เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 19170 เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 ส.ค. 11, 23:08

นับว่าทายเก่งใช้ได้เลย

ปรกติเครื่องเรือนของจีนนี้ไซร้จะแบ่งเป็น ๓ ตระกูลใหญ่ๆ ได้แก่แบบซูโจว (苏式: su shi) แบบกวางตุ้ง (广式: guang shi) แบบราชสำนักปักกิ่ง (京式: jing shi) จริงๆหากอุตสาหะแบ่งย่อยๆ ก็ได้อีกหลายแบบแต่คงไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก

เครื่องเรือนทั้งสามแบบมีความแตกต่างกันในการออกแบบ กล่าวคือ

แบบแบบซูโจว (苏式: su shi) จะเป็นแบบเก่าแก่ที่สุดของจีน โดยเป็นลักษณะดั้งเดิมของเครื่องเรือนจีน โดยมีลักษณะเรียบง่าย การตบแต่งน้อย การสลักมีบ้างพอเป็นพิธี เรียบๆ เป็นที่นิยมมากแถบทางใต้บริเวณใกล้กับแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน เครื่องเรือนแบบนี้เป็นที่นิยมในยุคราชวงศ์หมิง (明: ming) และถ้าพูดถึงเครื่องเรือนยุคดังกล่าว ก็จะเป็นลักษณะนี้

แหล่งผลิตอยู่แถวซูโจว (苏州: su zhou) เป็นหลัก ไม้ที่ใช้ก็เป็นไม้ที่หาได้ในจีน ปัจจัยหนึ่งเพราะว่าอยู่ห่างเมืองท่า หาไม้แปลกๆยาก รูปลักษณ์ก็เป็นแบบจีนดั้งเดิม



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 ส.ค. 11, 23:20

จำเนียรกาลผ่านไป ช่วงกลางราชวงศ์ชิง นับแต่ฝรั่งเริ่มมามากขึ้น และจนสุดท้ายยึดเมืองท่าของจีนดังเมืองกวางตุ้ง (广东: guang dong)ได้ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เรื่อยๆไปจนศิลปะแบบตะวันตกต่างๆเริ่มเข้ามาสู่ดินแดนดังกล่าว การสร้างเครื่องเรือนของแถบนี้จึงได้รับอิทธิพลหน้าตามาจากเครื่องเรือนแบบตะวันตก

แต่ว่านอกจากจะรับเครื่องเรือนแบบตะวันตกมาเป็นต้นแบบ ชาวจีนยังนำเอาแนวศิลปะของท้องถิ่นตนไปผสานด้วย ไม่ใช่แค่เอาแบบฝรั่งมาทั้งดุ้น

แนวนิยมแบบกวางตุ้งนั้น ขอให้กลับไปดูที่หลังคาอาคารว่าอลังการเพียงใด เครื่องเรือนของเขาก็เป็นเช่นนั้นแล คือมีการสลักแทบทุกจุดในตัวเครื่องเรือน นอกจากนี้ยังมาการฝังมุก ฝังหิน ฝังฯลฯ เท่าที่จะเอามาฝังลงไปได้ อาจมีปิดทองบ้างบางส่วน (บางส่วน ย้ำว่าบางส่วน)

ไม้ที่ใช้ก็นิยมใช้ไม้ชิ้นเดียวใหญ่ๆ สร้างให้อลังการ ชนิดไม้ก็แสนสุดจะหลากหลาย หลายอย่างนำเข้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หินเอย มุกเอย งาช้างเอย ขอให้บอก หาได้หมด วัสดุใช้กระกอบหลากหลาย ลายสลักก็เยอะแยะ สัตว์มงคลนานาชนิด (ที่ทางการอนุญาตให้ตบแต่งได้ นึกไม่ออกกลับไปดูเรื่องสัตว์...บนหลังคาจีน)

บางคนบอกว่าตลาด แต่หลายคนก็บอกว่างามตระการ แล้วแต่จะคิดแค่ส่วนตัวข้าพเจ้าแล้วชอบนะ สวยดี





บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 ส.ค. 11, 23:25

เครื่องเรือนแบบกวางตุ้งนี้ถือเป็นสัญลักษณะของเครื่องเรือนแห่งยุคราชวงศ์ชิง เหมือนกับเครื่องเรือนแบบซูโจวเป็นเครื่องเรือนประจำยุคราชวงศ์หมิง

ทั้งนี้ เครื่องเรือนที่ส่งออกนานาชาติโดยมากเป็นของกวางตุ้งนี้
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 ส.ค. 11, 23:44

สุดท้ายคือเครื่องเรือนแบบปักกิ่ง แปลตรงๆตัวว่าเครื่องเรือนแบบเมืองหลวง เครื่องเรือนนี้จะเป็นเครื่องเรือนที่ใช้เป็นเครื่องราชูปโภค ใช้ในราชสำนักและวังของพระบรมวงศานุวงศ์

เครื่องเรือนแบบนี้จะคล้ายกับแบบกวางตุ้ง ปัจจัยหนึ่งเพราะในยุคนั้นช่างทำเครื่องเรือนหลวงจำนวนมากเป็นชาวกวางตุ้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเหมือนของกวางตุ้งเสียทีเดียวเพราะว่าแบบของซูโจว อันได้แก่ประดานายช่างก็ยังมีอยู่

ดังนั้นเครื่องเรือนแบบราชสำนักจึงได้รับการผสมผสานของช่างสองสกุลนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แบบของกวางตุ้งออกจะเป็นหลัก อาจเป็นเพราะต้องพระทัยสมเด็จพระจักรพรรดิก็เป็นได้ เนื่องจากดูยิ่งใหญ่หรูหราดี

เครื่องเรือนแบบนี้จะมีลักษณะคือตบแต่งมาก แต่ไม่มากจนออกจะล้นแบบกวางตุ้ง แต่ก็ไม่น้อยจนเรียบแบบซูโจว

ขณะเดียวกันของที่ใช้ประดับประดานั้นหนาก็หรูหรากว่ากวางตุ้งมาก หยกเป็นหยก ทองเป็นทอง งาเป็นงา ปิดทองจะปิดทองทั้งพระเก้าอี้ เลยก็ทำได้ถ้ามีพระประสงค์จะทำ
และของที่ใช้มาประดับเเครื่องเรือนหลวงเหล่านี้ไม่มีของเก๊

เรื่องนี้เรื่องจริง กล่าวคือ ช่างกวางตุ้ง หรือซูโจวอาจจะเอาหินสีขาว หรือเขียวมาแทนหยก แต่ของราชสำนักไซร้ไม่ต้องหาอะไรมาแทน เอาหยกจริงๆไปเลย...

ลายที่ใช้ประดับก็ใช้สัตว์ชั้นสูงอย่างที่พระมหากษัตริย์ และพระมเหสีจะทรงใช้ได้แต่พระองค์เดียว อาทิ มังกรห้าเล็บ หรือหงส์

แต่ในความงามนี้มีคำนินทาในหมู่วงการเครื่องเรือนจีนว่า สวย...แต่ใช้ไม่ค่อยสบาย

การผลิตเครื่องเรือนหลวงนี้ยกเลิกตอนสิ้นราชวงศ์ชิง 
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 25 ส.ค. 11, 23:47

นี้คือตัวอย่างเครื่องเรือนหลวง



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 ส.ค. 11, 23:49

ทั้งหมดนี้ค้นคว้าได้จากเว็ปไซด์

http://www.shuopin-td.com/jiaju/jjsy.html



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 00:04

คราวนี้ลองกลับมาดูเครื่องเรือนในองค์พระที่นั่งอีกรอบ





บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 00:06

จากรูปนี้ข้าพเจ้าแน่ใจได้เลยว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเป็นเครื่องเรือนที่ได้รับอิทธิพลจากกวางตุ้ง

แต่อาจจะสั่งให้แกะสลักตามอย่างราชสำนักจีน (แม้จะไม่ต้องตามแบบเขาทั้งหมด) เพื่อส่งมาในการใช้งานของราชสำนักสยาม

ท่านคิดเห็นต่างไปอย่างไรวานบอก

สวัสดี

(ยังมีใครเห็นอะไรอีกบ้าง)
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 00:12

อนึ่ง เรื่องเครื่องเรือนแต่งองค์พระที่นั่งที่มีสมาชิกกล่าวถึง คือเครื่องเรือนแต่งองค์พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นเครื่องเรือนยุคนโปเลียนที่ ๓ หรือที่เท่าไรไม่แน่ใจนัก

ภายหลังเครื่องเรือนเหล่านี้ถูกเผาไปพร้อมกับเพลิงที่ผลาญองค์พระที่นั่งตอนซ่อม

เรื่องนี้พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเล่าไว้ ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้วว่าจากหนังสือเรื่องใด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 09:20

และสิ่งหนึ่งที่ผมนึกขึ้นมาได้ว่า สถาปัตยกรรมพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนี้ คล้ายคลึงพระราชวัง เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

สถาปัตยกรรมเครื่องบนหลังคา กระเบื้องแบบลูกฟูก และเสาไม้เป็นโถงทางเดิน ถ่ายภาพมาแล้วคล้ายกันยิ่งนัก



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 09:25

ข้าพเองไม่เชี่ยวชาญศิลปะเวียดนามแต่ว่าเคยไปเที่ยวรู้สึกว่าอาคารของเขาจะได้รับอิทธิพลจากจีนโดยเฉพาะแถบทางใต้ แถวๆกวางตุ้งและฮกเกี้ยน ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบหมินหนาน (闽南:min nan)

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญจะได้รับอิทธิพลจากเวียดนามหรือเปล่าข้าพเจ้าไม่ทราบ

แต่จากหลักฐานของการก่อสร้างไม่น่าจะใช่ เพราะว่าการก่อสร้างทั้้งหมดกล่าวถึงแรงงานชาวจีนไว้ทั้งสิ้น

อันนี้ใครไม่เห็นด้วยก็ขัดได้

สวัสดี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 09:31

ใช่ครับ คุณหาญ ที่ช่างชาวจีนได้ทำการสร้างไว้ หากแต่ที่หยิบยกพระราชวังเว้ มาให้ชม ด้วยเพราะคล้าย ๆ กัน สีแดง และ ปิดทอง ส่วนเฟอร์นิเจอร์ ก็เป็นไม้แกะสลัก ปิดทองแล้วดู หนา ใหญ่ เทอะทะ ไม่ดูกระชับอย่างทางเฟอร์นิเจอร์ปักกิ่ง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 09:38

ให้ชมโครงสร้างที่ประกอบด้วยต้นเสา และแผ่นไม้แกะสลักรอบหลังคา เทียบกัน ภาพซ้ายพระราชวังเว้ ภาพขาวพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 21:57

เอาภาพเครื่องบนมาลงครับ...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 ส.ค. 11, 21:59

รายละเอียดงานที่นี่ดูกันตาลายเลย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง