เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9088 หนังสือจีนในตู้เล็กๆของโต๊ะทรงพระอักษรในห้องทรงพระอักษร
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 16:25


ณ พระที่นั่งเวหาศนจำรูญ  ในพระราชวังบางปะอิน

ฯพณฯ ดร. ฮันลิวู  เอกอัครราชทูตจีน  สำรวจเมื่อวันที่ ๓  สิงหาคม  ๒๕๗๖


สหายสูงอายุมอบให้เพราะเห็นว่าสนใจเรื่องพงศาวดารจีน   

ในวงการนักอ่านหนังสือเก่านั้นมีไมตรีต่อกันยิ่งนัก

วงการนักสะสมก็มีความเมตตาต่อผู้พนมมือมาขอความรู้เสมอ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ส.ค. 11, 16:52



       พระที่นั่งเวหาศนจำรูญ  เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย  คือพ่อค้าใหญ่ๆชาติจีน   มีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี

เป็นหัวหน้า    ในสมัยนั้นผู้ที่เป็นเจ้ากรมท่าซ้าย  ตือพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก  โชติกสวัสดิ์)   เป็นผู้มีชื่อเสียงว่า

มั่งมี  ได้ทำบุญสาธารณประโยชน์ไว้ดั่งปรากฏอยู่ในจารึกที่สุสานของสกุลท่านที่วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวนตลาดน้อย)



       "พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก) เป็นบุตรจีนเที้ยง  แซ่หลิก          ได้เข้ามารับราชการในกรมท่าซ้ายตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔

ได้เป็น ขุนพิพิธภัณฑวิจารณ์   ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๖๐ บาท           แล้วเลื่อนเป็นหลวงพิพิธภัณฑวิจารณ์

ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๑๐๐ บาท          ในรัชกาลที่ ๕  มรงพระกรุณาโปรดเกล้า​ฯ ให้เป็นพระสวัสดิ์วามดิตถ์

ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ  ๓๒๐ บาท            แล้วเลื่อนเป็นพระสวัสดิ์วามดิตถ์   ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเพิ่มเป็นปีละ

๔๘๐ บาท
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ส.ค. 11, 17:13

(รักษาตัวสะกดเดิม)


ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราออกไปเมืองไทรบุรี  เมืองปลิด

เมืองสตูน ๑ ครั้ง           ออกไปชำระความพระยาศรีธรรมราชกับจีนเต๊กโท  เรื่องเหมืองดีบุกที่เมืองตรัง ๑ ครั้ง

ออกไปชำระความเรื่องภาษีฝิ่น  ที่เมืองตรังอีก ๒ ครั้ง    กับออกไปชำระความพวกอั้งยี่ที่เมืองภูเก็ตอีก  ๒ ครั้ง

กลับมาได้รับพระราชทานเงิน ๒๐๐๐ เหรียญ  หีบทองคำ ๑ หีบ       โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายงานสร้างพระที่นั่งเวหาศจำรูญ

ได้รับพระราชทานโต๊ะทอง  กาทอง    ต่อมาได้รับพระราชทาน พานทอง  คนโททอง


       ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓   นิภาภรณ์ ๑   มงกุฏสยามชั้นที่ ๓  มัณฑนาภรณ์ ๑

ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๖๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘

ภรรยาท่านสุ่นจัดการศพ"

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ส.ค. 11, 23:07

ไม่ทราบว่าคุณวันดีมีเรื่องเกี่ยวกับการฉลองพระที่นั่งไหมครับเคยอ่านมาก่อนว่าทำแบบธรรมเนียมจีน

แต่ไม่มีหนังสือ...

ด้วยความนับถือ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 01:17


สหายปัญญางามแถวนี้  มีบัญชาให้เขียนเรื่องหนังสือพงศาวดารจีนในพระราชวังบางปะอิน  มาประสมกับกระทุ้ของคุณหาญบิง

แต่มาพิจารณาแล้วกระทู้จะยาวยืด    ขอให้ถือว่ากระทู้นี้แตกออกมาจากกระทู้ของคุณหาญบิงนะคะ

เพราะตั้งใจไว้เช่นนั้น

เอกสารชุดนี้ได้มานานแล้ว  เก็บไว้ในตู้สามก๊ก  จึงไม่ได้เคลื่อนที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของบ้าน

       เรื่องราวของพงศาวดารจีน  ประวัติศาสตร์และสารานุกรม  ที่พิมพ์เป็นภาษาจีน    ยังเป็นเรื่องที่ต้องเก็บข้อมูล

และตรวจสอบกันอีกมาก

ใครพิมพ์เล่มไหนก็ยังไม่แน่ชัดลงไปทีเดียว   

จึงขอนำข้อมูลมาเสนอเท่าที่มีอยู่   

เป็นนักอ่านก็ต้องแบ่งปัน
       
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 01:46


ป้ายไม้ยาววาดอักษรจีน ๑๗  แผ่น

       ทางด้านใต้ ตะวันออก และ ตะวันตก ของท้องพระโรงล่างมีฉากไม้กั้น   มีป้ายไม้ยาววาดอักษรจีน ๑๗ แผ่น

ป้ายเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ มีรับสั่งให้ทำขึ้นในรัชกาล

หนังสือและรูปถ่ายพร้อมทั้งคำแปลภาษาไทย  ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือในปี ๒๔๖๒    แต่ได้หายไป  ไม่มีใครรู้จักหรือพบเห็น

หอสมุดแห่งชาติก็ไม่มี(ซึ่งไม่น่าประหลากใจสำหรับนักอ่านหนังสือเก่าเลยในข้อนี้)

เรื่องหนังสือโบราณที่ท่านผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไม่เคยรู้จักว่ามีการตีพิมพ์  ก็ยังมีปรากฎอยู่อีกหลายเล่ม

มีหลักฐาน  มีการตรวจสอบ  ว่าไม่สามารถจะพิมพ์เลียนขึ้นมาได้ เนื่องจากใช้กระดาษจากต่างประเทศเช่นอเมริกาและฝรั่งเศส

และศิลปของการทำปกนั้นมาจากชาวต่างชาติถ่ายทอดให้ช่างไทยจำนวนน้อย   วัสดุก็สูงค่าประมาณมิได้


คุณบรรเจิด  อินทุจันทรยง  มีหนังสือเล่มนี้อยู่ในห้องสมุดส่วนตัว   ถ้าเราไม่มีคุณบรรเจิด  ประวัติศาสตร์ของเราก็จะหายไปส่วนหนึ่ง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 01:58


โคลงแผ่นที่ ๑  มี ๔ ท่อน

เป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าเกงจงฮ่องเต้   พระเจ้าแผ่นดิินจีนวงศ์เม่งเฉียว

ทรงชมเชยกิติคุณข้าราชการที่ปกครองบ้านเมืองดี     มีปรากฎในสมุดจำลองลายพระราชหัตถเลขา

ของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ในประเทศจีน



โคลงที่ ๒

นายฮ่วงผูเยี่ยมในแผ่นดินถังแต่ง  เมื่อพระเจ้าถังเต๊กจงเสด็จในพระราชพิธีศุภฤกษ์แห่งฤดูใบไม้ผลิ

ที่ทุ่งหลวงทิศตะวันออก   มีความสามท่อน



โคลงที่ ๓

เป็นท่อนหนึ่งแห่งโคลงของนายซกก๋วงมุ้ย  นักประพันธ์ในแผ่นดินจิ้น   แต่งถวายพระเจ้าฮุยเต้

ว่าด้วยความสำราญของพลเมือง

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 09:16

เข้ามาแซวสเล็กสน้อย

เมื่อกล่าวถึงพระที่นั่งเวหาสน์จำรูญที่พระราชวังบางปะอิน
แล้วไม่กล่าวถึงหนังสือมีค่าหายากที่อยู่ที่พระที่นั่งนี้
ก็จะไม่ครบเครื่องเรื่องพระที่นั่งแห่งนี้   คุณวันดีเอามานำเสนอ
นับว่าช่วยเติมข้อมูลไม่ให้บกพร่องไป  สมควรคารวะด้วย
น้ำชาจีน ๑ ป้าน กับขนม ๑ จาน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 09:30

ตี ๒ แง๊ง ๆ ดังแว่วแล้ว     ไฉนแก้วไม่นอนพักผ่อนหนอ
ลุกขึ้นร่ายเวทย์หนังสือรอ   ต่างจ้องรอของดีมีค่าเอย


+++

จัดภาพโต๊ะพระอักษร ให้แทนคำขอบคุณ... สำหรับน้ำชาป้านนั้น ควรทดสอบก่อนดื่มนะ ขอบอก  แลบลิ้น


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 10:18


ขอบคุณคุณหนุ่มค่ะ

ถ้าพระเดชพระคุณคุณหลวงเล็กกรุณาชงน้ำชาให้  ก็ยินดีดื่มค่ะ

ไม่มีถ้วยหยก

แต่มีตะเกียบงาอยู่คู่หนึ่ง   ความยาวไม่เท่ากัน  แต่คนทำตะเกียบต่อด้วยเงิน

คิดว่าใช้ตะเกียบทดสอบดูคงพอไหว

ถ้าคุณหนุ่มเป็นคนชงชา  กรุณาจุ่มนิ้วชี้ลงไปด้วยนะคะ   ชาจะได้หวานไม่ต้องใส่น้ำตาล

ดิฉันดื่มชาร้อนค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 10:33

ไก่เห็นเท้างู งูเห็นหน้าอกไก่

ทันกันประหนึ่งว่า  เคยประมือกันมาหลายครา แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 10:46

ไม่ทราบว่าจะเป็นแผ่นไม้อักษรเหล่านี้หรือไม่  ฮืม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 10:47

แม่นแล้ว  ออกขุน  ขอภาพเห็นชัดๆ กว่านี้ได้ไหม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 10:59

ในกระทู้แรก       ปีที่สำรวจคือ  ปี ๒๕๐๖   ค่ะ   ขออภัยที่พิมพ์ผิด


คุณหาญบิงคะ        งานเลี้ยงนั้นสหายคนหนึ่งของดิฉันบอกว่าอยู่ในราชกิจจานุเบกษายาวเหยียด  ส่วนเล่มไหนก็ต้องกะ ๆ ดู



กลุ่มนักอ่านหนังสือเก่าใช้ราชกิจจา ฯ กันตลอดเวลา  และอ่านติดต่อกันได้เป็นเวลานาน



ดิฉันมีแต่ฉบับที่คุณอ้วนธงชัยพิมพ์ลอกแบบปกสีน้ำเงินกับปกแดง สิบกว่าเล่มเอง    



อ่านเจอข่าวอาชญากรรมก็อยากนำมาฝาก แฟนานุแฟน CSI แถวนี้

มีศัพท์โบราณนิดหน่อย     รายละเอียดถี่ยิบ   อ่านประวัติการทำงานของพระเอกที่ถูกตีตกน้ำ(ตายค่ะ)ก็เสียดายมาก

มีชื่อเสียง และบอกด้วยว่าเป็นลูกใคร   บรรดาศักดิ์บางตำแหน่งนั้น  จำได้ว่ามาจากสกุลใดในทันที

ให้กระทู้นี้เดินหน้าไปซักครึ่ง   ก็จะนำข่าวอาชญากรรมมาเล่าค่ะ    อ่า...นามเดิมของพระเอก เหมือนกับนามปากกาแถวนี้ค่ะ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 ส.ค. 11, 11:02

แม่นแล้ว  ออกขุน  ขอภาพเห็นชัดๆ กว่านี้ได้ไหม ยิงฟันยิ้ม





แปลว่าอะไรบ้างหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 19 คำสั่ง