Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 06:38
|
|
คำไว้อาลัยของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
"คุณพี่บุญรับ ซึ่งในบ้านเราเรียกกันว่าคุณใหญ่ หรือคุณหญิงใหญ่ เพราะท่านเป็นธิดาหัวปี สิ้นไปเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน
ภายในเจ็ดวันหลังจากนั้น ม.ร.ว. ถ้วนเท่านึก น้องชายถัดจากผมไปก็ตายตามไปอีกคนหนึ่ง เหมือนจะนัดกันอย่างไรไม่ทราบ
พี่น้อง ๕ คนเรานี้ รู้สึกว่าจะเป็นประชาธิปไตยโดยสันดาน เพราะชอบขัดชอบเถียง ไม่ค่อยจะพร้อมเพรียงกันนัก
แต่ทำไมมาพร้อมเพรียงนัดหมายกันตาย ผมก็ยังงงอยู่ อาจจะเป็นเพราะชอบขัดชอบเถียงเป็นสันดาน ผมเองก็นึกอยู่ว่าจะอยู่ไปก่อน
เพราะมีงานอดิเรกคือการวาดภาพและแต่งเพลงที่จะต้องทำอีกไม่น้อย ซึ่งตลอดชีวิตมาจนอีก ๓ ปีจะ ๘๐ ไม่มีโอกาสจะทำ
เนื่องจากมีงานของคนอื่นขัดขวางอยู่
คุณถ้วนนั้นคึกฤทธิ์ไม่แพ้น้องชาย มีหลาน ๆ อยู่กลุ่มหนึ่งที่เชียงใหม่ เป็นบุตร ม.ร.ว. วิโรจน์ ปราโมชลูกลุง
ซึ่งตายไปก่อนหน้านี้นานแล้ว ในหลานกลุ่มนี้คนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่า เมื่อทราบข่าวทางหนังสือพิมพ์ว่าคุณอาตาย กำหนดวันเผา
ตนเองและพี่น้องติดธุระทำมาหากิน ทั้งค่าเดินทางก็แพง จึงคิดว่าจะไม่ลงมาเผา คุณถวนไปเข้าฝันว่า
อามีแต่ญาติที่จะช่วยกันเผา เพื่อนฝูงไม่ค่อยมี พวกแกต้องมาเผาอา ตกใจตื่นขึ้นเล่าให้พี่น้องฟัง ทั้งกลุ่ม ๔ - ๕ คน
จึงมาเผา หลานคนนี้ไม่เคยพบอาถ้วนมาก่อน ครั้นมาเห็นภาพถ่ายหน้าศพเข้่ ก็ร้องอี๊ด เพราะเหมือน
กับอาถ้วนที่ไปเข้าฝันนั่นเอง คุณคึกฤทธิ์นั้นคึกจริงระหว่างชีวิต แต่คุณถ้วนรอไปคึกเอาเมื่อตาย
ตลอดชีวิตเป็นคนเงียบ ๆ ขรึม ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 14:17
|
|
ผมเองก็เกือบจะโดนเข้าเหมือนกัน ก่อนอื่น แม้จะมีลูก ๓ หลาน ๑๐ ผมชอบนอนคนเดียว
เมื่อแม่ตาย ผมไปนอนคนเดียวแต่งตำรานิติกรรมและหนี้ มีคนพูดว่า พ่อแม่ตายใหม่ ๆ
บางทีมาหาลูกหลาน ฟังแล้วผมไท่เชื่อ แม่ตายได้สามวัน สวดเจ็ดวันแล้ว ผมกลับไปบ้าน
ไปเขียนตำราอยู่จนดึก ง่วงจึงเข้านอน ทันใดนั้นเหม็นกลิ่นศพคลุ้งไปหมด ไม่ได้นึกถึงเรื่อง
ที่เขาเล่าให้ฟัง จึงเที่ยวค้นหาว่าหนูหรืออะไรมาตายในห้อง ค้นจนทั่วไม่พบสัตว์ตาย
จึงนึกขึ้นได้ว่าแม่มาหา กลัวก็กลัว แต่อยากดูว่าจะมาอย่างไร เปิดไฟอยู่ไมมา มีแต่กลิ่น
แรงขึ้น จึงเข้ามุ้งปิดไฟ ตาลอดโปงคอยดู ทันใดนั้นกลิ่นก็หายไปเฉย ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 14:26
|
|
ผมว่าก็เกือบไปก็เพราะคุณถ้วนทำท่าจะเอาอีก ทุกวันนี้ผมนอนหัวค่ำตื่นดึก ๆ ตี ๓ ตี ๔ ตื่นแล้ว
คุณถ้วนตายไปไม่กี่วัน ดึกตี ๔ คืนหนึ่ง ผมนั่งฝึกวาดภาพเหมือนอยู่ในห้องนอน มีเสียงกุก ๆ กัก ๆ
เหมือนคนเดิน โดยที่มีประสบการณ์มาก่อน ผมจึงดุเอาว่าคุณถ้วน อย่ามาเล่นอุตริกับพี่ เพราะไม่ช้าพี่ก็จะไปที่แกไป
วันไหนไปถึง พี่จะไปหลอกให้แกกลัวผีจนต้องหนีไปเกิดใหม่ เสียงจึงเงียบ
เขียนเรื่องเหล่านี้ คนคงคิดว่าอีตาแก่หงำเหงือก พูดจาเลอะเทอะ ใครคิดอย่างนั้นก็ดีเหมือนกัน
เพราะจะได้รู้ไว้ว่าตัวเองแก่ลง มันอาจจะเลอะเทอะได้เท่า ๆ กับผม"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Dhabthim
อสุรผัด

ตอบ: 2
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 15:18
|
|
เรียนคุณวันดีคะ
ท่านผู้ให้ความรู้ดีเยี่ยมประหนึ่งอยู่ในเหตุการณ์ ประวัติดังกล่าวล้วนต่างเรื่องราวเชียวคะ คุณวันดีคงมีหนังสือมากมายเลยนะคะ ดีใจคะที่ได้สนทนาความกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 16:33
|
|
สวัสดีค่ะคุณทับทิม เราคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันนะคะเพราะชอบอะไรเหมือนกัน
สมัยเด็กๆฐานะทางเศรษฐกิจพื้นฐานต่ำค่ะ พ่อเป็นข้าราชการชั้นตรี แม่เคยเป็นครูมัธยม
บ้านที่เช่าอยู่เคยเป็นโรงรถของท่านผู้บังคับบัญชาของพ่อค่ะ
มีแต่หนังสือเป็นเพื่อน อ่านบางเล่มที่ญาติทิ้งไว้ในบ้านจนเบื่อแล้วเบื่ออีก
ชอบอ่านหนังสือสนุก ๆ ค่ะ จะหาท่านผู้ใดที่เปรียบ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แล้ว นึกไม่ออกค่ะ
กำลังคิดว่าจะเล่าเรื่อง ตะปูควง อภัยวงศ์ อายุ ๔ - ๕ ขวบ ที่ต้องทิ้งบ้านเกิดมาเดินไพร
ท่านเล่าเรื่องนี้ตอนท่านโดนคณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสตอนเจรจาเรื่องดินแดนที่จะต้องคืนให้ฝรั่งศส แขวะค่ะ
ที่จริงตอนนั้นท่านซน ขี่ช้าง ขี่ม้า เดือนหนึ่งนะคะกว่าจะมาถึงปราจิีณบุรี
ท่านสั่งว่าไปหาอ่านดูในหนังสือของตา Seidenfaden นายร้อยตำรวจเอกที่ไปรับ
ที่จริงข้าราชการไทยและเจ้านายไทยวางแผนไว้หลายอย่างเพื่อรับเหตุ ที่ชายแดนนั้นนายตำรวจเดนหมากที่อยู่กับตำรวจภูธร
ยืนม้าดูอยู่ทั้งแต่เช้าจนพลบนะคะ
ดีใจที่มีคนชอบเพราะว่าจะเล่าเรื่อง ต้นตระกูล อเนกบุณย์ ที่อยู่เมืองปราจีณบุรีต่อ เรื่องนี้หายากมากค่ะ
มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวกับพระปรีชากลการเพิ่มอีกสองสามเรื่อง แปลกดีเหมือนกัน
พระปรีชากลการตัดสินคดีแล้วทางจำเลยและโจทก์ นำบุตรสาวมามอบให้คุณพระฝ่ายละคน
เรื่องหนังสือเก่าดิฉันพอทราบค่ะ ไม่รู้เรื่องก็ไปถามเพื่อน ๆ ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 26 ส.ค. 11, 09:38
|
|
ม.ร.ว. บุญรับเล่าเรื่องม.ร.ว. คึกฤทธิ์ตอนเด็ก ๆ ไว้ว่า
คุณคึกฤทธิ์ร้องเพลงกล่อมตัวเองนอน ไม่ทราบว่าไปจำมาจากที่ไหน
"อย่ามารักฉันเลย ฉันเป็นคงจล(คนจน)" ประมาณนี้นะคะ เล่าจากความจำ
(เสียงไม่ชัดแบบเด็กเล็ก)
สหายปัญญาแหลมขู่ว่า เดี๋ยวจะนำหนังสือคึกฤทธิ์ ๘๐ ปีมาเล่า ไม่ว่ากระไรเจ้าค่ะ
ขอให้เป็นเรื่องคุณหญิงบุญรับก็แล้วกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 26 ส.ค. 11, 10:01
|
|
อ่านเรื่องราวของ ม.ร.ว. บุญรับ ที่อบรมสั่งสอน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ตรงนี้เองทำให้ผมนึกถึงบุคคลิกภาพของตัวละครตัวหนึ่ง ที่คุณชายได้สร้างไว้ในเรื่อง "สี่แผ่นดิน" นั่นคือ "คุณอุ่น" บุตรสาวคนโตของเจ้าคุณ ถือเป็นพี่สาวต่างมารดาของพลอย ซึ่งดูท่าทางดุดัน และถือศักดิ์ดังชาววัง เป็นผู้ดีอย่างถึงที่สุด และพลอยก็ให้การเคารพรักอย่างมาก คุณอุ่นนั้นถึงแม้ว่าจะเจ้าระเบียบ ทะนงศักดิ์แต่ก็เอ็นดูพลอยอยู่ลึก ๆ ไม่ออกอาการ
ส่วนสหายปัญหาแหลม...(อุ๊บส์) ปัญญาแหลมนั้นจะบังคับให้เล่าเรื่องเฉพาะคงยากกระมัง เธอต้องเล่าให้สมน้ำสมเนื้อสักหน่อย จะได้ลึกซึ้งเข้าถึงแก่นของคุณชายได้ถนัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 26 ส.ค. 11, 10:03
|
|
คำอาลัย หลาน ๆ แห่งสกุล อินทรทูต ชาลีจันทร์ ปราโมช และ ดิศกุล
"คุณย่าเป็นผู้ที่ให้การศึกษาอบรมหลานทุกคนแต่เล็กจนโตมีครอบครัวออกไป พวกหลานยังจำได้
ถึงในสมัยเด็ก ๆ ที่ท่านต้องเซ็นชื่อในสมุดพก รายงานความประพฤติทางบ้าน ถ้าใครสอบได้คะแนน
ไม่ดีก็จะต้องนั่งฟังท่านอบรมนานเป็นพิเศษ ท่านเป็นผู้สอน ก.ไก่ จากหนังสือมูลบทบรรพกิจ ให้
กับหลาน ๆ เองทุกคน เมื่ออ่านได้จบบทแล้วท่านก็จะให้รางวัลเป็นเงิน ๑ บาทบ้าง หรือเป็นขนมบ้าง
ทุกครั้งไป ท่านดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่พวกหลานทุกคน เช่นในฤดูหนาวท่านจะให้ซื้อผ้าสักกะหลาด
สีไข่ไก้มาทั้งพับ เพื่อตัดเสื้อหนาวแจกหลานทุกคนใส่ไปโรงเรียนเหมือนกันหมด ในวันเสาร์อาทิตย์ท่านจะสอน
ให้หลาน ๆ ทำงานบ้าน ร้อยดอกไม้ สอนให้ทำกับข้าว ซึ่งท่านมีฝีมือยิ่งนักโดยเฉพาะข้าวแช่ หลานๆผู้หญิง
จะต้องหัดตั้งแต่ปั้นกะปิให้เท่ากันตลอดจนถึงการแกะสลักผักที่จะใช้รับประทาน ท่านเป็นผู้ไม่อยู่นิ่งเฉย
มักจะมีอะไรให้หลาน ๆ ทำอยู่เสมอ ตอนเช้าทำกับข้าว พอบ่ายก็เก็บดอกไม้ร้อยมาลัยเป็นกิจวัตร
ในตอนเย็นเมื่อหลานกลับจากโรงเรียน ท่านก็จะต้องมีขนมแจกให้ทุกครั้งไป"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 26 ส.ค. 11, 10:39
|
|
คุณหนุ่มนายวงโปรดสังเกตนะคะ ว่าดิฉันคัดลอกบทความมาโดยเปิดเครื่องหมายคำพูดและปิดเครื่องหมายคำพูด
เพราะตั้งใจไว้เช่นนั้น
อาหุเนยยบุคคลของลูก ๆ
"ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ นั้น พวกเราเป็นลูกกำพร้าแม่มาได้ปีเศษ กำลังมีชีวิตอยู่อย่าง carefree เพราะคุณพ่อ
เป็นคนที่รักและตามใจลูก ๆ มาก วันหนึ่งเมื่อคุณพ่อท่านเรียกลูก ๆ มาบอกว่าท่านจะแต่งงานใหม่กับคุณแม่
ม.ร.ว. บุญรับ ลูกๆก็ดีใจเพราะได้เคยรู้จักท่านมาก่อนแล้วในฐานะญาติผู้ใหญ่ คราวนี้จะได้มีแม่มาดูแลเราเสียที
เมื่อคุณแม่ได้เข้ามาเป็นแม่บ้านปกครองดูแลพวกเราเข้าจริง ๆ ลูก ๆ รุ่นโตก็ชักจะรู้สึกอึดอัดใจกันมาก
(ยกเว้นน้อยกับพาณีน้องเล็กซึ่งกำพร้าแม่และจำแม่ไม่ได้ คุณแม่ได้ให้ความอุปการะทั้งสองคนดังลูก ๆ ของท่าน)
เพราะท่านได้เข้ามาปฎิรูประบบชีวิตของพวกเราไปเสียเกือบทุกอย่าง เช่น เมื่อก่อนเสื้อและกระโปรงนักเรียนของพวกเรา
เคยเป็นผ้าม่วง หรือตัดด้วยแพรฝรั่งเศส ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นผ้า เมื่อก่อนเราเคยนั่งรถยนต์ไปโรงเรียนทุกวันและพอถึง
โรงเรียนก็มีคนใช้ถือปิ่นโตตามเข้าไปส่งถึงห้องเรียน บัดนี้บางวันคุณแม่ท่านก็บอกให้ลองเดินไปโรงเรียนเสียบ้าง
เพราะโรงเรียนคอนแวนต์มันก็ใกล้นิดเดียว มิหนำซ้ำยังให้ถือปิ่นโตไปเองอีกด้วย เมื่อเสื้อผ้าเกิดขาดนิดหน่อย
ซึ่งเมื่อก่อนเคยโยนทิ้งหรือโละให้คนใช้ไป ท่านก็สอนให้ปะให้ชุนใช้กันต่อไป อาหารการกินซึ่งเมื่อก่อนเคย
รับประทานกันอย่างฟุ่มเฟือยชนิดกินทิ้งกินขว้าง ท่านก็บังคับมิให้ทำเช่นนั้นอีก ขณะนั้นลูก ๆ พากันผิดหวัง
ที่นึกว่าจะได้แม่ใหม่ที่ใจดีมาตามใจพวกเราเหมือนแต่ก่อน แต่กลับมาได้คุณแม่ที่เข้มงวดและบีบคั้นเราจนเกือบทนไม่ได้
เมื่อพวกเราโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบแล้ว จึงได้นึกขอบพระคุณที่คุณแม่ได้มาปรับปรุงระบบชีวิตของพวกเราเช่นนั้น
เพราะท่านสอนให้พวกเรารู้จักประหยัด อดทน รู้จักเห็นใจผู้อื่นและลดการเอาแต่ความสบายลงเสียบ้าง
ทำให้ต่อมาลูก ๆ สามารถเผชิญชีวิตซึ่งมิได้สวยงามอย่างดอกกุหลาบได้"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ขนมหวาน
อสุรผัด

ตอบ: 23
อักษรอาคาร50ปีกับอาคาร36ปี
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 06 ต.ค. 11, 14:32
|
|
รบกวนคุณวันดี ช่วยเล่าต่อได้ด้วยคะ ชอบๆในคำพูดคำจาของท่านม.ร.ว.คึกฤทธิ์มากๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 07 ต.ค. 11, 11:41
|
|
ขอบคุณคุณขนมหวานค่ะ
แต่บทความของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ นั้น เริ่มตั้งแต่กระทู้ที่ ๒ เปิดเครื่องหมายคำพูด
ไปจบที่กระทู้ที่ ๑๔ ปิดเครื่องหมายคำพูด
ไม่มีอีกแล้วค่ะ
เรื่องเก่าบางเรื่องที่นำมาลงใน "เรือนไทย" ในฐานะคนอ่านหนังสือเก่า และพอมีหนังสือโบราณอยู่บ้าง
ก็เพื่อแนะนำให้ท่านผู้เข้ามาอ่าน ได้สนใจศึกษาค้นเพิ่มเติม และไปซื้อหาและเก็บหนังสืออนุสรณ์
สนใจเกร็ดประวัติศาสตร์ค่ะ แต่ต้องมีอ้างอิง ว่าใครเล่า ให้ใครฟัง ใครพิมพ์ เป็นต้น
เมื่อดิฉันย่อความ ก็ย่อด้วยความเข้าใจของตนเอง หมายมุ่งเรื่องที่เป็นความรู้และน่าสนุกเป็นหลัก
ไปงานหนังสือมาสองวันแล้วค่ะ ได้หนังสืออนุสรณ์มาบ้าง และคงต้องนำความสำคัญมาเล่าก่อน
กรุณาเข้ามาคุยกันนะคะเมื่อเล่าเรื่องเสร็จแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ขนมหวาน
อสุรผัด

ตอบ: 23
อักษรอาคาร50ปีกับอาคาร36ปี
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 18:50
|
|
ยังอยากรับฟังอยู่ ค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 12 มี.ค. 12, 22:44
|
|
ขอบคุณคุณขนมหวานค่ะ ตอนนี้ตุนหนังสืออนุสรณ์เก่า ๆ ไว้ได้ไม่กี่เล่ม
บางรายยศศักดิ์อัครฐานเป็นแค่คุณหลวง แต่ในงานพระราชทานเพลิง รถติดทั้งเมืองก็มีค่ะ
เพราะคุณงามความดีที่ท่านสร้างแต่พวกเราไม่ทันทราบ ขอเวลาอีกสักนิดแล้วจะกลับมาคัดลอก
ประวัติที่น่าสนใจสู่กันฟังนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|