Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 11:19
|
|
คำอธิบายเริ่มใน คคห ๖ ไงคะคุณเพ็ญ ถ้าจะเล่าทั้งหมดจะไปไม่ถึงหนังสือค่ะ
จะลองคัดแบบยาวมาฝากนะคะ
โคลงที่ ๔
คัดจากโคลงของนาย ซก ก๋วง มุ้ย นักประพันธ์ในแผ่นดินจิ้น แต่งถวายพระเจ้าฮุ้ยเต้ ว่าด้วยการที่บ้านเมืองสุขสงบ
"ชี้ จือ ฮั้ว อี้ ยุ่ย ซือ ยุ่ย ซิว บุ้น ห่วย ล่าย ชิบ บู กง คั่ว อิว"
แปลว่า การที่บ้านเมืองเรียบร้อยเป็นปรกติสุขนั้น ก็ด้วยผู้เป็นรฐาธิปัตย มีความเพียรประกอบด้วย
ความปรีชาสามารถ พยายามคิดและจัดการให้ดีขึ้นทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนไม่หยุดหย่อน
เมื่อจัดการปกครองภายในเรียบร้อย แลกิตติคุณฝ่ายทหารก็เลื่องลือถึงภายนอกแล้ว
ย่อมได้รับความร่มเย็นตามสมัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 11:28
|
|
โคลงที่ ๕
ต่อจากโคลงที่ ๔
แปลความว่า อันว่าฝูงมัจฉาซึ่งว่ายเล่นในสระที่มีน้ำอันใสเย็น พลางโบกหาง กระดิกหูตามความสำราญ
และฝูงวิหคซึ่งอาศัยอยู่ในป่าปราศจากอันตราย พลางกระพือปีก พูดพล่อยประชันเสียงอันไพเราะนั้น มีความสุขสำราญฉันใด
ความสุขของไพร่ฟ้าประชาชนที่อยู่ใต้ปกครองพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ
ให้ได้รับความร่มเย็นเสมอกัน ก็มีความสำราญชั้นนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 11:32
|
|
^ ^ แถวขวา จากบนลงล่าง อักษรตัวแรก แปลว่า ปลา อักษรตัวที่ห้า แปลว่า นก อักษรตัวที่แปด แปลว่า ป่า 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 11:42
|
|
คุณเพ็ญชมพูน่ารักเสมอ
คงได้มีโอกาสรินน้ำชาดอกไม้แดงสี่ชนิดคำนับ ที่ศาลาดอกไม้หอมในบ้าน
พื้นศาลาลื่นปราดเลยค่ะเพราะน้ำฝนชะทุกวัน
ดอกไม้หอมมี สายหยุด รสสุคนธ์และการเวก ส่งกลิ่นสลับเวลา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 12:14
|
|
^ ^ แถวขวา จากบนลงล่าง อักษรตัวแรก แปลว่า ปลา อักษรตัวที่ห้า แปลว่า นก อักษรตัวที่แปด แปลว่า ป่า  โหว....คุณเพ็ญฯ อ่านภาษาจีนได้ด้วย นับถือๆ ... พลันฉกจอกชาจากด้านบน ให้ ๑ จอก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 12:19
|
|
คุณเพ็ญชมพูน่ารักเสมอ
คงได้มีโอกาสรินน้ำชาดอกไม้แดงสี่ชนิดคำนับ ที่ศาลาดอกไม้หอมในบ้าน
พื้นศาลาลื่นปราดเลยค่ะเพราะน้ำฝนชะทุกวัน
ดอกไม้หอมมี สายหยุด รสสุคนธ์และการเวก ส่งกลิ่นสลับเวลา
ควรมีดอกแก้ว สีขาว ต้นใหญ่ ปล่อยให้กลีบร่วง ล้อเล่นกับสายลมอย่างเบา ดังกลีบดอกเหมยร่วงพรู พลางจิบน้ำชา สนทนาความรู้กับมิตรผู้รู้ใจ จะหาที่ไหนสุขล้ำปาน.... ว่าแต่อยากซดชาจีน หรือ จีบนิ้วก้อยกระดกยกชาอังกฤษ พร้อมบิสกิท ดีหนอ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 15:06
|
|
ได้กวาดใบไม้กันแย่ซิคะ คุณหนุ่มหรือนายวง(คุณหลวงเรียก) ถ้าจะดื่มชาแบบอังกฤษ ก็ต้องมีมัฟฟิ่น ทาเนยมันปราบ และใส่ครีมสด และแยมเล็กน้อย
โคลงที่ ๖
นาย เลก ซื่อ ฮ้วง พระอาจารย์ของพระราชโอรสแห่งพระเจ้าฮุ่นเต้ในแผ่นดินไซจิ้นแต่งถวายพระราช
โอรสเมื่อทรงเลี้ยงอาหารที่พระตำหนักซวงอิ้ว ตึ๊ง ซี ใน ง่วนโพ้อุทยาน
ความว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงกรุณาต่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขถ้วนหน้า
ประหนึ่งว่าพระพายอันชุ่มชื่นพัดต้องประชาชนทั้งสี่ทิศ หรือดังพระอาทิตย์ส่องแสงสว่างทั่วสกลโลก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 15:24
|
|
โคลงที่ ๗
พระเจ้าเคี่ยนหลงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เชงเฉียว ทรงนิพนธ์เมื่อพระราชทานเลี้ยงผู้เฒ่าอายุ ๙๐ ปีขึ้นไปในงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
เสวยราชสมยัติครบรอบ ๕๐ พรรษา
แปลความว่า ทรงระลึกถึงเมื่อยังไว้ผมแกละ ได้เคยเฝ้าอยู่ข้างพระอัยกา ในงานพิธีเลี้ยงผู้เฒ่ามาครั้งหนึ่ง
มาบัดนี้ ถึงคราวที่ต้องเป็นประธานอย่างเดียวกัน ให้รู้สึกว่าเป็นการแปลกประหลาดมาก
ท่อนที่ สอง หมายความว่า
การรื่นเริงในพระราชวังครั้งนี้ นับว่าฟ้าโปรดปราน
บุพนิมิตเป็นศิริมงคลแก่ประเทศ
ตั้งแต่โบราณมา ยังไม่มีกษัตริย์วงศ์ใด ได้มีพิธีเลี้ยงผู้เฒ่าตั้งพันถึงสองครั้ง
ทั้งรัชกาลพระอัยกาแลนัดดาเลย
วรรณกรรมเรื่องเชงเฉียวนี้ ที่แปลเป็นไทย มีแค่สองตอน ตอนที่สามนักปราชญ์ยังมิได้บันทึกไว้ นักอ่านหนังสือเก่าตามหาอยู่หลายสิบปี พอทราบแน่ชัดว่าไม่มีการแปลก็สิ้นทุกข์ มีคนอ้างว่าเคยเห็นหรือมีเล่มสาม โถ ๆ ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 15:44
|
|
ได้กวาดใบไม้กันแย่ซิคะ คุณหนุ่มหรือนายวง(คุณหลวงเรียก) ถ้าจะดื่มชาแบบอังกฤษ ก็ต้องมีมัฟฟิ่น ทาเนยมันปราบ และใส่ครีมสด และแยมเล็กน้อย
ถ้าดื่มชาแบบอังกฤษ เห็นไขมันจะจุกอกในไม่ช้า ซดชาจีนนี่แหละง่ายดี ไม่มีพิธีรีตองมาก ซดชาตามด้วยขนมสักสองสามชิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 18:24
|
|
เคยเห็นหนังสือที่คุณวันดีว่าที่ธรรมศาสตร์อยู่ เคยอ่านแล้วด้วย
แต่ไม่ได้สนใจ ป่านนี้ไม่รู้เปื่อยไปหรือยัง
ธรรมศาสตร์คือดินแดนแห่งหนังสือเก่าที่ไม่ค่อยมีใครเหลี่ยวแล
จริงๆ ถ้าหาเจออีกทีอยากเอามาแปล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 20 ส.ค. 11, 00:01
|
|
หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "เอื้อ" ต่อหนังสือเก่าไม่น้อย
ขุนช้างขุนแผนสำนวนเก่าตอนขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยาสองสำนวน ก็ไพเราะจับใจเป็นธรรมชาติ
เห็นภาพโปสเตอร์หนังสือปกสวย พระอภัยมณี ยังนิยมว่าผู้สั่งทำมีรสนิยมที่ดีเลิศ
ถึงจะเป็นหนังสือส่วนตัวของนักสะสมก็ตามที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 22 ส.ค. 11, 20:30
|
|
โคลงที่ ๘
นายโง่ว ซก ตัด เปรียญครั้งแผ่นดินถังเป็นผู้ประพันธ์ ว่าด้วยจรรยา
เป็นสุภาษิตสอนข้าาชการ
ข้อสำคัญคือต้องกล่าววาจาความจริง ประพฤติกิริยาให้สมกับวาจาที่ได้ลั่นไว้
ท่อนสอง แปลความว่า
ความยกย่องชมเชยหรือติฉินนินทา ย่อมเนื่องมาจากความประพฤติของตน
ความดีของบุคคลืี้ซื่อสัตย์กตัญญูย่อมมีกิตติคุณกระเทือน (ทราบ) ถึง ฟ้้า (คือพระราชาธิบดี)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 22 ส.ค. 11, 20:49
|
|
โคลงที่ ๙
นาย เก ว้ง เจียง นักปราซญ์แผ่นดินถัง แต่งเวลาเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน
มึความเป็น ๒ ท่อน
ท่อนที่ ๑ มีความว่า
เสียงเภรีประโคมเวลาเสด็จออก เป็นศุภนิมิตว่า
ฟ้าโปรดให้ดำรงราชอาณาจักรอันมั่นคงถาวร ชั่วกัลปาวสาน
ท่อนที่ ๒ มีความว่า ทรงพระอุตสาหะเจริญรอยตามพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐที่ล่วงแล้วนับพันปี
ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั่วทั้งสี่ทิศ
บุคคลที่มีคุณวุฒิโดยมากเข้ารับราชการฉลองพระคุณ ไม่มีผู้ใดเกียจคร้านหลีกเลี่ยงไปอยู่ไร่นาเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 22 ส.ค. 11, 21:10
|
|
บัญชีรายชื่อหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ ณ พระที่นั่งเวหาศนจำรูญ
๑. ปทานุกรมคังฮี
ฉบับพิมพ์โดยโรงพิมพ์ ช่องบุ๋น เมืองฮูเป ในปีที่ ๑ ในรัชกาลพระเจ้ากองสู แห่งราชวงศ์ไต้เช็ง
ตามแบบต้นฉบับเมื่อปีที่ ๕๕ ในรัชกาลพระเข้าคังฮี
๒. ปทานุกรมคังฮีฉบับย่อ
พิมพ์ครั้งที่ ๔ โดยโรงพิมพ์เตี่ยนสือใจ เมื่องเซี่ยงไฮ้ เมื่อปีืี่ ๘ ในรัชกาลพระเจ้ากองสู
๓. บ้วนฮวยเหลา นิยายอิงประวัติศาสตร์
๔. สิ่งเซียนทงก่ำ (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ เสินเซียนทงเจียน(สำเนียงหลวง) เรื่องของเจ้าและเทวดา เทพารักษ์ทั้งหลาย
๕. ไคเพ็กตึ่ง หรือ ไคเพ็กอิ่งหงี
๖. งักตึ่ง หรือ ช่วยงักฉ่วนตึ่ง
๗. เหล็กโบวตัว หนึ่งชุดมี ๖ เล่ม สันนิษฐานว่าเป็นดอกโบตั๋น
๘. เจ็งไซตึ่ง หรือ ช่วยส่วนตึ่ง
๙. ปวยเล่าตึ่ง ชื่อไทยคือ เปาเล่งถู นายหยองแปล นายวรรณเรียบเรียง ท่านที่เริ่มอ่านพงศาวดารจีน จะดีใจกันมาก เล่าสู่กันฟังว่า นายวรรณแปล ไม่ถูกต้องค่ะ
๑๐. เนียน้ำอีกซื้อ ๕ เล่มครบชุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 22 ส.ค. 11, 21:23
|
|
๑๑. ถั่วโท่วเหมี่ยเส่งโต่วหวยชอจี๊บ
หนังสือภาษาญี่ปุ่น ว่าด้วยการท่องเที่ยว
๑๒. ปฎิทินภาษาจีน
๑๓. ไฮ้กงไต้อั้งเผ่าฉ่วนตึ่ง
รวม ๑๒ เล่ม กล่าวถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล
(ก.ศ.ร. กุหลาบก็พิมพ์แจกเหมือนกันในเวลาต่อมา จำได้ว่าจำนวนไม่มาก/วันดี)
๑๔. เลียดก๊กจี่
๑๕. ซ่วยทั้งตึง เซ่าทั้งตึง เจ็งทั้งตึง
๑๖. ชุนชิวเลียดก๊ก รวม ๘ เล่ม เป็นเรื่องเดียวกับ รายการที่ ๑๔
๑๗. ไซจิ้งตึ่ง รวม ๒ เล่ม
๑๘. ไซฮั่นตึ่ง รวม ๖ เล่ม
๑๙. ชุยถังตึ่ง
๒๐. ปั๊กซ้องตึ่ง รวม ๓ เล่ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|