนี้ในกูเกิ้ลจะพบเองค่ะ

จากนั้นไล่หาบัญชีรายชื่อเรือเดินทะเลของบริษัท  ว่ามีเรือ Saxon ไหม  ก็ไม่มี   เปิดกี่หน้าๆก็ไม่มี  เจอแต่ชื่อ Sachsen  มีวงเล็บว่า(1887-1909 - 4,573 gross tons)   สงสัยจะลำนี้  เพราะแม่นางปฏิบัติการอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันพอดี   พระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรปในปี 1907

แต่ยังหารูปไม่ได้ค่ะ      ฝากใครใจดี หาเจอช่วยนำมาลงให้จะขอบคุณมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 18:53

^
จัดให้ตามคำขอครับ


Name : Sachsen
Description : Norddeutscher Lloyd steamship
Source : Postcard mailed 1901




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 19:00

ตามไปดู

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ต.ค. 11, 19:02

ขอบคุณค่ะ คุณ Navarat   เรือแซกซันดูลำใหญ่กว่าเรือมหาจักรี  คงจะกว้างขวางสะดวกสบายกว่า

ใช้อินทรเนตรค้นภาพเก่า  เจอรูปเรือพระที่นั่งมหาจักรีอีก ๒ รูป เลยเอามารวมไว้ด้วยกัน  รูปแรกบอกรายละเอียดไว้ว่า เป็นเรือสั่งต่อที่สกอตแลนด์
ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปในครั้งแรก  เสด็จไปในเรือมหาจักรี  แต่ในครั้งที่ ๒  เสด็จในเรือแซกซัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
smallhands
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ต.ค. 11, 21:37

ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ต.ค. 11, 14:55

แต่ว่าเรือพระที่นั่งมหาจักรีไม่ได้แล่นตรงกลับเข้ากรุงเทพเลยทีเดียว   หากแต่ข้ามทะเลไปจันทบุรี  และตราด  แล้วจึงกลับมาพระนคร
ระหว่างประทับในเรือ   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯพระราชทานของฝากแก่ผู้ไปรับเสด็จ    ท่านหญิงน้อยๆทั้งสององค์คือม.จ.พูนพิศมัย และ "ท่านหญิงเหลือ"ม.จ.พิไลยเลขา ได้รับพระราชทานเสมา
พระเจ้าอยู่หัวทรงผูกเสมาพระราชทานเอง  มีพระราชดำรัสว่า
"ข้ามีของฝากเจ้าแล้วละ  เสมาทอง  แต่คราวนี้ไม่พอ   ไว้มาคราวหน้าถึงค่อยเอาใหม่"
แล้วทรงผูกเสมาเงินด้วยเส้นไหม พระราชทาน   กับหวีปักผมเป็นตัวอักษรทองว่า "พระราชทาน" อีกองค์ละเล่ม

ทรงบันทึกไว้อย่างน่ารักว่า  ทรงกลัวว่าพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระราชดำรัสถามว่า " เมาคลื่นหรือเปล่า" เพราะทรงทราบมาว่าไม่โปรดคนเมาคลื่น    ท่านหญิงก็คงจะทรงเมาคลื่นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย  จะตอบตามตรงก็เกรงว่าจะไม่โปรด  จะปฏิเสธเพื่อให้ถูกพระราชหฤทัยก็เป็นความเท็จ   จึงทรงหวั่นเกรงอยู่
เคราะห์ดีว่าไม่มีพระราชดำรัสถาม    ท่านหญิงก็บันทึกว่า "รอดตัวไป"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 20:28

ท่านหญิงทรงลำดับเหตุการณ์ไว้อย่างละเอียดว่า  เรือพระที่นั่งมหาจักรี แล่นกลับมาถึงปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อ 16 พฤศจิกายน  พ.ศ.2550  มีเรือต่างๆมาลอยลำรับเสด็จเต็มไปหมด  เมื่อเรือมหาจักรีมาถึงก็ยิงสลุต  และเปิดหวูดกันเซ็งแซ่    เรือยังไม่ได้ตรงเข้ากรุงเทพเลยทีเดียว   แต่ไปแวะค้างคืนที่สมุทรปราการก่อนคืนหนึ่ง
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่เสด็จลงไปรับเสด็จในเรือ    แล้วเสด็จกลับกรุงเทพก่อน
วันรุ่งขึ้น  เรือมหาจักรีจึงแล่นเข้ามาถึงท่าราชวรดิฐ เวลา 10 โมงเศษ     



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 20:37

เสด็จลงจากเรือพระที่นั่ง   




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง